**หลังจากการสลายการชุมนุมประชาชนเห็นว่า “การเมืองยังเหมือนเดิม ” ไม่ดีขึ้น และ “ไม่แน่ใจ” ว่าการสร้างความปรองดองจะทำได้สำเร็จ
**นักการเมืองต้องลดทิฐิ พบกันคนละครึ่งทาง จึงจะช่วยให้การเมืองดีขึ้น !!!
นับจากเหตุความรุนแรงเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ผ่านมาครบ 1 เดือน มีประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดงไปร่วมทำบุญใหญ่กันที่วัดปทุมวนารามเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต ซึ่งบรรยากาศในภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ในขณะที่ด้านนายกฯ อภิสิทธิ์ก็เร่งดำเนินการหาแนวทางสร้างความปรองดอง และแผนปฏิรูปประเทศที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เป็นรูปธรรมชัดเจน โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน และนายแพทย์ประเวศ วะสี เข้าร่วมการปฏิรูปครั้งนี้ จนเป็นประเด็นที่สังคมต่างให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นจากประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,274 คน ระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายน 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เหมือนเดิม 48.28%
เพราะ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาจากที่คนบางกลุ่มมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ,ปัญหาต่างๆหรือข้อกังขาที่มีขึ้นยังไม่ได้รับการชี้แจงหรือคลี่คลายให้หมดไป ฯลฯ
อันดับ 2 ดีขึ้น 39.65%
เพราะ ที่ผ่านมาคนไทยทุกคนต่างได้รับบทเรียนครั้งใหญ่ ทำให้คนไทยหวังที่จะเห็นความสงบสุขของบ้านเมืองเกิดขึ้นอีกครั้ง ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 12.07%
เพราะ สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ในขณะนี้ยังมองไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน บางฝ่ายยังมองว่าเป็นสองมาตรฐานอยู่ ฯลฯ
อันดับ 1 เหมือนเดิม 66.93%
เพราะ นักการเมืองเหมือนเป็นไม้เบื่อไม้เมา ,การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ฯลฯ
อันดับ 2 แย่ลง 22.81%
เพราะ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมที่จะลดราวาศอกกัน ดูเหมือนยังเล่นเกมการเมืองกันอยู่ ฯลฯ
อันดับ 3 ดีขึ้น 10.26%
เพราะ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนครั้งสำคัญต่อทุกคน คงไม่มีใครอยากเห็นบ้านเมืองและคนไทยต้องบอบช้ำอีก ,ไม่มีการชุมนุมเกิดขึ้นให้เห็น ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 34.48%
เพราะ กลัวเป็นเพียงแค่กระแสระยะสั้นๆ ที่รัฐบาลใช้ในการสร้างคะแนนนิยม ,ที่ผ่านมาทุกคนต่างได้รับบทเรียนและผลกระทบมากมาย ,การสร้างความปรองดองต้องใช้เวลานาน และอาศัยการปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่วัยเยาว์ ฯลฯ
อันดับ 2 น่าจะสมหวัง 25.86%
เพราะ จากกระแสข่าวในช่วงนี้เห็นได้ว่าทุกฝ่ายต้องการที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น ,มีทั้งบุคคลภายนอกที่เข้ามาช่วยและอีกหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่เต็มใจให้ความร่วมมือ ฯลฯ
อันดับ 3 คงไม่สมหวัง 20.69%
เพราะ การเปลี่ยนความคิดของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะนักการเมือง ,มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลพยายามจะสร้างความปรองดอง ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่สมหวังแน่นอน 15.52%
เพราะ ไม่เชื่อว่าการปรองดองจะเกิดขึ้นได้จริง ที่ผ่านมาเห็นแล้วว่าแต่ละฝ่ายมีความขัดแย้งที่ร้าวลึก ยากที่จะประสานให้ดีกันได้ ฯลฯ
อันดับ 5 สมหวังแน่นอน 3.45%
เพราะ เชื่อว่าคนไทยทุกคนอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข รัฐบาลได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะสร้างความปรองดองและสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ฯลฯ
อันดับ 1 คนในชาติต้องสมัครสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันที่จะฟื้นฟูประเทศ 34.62% อันดับ 2 นักการเมืองทุกคนต้องลดทิฐิ ไม่มีอคติต่อกัน /ยอมพบกันคนละครึ่งทาง 27.18% อันดับ 3 การรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังความเห็นของประชาชนก่อนตัดสินใจในเรื่องสำคัญ 16.48% อันดับ 4 การแก้ปัญหาความยากจน / ลดช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจน /ในเมือง-ชนบท 16.07% อันดับ 5 ต้องเริ่มจากตัวเองก่อน ทำหน้าที่ให้ดีที่สุดและลุกขึ้นมาเริ่มต้นทำสิ่งดีๆเพื่อส่วนรวม 5.65% 5. ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการปรองดอง คือ อันดับ 1 การแตกแยกทางความคิด / ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มองคนละมุม 57.78% อันดับ 2 ความไม่จริงใจในการแก้ไขปัญหา / การปกปิดข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ 18.63% อันดับ 3 ความเหลื่อมล้ำในสังคม / ไม่ได้รับความยุติธรรม 12.57% อันดับ 4 การไม่เคารพกฎหมายและกติกาของสังคม 11.02% 6. บุคคลใดหรือหน่วยงานใด? ที่จะช่วยให้มีความสมหวังในเรื่องของความปรองดอง อันดับ 1 นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล 41.33% อันดับ 2 นักการเมือง 35.61% อันดับ 3 คนไทยทุกคน 13.27% อันดับ 4 นายอานันท์ ปันยารชุน และ นายแพทย์ประเวศ วะสี 4.99% อันดับ 5 สื่อมวลชน 4.80%
--สวนดุสิตโพล--