** จากเหตุการณ์ระเบิด ประชาชน 75.68% เชื่อว่ามีการเมืองเกี่ยวข้อง / 60.53% คิดว่าจะไม่ได้ตัวผู้อยู่เบื้องหลัง และส่งผลต่อการปรองดองทางการเมือง **
จากเหตุการณ์ระเบิดหน้าพรรคภูมิใจไทย ถือว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจ และท้าทายต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังอยู่ระหว่างที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่ ทำให้หลายฝ่ายมองว่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง และมีแนวโน้มว่าความรุนแรงจะยังคงมีต่อไป “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ ปริมณฑลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,266 คน ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2553 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นของประชาชน กับ เหตุการณ์ระเบิดที่หน้าพรรคภูมิใจไทย
อันดับ 1 เป็นการกระทำที่อุกอาจ รุนแรง หวังที่จะเอาชีวิต /ท้าทายกฎหมายบ้านเมือง 34.29% อันดับ 2 มาจากความขัดแย้งทางการเมือง / มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง 30.86% อันดับ 3 แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองของเรายังไม่เข้าสู่สภาวะปกติ / ความขัดแย้งต่าง ๆ ยังคงมีอยู่และอาจรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก 21.77% อันดับ 4 เป็นการสร้างสถานการณ์ /ต้องการข่มขู่หรือส่งสัญญาณเตือนถึงอะไรบางอย่าง 13.08% 2. จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบอะไรบ้าง? อันดับ 1 ส่งผลให้การเมืองไทยร้อนแรงมากขึ้น 37.61% อันดับ 2 ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาล 31.05% อันดับ 3 สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชน เกรงว่าจะได้รับอันตรายและไม่มีความปลอดภัย 16.44% อันดับ 4 ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติในเรื่องของความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 14.90% 3. จากเหตุการณ์ระเบิดที่หน้าพรรคภูมิใจไทย ประชาชนคิดว่ามีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่? อันดับ 1 มี เรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง 75.68%
เพราะ มีปมหรือประเด็นทางการเมืองที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ,มาจากเรื่องของความขัดแย้งทางการเมือง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 18.91%
เพราะ อาจเป็นมือที่สามที่ต้องการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวาย ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่มี เรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง 5.41%
เพราะ อาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัว เรื่องธุรกิจ ผลประโยชน์ / ไม่ทราบข้อมูล-สาเหตุที่แท้จริง ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่ได้ 60.53%
เพราะ มีหลายคดีที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันแต่ก็เงียบหายไป , ผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะเป็นพวกมีสีหรือมีอิทธิพล ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 31.58%
เพราะ อาจมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่มากกว่านี้ ,ขึ้นอยู่กับการเอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ
อันดับ 3 ได้ 7.89%
เพราะ เป็นคดีที่สังคมให้ความสนใจและควรแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ
อันดับ 1 เร่งจับตัวผู้กระทำความผิดเพื่อนำตัวมาสืบสวนและดำเนินคดีตามกฎหมาย 43.26% อันดับ 2 รัฐบาลเองต้องเร่งแก้ปัญหาต่างๆให้ยุติลงโดยเร็ว 30.07% อันดับ 3 หน่วยข่าวกรองต้องสืบหาข้อเท็จจริงและมีการข่าวที่แม่นยำเพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุร้ายที่อาจมีขึ้น 17.35% อันดับ 4 ขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนให้ช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลสอดส่องสิ่งที่ไม่ชอบมาพากล 9.32% 6. จากเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้น ควรจะมีการยืด พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ อันดับ 1 ควร 42.11%
เพราะ เหตุการณ์นี้เป็นบทเรียน อุทาหรณ์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการควบคุมดูแล ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ควร 39.47%
เพราะ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้รุนแรงถึงกับต้องประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน , กระทบต่อภาพลักษณ์และสังคมโดยรวม ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 18.42%
เพราะ ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ระเบิด ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่มีผล 44.73%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชนว่าจะเลือกใคร? , หากทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายก็ไม่มีปัญหาอะไร ฯลฯ
อันดับ 2 มีผล 38.47%
เพราะ มีผลกระทบต่อการลงพื้นที่หาเสียง , มีกฎ ข้อบังคับหลายอย่างที่ผู้สมัครอาจไม่ได้รับความสะดวกในการหาเสียง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 16.80%
เพราะ ยังไม่รู้ว่าในช่วงที่มีการเลือกตั้งจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง คงต้องรอดูต่อไป ฯลฯ
อันดับ 1 ส่งผล 56.26%
เพราะ อาจถูกนำมาใช้เป็นประเด็นโจมตีกัน ก่อให้เกิดความขัดแย้งและสร้างความปรองดองยากขึ้นฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ส่งผล 27.95%
เพราะ ไม่ควรนำมาเชื่อมโยงกัน , ที่ผ่านมาก็ไม่สามารถปรองดองหรือหาข้อยุติลงได้ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 15.79%
เพราะ แผนสร้างความปรองดองยังไม่มีอะไรคืบหน้า ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--