ปัญหา “โจรใต้” เป็นภัยที่ต่อเนื่องมายาวนาน และเป็นกระแสข่าวที่สื่อต่างๆ ได้นำเสนอมาโดยตลอด
ทั้งเหตุการณ์ และวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สะท้อนความคิดเห็นจากผู้ที่สนใจ และติดตามเรื่องนี้ ทุกสาขาอาชีพ ใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,274 คน (ชาย 609 คน 47.80% หญิง 665 คน 52.20%) โดย
สำรวจระหว่างวันที่ 16 — 18 กรกฎาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนติดตามข่าว “โจรใต้” ฆ่าทำร้ายเจ้าหน้าที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ติดตามแทบทุกวัน 28.57% 51.14% 39.86%
เพราะ ทุกช่องทุกสื่อมีการนำเสนอเรื่องนี้ตลอด, เป็นข่าวที่น่าสนใจ น่าติดตาม, มีการนำเสนอทุกวัน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ติดตามทุกวัน 40.48% 30.68% 35.58%
เพราะ ต้องการทราบสถานการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น, ติดตามข่าวสารเป็นประจำอยู่แล้ว, เป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยติดตาม 26.19% 14.77% 20.48%
เพราะ ไม่มีเวลา, มีข่าวออกมาบ่อยครั้งแต่ไม่สามารถปราบปรามได้, มีแต่ภาพความรุนแรงจึงไม่อยากชม ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ได้ติดตามเลย 4.76% 3.41% 4.08%
เพราะ เบื่อข่าวนี้มากๆ, มีแต่ความรุนแรงในการนำเสนอ ฯลฯ
2. ประชาชนเบื่อข่าว “โจรใต้” ที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ หรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เบื่อ 47.62% 42.61% 45.12%
เพราะ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นทุกวัน, สถานการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงจึงไม่อยากชม, ปราบปรามไม่ได้แบบ
เด็ดขาด, ผู้เสียชีวิตคือผู้บริสุทธิ์เป็นส่วนใหญ่ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เบื่อ 30.95% 40.00% 35.48%
เพราะ อยากทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น, ได้ทราบความเคลื่อนไหวในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 21.43% 17.39% 19.40%
เพราะ เป็นข่าวที่ประชาชนควรทราบ, เป็นข่าวที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นความเคยชิน ฯลฯ
3. การนำเสนอข่าวของสื่อเกี่ยวกับ “โจรใต้” ณ วันนี้ ประชาชนคิดว่าเหมาะสมหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหมาะสมแล้ว 35.71% 43.14% 39.43%
เพราะ สื่อได้ทำหน้าที่ฐานะตัวกลางในการเผยแพร่ได้ดีแล้ว, มีการนำเสนอที่ชัดเจนทำให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังไม่เหมาะสม 40.48% 29.41% 34.95%
เพราะ มีการนำเสนอภาพความรุนแรงจนเกินไปอาจทำให้ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น, ควรนำเสนอชีวิตความเป็นอยู่
ของประชาชนใน 3 จังหวัดมากกว่าความรุนแรงจากการก่อการร้าย ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 23.81% 27.45% 25.62%
เพราะ เป็นหน้าที่ของสื่อในการนำเสนอข่าวสารให้ประชาชนทราบ, นำเสนอตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ฯลฯ
4. ประชาชนมีความพึงพอใจในการนำเสนอข่าว “โจรใต้” ในแต่ละด้านของสื่อ ณ วันนี้อย่างไร ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ด้านความรวดเร็ว 33.48% 35.64% 34.56%
อันดับที่ 2 ด้านเนื้อหา/เรื่องราว 25.17% 27.08% 26.13%
อันดับที่ 3 ด้านความเที่ยงตรง 21.80% 20.70% 21.25%
อันดับที่ 4 ด้านรายละเอียด 19.55% 16.58% 18.06%
5. จากการติดตามข่าวโจรใต้ ประชาชนคิดว่า วิธีการแก้ไขเรื่องนี้ ควรทำอย่างไร?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรปราบปรามอย่างจริงจังและมีมาตรการที่เด็ดขาด 34.48% 51.56% 43.03%
อันดับที่ 2 สร้างความสามัคคี/ปลูกจิตสำนึกที่ดี และแก้ไขด้วยสันติวิธี 20.60% 21.88% 21.28%
อันดับที่ 3 ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งภาครัฐและประชาชน 34.48% 7.81% 21.14%
อันดับที่ 4 จับผู้กระทำผิดและผู้บงการให้ได้โดยเร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน 6.89% 15.62% 11.26%
อันดับที่ 5 การข่าวควรดีกว่านี้ จะได้รู้ว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหนบ้างเพื่อเตรียมการป้องกัน 3.46% 3.13% 3.29%
6. ประชาชนคิดว่าการประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉิน จะช่วยแก้ปัญหาโจรใต้ได้หรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 30.95% 50.00% 40.48%
เพราะ อาจมีความกดดันทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น, อาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น, ไม่มีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา ฯลฯ
อันดับที่ 2 แก้ไขได้ 42.86% 23.53% 33.19%
เพราะ เป็นมาตรการที่เด็ดขาดวิธีหนึ่งซึ่งอาจจะลดความรุนแรงได้บ้าง, ทำให้ประชาชนปลอดภัยมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 แก้ไขไม่ได้ 26.19% 26.47% 26.33%
