(ต่อ) แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์(ฉ.5)

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday May 13, 1998 08:27 —ประกาศ ก.ล.ต.

                       คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานบัญชีมาร์จิน
การจัดทำรายละเอียดข้อ 1 ถึง ข้อ 5 ให้ใช้คำนิยามและสูตรการคำนวณดังต่อไปนี้
คำนิยามและสูตรการคำนวณ
___________________________________________________________________________
| รายการ | ความหมาย/การคำนวณ |
|________________________________|__________________________________________|
| 1. เงินของลูกค้า (cash balance) |จำนวนเงินของลูกค้าที่วางไว้ในบัญชีมาร์จิน ที่คเหลืออยู่ |
| |ณ ขณะใดขณะหนึ่ง |
|________________________________|__________________________________________|
| 2. หลักประกัน: | |
| 2.1 ประเภทหลักทรัพย์ |มูลค่าตลาดหลักทรัพย์ที่ลูกค้าซื้อและวางเป็นประกันการ |
| (long market value=LMV) |ชำระหนี้ และหลักทรัพย์ที่ลูกค้านำมาวางเป็นประกันเพิ่ม |
| 2.2 ประเภทอื่น ๆ |มูลค่าทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์ที่ลูกค้าวางเป็นประกัน |
| |การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ |
| |ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก Letter of Credit |
| |และ Letter of Guarantee เป็นต้น |
|________________________________|__________________________________________|
| 3. เงินให้กู้ยืมคงค้าง (margin loan) |จำนวนเงินที่ลูกค้ากู้ยืมจากบริษัทหลักทรัพย์เพื่อซื้อ |
| | หลักทรัพย์ |
|________________________________|__________________________________________|
| 4. มูลค่าหลักทรัพย์ให้ยืม |มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ให้ลูกค้ายืม |
| (short market value=SMV) |เพื่อส่งมอบการขายชอร์ต |
|________________________________|__________________________________________|
| 5. ทรัพย์สินสุทธิของลูกค้าทั้งหมดใน |(cash balance+หลักประกัน) - (margin + SMV) |
| บัญชีมาร์จิน (equity) | |
|________________________________|__________________________________________|
| 6. margin requirement |ผลรวมของ (มูลค่าหลักประกันหรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืม |
| |แต่ละรายการ x อัตรามาร์จิ้น เริ่มต้นของหลักประกัน |
| |หรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้ายืมรายการนั้น) |
| |ในกรณีที่หลักประกันเป็นทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่หลักทรัพย์ |
| |จดทะเบียนหรือหุ้นที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ |
| |ให้กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น = 100% |
|________________________________|__________________________________________|
| 7. ทรัพย์สินส่วนเกิน (excess equity)|equity - margin requirement |
|________________________________|__________________________________________|
| 8. free credit balance |cash balance - 105% (ยอดรวม SMV) |
| |จำนวนเงินที่ลูกค้าวางไว้กับบริษัท-105% ของมูลค่า |
| |ตลาดของหลักทรัพย์ ที่ยืมเพื่อการขายชอร์ตสำหรับลูกค้า |
| |แต่ละราย เฉพาะกรณีที่จำนวนที่คำนวณได้มีค่าเป็นบวก |
