จากที่ฝ่ายค้านมีมติจะยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 5 คน โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้นำทัพฝ่าย ค้าน ซึ่งการอภิปรายครั้งนี้มีกระแสข่าวออกมาว่าทั้ง 2 ฝ่ายอาจมีการนำคลิปวีดีโอและภาพถ่ายที่ยังไม่มีการเผยแพร่มาก่อนมาแสดงในการอภิปรายครั้ง นี้ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ที่มีต่อการยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาล จำนวนทั้งสิ้น 1,516 คน ระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เห็นด้วย 52.02%
เพราะ เพื่อให้รัฐบาลได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการทำงาน จะได้ทำงานรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 32.43%
เพราะ เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมที่จะเปิดอภิปรายในช่วงนี้ ควรให้เวลารัฐบาลแก้ไขฟื้นฟูบ้านเมืองก่อน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 15.55%
เพราะ หลังจากการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังไม่รู้ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไร? ต่อไป? รัฐบาลมีงานที่จะต้องฟื้นฟูประเทศ ฯลฯ
อันดับ 1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ. ศอฉ. 42.13% อันดับ 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 35.53% อันดับ 3 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย 12.69% อื่นๆ เช่น นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ,นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ , นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง 9.65% 3. เรื่องที่ประชาชนอยากรู้ในการเปิดอภิปรายครั้งนี้ (3.1) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ. ศอฉ. อันดับ 1 การสลายการชุมนุม 61.20% อันดับ 2 การแสดงบัญชีทรัพย์สิน 27.04% อันดับ 3 การออกโฉนด / บุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ 11.76% (3.2) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อันดับ 1 การสลายการชุมนุม 57.43% อันดับ 2 การทุจริตโครงการต่างๆ 25.31% อันดับ 3 การแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการ 17.26% “ฝ่ายค้าน” ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ “รัฐบาล” 2 (3.3) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย อันดับ 1 การใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ไม่ถูกต้อง / การเอื้อประโยชน์ให้แก่เครือญาติ 62.95% อันดับ 2 โครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 29.68% อันดับ 3 การอนุมัติให้มีการจำหน่ายอาวุธปืน 7.37% 4. “ใคร” ในฝ่ายค้าน ที่ประชาชนอยากให้ทำหน้าที่เป็นผู้อภิปรายมากที่สุด อันดับ 1 ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง 74.56% อันดับ 2 นายจตุพร พรหมพันธุ์ 13.24% อันดับ 3 นายสุนัย จุลพงศธร 7.04% อื่นๆ เช่น นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ,วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ (น้องยิ้ม) , การุณ โหสกุล ฯลฯ 5.16% 5. สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วง /วิตกกังวลต่อการอภิปรายครั้งนี้ (5.1) สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วง /วิตกกังวลใน “ภาพรวม” คือ อันดับ 1 การกล่าวหากันไปมามากเกินไป /ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ทำให้เกิดความแตกแยกเหมือนเดิม 42.79% อันดับ 2 พฤติกรรมและการแสดงออกทางอารมณ์ของนักการเมืองบางคนที่ไม่เหมาะสม 30.27% อันดับ 3 ไม่นำเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดให้ประชาชนทราบ 26.94% (5.2) สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วง /วิตกกังวล “รัฐบาล” คือ อันดับ 1 การนำเสนอข้อมูลและข้อเท็จจริง/ การเตรียมข้อมูลเพื่อแก้ต่างฝ่ายค้าน 47.29% อันดับ 2 การชี้แจงไม่ชัดเจน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดอภิปรายในครั้งนี้ 29.58% อันดับ 3 การทะเลาะ ปะทะคารมกัน 23.13% (5.3) สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วง /วิตกกังวล “ฝ่ายค้าน” คือ อันดับ 1 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การใช้อารมณ์ / คำพูดที่รุนแรง 51.81% อันดับ 2 การลุกขึ้นประท้วงกันบ่อยๆ 35.59% อันดับ 3 การนำเสนอข้อมูลแบบเดิมๆ / เน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวมากเกินไป 12.60% 6. สิ่งที่ประชาชนได้รับจากการอภิปรายครั้งนี้ คือ อันดับ 1 ได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นจริงและชัดเจนมากขึ้นจากทั้ง 2 ฝ่าย อาจได้เห็นภาพถ่าย /คลิปวิดีโอที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน 57.04% อันดับ 2 ได้เห็นพฤติกรรมของนักการเมือง เช่น การควบคุมอารมณ์ บุคลิกท่าทาง ฯลฯ 22.36% อันดับ 3 ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากการอภิปรายครั้งนี้ / เป็นเพียงแค่เกมการเมือง กลยุทธ์ทางการเมือง 13.19% อันดับ 4 ใช้เป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า 7.41% 7. การอภิปรายครั้งนี้จะทำให้ “การเมืองไทย” เป็นอย่างไร? อันดับ 1 เหมือนเดิม 60.81%
เพราะ ต่างฝ่ายต่างมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ,มีนโยบาย แนวการทำงานที่แตกต่างกัน ,มีแต่การเอาชนะคะคาน ฯลฯ
อันดับ 2 ดีขึ้น 21.62%
เพราะ ทั้ง 2 ฝ่ายมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เป็นการต่อสู้ ชิงไหวชิงพริบกันทางการเมืองอย่างถูกต้อง ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 17.57%
เพราะ อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลายมากขึ้น ,เหมือนเป็นการขุดคุ้ยมากกว่า ,ต่างฝ่ายต่างยังคงมีทิฐิกันอยู่ ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--