สวนดุสิตโพลล์: ประชาชน กับ การเฝ้าระวังเหตุการณ์ระเบิดในรอบ 1 เดือน

ข่าวผลสำรวจ Monday March 29, 2010 07:21 —สวนดุสิตโพล

ประชาชน 51.44% คิดว่า “สาเหตุ” ของการระเบิด ต้องการให้บ้านเมืองวุ่นวาย ปั่นป่วน /เป็นการขู่เตือนรัฐบาล และประชาชน 42.43% เห็นว่าประชาชนเองสามารถช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลสอดส่องสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลได้

ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ได้สรุปเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดกว่า 20 ครั้งใน รอบ 1 เดือน ซึ่งถือเป็นความหนักใจของ ศอ.รส. ทั้งทหาร ตำรวจอย่างมาก โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีพื้นที่กว้างเป็นเรื่องที่ป้องกันยาก ทำให้ รัฐบาลต้องขยายเวลาให้มีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงต่อไป เพื่อให้ทหารตำรวจได้ทำงานอย่างเต็มที่เต็มกำลัง แต่ก็ยังมีเหตุร้ายเกิดขึ้นรายวัน ในบ้านเมืองเรา จากสถานการณ์เช่นนี้จึงถูกมองว่าการดูแลเฝ้าระวังไม่ใช่หน้าที่ของตำรวจ ทหาร เท่านั้นแต่เป็นหน้าที่ของทุกคน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิตจึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ ปริมณฑล จำนวน 1,360 คน ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน กับ เหตุการณ์ระเบิดที่มีขึ้นกว่า 20 ครั้ง ทั้งในพื้นที่กทม. และ ตจว.
อันดับ 1          สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชน เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากเหตุระเบิด /ต้องระมัดระวังมากขึ้น         30.21%
อันดับ 2          รัฐบาล ศอ.รส. และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด
                และเด็ดขาดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้น /ผู้ที่สร้างสถานการณ์ต้องการดิสเครดิตรัฐบาล                29.18%
อันดับ 3          ผู้ที่ลงมือน่าจะเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน มีการวางแผน/เตรียมการเป็นอย่างดี /เป็นการส่งสัญญาณเตือนรัฐบาล     19.34%
อันดับ 4          ทำให้ทรัพย์สินเสียหายและผู้ที่ทำงานต้องหวาดผวา                                               11.20%
อันดับ 5          หน่วยข่าวกรองต้องทำงานหนักขึ้น สืบหาข้อเท็จจริงและมีการข่าวข่าวที่แม่นยำเพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุระเบิด   10.07%

2. ประชาชนคิดว่า “สาเหตุ” ของการระเบิดมาจากเรื่องใด?
อันดับ 1          ต้องการสร้างสถานการณ์ให้บ้านเมืองดูวุ่นวาย ปั่นป่วน /เป็นการขู่เตือนรัฐบาล                    51.44%
อันดับ 2          ต้องการมุ่งเป้าโจมตีไปตามแหล่ง /สถานที่สำคัญ เช่น ส่วนราชการและธนาคาร เป็นต้น             18.78%
อันดับ 3          เป็นการสร้างสถานการณ์ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นฝีมือของกลุ่มคนเสื้อแดง                      16.30%
อันดับ 4          มาจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความขัดแย้งทางการเมือง                                 13.48%

3. จากเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนคิดว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง?
อันดับ 1          ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาล                                       30.62%
อันดับ 2          ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติในเรื่องของความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน            25.19%
อันดับ 3          ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว                               23.07%
อันดับ 4          ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในด้านการเดินทาง การค้าขาย และการประกอบอาชีพ     12.27%
อันดับ 5          ประชาชนไม่กล้าเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น ศูนย์การค้า วัด หรือสถานที่สำคัญๆ                 8.85%

4.  จากที่มีกระแสข่าวออกมาว่าเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นมีผู้ก่อการร้ายภาคใต้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประชาชนคิดว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          ไม่แน่ใจ             48.07%

เพราะ บ้านเมืองในวันนี้วุ่นวายมากแบ่งเป็นหลายขั้ว ข้อมูลข่าวสารที่ถูกปล่อยออกมามีหลายกระแส จับต้นชนปลายไม่ถูก ฯลฯ

อันดับ 2          เป็นไปไม่ได้          27.56%

เพราะ ไม่ควรนำมาเกี่ยวโยงกัน คนละสถานการณ์ ,ผู้ก่อการร้ายภาคใต้ไม่น่าจะชำนาญเส้นทางหรือรู้จักพื้นที่ในกทม.ดี ฯลฯ

อันดับ 3          เป็นไปได้            24.37%

เพราะ ผู้ก่อการร้ายภาคใต้มีความชำนาญด้านระเบิดและอาจได้รับการว่าจ้างให้มาทำงานนี้ ฯลฯ

5. รัฐบาล / ศอ.รส. ควรจะมีวิธีการหรือหาแนวทางป้องกันอย่างไร?
อันดับ 1          เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจตามจุดสำคัญๆและติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มมากขึ้น                          40.21%
อันดับ 2          ประชาสัมพันธ์ /ขอความร่วมมือจากประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับส่วนราชการเมื่อพบเจอสิ่งผิดปกติ          25.08%
อันดับ 3          ด้านการข่าว/หน่วยข่าวกรองต้องทำงานหนักมากขึ้น การตรวจสอบหรือเช็คข่าวที่ถูกต้องแม่นยำ                 13.50%
อันดับ 4          รัฐบาล /ศอ.รส. ต้องกำชับไปยังหน่วยงานที่ควบคุมดูแลอาวุธยุทโธปกรณ์ร้ายแรง หากเกิดสิ่งผิดปกติ            12.28%

ก็ให้รีบรายงานให้ทราบทันที

อันดับ 5          มีการตั้งรางวัลให้แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลของผู้ที่กระทำผิด                                       8.93%

6. ประชาชนเองสามารถช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวได้อย่างไร?
อันดับ 1          ช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลสอดส่องสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลหรือสิ่งผิดปกติ                                       42.43%
อันดับ 2          เชื่อฟัง /ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ                                   22.73%
อันดับ 3          ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรออกนอกบ้าน  เมื่อมีธุระจำเป็นก็รีบทำให้เสร็จและกลับบ้านทันที                        18.49%
อันดับ 4          ประชาชนต้องคอยติดตามข่าวสารสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา                                    16.35%

7. สื่อมวลชนควรนำเสนอข่าวระเบิดอย่างไร? ให้สร้างสรรค์
อันดับ 1          นำเสนอข่าวสารอย่างเป็นกลาง  ตรงไปตรงมา ตามข้อเท็จจริง          54.82%
อันดับ 2          สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ข่าวได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน                37.58%
อันดับ 3          เสนอวิธีการป้องกันหรือการรับมือเมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้น                  7.60%

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