ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 37/2540
เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 16/2538 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2538
(2) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 18/2538 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ข้อ 2 ในประกาศนี้
(1) "เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ" หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วยค่าความเสี่ยง
(2) "เงินกองทุนสภาพคล่อง" หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม
(3) "สินทรัพย์สภาพคล่อง" หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้
(ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร
(ข) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ
(ค) ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วย ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(ง) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงินอื่น
(จ) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง
(ฉ) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์
(ช) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน
(ซ) รายการอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(4) "หนี้สินทั่วไป" หมายความว่า หนิ้สินรวม หักด้วย หนิ้สินพิเศษ
(5) "หนี้สินรวม" หมายความว่า
(ก) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฎในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนิ้สินรายการดังต่อไปนี้
1. หนิ้สินที่กำหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกัน มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่คำนวณรายการ และไม่มีเงื่อนไขการชำระคืนก่อนกำหนดภายใน 1 ปี เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน
2. สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกำหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
3. รายการอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(ข) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฎในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่บริษัทหลักทรัพย์ได้ในภายหลัง ได้แก่
1. ภาระจากการค้ำประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน
2. ภาระผูกพันอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องชำระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กำหนดไว้
3. ภาวะผูกพันอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(6) "หนี้สินพิเศษ" หมายความว่า
(ก) หนี้สินที่มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่คำนวณรายการ ซึ่งไม่มีเงื่อนไขการชำระคืนก่อนกำหนดภายใน 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากการให้สิทธิผู้กู้หรือผู้ให้กู้ไถ่ถอนก่อนกำหนด (put/call option) หรือเงื่อนไขในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน
(ข) ผลรวมของหนี้สินรายการดังต่อไปนี้
1. เจ้าหนี้หุ้นยืม
2. บัญชีลูกค้า
3. ภาระหนี้สินที่เกิดจากการทำสัญญาอนุพันธ์
(ค) หนี้สินอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(7) "ค่าความเสี่ยง" หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือการดำเนินการอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
(8) "บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่วยหลักทรัพย์ที่มิได้จำกัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอีกด้วยหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนด้วย
(9) "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จำกัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอีกด้วยหรือไม่
(10) "สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัยพ์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่า
(1) ร้อยละ 3 ของหนี้สินทั่วไป ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541
(2) ร้อยละ 5 ของหนี้สินทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543
(3) ร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
การคำนวณเงินทุนสภาพคล่องสุทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 4 ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดำรงฐานะทางการเงินเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ให้เพียงพอโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) จัดทำบัญชีการประกอบธุรกิจเงินทุน และการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ แยกออกจากกันตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(2) ด้านการประกอบธุรกิจเงินทุน ให้นำเงินกองทุนที่มีอยู่จริงเฉพาะด้านธุรกิจเงินทุน (ซึ่งได้จากการนำเงินกองทุนทั้งหมดของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หักด้วยเงินกองทุนที่ได้จัดสรรไว้ในบัญชีด้านธุรกิจหลักทรัพย์)หักด้วย เงินกองทุนที่ต้องดำรงเพื่อให้เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตามหลักเกณฑ์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยให้คำนวณเฉพาะสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เกิดจากการประกอบธุรกิจเงินทุน
(3) ด้านการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้นำเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่มีอยู่จริง ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนดตามข้อ 3 วรรคสอง หักด้วย เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขั้นต่ำที่จะทำให้เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นอัตราส่วนกับหนี้สินทั่วไป ตามอัตราที่กำหนดในข้อ 3 ทั้งนี้ ให้คำนวณเฉพาะรายการในบัญชีด้านธุรกิจหลักทรัพย์
(4) นำผลลัพธ์ที่ได้จาก (2) และ (3) มารวมกัน และผลที่ได้ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 0 (ศูนย์)
ข้อ 5 ในกรณีมีเหตุจำเป็นซึ่งทำให้บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หรือฐานะทางการเงินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้ ให้สำนักงานมีอำนาจผ่อนผันการดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หรือฐานะทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน ในการนี้สำนักงานอาจกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้น ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 37/2540
เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 16/2538 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2538
(2) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 18/2538 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ข้อ 2 ในประกาศนี้
(1) "เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ" หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วยค่าความเสี่ยง
(2) "เงินกองทุนสภาพคล่อง" หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม
(3) "สินทรัพย์สภาพคล่อง" หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้
(ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร
(ข) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ
(ค) ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วย ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(ง) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงินอื่น
(จ) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง
(ฉ) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์
(ช) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน
(ซ) รายการอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(4) "หนี้สินทั่วไป" หมายความว่า หนิ้สินรวม หักด้วย หนิ้สินพิเศษ
(5) "หนี้สินรวม" หมายความว่า
(ก) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฎในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนิ้สินรายการดังต่อไปนี้
1. หนิ้สินที่กำหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกัน มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่คำนวณรายการ และไม่มีเงื่อนไขการชำระคืนก่อนกำหนดภายใน 1 ปี เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน
2. สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกำหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
3. รายการอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(ข) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฎในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่บริษัทหลักทรัพย์ได้ในภายหลัง ได้แก่
1. ภาระจากการค้ำประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน
2. ภาระผูกพันอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องชำระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กำหนดไว้
3. ภาวะผูกพันอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(6) "หนี้สินพิเศษ" หมายความว่า
(ก) หนี้สินที่มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่คำนวณรายการ ซึ่งไม่มีเงื่อนไขการชำระคืนก่อนกำหนดภายใน 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากการให้สิทธิผู้กู้หรือผู้ให้กู้ไถ่ถอนก่อนกำหนด (put/call option) หรือเงื่อนไขในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน
(ข) ผลรวมของหนี้สินรายการดังต่อไปนี้
1. เจ้าหนี้หุ้นยืม
2. บัญชีลูกค้า
3. ภาระหนี้สินที่เกิดจากการทำสัญญาอนุพันธ์
(ค) หนี้สินอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
(7) "ค่าความเสี่ยง" หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือการดำเนินการอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
(8) "บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่วยหลักทรัพย์ที่มิได้จำกัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอีกด้วยหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนด้วย
(9) "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จำกัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอีกด้วยหรือไม่
(10) "สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัยพ์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่า
(1) ร้อยละ 3 ของหนี้สินทั่วไป ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541
(2) ร้อยละ 5 ของหนี้สินทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543
(3) ร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
การคำนวณเงินทุนสภาพคล่องสุทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 4 ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดำรงฐานะทางการเงินเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ให้เพียงพอโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) จัดทำบัญชีการประกอบธุรกิจเงินทุน และการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ แยกออกจากกันตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(2) ด้านการประกอบธุรกิจเงินทุน ให้นำเงินกองทุนที่มีอยู่จริงเฉพาะด้านธุรกิจเงินทุน (ซึ่งได้จากการนำเงินกองทุนทั้งหมดของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หักด้วยเงินกองทุนที่ได้จัดสรรไว้ในบัญชีด้านธุรกิจหลักทรัพย์)หักด้วย เงินกองทุนที่ต้องดำรงเพื่อให้เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตามหลักเกณฑ์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยให้คำนวณเฉพาะสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เกิดจากการประกอบธุรกิจเงินทุน
(3) ด้านการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้นำเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่มีอยู่จริง ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนดตามข้อ 3 วรรคสอง หักด้วย เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขั้นต่ำที่จะทำให้เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นอัตราส่วนกับหนี้สินทั่วไป ตามอัตราที่กำหนดในข้อ 3 ทั้งนี้ ให้คำนวณเฉพาะรายการในบัญชีด้านธุรกิจหลักทรัพย์
(4) นำผลลัพธ์ที่ได้จาก (2) และ (3) มารวมกัน และผลที่ได้ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 0 (ศูนย์)
ข้อ 5 ในกรณีมีเหตุจำเป็นซึ่งทำให้บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หรือฐานะทางการเงินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้ ให้สำนักงานมีอำนาจผ่อนผันการดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หรือฐานะทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน ในการนี้สำนักงานอาจกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้น ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์