|________________________________|__________________________________________|
| 9. credit line |วงเงินรวมสูงสุดที่บริษัทอนุมัติให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ |
| |หลักทรัพย์ และยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต |
____________________________________________________________________________
คำอธิบายข้อ 1
ยอดเงินของลูกค้า (cash balance) : ให้แสดงผลรวมเงินของลูกค้าทุกราย และจำนวนลูกค้าที่มี
ยอดเงินคงค้างเหลืออยู่ที่บริษัท
ยอดรวมมูลค่าหลักทรัพย์ที่เป็นประกัน : ให้แสดงผลรวมมูลค่าหลักทรัพย์ที่เป็นประกันของลูกค้าทุกราย
ยอดรวมมูลค่าหลักประกันอื่น : ให้แสดงผลรวมมูลค่าหลักประกันประเภทอื่นที่มิใช่ประเภท
หลักทรัพย์ของลูกค้าทุกราย
ยอดเงินให้กู้ยืมคงค้าง (margin loan): ให้แสดงผลรวมเงินให้กู้ยืมคงค้างของลูกค้าทุกราย และจำนวนลูกค้าที่มียอดหนี้คงค้าง
ยอดรวมมูลค่าหลักทรัพย์ให้ยืม : ให้แสดงผลรวมมูลค่าหลักทรัพย์ให้ยืมคงค้างของลูกค้าทุกราย และจำนวนลูกค้าที่มีการยืมหลักทรัพย์เพื่อส่งมอบการขาย ชอร์ตที่คงค้างอยู่
ยอดรวม free credit balance : ให้แสดงผลรวม free credit balance ของลูกค้าทุกรายที่ คำนวณผลลัพธ์ได้ค่าเป็นบวก และจำนวนลูกค้าที่มียอด free credit balance
ยอดรวม credit line ทั้งหมด : ให้แสดงผลรวม credit line ของลูกค้าทุกราย และ จำนวนลูกค้าทั้งหมด
ยอดรวมทรัพย์สินส่วนเกิน : ผลรวมทรัพย์สินส่วนเกินของลูกค้าทุกราย และจำนวนลูกค้า
(excess equity) ที่มียอดทรัพย์สินส่วนเกิน
______________________________
คำอธิบายข้อ 2
ให้แสดงรายละเอียดการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการ
ขายชอร์ต โดยแยกตามระดับ maintenance margin ดังนี้
____________________________________________________________________________________________
| ระดับ maintenance margin (M.M.) | ความหมาย |
|_______________________________________|____________________________________________________|
| 1. Call margin (เรียกหลักประกันเพิ่ม) | equity < call margin แต่ > force sale/buy |
| การคำนวณ : call margin | (LMV x อัตรา call margin ด้านการยืมเงิน) + |
| | (SMV x อัตรา call margin ด้านการยืมหลักทรัพย์ |
| จำนวนเงินที่ต้องเรียกเพิ่ม | call margin - equity |
|_______________________________________|____________________________________________________|
| 2. Force sale/buy (บังคับขาย/ซื้อหลักทรัพย์ | equity < call margin และ < force sale/buy และ > 0 |
| | - |
| การคำนวณ : force sale/buy | (LMV x อัตรา force sale ด้านการยืมเงิน) + |
| | (SMV x อัตรา force buy ด้านการยืมหลักทรัพย์ |
| จำนวนเงินที่ต้องบังคับชำระหนี้ | force sale/buy - equity |
|_______________________________________|____________________________________________________|
| 3. Equity < 0 | ทรัพย์สินสุทธิของลูกค้าทั้งหมดในบัญชีมาร์จิ้นที่ |
| - | มีมูลค่าน้อยกว่า หรือเท่ากับ 0 |
| การคำนวณ: จำนวนเงินที่ต้องบังคับชำระหนี้ | equity |
|_______________________________________|____________________________________________________|
หมายเหตุ อัตรา call margin และอัตรา force sale/buy ให้เป็นไปตามอัตราที่ตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์อาจทำสัญญากับลูกค้ากำหนดอัตรา call
