นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday July 28, 2011 15:00 —ประกาศ ก.ล.ต.

28 กรกฎาคม 2554

เรียน ผู้จัดการ

บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ

กองทุนรวม/กองทุนส่วนบุคคลทุกบริษัท

ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทุกราย

ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลทุกราย

นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน

ที่ น.(ว) 8/2554 เรื่อง นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ

ด้วยสำนักงานได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้าใจที่ตรงกันและถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดได้อย่างถูกต้อง สำนักงานจึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การลงทุนในศุกูกและเงินฝากธนาคารอิสลาม

เพื่อให้กองทุนรวมมีช่องทางการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น และยังเป็นการช่วยพัฒนาตลาดศุกูก สำนักงานจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์โดยอนุญาตให้กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถลงทุนในศุกูกและเงินฝากธนาคารอิสลามได้ ภายใต้หลักเกณฑ์และอัตราส่วนการลงทุน (company limit group limit และ product limit) ในลักษณะเดียวกับที่ประกาศกำหนดไว้ สำหรับตราสารหนี้และเงินฝากทั่วไป โดยบริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลคำเตือนเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงของศุกูกและเงินฝากธนาคารอิสลาม ที่อาจแตกต่างจากตราสารทางการเงินทั่วไปอย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนด้วย

อย่างไรก็ดี สำหรับกองทุนรวมตลาดเงิน (“MMF”) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับ MMF ซึ่งผู้ลงทุนมีความคาดหวังให้เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง และใช้ทดแทนการฝากเงินกับธนาคาร ในชั้นนี้ยังไม่อนุญาตให้ลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว เนื่องจากศุกูกและเงินฝากธนาคารอิสลามอาจมีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงที่แตกต่างจากตราสารทางการเงินทั่วไป

2. การปรับปรุงอัตราส่วนการลงทุน ในสถาบันการเงิน

เนื่องจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทยอยลดวงเงินที่คุ้มครองลง โดยจะลดวงเงินคุ้มครองเป็นไม่เกิน 50 ล้านบาทในวันที่ 11 สิงหาคม 2554 และไม่เกิน 1 ล้านบาทในวันที่ 11 สิงหาคม 2555 ซึ่งอาจมีผลให้ความเสี่ยงของกองทุนที่ลงทุนในเงินฝากของสถาบันการเงิน เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน สำนักงานจึงปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ดังนี้

(2.1) กำหนด company limit ในเงินฝาก รวมถึงตราสารและธุรกรรมที่ทำกับสถาบันการเงิน (ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และบริษัทเงินทุน) โดยพิจารณาจาก rating ของตราสารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เพื่อให้กองทุนมีการกระจายการลงทุนที่สอดคล้องกับคุณภาพของตราสารหรือสถาบันการเงินดังกล่าว โดยหากสถาบันการเงินในประเทศที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นไม่มี rating อาจพิจารณาจาก support rating ที่เทียบเคียงกันแทนก็ได้

(2.2) ปรับลด company limit สำหรับการลงทุนในสถาบันการเงินสำหรับ กรณีกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น จากเดิมไม่เกินร้อยละ 30 เป็นไม่เกินร้อยละ 20 ของ NAV โดยต้องพิจารณาจาก rating ของตราสารหรือสถาบันการเงินด้วย

ทั้งนี้ สรุปการปรับปรุงหลักเกณฑ์ company limit ในสถาบันการเงินตามที่กล่าวข้างต้นดังนี้

Company limit ในสถาบันการเงิน
                ประเภทกองทุน                     อันดับความน่าเชื่อถือ                 Company limit
    1 กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ        1.1 investment grade             - ไม่เกินร้อยละ 20 ของ NAV
     และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย             1.2 ต่ำกว่า investment grade       - ไม่เกินร้อยละ 5 ของ NAV
                                       หรือไม่มี rating                    - เมื่อคำนวณรวมการลงทุน

ดังกล่าวกับทรัพย์สินอื่นที่ต่ำกว่า

investment grade หรือไม่มี

ratingต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของ NAV

    2 กองทุนรวมที่มีการกระจาย              2.1 investment grade             - ไม่เกินร้อยละ 25 ของ NAV
     การลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน3         2.2 ต่ำกว่า investment grade       เหมือน 1.2

หรือไม่มี rating

    3 กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น3             3.1 investment grade             - ไม่เกินร้อยละ 20 ของ NAV

3.2 ต่ำกว่า investment grade เหมือน 1.2

หรือไม่มี rating

    4 กองทุนรวมตลาดเงิน3                 rating ระยะสั้น 2 อันดับแรก          - ไม่เกินร้อยละ 15 ของ NAV

หรือ rating ระยะยาว

3 อันดับแรก

3. การจำกัดการลงทุนของ MMF

เพื่อเป็นการจำกัดความเสี่ยงด้านราคา ด้านเครดิต และด้านสภาพคล่องให้กับ MMF ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น สำนักงานจึงปรับปรุงหลักเกณฑ์โดยห้ามกอง MMF ลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือตราสารอื่นที่มีลักษณะด้อยสิทธิในทำนองเดียวกัน

4. การมีผลใช้บังคับและบทเฉพาะกาล

ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2554 ทั้งนี้ สำนักงานได้กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้การปรับปรุงหลักเกณฑ์ไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทจัดการที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นไปตามประเภทและอัตราส่วนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว โดยบริษัทจัดการจะยังคงถือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้โดยห้ามมีการลงทุนเพิ่มเติม

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ

ขอแสดงความนับถือ

(นางจารุพรรณ อินทรรุ่ง)

ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน

เลขาธิการแทน

สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2554

เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
โทรศัพท์ 0-2695-9616
โทรสาร 0-2695-9815

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