สวนดุสิตโพลล์: ประเมินสถานการณ์ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ถึง วันนี้

ข่าวผลสำรวจ Monday March 22, 2010 07:27 —สวนดุสิตโพล

ประชาชน 42.44% ยังมองไม่เห็นว่าจะมีใครที่เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาได้ และ 54.76% คิดว่าการเจรจาไม่น่าจะเป็นไปได้

จากที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดงมีการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา เริ่ม ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นมา เพื่อกดดันรัฐบาล โดยการกระตุ้น/ยั่วยุ ให้สถานการณ์ร้อนแรงขึ้นทั้งในเขต กทม. ปริมณฑล โดยใช้กลุ่มมวลชนจาก ต่างจังหวัดจำนวนมากเป็นแนวร่วมในการเคลื่อนกำลังไปตามจุดต่างๆที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยรัฐบาลได้เฝ้าระวังและกำชับให้ทหาร ตำรวจทั้งหลาย ต้องอดทนต่อสิ่งยั่วยุหรือคำพูดที่รุนแรง ขณะที่สื่อมวลชนเองก็ต้องมีการรายงานข่าวสารอย่างระมัดระวัง เพราะกลัวถูกวิจารณ์ว่าขาดความเป็นกลาง เพื่อเป็นการประเมินสถานการณ์ในภาพรวมจากวันแรกของการชุมนุมจนถึงวันนี้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตจึงได้สำรวจความคิดเห็น จากประชาชนในกรุงเทพฯ ปริมณฑล จำนวน 1,468 คน ระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน ต่อ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในภาพรวมจากวันแรกถึงวันนี้
อันดับ 1          รัฐบาลมีความอดทนและสามารถแก้ปัญหาได้ดี                                                    31.52%
อันดับ 2          ไม่รุนแรงอย่างที่คิด ในภาพรวมถือว่าอยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อยดี หากการชุมนุมเป็นอย่างนี้ต่อไป
                อาจได้รับการสนับสนุน/ยอมรับจากประชาชน                                                    26.23%
อันดับ 3          เป็นการเคลื่อนไหวที่สามารถเรียกร้องความสนใจจากสื่อต่างๆทั่วโลกได้                                17.72%
อันดับ 4          รู้สึกเบื่อ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและยังต้องคอยติดตามข่าวสารตลอดเวลา                 14.90%
อันดับ 5          แกนนำเสื้อแดงให้ความร่วมมือกับ จนท.ของรัฐได้ดี โดยเฉพาะการแจ้งข่าวหรือบอกให้ทราบล่วงหน้า
                ถึงการเคลื่อนไหวในการชุมนุม                                                               9.63%

2. ประชาชนคิดว่า “จุดแข็ง” ของการชุมนุมครั้งนี้ คือ
อันดับ 1          มีอดีตนายกฯทักษิณ ที่คอยกระตุ้นและพูดให้กำลังใจเพื่อให้มีการชุมนุมต่อไป                               40.43%
อันดับ 2          ประเด็นในการเรียกร้องชัดเจน คือ ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ยุบสภา                                 29.17%
อันดับ 3          แกนนำของแต่ละพื้นที่สามารถรวบรวมมวลชนให้มาเข้าร่วมชุมนุมได้มากตามเป้าหมาย                       16.18%
อันดับ 4          มีการวางแผนอย่างเป็นระบบและรัดกุม / ทีมรักษาความปลอดภัยทำงานได้ดี                             14.22%

3. ประชาชนคิดว่า “จุดอ่อน” ของการชุมนุมครั้งนี้ คือ
อันดับ 1          แกนนำไม่เข้มแข็ง /เกิดความแตกแยกทางความคิดระหว่างแกนนำด้วยกันเอง                            37.03%
อันดับ 2          เหตุผลสนับสนุนที่ใช้เรียกร้องให้นายกฯอภิสิทธิ์ยุบสภายังอ่อนเกินไป                                    25.20%
อันดับ 3          การนำเลือดของกลุ่มผู้ชุมนุมมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆนาๆ               19.56%
อันดับ 4          หากการชุมนุมยืดเยื้อต่อไปจะส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมเกิดความอ่อนล้าและอยากกลับบ้านส่งผลให้จำนวนผู้ชุมนุมลดลง    18.21%

4. บทเรียนของการชุมนุมครั้งนี้ที่จะมีผลต่อการชุมนุมในครั้งต่อไป  คือ
อันดับ 1          ทั้งฝ่ายรัฐบาลและเสื้อแดงสามารถนำบทเรียนที่ได้จากครั้งนี้ไปปรับใช้หากมีการชุมนุมเกิดขึ้นอีก                56.11%
อันดับ 2          ส่งผลให้ประชาชนมีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ดีก่อนที่จะด่วนสรุปหรือตัดสินใจไม่ตื่นตระหนกกับข่าวที่ออกมา      23.63%
อันดับ 3          หากมีการชุมนุมขึ้นอีก แกนนำจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียกร้องที่ชัดเจน สมเหตุสมผล            20.26%

5. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ? ที่จะมีการเจรจาเพื่อยุติการชุมนุม
อันดับ 1          เห็นด้วย            74.78%

เพราะ จะได้ไม่ต้องมาเห็นคนไทยทะเลาะกัน ,บ้านเมืองจะได้สงบสุข ประชาชนคลายความกังวลใจ,

นักการเมืองทำงานได้เต็มที่ ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ            14.79%

เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีอำนาจของแต่ละฝ่าย ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่เห็นด้วย          10.43%

เพราะ เจรจาไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะต่างฝ่ายต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฯลฯ

6. ประชาชนคิดว่าควรเจรจาอย่างไร? เพื่อที่จะได้ข้อยุติและเป็นที่พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย
อันดับ 1          นำความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจาตกลงกัน                    40.78%
อันดับ 2          การเจรจาด้วยเหตุและผล ประนีประนอมกัน                        35.19%
อันดับ 3          ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ           24.03%

7. ประชาชนคิดว่า ใคร? น่าจะมาเป็นตัวกลางที่จะทำให้การเจรจาสำเร็จได้
อันดับ 1          ยังมองไม่เห็นว่าจะมีใครที่เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาได้                     42.44%
อันดับ 2          ควรเป็นผู้มีอำนาจของแต่ละฝ่ายมาเจรจากัน                                  33.54%
อันดับ 3          สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ                                  18.62%
อื่นๆ เช่น          ประธานวุฒิสภา , ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ,สื่อมวลชน ,ตัวแทนภาคประชาชน ฯลฯ         5.40%

8. ประชาชนคิดว่าการเจรจาน่าจะเป็นไปได้หรือไม่?
อันดับ 1          ไม่น่าจะเป็นไปได้          54.76%

เพราะ ต่างฝ่ายต่างก็มีจุดยืนเป็นของตนเอง เจรจาไปก็คงเสียเวลาเปล่า ฯลฯ

อันดับ 2          ค่อนข้างเป็นไปได้          24.35%

เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่จะเห็นบ้านเมืองสงบสุขและอยากให้มีการเจรจาเกิดขึ้น ฯลฯ

อันดับ 3          คงเป็นไปไม่ได้            16.54%

เพราะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบานปลายไปมากจนยากที่จะแก้ไขหรือหาข้อยุติลงได้ ฯลฯ

อันดับ 4          เป็นไปได้มาก              4.35%

เพราะ คิดว่าต่างฝ่ายต่างต้องการที่จะหาทางลงด้วยวิธีที่ดีที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ฯลฯ

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