จากกรณีที่กัมพูชายื่นเอกสารจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อคณะกรรมการมรดกโลก โดยรัฐบาลไทยมีการยื่นคัดค้านการดำเนินการและไม่สามารถยอมรับข้อเสนอได้ ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อดินแดนของทั้ง 2 ประเทศ และจะนำไปสู่ความขัดแย้งในขณะที่คณะกรรมการมรดกโลกขอเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารออกไปเป็นการประชุมครั้งหน้าที่ประเทศบาห์เรน ในปี 2554 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,148 คน ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม — 1 สิงหาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 2 อยากให้เจรจาอย่างสันติ เพื่อนำไปสู่ข้อยุติที่น่าพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย 29.20% อันดับ 3 เป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สวยงาม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 11.43% อันดับ 4 ชื่นชมทีมเจรจาที่สามารถทำให้ คกก.มรดกโลกเลื่อนการพิจารณาออกไป/ทำให้มีเวลาเตรียมการมากขึ้น 10.86% 2. จากกรณี “เขาพระวิหาร” ทำให้ประชาชนวิตกกังวลในเรื่องใด? อันดับ 1 กลัวว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศ /กระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาที่มีมายาวนาน 40.18% อันดับ 2 กลัวจะสูญเสียเขตแดนรอบปราสาทเขาพระวิหารไป 25.42% อันดับ 3 กลัวว่าจะเกิดการปะทะกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา /ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆไม่ปลอดภัย 20.74% อันดับ 4 ส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่บริเวณชายแดน/ส่งผลต่อการท่องเที่ยว 13.66% 3. “รัฐบาลไทย” ควรดำเนินการ กรณี “เขาพระวิหาร” อย่างไร ? อันดับ 1 ควรชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนชาวไทยและต่างชาติได้ทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง 32.96% อันดับ 2 รัฐบาลต้องเตรียมการ /เตรียมความพร้อมของข้อมูลและแผนที่แสดงเส้นแบ่งเขตแดน/ทำงานเชิงรุก 26.43% อันดับ 3 เฝ้าระวัง ติดตามความเคลื่อนไหวของกัมพูชา และดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่อยู่ตามชายแดน 21.32% อันดับ 4 รัฐบาลต้องอดทน ใช้วิธีการเจรจาในการแก้ปัญหา 19.29% 4. “ในฐานะคนไทย” จะมีส่วนช่วยอะไรได้บ้าง ? อันดับ 1 สวดมนต์ ภาวนา ไม่ให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเขตแดนไป 58.27% อันดับ 2 จะคอยเป็นกำลังใจให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องนี้ให้สำเร็จได้ด้วยดี 31.56% อันดับ 3 จะติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด /หากมีโอกาสชี้แจงหรือพูดคุยกับคนอื่น จะได้พูดอย่างถูกต้อง 10.17% --เอแบคโพลล์-- -พห-