การบริหารประเทศ หลังจากการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 รัฐบาลและคมช.ได้มีการปฏิบัติงานท่ามกลางกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ถึง
การทำงานที่ล่าช้าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ซึ่งส่งผลต่อความนิยมของประชาชนเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว ในอันที่จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อ
ปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 3,267 คน (กรุงเทพฯ 1,114 คน 34.10% ต่างจังหวัด 2,153 คน 65.90%) โดยสำรวจหลังจากที่มีการแถลงผลงานต่อสภา
ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. เปรียบเทียบคะแนนของ “นายกรัฐมนตรี” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.64 คะแนน กรุงเทพ 7.81 คะแนน ต่างจังหวัด 7.43 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.62 คะแนน กรุงเทพ 6.68 คะแนน ต่างจังหวัด 6.55 คะแนน
ลดลง - 1.02 คะแนน - 1.13 คะแนน - 0.08 คะแนน
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า มีการทำงานที่ล่าช้า ตัดสินใจช้า ยึดระบบราชการมากเกินไป ไม่ทำงานเชิงรุก แต่ประชาชนมี ความ
นิยมในบุคลิกลักษณะและความซื่อสัตย์ของนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก ฯลฯ
2. เปรียบเทียบคะแนนของ “คณะรัฐมนตรี” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.23 คะแนน กรุงเทพ 7.49 คะแนน ต่างจังหวัด 6.90 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.18 คะแนน กรุงเทพ 6.24 คะแนน ต่างจังหวัด 6.10 คะแนน
ลดลง - 1.05 คะแนน - 1.25 คะแนน - 0.80 คะแนน
เหตุผลที่คะแนนลดลงเพราะ ประชาชนค่อนข้างคาดหวังต่อคณะรัฐมนตรีสูง แต่ผลงานที่ปรากฏเป็นรูปธรรมมีน้อย ไม่เด่นชัด ไม่ทันใจ
ประชาชน และทำงานยึดระบบราชการมากเกินไป ไม่กล้าตัดสินใจ ฯลฯ
3. เปรียบเทียบคะแนนของ “ประธาน คมช.” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.58 คะแนน กรุงเทพ 7.75 คะแนน ต่างจังหวัด 7.37 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.58 คะแนน กรุงเทพ 6.55 คะแนน ต่างจังหวัด 6.61 คะแนน
ลดลง -1.00 คะแนน -1.20 คะแนน - 0.76 คะแนน
คนต่างจังหวัดยังคงให้ความชื่นชมกับประธานคมช.มากกว่าคนกรุงเทพฯ แต่ก็ค่อนข้างผิดหวังกับความไม่เด็ดขาด โดยเฉพาะ การป้องกัน
และแก้ไขเหตุร้าย เช่น ระเบิดตามจุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งกระแสข่าวความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคมช. ฯลฯ
4. เปรียบเทียบคะแนนของ “คณะ คมช.” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.13 คะแนน กรุงเทพ 7.31 คะแนน ต่างจังหวัด 6.90 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.21 คะแนน กรุงเทพ 6.29 คะแนน ต่างจังหวัด 6.10 คะแนน
ลดลง -0.92 คะแนน -1.02 คะแนน - 0.80 คะแนน
สาเหตุหลักที่ทำให้คะแนนนิยมคณะคมช.ลดลง เพราะไม่สามารถป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์ความไม่สงบ เช่น ระเบิด รวมทั้งข่าวขัดแย้ง
ระหว่างคมช.กับรัฐบาล ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
การทำงานที่ล่าช้าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ซึ่งส่งผลต่อความนิยมของประชาชนเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว ในอันที่จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อ
ปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 3,267 คน (กรุงเทพฯ 1,114 คน 34.10% ต่างจังหวัด 2,153 คน 65.90%) โดยสำรวจหลังจากที่มีการแถลงผลงานต่อสภา
ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. เปรียบเทียบคะแนนของ “นายกรัฐมนตรี” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.64 คะแนน กรุงเทพ 7.81 คะแนน ต่างจังหวัด 7.43 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.62 คะแนน กรุงเทพ 6.68 คะแนน ต่างจังหวัด 6.55 คะแนน
ลดลง - 1.02 คะแนน - 1.13 คะแนน - 0.08 คะแนน
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า มีการทำงานที่ล่าช้า ตัดสินใจช้า ยึดระบบราชการมากเกินไป ไม่ทำงานเชิงรุก แต่ประชาชนมี ความ
นิยมในบุคลิกลักษณะและความซื่อสัตย์ของนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก ฯลฯ
2. เปรียบเทียบคะแนนของ “คณะรัฐมนตรี” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.23 คะแนน กรุงเทพ 7.49 คะแนน ต่างจังหวัด 6.90 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.18 คะแนน กรุงเทพ 6.24 คะแนน ต่างจังหวัด 6.10 คะแนน
ลดลง - 1.05 คะแนน - 1.25 คะแนน - 0.80 คะแนน
เหตุผลที่คะแนนลดลงเพราะ ประชาชนค่อนข้างคาดหวังต่อคณะรัฐมนตรีสูง แต่ผลงานที่ปรากฏเป็นรูปธรรมมีน้อย ไม่เด่นชัด ไม่ทันใจ
ประชาชน และทำงานยึดระบบราชการมากเกินไป ไม่กล้าตัดสินใจ ฯลฯ
3. เปรียบเทียบคะแนนของ “ประธาน คมช.” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.58 คะแนน กรุงเทพ 7.75 คะแนน ต่างจังหวัด 7.37 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.58 คะแนน กรุงเทพ 6.55 คะแนน ต่างจังหวัด 6.61 คะแนน
ลดลง -1.00 คะแนน -1.20 คะแนน - 0.76 คะแนน
คนต่างจังหวัดยังคงให้ความชื่นชมกับประธานคมช.มากกว่าคนกรุงเทพฯ แต่ก็ค่อนข้างผิดหวังกับความไม่เด็ดขาด โดยเฉพาะ การป้องกัน
และแก้ไขเหตุร้าย เช่น ระเบิดตามจุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งกระแสข่าวความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคมช. ฯลฯ
4. เปรียบเทียบคะแนนของ “คณะ คมช.” เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งกับการทำงานที่ผ่านพ้นไป 6 เดือน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
- เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ภาพรวมได้คะแนน 7.13 คะแนน กรุงเทพ 7.31 คะแนน ต่างจังหวัด 6.90 คะแนน
- หลังทำงานครบ 6 เดือน ภาพรวมได้คะแนน 6.21 คะแนน กรุงเทพ 6.29 คะแนน ต่างจังหวัด 6.10 คะแนน
ลดลง -0.92 คะแนน -1.02 คะแนน - 0.80 คะแนน
สาเหตุหลักที่ทำให้คะแนนนิยมคณะคมช.ลดลง เพราะไม่สามารถป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์ความไม่สงบ เช่น ระเบิด รวมทั้งข่าวขัดแย้ง
ระหว่างคมช.กับรัฐบาล ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-