วันที่ 3 พฤษภาคม ถือเป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ที่มีต่อ เสรีภาพของสื่อมวลชนไทย ณ วันนี้ จำนวนทั้ง สิ้น 1,251 คน ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 มีเสรีภาพน้อยเกินไป 30.07%
เพราะ ไม่สามารถนำเสนอข้อเท็จจริงได้เต็มที่ นำเสนอได้เพียงบางส่วน ,มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสื่อมวลชน ฯลฯ
อันดับ 2 มีเสรีภาพมากพอสมควร 28.10%
เพราะ สื่อปัจจุบันสามารถเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารได้หลายช่องทาง และสามารถทำงานได้อย่างอิสระมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 มีเสรีภาพที่เหมาะสมแล้ว 21.57%
เพราะ การนำเสนอข่าวสารอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ,มีสมาคม องค์กรที่ควบคุมดูแลการทำงาน ฯลฯ
อันดับ 4 มีเสรีภาพมากเกินไป 20.26%
เพราะ อาศัยช่องทางของสื่อในการนำเสนอหรือแสดงความเห็นส่วนตัวมากเกินไป บางครั้งมีการนำเสนอข่าวและภาพที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ
อันดับ 1 เป็นตัวแทนประชาชนในการตรวจสอบเรื่องต่างๆในสังคมอย่างใกล้ชิด /เกาะติดสถานการณ์ 30.19% อันดับ 2 นำเสนอข่าวตามข้อเท็จจริง พร้อมวิเคราะห์หาเหตุผล หาคำตอบหรือหาทางออกให้กับสังคม 24.98% อันดับ 3 ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ไม่ยึดติดกับผลตอบแทนใดๆ 20.63% อันดับ 4 มีอิสระในการทำงาน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร 13.48% อันดับ 5 สื่อทุกแขนงต้องช่วยกันรณรงค์ เผยแพร่เอกลักษณ์ วัฒนธรรมอันดีงามของไทยสืบต่อไป 10.72% 3. “สื่อมวลชน” สามารถสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างไร? อันดับ 1 เป็นกระบอกเสียงแทนประชาชน /เรียกร้อง /หรือนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม 25.73% อันดับ 2 ช่วยกันนำเสนอข้อมูล ข่าวสารในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าการนำเสนอเพียงเพื่อหวังผลทางธุรกิจ 23.56% อันดับ 3 สื่อทุกแขนงต้องร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง 20.64% อันดับ 4 สื่อต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือ หรือ อยู่ภายใต้อิทธิพลใดๆ /ยึดหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ 16.19% อันดับ 5 ยอมรับฟังคำวิพากษ์ วิจารณ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม 13.88%
--สวนดุสิตโพล--