จากที่พรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีรายบุคคล ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. -1 มิ.ย. 53 โดยประเด็นในการอภิปรายส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการสลายม็อบของรัฐบาลและการทุจริตโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและ ประเมินผลหลังการอภิปราย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศที่สนใจติดตามการอภิปราย ครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,134 คน ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม — 2 มิ.ย. 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เนื้อหา/ประเด็นในการอภิปรายเหมือนเดิม /ไม่มีข้อมูลใหม่ๆมานำเสนอหรือชี้แจง /เสียเวลา เหมือนดูปาหี่ 46.15% อันดับ 2 เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้ชี้แจงและแสดงความคิดเห็นออกมา 26.92% อันดับ 3 หลักฐานที่แต่ละฝ่ายนำมาแสดงไม่รู้ว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ 15.38% อันดับ 4 บรรยากาศโดยรวมของการประชุมยังคงเหมือนเดิม เช่น การประท้วง พูดจาเสียดสี ไม่เคารพที่ประชุม ฯลฯ 11.55% 2. สิ่งที่ประชาชน “สมหวัง” ในการอภิปรายครั้งนี้ อันดับ 1 ผู้อภิปรายหลักของทั้ง 2 ฝ่าย ทำหน้าที่ได้เหมาะสม เป็นไปตามที่คาดหวัง 42.04% อันดับ 2 ทั้ง 2 ฝ่าย สามารถควบคุมเวลาในการอภิปรายได้ดี 24.32% อันดับ 3 การประชุมการอภิปรายครั้งนี้ในภาพรวมถือว่าอยู่ในขั้นที่น่าพอใจ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ประท้วงอยู่บ้าง 19.93% อันดับ 4 ประธานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการอภิปรายโดยเฉพาะ นายชัย ชิดชอบ 13.71% 3. สิ่งที่ประชาชน “ผิดหวัง” ในการอภิปรายครั้งนี้ อันดับ 1 เนื้อหาในการอภิปรายเป็นเรื่องเดิมๆ ไม่น่าสนใจ ไม่มีข้อมูลใหม่ๆ 52.95% อันดับ 2 การทะเลาะเบาะแว้ง / การลุกขึ้นประท้วง 29.41% อันดับ 3 การจับภาพขณะที่มีการอภิปรายไม่ชัดเจน ควรซูมให้ใกล้ๆ 11.76% อันดับ 4 การใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม อ้างถึงบุคคลที่สาม 5.88% 4. “ฝ่ายค้าน” ที่อภิปรายได้ถูกใจมากที่สุด คือ อันดับ 1 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 48.45% อันดับ 2 นายจตุพร พรหมพันธุ์ 30.92% อันดับ 3 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ 14.43% อันดับ 4 นายเชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ 6.20% 5. “ฝ่ายรัฐบาล” ที่อภิปรายได้ถูกใจมากที่สุด คือ อันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 67.86% อันดับ 2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 17.57% อันดับ 3 นายสาธิต วงศ์หนองเตย 8.33% อันดับ 4 นายโสภณ ซารัมย์ 6.24% 6. การอภิปรายครั้งนี้มีผลกระทบต่อการที่รัฐบาลสร้างความปรองดองหรือไม่? อันดับ 1 ไม่มีผล กระทบต่อการสร้างความปรองดอง 60.38%
เพราะ การปรองดองต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองเท่านั้น ฯลฯ
อันดับ 2 ทำให้การสร้างความปรองดอง ยากขึ้น 32.70%
เพราะ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมลดราวาศอก ,การอภิปรายครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความคิดที่แตกต่างกัน ,ไม่จริงใจต่อกัน ฯลฯ
อันดับ 3 ทำให้การสร้างความปรองดอง ง่ายขึ้น 6.92%
เพราะ ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลได้ระบาย และแสดงความรู้สึกออกมา อาจช่วยให้ปัญหาต่างๆคลี่คลายได้มากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 1 ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความเป็นไปทางการเมืองและสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น 56.21% อันดับ 2 ได้เห็นพฤติกรรม ท่าทาง การพูดจาของนักการเมือง 28.52% อันดับ 3 ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆที่อ้างถึงในการอภิปราย 8.97% อันดับ 4 เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับใช้ในการตัดสินใจหากมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป 6.30% 8. การอภิปรายครั้งนี้มีผลต่อคะแนนนิยมของ “ฝ่ายรัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน” อย่างไร?
ฝ่ายรัฐบาล
อันดับ 1 นิยมเท่าเดิม 52.34%
เพราะ ยังคงชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์และนายกฯ อภิสิทธิ์เหมือนเดิม ,คิดว่ารัฐบาลทำดีที่สุดแล้ว ฯลฯ
อันดับ 2 นิยมมากขึ้น 26.85%
เพราะ ผู้ที่ถูกอภิปรายมีการเตรียมพร้อมและมีการชี้แจงได้ดี ,การควบคุมอารมณ์และบุคลิกท่าทางที่เหมาะสม ฯลฯ
อันดับ 3 นิยมน้อยลง 20.81%
เพราะ การชี้แจงไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ตอบคำถามไม่ชัดเจน ,ข้อมูลเดิมๆ ไม่มีหลักฐานเด็ดๆนำมาแสดง ฯลฯ
ฝ่ายค้าน
อันดับ 1 นิยมเท่าเดิม 53.64%
เพราะ ข้อมูลเดิมๆ ไม่มีอะไรแปลกใหม่มานำเสนอ ฯลฯ
อันดับ 2 นิยมน้อยลง 29.80%
เพราะ ยังไม่ค่อยมั่นใจในข้อมูลหรือหลักฐานที่นำมาเสนอ ,กริยาท่าทางที่ไม่สุภาพของผู้อภิปรายบางท่าน ไม่เคารพที่ประชุม ฯลฯ
อันดับ 3 นิยมมากขึ้น 16.56%
เพราะ สามารถหาเหตุผลมาหักล้างเพื่อสร้างความเชื่อถือได้ , ผู้อภิปรายมีความมั่นใจในการนำเสนอข้อมูล ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--