หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday April 23, 1997 19:07 —ประกาศ ก.ล.ต.

                 ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 19/2540
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน
________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3)
(ก) ถึง (ณ) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ.13/2539 เรื่อง
การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน
พ.ศ. 2539
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้น โดยมี
วัตถุประสงค์หลักเพื่อจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไป
ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
"ประกาศที่ กน.11/2540" หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ที่ กน.11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหา
ริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกำหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะ
ซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"คนต่างด้าว" หมายความว่า บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและให้หมายความ
รวมถึงนิติบุคคล ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินให้มีสิทธิในที่ดินได้เสมือนกับคนต่างด้าว
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"นายทะเบียน" หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
"บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าหรือ
การสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานให้เป็น
บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
"การประเมินค่า" หมายความว่า การคำนวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหา
ริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมิน
อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจำกัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินเงื่อนไขและข้อ
จำกัดทางกฎหมาย ข้อจำกัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละ
เอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสำรวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม
ของสถาบันการเงิน
"รายงานการประเมินค่า" หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ซึ่งระบุ
รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้
ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว
"ผู้ประเมินหลัก" หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบในการประเมินค่าหรือการสอบทาน การประ
เมินค่า ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานให้เป็นผู้ประเมินหลักของกองทุนรวมได้ และลงลายมือชื่อใน
รายงานการประเมินค่า
"การสอบทานการประเมินค่า" หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหา
ริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสำรวจทรัพย์สิน
"รายได้ประจำ" หมายความว่า รายได้ที่เป็นผลตอบแทนเป็นปกติประจำที่กองทุนรวมได้รับ
เนื่องจากการให้บุคคลอื่นใช้อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม เช่น ค่าเช่า ค่าบริการ เป็นต้น และให้
หมายความรวมถึงดอกเบี้ยของรายได้ดังกล่าวด้วย
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามประกาศที่ กน.11/2540 และ
ประกาศนี้ แต่ทั้งนี้ มิให้นำข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 (6)(9) และ(10) ข้อ 11 ข้อ
12(6) ข้อ 14 ข้อ 17 ข้อ 18(4)(7) และ (9) ข้อ 19 ข้อ 21 ข้อ 26 วรรคหนึ่ง ข้อ 28 ข้อ 29
ข้อ 30 ข้อ 33 ข้อ 34 ข้อ 35 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 40 ข้อ 42 ข้อ 43 ข้อ 44 ข้อ 45 ข้อ
46 ข้อ 47 และข้อ 48 แห่งประกาศที่กน. 11/2540 มาใช้บังคับ
ข้อ 3 การยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องยื่นคำขอภายในหนึ่ง
ปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และต้องเป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าสิบราย
(2) เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจงหรือกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงซึ่ง
ไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(3) มีเงินทุนของโครงการไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท
(4) มีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นคนต่างด้าวไม่เกินร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุน
ทั้งหมด หรือมีคนต่างด้าวถือหน่วยลงทุนรวมกันไม่เกินร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้
แล้วทั้งหมด เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปเช่า
อสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว
(5) มีผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดรายหนึ่งถือหน่วยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของจำนวน
หน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก)ในกรณีที่แสดงให้เห็นได้ว่าเงินที่นำมาชำระค่าหน่วยลงทุนเป็นเม็ดเงินใหม่
และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานให้มีผู้ถือหุ้นหน่วยลงทุนรายใดรายหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนได้เกินร้อยละ
สิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำ
หน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น รวมทั้งแสดงให้เห็นได้ว่าเงินที่นำมา
