จากที่ ครม. มีมติให้ประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงในพื้นที่กรุงเทพฯ และอีก 7 จังหวัด 21 อำเภอ ระหว่างวันที่ 11-23 มีนาคม นี้ เนื่องจากมีความเป็นห่วงว่าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะมีผู้มาชุมนุมจำนวนมาก พร้อมกองทัพรถอีแต๋น รถส่วนตัวและรถบรรทุกเล็กนับหมื่นคันส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจร อีกทั้งเกรงว่ากลุ่มคนเสื้อแดงมีความแตกแยกหลายกลุ่มซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความกังวลว่าอาจมีคนบางกลุ่มทำผิดกฎหมาย และอาจจะใช้ความรุนแรง ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจึงมีการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ความมั่นคง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ และอีก 7 จังหวัดที่อยู่ในเขตที่มีการประกาศ พรบ.ความมั่นคง จำนวน 1,090 คน ระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ทำให้ต่างชาติมองว่าประเทศไทยไม่มีความปลอดภัยและคนไทยไม่รักกัน 30.71% อันดับ 2 สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางที่มีการชุมนุม 24.08% อันดับ 3 เป็นเหตุการณ์ที่สื่อมวลชนทั่วโลกให้ความสนใจและจับตามองทุกขณะ 23.42% อันดับ 4 ทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจต้องทำงานหนัก 13.83% อันดับ 5 เป็นการเรียกร้องตามสิทธิที่ประชาชนสามารถทำได้เมื่อเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม 7.96% 2. สื่อใด ? ที่ทำให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ข่าวสารเรื่องการชุมนุมประท้วงได้ดีที่สุด อันดับ 1 โทรทัศน์ 68.87% อันดับ 2 หนังสือพิมพ์ 12.29% อันดับ 3 จากอินเตอร์เน็ต /SMS 9.81% อันดับ 4 วิทยุ 4.72% อันดับ 5 การบอกเล่าของคนรอบข้าง 4.31% 3. ประชาชนอยากให้สื่อนำเสนอข่าวในลักษณะใด? ที่ตรงใจมากที่สุด อันดับ 1 รายงานข่าวรวดเร็ว ทันทุกสถานการณ์ /รายงานภาพบรรยากาศแบบสดๆ 48.11% อันดับ 2 นำเสนอข้อมูลชัดเจน ถูกต้อง ตรงไปตรงมา 34.71% อันดับ 3 ได้สัมภาษณ์พูดคุยกับบุคคลสำคัญๆ เช่น แกนนำรัฐบาล,แกนนำเสื้อแดง,อดีตนายกฯทักษิณ ฯลฯ 17.18% 4. ประชาชนคิดว่าการชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นการแสดงออกทางประชาธิปไตย อย่างแท้จริงหรือไม่? อันดับ 1 ไม่ได้เป็นการแสดงออกทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 57.14%
เพราะ มองว่าการชุมนุมครั้งนี้เป็นการเรียกร้องเพื่อคนๆหนึ่ง /ทำเพื่อคนๆหนึ่ง ,เป็นการสร้างสงครามประสาทเพื่อให้รัฐบาลปั่นป่วน ,เป็นเกมการเมืองฯลฯ
อันดับ 2 เป็นการแสดงออกทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 23.81%
เพราะ ตามรธน.ระบุไว้ว่าประชาชนมีสิทธิในการชุมนุมหรือเรียกร้องในเรื่องต่างๆที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 19.05%
เพราะ ผู้ชุมนุมมีหลายกลุ่ม อาจมีความคิดเห็นหรือจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน ฯลฯ
อันดับ 1 อยู่บ้านเฉยๆ คอยติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด 37.20% อันดับ 2 ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ดูแลสอดส่องสิ่งที่ไม่ชอบมาพากล หรือคนแปลกหน้า 30.32% อันดับ 3 ไม่ออกมาเข้าร่วมหรือยืนสังเกตการณ์บริเวณที่มีการชุมนุมเพราะอาจเกิดความไม่ปลอดภัยได้ 15.80% อันดับ 4 ไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นในที่สาธารณะ 9.47% อันดับ 5 หากมีความจำเป็นต้องทำธุระหรืออกไปซื้อของนอกบ้านก็ควรรีบทำให้เสร็จโดยเร็ว 7.21% 6. บทเรียนที่ได้รับจากการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ คือ อันดับ 1 ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของชาวต่างชาติดูแย่ลง 27.30% อันดับ 2 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อธุรกิจการลงทุนและการท่องเที่ยว 25.18% อันดับ 3 ทำให้ประชาชนที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ต้องเครียด กังวล กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 23.92% อันดับ 4 การจราจรติดขัด ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง 13.49% อันดับ 5 ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันทำให้คนไทยเปลี่ยนไป ไม่รักกันเหมือนเดิม 10.11%
--สวนดุสิตโพล--