margin หรืออัตรา force sale/buy สูงกว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดก็ได้
จำนวนราย : ให้แสดงจำนวนลูกค้าที่เข้าเกณฑ์ maintenance
margin (M.M)
ยอดเงินให้กู้ยืมคงค้าง (margin loan) : ให้แสดงผลรวมเงินให้กู้ยืมคงค้างของลูกค้าทุกราย
มูลค่าหลักทรัพย์ให้ยืม : ให้แสดงผลรวมมูลค่าหลักทรัพย์ให้ยืมคงค้างของลูกค้า
ทุกราย
มูลค่าหลักประกัน
- cash balance : ให้แสดงผลรวมเงินของลูกค้าทุกราย
- หลักทรัพย์ : ให้แสดงผลรวมมูลค่าหลักทรัพย์ที่เป็นประกันของลูกค้า
ทุกราย
- อื่น ๆ : ให้แสดงผลรวมมูลค่าหลักประกันอื่นที่มิใช่หลักทรัพย์
ของลูกค้าทุกราย
จำนวนเงินที่ต้องเรียกเพิ่มหรือ : ให้แสดงผลรวมจำนวนเงินที่ต้องเรียกเพิ่ม หรือบังคับ
ชำระหนี้
บังคับชำระหนี้ : ของลูกค้าทุกราย
หมายเหตุ ให้แสดงผลรวมต่าง ๆ ตามเกณฑ์ maintenance margin
____________________________
คำอธิบายข้อ 3
เลขประจำตัว : ให้แสดงเลขประจำตัว ตามประเภทของลูกค้า ดังนี้
ประเภทลูกค้า ID ตัวอย่าง
ก. บุคคลธรรมดา
- ไทย เลขประจำตัวประชาชน 123456789123
ตามที่ปรากฎในบัตร
ประชาชนหรือทะเบียนบ้าน
- ต่างประเทศ เลขที่หนังสือเดินทาง A12345
ข. นิติบุคคล เลขทะเบียนที่จดทะเบียน 1234/2539
กับกรมทะเบียนการค้า หรือ บมจ. 123
กระทรวงพาณิชย์
คำนำหน้า : ให้แสดงคำนำหน้าชื่อลูกค้า เช่น นาย, นางสาว,ม.ร.ว.,
Mr., Ms. บริษัท เป็นต้น
ชื่อ - สกุล : ให้แสดงรายชื่อของลูกค้าที่มียอด credit line ตั้งแต่ 10 ล้านบาท
ขึ้นไปหรือ 20 อันดับแรกของบริษัท (แล้วแต่กรณีใดจะมีจำนวนรายชื่อ
มากกว่า) โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยตามผลรวมของยอดเงินให้กู้ยืม
คงค้างและมูลค่าหลักทรัพย์ให้ยืมคงค้าง ในกรณีที่ลูกค้ามีผลรวมของยอดเงิน
ให้กู้ยืมคงค้างและมูลค่าหลักทรัพย์ให้ยืมคงค้างเท่ากัน ให้เรียงลำดับจากมากไป
น้อยตามยอด credit line ทั้งนี้ ให้แสดงชื่อ-สกุลของลูกค้าตามประเภทของ
ลูกค้า ดังนี้
ประเภทลูกค้า ชื่อสกุล
ก. บุคคลธรรมดา
- ไทย ตามที่ปรากฎในบัตรประจำตัวประชาชน
หรือทะเบียนบ้าน โดยให้เว้นวรรค 1 ช่อง
ระหว่างชื่อและนามสกุล
- ต่างประเทศ ตามที่ปรากฎในหนังสือเดินทาง
ข. นิติบุคคล ตามที่จดทะเบียนกับกรมทะเบียนการค้า
กระทรวงพาณิชย์
credit line : ให้แสดงยอด credit line ของลูกค้าแต่ละราย
ยอดเงินให้กู้ยืมคงค้าง : ให้แสดงยอดเงินให้กู้ยืมคงค้างของลูกค้าแต่ละราย
(margin loan)
หลักทรัพย์ให้ยืม
- ชื่อ : ให้แสดงชื่อย่อหลักทรัพย์ที่ให้ยืมทั้งหมด โดยเรียงลำดับตามจำนวนเงินจาก
มากไปน้อย
- จำนวนหน่วย : ให้แสดงผลรวมจำนวนหน่วยของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมแต่ละหลักทรัพย์
- จำนวนเงิน : ให้แสดงผลรวมมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมแต่ละหลักทรัพย์
หลักประกันที่เป็นหลักทรัพย์
- ชื่อ : ให้แสดงชื่อย่อหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ลูกค้าวางเป็นประกัน
โดยเรียงลำดับตามจำนวนเงินจากมากไปน้อย
- จำนวนหน่วย : ให้แสดงผลรวมจำนวนหน่วยของหลักทรัพย์ที่ลูกค้าวางเป็นประกัน
แต่ละหลักทรัพย์
- จำนวนเงิน : ให้แสดงผลรวมมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ลูกค้า
วางประกันแต่ละหลักทรัพย์
หลักประกันอื่น ๆ : ให้แสดงยอดรวมมูลค่าหลักประกันอื่น ๆ ของลูกค้า