ชำระค่าหน่วยลงทุนเป็นเม็ดเงินใหม่ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ให้มีผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดรายหนึ่ง ถือหน่วยลงทุนได้เกินร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่าย
ได้แล้วทั้งหมด
(6) มีลักษณะอย่างอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 4 การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการยื่นคำขอเป็นหนังสือพร้อมทั้ง
เอกสารหลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการตามรายการที่สำนักงานประกาศกำหนดตามมาตรา
118 (1)
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสำคัญอย่างน้อย
ตามที่กำหนดในมาตรา 119 และตามที่กำหนดในข้อ 7
(3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งมีสาระสำคัญอย่างน้อยตามที่กำหนดในข้อ
11 แห่งประกาศที่ กน. 11/2540 และข้อ 8
(4) สัญญาหรือข้อผูกพันที่แสดงถึงสิทธิที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หากได้รับอนุมัติ
ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง
(5) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 5 บริษัทจัดการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ และสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแล
ผลประโยชน์ โดยมีสาระสำคัญไม่ต่างจากร่างข้อผูกพันและร่างสัญญาที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงาน
(2) จัดส่งและจัดให้มีหนังสือชี้ชวนและรายละเอียดของโครงการตามหลักเกณฑ์ และ
วิธีการต่อไปนี้
(ก) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สำนักงานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำก่อนการเริมจัดส่ง
หนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันที่สนใจ
(ข) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันที่สนใจไม่น้อยกว่าสามวันทำการ
ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(ค) จัดให้มีรายละเอียดของโครงการไว้ ณ ที่ทำการของบริษัทจัดการ เพื่อ
ให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และจัดสำเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิก
กองทุนรวม
ข้อ 6 ให้บริษัทจัดการยุติการจำหน่ายหน่วยลงทุนและให้ถือว่าการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง หากครบกำหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุน ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งเดือน
นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้วปรากฎว่า ไม่สามารถจำหน่ายหน่วย
ลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันได้ถึงสิบราย หรือจำหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันได้ถึงสิบราย แต่หน่วย
ลงทุนที่จำหน่ายได้มีมูลค่าน้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท หรือหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้มีมูลค่าถึงห้าร้อยล้านบาท
แต่มูลค่าดังกล่าวไม่เพียงพอกับราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมจะซื้อหรือเช่าตามที่ระบุไว้ในโครงการ
ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการจัดทำข้อมูลผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งต้องมีสาระ
สำคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการหรือนายทะเบียนจะ
ปฎิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดัง
ต่อไปนี้
(ก) มีผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดรายหนึ่งถือหน่วยลงทุนเกินร้อยละสิบของจำนวน
หน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
(ข) มีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าสิบราย
(ค) มีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นคนต่างด้าวเกินร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนผู้ถือหน่วย
ลงทุนทั้งหมดหรือมีคนต่างด้าวถือหน่วยลงทุนรวมกันเกินร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้
แล้วทั้งหมด ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปเช่า
อสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว
(2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ 8 ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ นอกจากการกำหนดหน้าที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ใน
สัญญาดังกล่าวตามข้อ 10 แห่งประกาศที่ กน. 11/2540 แล้ว ให้บริษัทจัดการกำหนดให้ผู้ดูแลผล
ประโยชน์พิจารณาให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินตามจำนวนที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งตามข้อ
19 ไว้ในสัญญาดังกล่าวด้วย โดยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์พิจาณาตามหลัก
เกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เข้าข่ายต้องห้ามมิให้ทำการประเมินค่าตามประกาศคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์และประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบและการดำเนินงานของบริษัทประเมินค่า
ทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(2) สามารถทำการประเมินค่าด้วยความเป็นกลาง และเป็นบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่
เรียกค่าธรรมเนียมในการประเมินค่าอย่างเหมาะสม
ข้อ 9 รายการในใบหน่วยลงทุน นอกจากการระบุรายการตามข้อ 12 แห่งประกาศที่ กน.
