สวนดุสิตโพลล์: การลงมติหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ ความขัดแย้งระหว่างพรรคภูมิใจ กับ พรรคเพื่อแผ่นดิน

ข่าวผลสำรวจ Friday June 4, 2010 14:57 —สวนดุสิตโพล

จากกรณีที่พรรคเพื่อแผ่นดินโหวตสวนมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย ทำให้กระแสข่าวความขัดแย้งระหว่าง 2 พรรค ปรากฏ ชัดเจนมากขึ้นและส่งผลสะเทือนต่อเสถียรภาพการร่วมรัฐบาลของทั้ง 2 พรรค ซึ่งการลงมติครั้งนี้ทำให้ นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ถึงกลับถาม ถึงมารยาททางการเมืองในการร่วมรัฐบาลจากพรรคเพื่อแผ่นดิน พร้อมส่งสัญญาณ “ทำแบบนี้ คงร่วมอยู่กันไม่ได้” สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรณี ความขัดแย้งระหว่างพรรคภูมิใจ กับ พรรคเพื่อแผ่นดิน จำนวนทั้งสิ้น 1,184 คน ระหว่างวันที่ 2-4 มิถุนายน 2553 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน กรณี การลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคเพื่อแผ่นดิน ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ยกมือสวนมติไม่ไว้วางใจ
รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย
อันดับ 1          เป็นสิทธิส่วนตัวของ สส. แต่ละท่านที่จะตัดสินใจลงไปอย่างไร?             55.26%
อันดับ 2          อาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องของความขัดแย้ง หรือเรื่องผลประโยชน์          17.24%
อันดับ 3          เป็นสัญญาณบอกว่าพรรคร่วมรัฐบาลกำลังมีปัญหา ควรเร่งแก้ไข              14.08%
อันดับ 4          ถือว่าเป็นการผิดมารยาททางการเมือง                               13.42%

2. การลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคเพื่อแผ่นดิน ถือว่าผิดมารยาททางการเมืองหรือไม่?
อันดับ 1          ไม่ถือว่าผิดมารยาททางการเมือง            61.74%

เพราะ เป็นสิทธิของ สส.แต่ละคนที่จะลงคะแนนเสียง , เป็นสิ่งที่ สส. สามารถทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ                              22.15%

เพราะ ขึ้นอยู่กับมุมมอง การตีความของแต่ละคนว่าจะคิดอย่างไร ? ,คิดว่าเป็นเรื่องปกติทางการเมือง ฯลฯ

อันดับ 3          ถือว่าผิดมารยาททางการเมือง              16.11%

เพราะ เป็นพรรคร่วมรัฐบาลเหมือนกันควรช่วยเหลือหรือสนับสนุนซึ่งกันและกัน , ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน ฯลฯ

3. จากความขัดแย้งของ 2 พรรคร่วมรัฐบาล มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลหรือไม่?
อันดับ 1          มีผลกระทบ                            51.35%

เพราะ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีกันในพรรคร่วมรัฐบาล, ส่งผลให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพในการบริหารงาน ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่มีผลกระทบ                          37.16%

เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงไว้วางใจและเชื่อมั่นในตัวนายกฯ ,เชื่อว่านายก ฯ จะยุติปัญหานี้ได้โดยเร็ว ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่แน่ใจ                              11.49%

เพราะ ขึ้นอยู่กับการเจรจา ตกลงกันภายในพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะลงเอยอย่างไร? คงต้องรอดูต่อไปสักระยะ ฯลฯ

4. ถ้าท่านเป็นนายกฯ อภิสิทธิ์ จะตัดสินใจ กรณี ความขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาลอย่างไร?
อันดับ 1          ควรจะพิจารณาหาทางออกหลายๆ ทาง / คำนึงถึงผลดี — ผลเสีย ที่จะตามมา               40.22%
อันดับ 2          มอบหมายให้ รองนายกฯ สุเทพ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย                                     24.14%
อันดับ 3          จะลงมาจัดการ ไกล่เกลี่ย ปัญหานี้ด้วยตนเอง โดยไม่ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องขุ่นข้องหมองใจกัน      23.61%
อันดับ 4          ปรับพรรคร่วมรัฐบาล /ปรับ ครม.                                               12.03%

5. จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ รัฐบาลควรจะมีการปรับพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่?
อันดับ 1          ควรมีการปรับพรรคร่วมรัฐบาล            73.09%

เพราะ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาบานปลาย รัฐบาลจะได้บริหารงานด้วยความราบรื่น ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่ควรมีการปรับพรรคร่วมรัฐบาล          26.91%

เพราะ ควรรอดูสักระยะ ใช้วิธีการเจรจา ไกล่เกลี่ยก่อน ฯลฯ

6. จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ รัฐบาลควรจะมีการปรับ ครม. หรือไม่?
อันดับ 1          ควรมีการปรับ ครม.            78.47%

เพราะ เพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง,ช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดูดีขึ้น ,เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่า

รัฐบาลจะบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่ควรมีการปรับ ครม.          21.53%

เพราะ อาจจะเป็นชนวนให้เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งมากขึ้น ,เกิดการแย่งเก้าอี้กันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ,

นายกฯ วางตัวลำบาก ฯลฯ

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