** จากเหตุระเบิดประชาชนคิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องการขยายเวลา พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และคิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมคนร้ายไม่ได้**
จากเหตุการณ์ระเบิดบริเวณป้ายรถเมล์หน้าห้างบิ๊กซี สาขาราชดำริเป็นเหตุทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มกำลังดูแลและเฝ้าระวังสถานที่ที่เป็นจุดเสี่ยงสำคัญเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่รัฐบาลเองก็ต้องพิจารณาว่าจะคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว จำนวน 1,304 คน ระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เป็นการสร้างสถานการณ์ ต้องการทำให้บ้านเมืองปั่นป่วน 53.40% อันดับ 2 เป็นการกระทำที่อุกอาจ ท้าทายอำนาจรัฐ 20.58% อันดับ 3 ไม่อยากเห็นเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องต้องบาดเจ็บล้มตาย 13.95% อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น /เข้มงวด กวดขันมากขึ้น 12.07% 2. เหตุการณ์ระเบิดหน้าห้างบิ๊กซี เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่? อันดับ 1 เกี่ยวข้องกับการเมือง 85.18%
เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ยังไม่สงบลง ,เป็นย่านธุรกิจสำคัญและเคยเป็นพื้นที่ชุมนุมทางการเมือง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 11.12%
เพราะ ควรรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง 3.70%
เพราะ อาจมีสาเหตุมาจากเรื่องอื่น ,ไม่ควรโยงเข้าไปเกี่ยวกับการเมือง ฯลฯ
อันดับ 1 ต้องการขยายเวลา 47.06%
เพราะ เพื่อความสะดวกในการป้องกัน ควบคุม ดูแลของเจ้าหน้าที่ตำรวจ , สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 29.42%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ต้องการขยายเวลา 23.52%
เพราะ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มกำลังและเข้มงวดกวดขันมากขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯลฯ
อันดับ 1 ควร 46.87%
เพราะ ทำให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัยมากขึ้น ,ผู้ที่ไม่หวังดีไม่สามารถก่อเหตุได้ง่าย ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ควร 32.75%
เพราะ เป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความเห็นที่ขัดแย้งในสังคม ,ภาพลักษณ์ของประเทศดูไม่ปลอดภัย ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ /มีก็ได้ไม่มีก็ได้ 20.38%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการตีความ การนำไปใช้ และการปฏิบัติของทุกฝ่าย ,มีหรือไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็เกิดเหตุร้ายได้เหมือนกัน ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่ได้ 56.61%
เพราะ ที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้หลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 24.40%
เพราะ ต้องดูพยานแวดล้อมและหลักฐานประกอบหลายอย่าง ฯลฯ
อันดับ 3 ได้ 18.99%
เพราะ เจ้าหน้าที่ตำรวจน่าจะรู้เบาะแสว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด , เป็นการสร้างผลงานและพิสูจน์ความสามารถของตำรวจ ,ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและติดตามข่าวนี้ ฯลฯ
อันดับ 1 เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ /เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบตามจุดสำคัญๆ 37.13% อันดับ 2 ขอความร่วมมือจากประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตาเมื่อพบเจอสิ่งผิดปกติ /รีบแจ้งทันที 26.20% อันดับ 3 ด้านการข่าว / หน่วยข่าวกรองต้องตรวจสอบหรือเช็คข่าวให้มากขึ้น 18.71% อันดับ 4 ติดตั้งกล้องวงจรปิดตามที่สาธารณะเพิ่มมากขึ้น 11.24% อันดับ 5 มีการตั้งรางวัลให้แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลของผู้ที่กระทำผิด 6.72%
--สวนดุสิตโพล--