11/2540 แล้ว ให้บริษัทจัดการระบุข้อความที่เป็นข้อจำกัดการ โอนหน่วยลงทุนตามที่กำหนดในข้อ 7
ไว้ในใบหน่วยลงทุนด้วย
ข้อ 10 บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้
ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 7
ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนที่
ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 7 ให้บริษัทจัดการดำเนินการให้นาย
ทะเบียนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ 11 บริษัทจัดการต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาและมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสัง
หาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันสิ้น
รอบระยะเวลาบัญชีประจำปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุโครงการ
(2) ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของ
กองทุนรวม
(3) เมื่อได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน
การลงทุนเพื่อให้ได้มาและมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามวรรค
หนึ่ง บริษัทจัดการต้องดำเนินการภายในหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกอง
ทุนรวม
ข้อ 12 บริษัทจัดการอาจลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งที่ดินว่างเปล่าได้ภายในระยะเวลา
สองปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับหรือภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนด
เป็นอย่างอื่น หากที่ดินว่างเปล่าที่จะลงทุนนั้นได้จำนองไว้กับสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเป็น
เจ้าของอันเนื่องมาจากการชำระหนี้ หรือจากการประกันการให้สินเชื่อ หรือจากการซื้อที่ดินว่างเปล่า
ที่จำนองไว้แก่สถาบันการเงินนั้นจากการขายทอดตลาด โดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และ
การจำนองหรือการเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
การลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งที่ดินว่างเปล่านอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการได้
มาหรือไว้เพื่อประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร โรงเรือนหรือสิ่ง
ปลูกสร้างที่สร้างเสร็จสิ้นแล้วของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ข้อ 13 ห้ามมิให้บริษัทจัดการดำเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินว่างเปล่าของกองทุนรวม
ที่ได้มาหรือมีไว้ตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นการเพิ่มอุปทานส่วนเกินในระบบธุรกิจอสังหา
ริมทรัพย์ เว้นแต่การพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อการปรับปรุงสภาพหรือการปกปักรักษาที่ดินว่างเปล่า หรือเพื่อประ
โยชน์ในการจำหน่ายที่ดินว่างเปล่านั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น
และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ข้อ 14 การลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
เพิ่มเติม ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกอง
ทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
ข้อ 15 บริษัทจัดการต้องถืออสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมไว้อย่างน้อยสองปีเว้นแต่ในกรณีที่
มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่อาจถืออสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไปได้ บริษัทจัดการอาจจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่า
อสังหาริมทรัพย์ก่อนระยะเวลาดังกล่าวได้ โดยต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายทราบ และไม่ปรากฎมีผู้ถือหน่วยลงทุนคัด
ค้าน ซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไปของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้
แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม
(2) ขอความเห็นชอบจากสำนักงาน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเป็นที่ดินว่างเปล่า
ที่ได้มาหรือมีไว้ตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง
ข้อ 16 การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะ
เบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันที่มี
การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายอสัง
หาริมทรัพย์หักค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหน่วย
ลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามวิธีการที่ระบุไว้ในโครงการ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสี่
สิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์นั้น
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคำขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกอง
ทุนรวมต่อสำนักงานภายในห้าวันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ดำเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
แล้วเสร็จ ทั้งนี้ ตามแบบ 117-1 ท้ายประกาศนี้
ข้อ 17 การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจงบริษัทจัดการต้อง
ซื้อหรือเช่าในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาที่เปิดเผยไว้ในรายละเอียดของโครงการ และหากราคาที่จะซื้อหรือ
เช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมิน
ค่าดังกล่าว บริษัทจัดการต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ซื้อหรือเช่าในราคานั้นในหนังสือชี้ชวนด้วย
การซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง หากบริษัทจัดการซื้อ
หรือเช่าในราคาที่สูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากราย
งานการประเมินค่าดังกล่าว บริษัทจัดการต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ซื้อหรือเช่าในราคาดังกล่าว
ตามที่กำหนดในข้อ 18
การจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการจำหน่าย
หรือโอนสิทธิการเช่าในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่
ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว บริษัทจัดการต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จำหน่ายหรือโอน
สิทธิการเช่าในราคาดังกล่าวตามที่กำหนดในข้อ 18
รายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรค
สาม จะจัดทำขึ้นล่วงหน้าก่อนการซื้อ เช่า จำหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าวได้ไม่
เกินหกเดือน
ข้อ 18 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการซื้อ เช่า จำ
หน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสำนักงานภายในสิบห้าวัน
นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ซื้อ เช่า จำหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่า โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสำ
คัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ราคาที่ซื้อ เช่า จำหน่าย หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม
(2) ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
(3) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ในราคาที่สูง
กว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า
ดังกล่าว
(4) ข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุน
รวมในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงาน
การประเมินค่าดังกล่าว
(5) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนใน
กรณีที่มีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปี นับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกอง
ทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม โดยต้องระบุจำนวนและมูลค่าหน่วยลงทุนที่ใช้ในการ ไถ่ถอนหน่วยลงทุนกำหนด
เวลาปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน รวมทั้งกำหนดเวลาและวิธีการคืนเงินค่าไถ่ถอนหน่วยลงทุน
ข้อ 19 ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน เพื่อทำการประเมินค่าและการสอบ
ทานการประเมินค่า โดยให้บริษัทจัดการเสนอรายชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินอย่างน้อยสองรายต่อผู้ดูแล
ผลประโยชน์ และให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินจำนวนหนึ่งรายตามที่ได้รับความเห็น
ชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ เว้นแต่ในกรณีเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะ
จง ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินได้โดยไม่ต้องเสนอรายชื่อเพื่อขอรับความเห็นชอบ
จากผู้ดูแลผลประโยชน์
ในกรณีที่บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทจัดการไม่สามารถทำการประเมิน
ค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน
ใหม่ โดยให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง บริษัทจัดการจะแต่งตั้ง
บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินให้ทำการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เดียวกัน
ติดต่อกันเกินสองครั้งไม่ได้
ข้อ 20 บริษัทจัดการต้องจัดให้บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทำการสอบทาน การประเมินค่า ณ
วันทำการสุดท้ายของเดือนกันยายน
ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ใด ได้มีการประเมินค่าครั้งล่าสุดไป
แล้วก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนกันยายนเป็นระยะเวลาไม่เกินหกเดือน บริษัทจัดการอาจไม่จัดให้มี
การสอบทานการประเมินค่าก็ได้ หากบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง
ทำการสอบทานการประเมินค่า
ข้อ 21 ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ทำการประเมินค่าครั้งล่าสุดเป็น
ผู้สอบทานการประเมินค่าตามข้อ 20
ข้อ 22 ให้บริษัทจัดการส่งสำเนารายงานการประเมินค่า พร้อมด้วยสำเนาเอกสารหลัก
ฐานที่เกี่ยวข้องให้ผู้ดูแลผลประโยชน์โดยพลัน และให้สำนักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้
รับรายงานการประเมินค่า เว้นแต่กรณีรายงานการประเมินค่าที่จัดให้มีขึ้นตามข้อ 20 ให้ส่งรายงานดัง
กล่าวให้เฉพาะผู้ดูแลผลประโยชน์
ข้อ 23 ภายใต้บังคับข้อ 16 ให้บริษัทจัดการคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและ
มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนธันวาคม และดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งมูลค่าที่คำนวณได้ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทำการถัดจากวันที่คำนวณ
เพื่อให้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการคำนวณมูลค่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
(2) แจ้งมูลค่าดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วตาม (1) ให้ผู้ถือ
หน่วยลงทุนทราบภายในห้าวันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่คำนวณ
ข้อ 24 ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คำนวณตาม
ข้อ 23 อันมีผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยน
แปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ข้อ 25 ให้บริษัทจัดการทำรายงานแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกองทุนรวม
ทุกรอบปีบัญชีสิ้นสุดเดือนธันวาคม และส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
รวมทั้งส่งให้สำนักงานภายในสามเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นเดือนธันวาคม โดยรายงานดังกล่าวต้อง
มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์
ตราสารแห่งหนี้ และเงินฝาก พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทำ
การสุดท้ายของปี
(2) รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมทุกรายการ ซึ่งต้องระบุสาระ
สำคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน ขนาดพื้นที่ อายุการเช่า มูลค่าที่ได้จากรายงาน
การประเมินค่าครั้งล่าสุด และภาระผูกพันต่าง ๆ เป็นต้น
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปี
ซึ่งต้องระบุสาระสำคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) วันที่ ราคา และเหตุผลที่ซื้อหรือเช่า
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินค่าก่อนการซื้อหรือเช่าของบริษัทประเมินค่า
ทรัพย์สิน เช่น วันที่ทำการประเมินค่า ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า และวิธีที่ใช้ในการประเมิน
ค่าเป็นต้น
(ค) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือเช่า
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายหรือการโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการ
ในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งต้องระบุสาระสำคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) วันที่ ราคา และเหตุผลที่จำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่า
(ข) รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินค่าก่อนการจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าของ
บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน เช่น วันที่ทำการประเมินค่า ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่า และวิธีที่
ใช้ในการประเมินค่า เป็นต้น
(ค) กำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่า และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง
(ง) มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จำหน่ายหรือ
โอน