เพราะ อาจทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น, ยังไม่มีมาตรการปราบปรามอย่างจริงจัง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ทั้งเหตุการณ์ และวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สะท้อนความคิดเห็นจากผู้ที่สนใจ และติดตามเรื่องนี้ ทุกสาขาอาชีพ ใน
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,274 คน (ชาย 609 คน 47.80% หญิง 665 คน 52.20%) โดย
สำรวจระหว่างวันที่ 16 — 18 กรกฎาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนติดตามข่าว “โจรใต้” ฆ่าทำร้ายเจ้าหน้าที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ติดตามแทบทุกวัน 28.57% 51.14% 39.86%
เพราะ ทุกช่องทุกสื่อมีการนำเสนอเรื่องนี้ตลอด, เป็นข่าวที่น่าสนใจ น่าติดตาม, มีการนำเสนอทุกวัน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ติดตามทุกวัน 40.48% 30.68% 35.58%
เพราะ ต้องการทราบสถานการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น, ติดตามข่าวสารเป็นประจำอยู่แล้ว, เป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยติดตาม 26.19% 14.77% 20.48%
เพราะ ไม่มีเวลา, มีข่าวออกมาบ่อยครั้งแต่ไม่สามารถปราบปรามได้, มีแต่ภาพความรุนแรงจึงไม่อยากชม ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ได้ติดตามเลย 4.76% 3.41% 4.08%
เพราะ เบื่อข่าวนี้มากๆ, มีแต่ความรุนแรงในการนำเสนอ ฯลฯ
2. ประชาชนเบื่อข่าว “โจรใต้” ที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ หรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เบื่อ 47.62% 42.61% 45.12%
เพราะ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นทุกวัน, สถานการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงจึงไม่อยากชม, ปราบปรามไม่ได้แบบ
เด็ดขาด, ผู้เสียชีวิตคือผู้บริสุทธิ์เป็นส่วนใหญ่ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่เบื่อ 30.95% 40.00% 35.48%
เพราะ อยากทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น, ได้ทราบความเคลื่อนไหวในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 21.43% 17.39% 19.40%
เพราะ เป็นข่าวที่ประชาชนควรทราบ, เป็นข่าวที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นความเคยชิน ฯลฯ
3. การนำเสนอข่าวของสื่อเกี่ยวกับ “โจรใต้” ณ วันนี้ ประชาชนคิดว่าเหมาะสมหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหมาะสมแล้ว 35.71% 43.14% 39.43%
เพราะ สื่อได้ทำหน้าที่ฐานะตัวกลางในการเผยแพร่ได้ดีแล้ว, มีการนำเสนอที่ชัดเจนทำให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังไม่เหมาะสม 40.48% 29.41% 34.95%
เพราะ มีการนำเสนอภาพความรุนแรงจนเกินไปอาจทำให้ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น, ควรนำเสนอชีวิตความเป็นอยู่
ของประชาชนใน 3 จังหวัดมากกว่าความรุนแรงจากการก่อการร้าย ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 23.81% 27.45% 25.62%
เพราะ เป็นหน้าที่ของสื่อในการนำเสนอข่าวสารให้ประชาชนทราบ, นำเสนอตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ฯลฯ
4. ประชาชนมีความพึงพอใจในการนำเสนอข่าว “โจรใต้” ในแต่ละด้านของสื่อ ณ วันนี้อย่างไร ?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ด้านความรวดเร็ว 33.48% 35.64% 34.56%
อันดับที่ 2 ด้านเนื้อหา/เรื่องราว 25.17% 27.08% 26.13%
อันดับที่ 3 ด้านความเที่ยงตรง 21.80% 20.70% 21.25%
อันดับที่ 4 ด้านรายละเอียด 19.55% 16.58% 18.06%
5. จากการติดตามข่าวโจรใต้ ประชาชนคิดว่า วิธีการแก้ไขเรื่องนี้ ควรทำอย่างไร?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรปราบปรามอย่างจริงจังและมีมาตรการที่เด็ดขาด 34.48% 51.56% 43.03%
อันดับที่ 2 สร้างความสามัคคี/ปลูกจิตสำนึกที่ดี และแก้ไขด้วยสันติวิธี 20.60% 21.88% 21.28%
อันดับที่ 3 ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งภาครัฐและประชาชน 34.48% 7.81% 21.14%
อันดับที่ 4 จับผู้กระทำผิดและผู้บงการให้ได้โดยเร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน 6.89% 15.62% 11.26%
อันดับที่ 5 การข่าวควรดีกว่านี้ จะได้รู้ว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหนบ้างเพื่อเตรียมการป้องกัน 3.46% 3.13% 3.29%
6. ประชาชนคิดว่าการประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉิน จะช่วยแก้ปัญหาโจรใต้ได้หรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 30.95% 50.00% 40.48%
เพราะ อาจมีความกดดันทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น, อาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น, ไม่มีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา ฯลฯ
อันดับที่ 2 แก้ไขได้ 42.86% 23.53% 33.19%
เพราะ เป็นมาตรการที่เด็ดขาดวิธีหนึ่งซึ่งอาจจะลดความรุนแรงได้บ้าง, ทำให้ประชาชนปลอดภัยมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 แก้ไขไม่ได้ 26.19% 26.47% 26.33%
เพราะ อาจทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น, ยังไม่มีมาตรการปราบปรามอย่างจริงจัง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-