จากที่กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการตรึงราคาสินค้าและจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนนี้ ทำให้ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น โดยนายกฯ อภิสิทธิ์ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามดูแลราคาสินค้าอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอุปโภคบริโภค ของใช้ในชีวิตประจำวันและอาหาร ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ จะมีการพิจารณาตามต้นทุนและผลกระทบที่แท้จริง เนื่องจากต้องการให้เกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มแม่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลครอบครัว และมีอำนาจในการตัดสินใจในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,729 คน ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 2 กันยายน 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เนื้อสัตว์ / ไข่ 40.13% อันดับ 2 ผัก ผลไม้ 22.98% อันดับ 3 ของใช้ส่วนตัว /ของใช้ในบ้าน 14.62% อันดับ 4 ข้าวสาร 12.03% อันดับ 5 อาหารแห้ง /เครื่องปรุงรส 10.24% 2. จากกรณี สินค้าแพงมีผลกระทบต่อแม่บ้านในเรื่องใดบ้าง? อันดับ 1 ต้องประหยัด /ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป 60.72% อันดับ 2 ต้องนำเงินเก็บ / เงินที่ต้องใช้ในเรื่องอื่นออกมาใช้ก่อน 14.92% อันดับ 3 ทำให้วิตกกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ 13.68% อันดับ 4 ต้องซื้อของแบบผ่อน /เชื่อไว้ก่อน 6.21% อันดับ 5 ต้องกู้หนี้ ยืมสินมาใช้ก่อน 4.47% 3. จากกรณี สินค้าแพงทำให้พฤติกรรมการซื้อของแม่บ้านเปลี่ยนไปอย่างไร? อันดับ 1 ซื้อของกิน -ของใช้เท่าที่จำเป็น 59.17% อันดับ 2 เลือกซื้อสินค้าประเภทเดียวกันแต่มีราคาถูกกว่ามาแทน 21.08% อันดับ 3 ซื้อของในช่วงที่มีการลดราคาหรือ ลด แลก แจก แถม 16.65% อันดับ 4 หันมาปลูกพืชผักสวนครัวกินเอง 3.10% 4. วิธีแก้ไขปัญหาสินค้าแพง คือ อันดับ 1 ควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน /ป้องกันการฉวยโอกาสของพ่อค้า 48.58% อันดับ 2 กระทรวงพาณิชย์นำสินค้าอุปโภค บริโภคออกมาจำหน่ายในราคาถูก /มีตลาดนัดราคาถูก 20.34% อันดับ 3 ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้าที่มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ / ไม่กักตุนสินค้า 16.51% อันดับ 4 ประชาชนเองต้องประหยัด อดออม เลือกซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น 14.57% 5. ถ้าตัวท่านเองเป็นนายกรัฐมนตรีจะแก้ไขอย่างไร? อันดับ 1 มีมาตรการป้องกัน ควบคุมการกักตุนสินค้าและขายสินค้าเกินราคาที่กำหนด 33.40% อันดับ 2 ต้องรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเพื่อนำไปแก้ไขให้ดีขึ้น 25.28% อันดับ 3 ลงไปสำรวจตลาดด้วยตนเอง /พูดคุยกับพ่อค้า ผู้ประกอบการถึงปัญหาสินค้าแพง 14.32% อันดับ 4 รัฐบาลควรรับซื้อสินค้าไว้เองและนำมาจำหน่ายให้กับประชาชนโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง 14.03% อันดับ 5 ช่วยเหลือทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ เช่น ลดภาษีสินค้าให้ถูกลง จัดงานธงฟ้าอย่างต่อเนื่อง 12.97%
--สวนดุสิตโพล--