(5) รายละเอียดเกี่ยวกับการไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกรณีที่มีการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เมื่อ
พ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม โดยต้องระบุจำ
นวนหน่วยลงทุนที่ได้ไถ่ถอนทั้งหมด และจำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือของกองทุนรวมนั้น ภายหลังการไถ่ถอน
หน่วยลงทุน
(6) งบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประ
กาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้
สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์
(7) การเปรียบเทียบงบดุลและงบกำไรขาดทุนของปีปัจจุบันและปีก่อน
(8) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดำเนินงาน ของกองทุนรวมในรอบระยะ
เวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
ข้อ 26 ในกรณีที่กองทุนรวมมีกำไรสุทธิจากรายได้ประจำหรือจากการขายอสังหาริมทรัพย์และ
บริษัทจัดการประสงค์จะจ่ายเงินปันผล ให้จ่ายเงินปันผลจากเงินได้ที่เป็นกำไรดังกล่าวแก่ผู้ถือหน่วยลง
ทุนภายในเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นงวดบัญชีประจำปี
การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกิน
สองในสามส่วนของกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่วยข้องกับอสังหาริมทรัพย์นั้น
ข้อ 27 บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ภายในห้าปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะ
เบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เพื่อซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม
(2) เพื่อดำเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้อยู่ในสภาพที่ดีและมีความพร้อม
ที่จะใช้หาผลประโยชน์
ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมาก
ของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนระบุวัตถุประสงค์
การเพิ่มเงินทุน อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจงจำนวนเงินทุนและ
จำนวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกำหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน
(2) ขอความเห็นชอบจากสำนักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจาก
ผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย
(3) จัดส่ง หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน โดยให้นำความในข้อ 5(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะ
เบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน และให้นำข้อ 12 แห่งประกาศ ที่
กน.11/2540 และข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 28 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัดถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2540
(นายอำนวย วีรวรรณ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
คำขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน
ทำที่........................
วันที่.....เดือน.....พ.ศ. .....
ข้าพเจ้า...........................................................
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่...........................................................
..........................................................................
ได้รับอนุมัติจากสำนักงานเมื่อวันที่..................................................
และได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม/จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม
เมื่อวันที่...................โดยมีจำนวนเงินทุนของกองทุนรวม......................บาท
จำนวนหน่วยลงทุน..........................................................หน่วย
ขอยื่นคำขอต่อสำนักงานเพื่อจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. จำนวนเงินที่เฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุน..................
............บาท และมูลค่าที่ไถ่ถอนหน่วยลงทุนหน่วยละ..........บาท
2. จำนวนและมูลค่ที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนที่ไถ่ถอน............................
..........................................................................
3. จำนวนเงินทุนตามมูลค่าที่ตราไว้ และจำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือของกองทุน........
..........................................................................
4. จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวม ณ วันที่ดำเนินการไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากผู้
ถือหน่วยลงทุนแล้วเสร็จ..........ราย
5. รายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนในจำนวนสูงสุดสิบอันดับแรก ณ วันที่ดำเนินการไถ่
ถอนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้วเสร็จ
__________________________________________________________________________
| | ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน | จำนวนหน่วยลงทุนที่ถือ | คิดเป็นร้อยละของจำนวนหน่วยลงทุน |
| | | | ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 1 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 2 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 3 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 4 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 5 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 6 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 7 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 8 | | | |
| ___|________________|___________________|______________________________|
| 9 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
| 10 | | | |
|____|________________|___________________|______________________________|
6. ชื่อและที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์......................................
..........................................................................
..........................................................................
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อความข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ จึงได้ลงลายมือชื่อและ
ประทับตรา (ถ้ามี) ไว้เป็นหลักฐาน
ลงชื่อ............................ผู้ยื่นคำขอ
(..........................)
ลงชื่อ............................ผู้ยื่นคำขอ
(..........................)
เพื่อบริษัทหลักทรัพย์.........................

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