cash balance : ให้แสดงยอดเงินของลูกค้าแต่ละราย
equity : ให้แสดงยอดทรัพย์สินสุทธิของลูกค้าแต่ละรายที่มีอยู่ทั้งหมดในบัญชีมาร์จิ้น
____________________________
คำอธิบายข้อ 4
ชื่อหลักทรัพย์ : ให้แสดงชื่อย่อหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เป็นประกันการชำระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้น โดย
เรียงลำดับจากมากไปน้อยตามอัตราส่วนร้อยละของจำนวนหน่วยที่วางประกันใน
บัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าต่อจำนวนหน่วยที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทที่ออก
หลักทรัพย์นั้น
จำนวนหลักทรัพย์ที่ : ให้แสดงผลรวมจำนวนหน่วยของแต่ละหลักทรัพย์ที่ลูกค้าทุกราย
วางเป็น
ของลูกค้า (1)
จำนวนหลักทรัพย์ที่ : ให้แสดงจำนวนหน่วยที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของแต่ละหลักทรัพย์
จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น
ของบริษัทที่ออก
หลักทรัพย์นั้น (2)
% (1) (2) : ให้แสดงผลลัพธ์การคำนวณเทียบรายการใน (1) ให้เป็นอัตราส่วนร้อยละ
ของรายการใน (2)
คำอธิบายข้อ 5
สัปดาห์ที่ : ให้แสดงลำดับสัปดาห์ของเดือนนั้น ๆ โดยเริ่มจาก 1 ถึง 4 หรือ 5
วันที่ : ให้แสดงวันทำการทุกวันในสัปดาห์นั้น โดยใช้รูปแบบ วันที่/เดือน/พ.ศ.
เช่น วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2541 ให้รายงานว่า 05/01/2541
ยอดสุทธิ free
credit balnace : ให้แสดงผลรวม free credit balance ของลูกค้าทุกรายที่คำนวณผลลัพธ์
ได้ค่าเป็นบวก
มูลค่าสินทรัพย์
สภาพคล่อง : ให้แสดงทรัพย์สินที่เกิดจากการที่บริษัทนำเงินของลูกค้าที่แยกไว้ไปลงทุน
โดยแยกแสดงเป็นประเภท ดังนี้ เงินฝาก ตั๋วแลกเงิน (B/E)
และตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) และอื่น ๆ
รวม : ผลรวมของทรัพย์สินทุกประเภทที่เกิดจากการที่บริษัทนำเงินของลูกค้าที่แยกไว้
ไปลงทุน
ยอดเฉลี่ย : ให้คำนวณโดยนำผลรวมจำนวนเงินในแต่ละวันทำการของสัปดาห์หารด้วย
จำนวนวันทำการของสัปดาห์นั้น
การรายงานสัปดาห์ที่และวันที่ ให้รายงานสัปดาห์ที่มีวันทำการสุดท้ายของเดือน ในเดือนที่รายงานด้วยและ
ให้เริ่มนับสัปดาห์ถัดไปเป็นสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนถัดไป
ตัวอย่างการรายงานสัปดาห์ที่และวันที่
________________________________________________________________________________
| เดือนที่รายงาน | สัปดาห์ที่ |
| |________________________________________________________________|
| | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
|_____________|____________|____________|____________|____________|____________|
| มกราคม 2541 | 05/01/2541 | 12/01/2541 | 19/01/2541 | 26/01/2541 | |
| | 06/01/2541 | 13/01/2541 | 20/01/2541 | 27/01/2541 | |
| | 07/01/2541 | 14/01/2541 | 21/01/2541 | 28/01/2541 | |
| | 08/01/2541 | 15/01/2541 | 22/01/2541 | 29/01/2541 | |
| | 09/01/2541 | 16/01/2541 | 23/01/2541 | 30/01/2541 | |
|_____________|____________|____________|____________|____________|____________|
| กุมภาพันธ์ 2541| 02/02/2541 | 09/02/2541 | 16/02/2541 | 23/02/2541 | |
| | 03/02/2541 | 10/02/2541 | 17/02/2541 | 24/02/2541 | |
