รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดีและประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาในช่วงที่ผ่านมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ทำให้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 (ปี 2552-2561) การประชาสัมพันธ์เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี ระหว่างองค์กรหรือสถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหวังผลในความร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชนนั่นเอง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์การศึกษา จำนวน 1,549 คน ระหว่างวันที่ 14-18 สิงหาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
1. ข่าวการศึกษาแบบไหน? ที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ อันดับ 1 การให้ทุน เงินกู้ เรียนฟรี สิทธิต่างๆสำหรับนักเรียน นักศึกษา 37.84% อันดับ 2 การสอบเข้ามหาวิทยาลัย /การเลือกเรียนสาขาวิชาที่จบออกมาแล้วมีงานทำ 31.87% อันดับ 3 การนำเสนอข่าวเด็กที่มีความสามารถพิเศษ เก่ง ได้รับรางวัล ฯลฯ 15.70% อันดับ 4 นโยบาย หลักสูตรการศึกษา /การปฏิรูปการศึกษา 14.59% 2. “จุดเด่น” ของการประชาสัมพันธ์ด้านการศึกษาในสายตาประชาชน อันดับ 1 การนำรัฐมนตรีหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในแวดวงการศึกษามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ 52.03% อันดับ 2 มีสถานีโทรทัศน์ทางการศึกษาเพื่อเผยแพร่ข่าวสารด้านการศึกษา 27.62% อันดับ 3 ใช้โรงเรียน /ครู เป็นเครือข่ายในการกระจายข้อมูลข่าวสารไปยังนักเรียน ผู้ปกครอง 20.35% 3. “จุดด้อย” ของการประชาสัมพันธ์ด้านการศึกษาในสายตาประชาชน อันดับ 1 การบริหารงานไม่ต่อเนื่องเพราะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ หลายครั้ง 37.44% อันดับ 2 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ /เนื้อหาที่ถ่ายทอดเข้าใจยาก 31.09% อันดับ 3 ผู้บริหาร ครู อาจารย์ยังไม่เข้าใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาดีพอ 17.23% อันดับ 4 งบประมาณในการสนับสนุนไม่เพียงพอ /มีจำกัด 14.24% 4. ประชาสัมพันธ์อย่างไร? จึงจะทำให้การปฏิรูปการศึกษา รอบ 2 สำเร็จ อันดับ 1 ต้องประชาสัมพันธ์เชิงรุก ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 46.99% อันดับ 2 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือ /สื่อมวลชนนำเสนอข่าวสารอย่างต่อเนื่อง 29.18% อันดับ 3 ผู้บริหารโรงเรียนต้องเข้าใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาอย่างชัดเจน และสามารถนำไปถ่ายทอด ให้กับครูและผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง 12.27% อันดับ 4 จัดกิจกรรม นิทรรศการลงไปยังพื้นที่ต่างๆ หรือใช้ใช้ละคร เรื่องสั้นเป็นสื่อ 11.56% --เอแบคโพลล์-- -พห-