| | 04/02/2541 | 12/02/2541 | 18/02/2541 | 25/02/2541 | |
| | 05/02/2541 | 13/02/2541 | 19/02/2541 | 26/02/2541 | |
| | 06/02/2541 | | 20/02/2541 | 27/02/2541 | |
|_____________|____________|____________|____________|____________|____________|
| มีนาคม 2541 | 02/03/2541 | 09/03/2541 | 16/03/2541 | 23/03/2541 | 30/03/2541 |
| | 03/03/2541 | 10/03/2541 | 17/03/2541 | 24/03/2541 | 31/03/2541 |
| | 04/03/2541 | 11/03/2541 | 18/03/2541 | 25/03/2541 | 01/04/2541 |
| | 05/03/2541 | 12/03/2541 | 19/03/2541 | 26/03/2541 | 02/04/2541 |
| | 06/03/2541 | 13/03/2541 | 20/03/2541 | 27/03/2541 | 03/04/2541 |
|_____________|____________|____________|____________|____________|____________|
| เมษายน 2541 | 07/04/2541 | 16/04/2541 | 20/04/2541 | 27/04/2541 | |
| | 08/04/2541 | 17/04/2541 | 21/04/2541 | 28/04/2541 | |
| | 09/04/2541 | | 22/04/2541 | 29/04/2541 | |
| | 10/04/2541 | | 23/04/2541 | 30/04/2541 | |
| | | | 24/04/2541 | | |
|_____________|____________|____________|____________|____________|____________|
หมายเหตุ วันที่ 1,2 มกราคม : 11 กุมภาพันธ์ : 6,13-15 เมษายน และ 1 พฤษภาคม 2541
เป็นวันหยุดทำการ
____________________________
คำอธิบายข้อ 6
ให้แสดงรายละเอียดลูกหนี้ที่มีปัญหา (problem loans) ทั้งบัญชี cash และ margin
เช่น ลูกหนี้สั่งซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่ไม่สามารถชำระเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ธุรกิจ
หลักทรัพย์ที่ขอผ่อนชำระ ประนอมหนี้และลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ด้อยคุณภาพอื่น ๆ โดยมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
6.1 มูลหนี้รวม : ให้แสดงยอดรวมมูลค่าหนี้รวมทุกประเภทที่ค้างชำระ เช่น มูลค่าหนี้ค่าซื้อ
หลักทรัพย์ ดอกเบี้ยค้างชำระ ผลขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ เป็นต้น
6.2 จำนวนราย : ให้แสดงจำนวนลูกหนี้ที่มีมูลหนี้คงค้างตาม 6.1
6.3 หลักประกันรวม : ให้แสดงมูลค่าหลักประกันทุกประเภทของลูกหนี้ที่นำมาวางเป็นประกัน
เพื่อการชำระหนี้
6.4 สำรองค่าเผื่อ : ให้แสดงจำนวนที่กันไว้เพื่อหักจากลูกหนี้ที่มีปัญหาที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้
หนี้สงสัยจะสูญ
6.5 รายละเอียด : ให้แสดงรายละเอียดลูกหนี้ที่มีปัญหาแต่ละราย ที่มียอดหนี้คงค้างตั้งแต่
ลูกหนี้ที่มียอดคงค้าง 10 ล้านบาทขึ้นไป
ตั้งแต่ 10 ล้านบาท
ขึ้นไป
เลขประจำตัว : ให้ใช้คำอธิบาย ข้อ 3
คำนำหน้า
ชื่อ-สกุล : ให้แสดงรายชื่อของลูกหนี้ที่มียอดหนี้คงค้างตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยเรียง
ลำดับจากมากไปน้อยตามยอดหนี้คงค้าง ทั้งนี้ การแสดงชื่อ-สกุลให้ใช้คำอธิบาย
ข้อ 3
ยอดหนี้คงค้าง : ให้แสดงมูลหนี้คงค้างของลูกหนี้แต่ละราย
ประเภทหลักประกัน : ให้แสดงประเภทของหลักประกันและมูลค่าหลักประกันตามนัยของประกาศคณะ
มูลค่าหลักประกัน กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับ
ลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์
สถานะของลูกหนี้ : ให้แสดงสถานะของลูกหนี้ เช่น กำลังฟ้องร้องลูกหนี้ ระหว่างดำเนินคดีหรือ
ลูกหนี้ผ่อนชำระ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