(ต่อ 2) แบบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday July 24, 1997 07:56 —ประกาศ ก.ล.ต.

                        คำอธิบายความหมายของรายการ
งบดุล
สินทรัพย์
1. เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน (Cash and deposits at financial institutions)
หมายถึง
1.1 ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่บริษัทมีอยู่ รวมทั้งเงินสดย่อย
1.2 เงินฝากธนาคารทุกประเภทและเงินฝากสถาบันการเงินอื่น รวมทั้งบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารและสถาบันการเงิน
2. เงินให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงิน (Loans to financial institutions)
หมายถึง เงินให้กู้ยืมแก่ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับจากเงินให้กู้ยืมดังกล่าวหักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
3. หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Securities purchased under resale agreements)
หมายถึง หลักทรัพย์ที่บริษัทซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
4. เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Investment in securities)
4.1 หลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขาย (Securities for trading)
หมายถึง หลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อการประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์ หรือคงเหลือจากการประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์ และหรือหลักทรัพย์ที่ได้มาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลงทุนระยะสั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
4.2 หลักทรัพย์เพื่อการลงทุน (Securities for investment)
หมายถึง หลักทรัพย์ที่ได้มาโดยมีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากรายการ 4.1
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามรายการ 4.1 และ 4.2 ได้แก่ ตราสารหนี้และหลักทรัพย์หุ้นทุน ดังนี้
(1) ตราสารหนี้
ประกอบด้วย
(1.1) หลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
หมายถึง ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร หรือตราสารอื่นที่ออกโดยรัฐบาลไทยองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและจังหวัด หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารอื่นที่องค์การของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
(1.2) ตราสารหนี้จดทะเบียนและตราสารหนี้ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(1.2.1) ตราสารหนี้จดทะเบียน ได้แก่ หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่มีลักษณะเป็นการระดมทุน ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยธุรกิจอื่นที่มีลักษณะเป็นการระดมทุนและคล้ายหุ้นกู้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด และตราสารแห่งหนี้อื่นได้ ที่มีลักษณะเป็นการระดมทุนและคล้ายหุ้นกู้ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(1.2.2) ตราสารหนี้ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หมายถึง ตราสารหนี้ตาม (1.2.1) ที่มิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน แต่ได้รับการอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(1.3) ตราสารหนี้ต่างประเทศ
หมายถึง ตราสารหนี้ ตาม (1.1) และ (1.2) ที่ออกจำหน่ายในต่างประเทศ
(1.4) ตราสารหนี้อื่น
หมายถึง ตราสารหนี้ที่มิอาจแสดงไว้ในรายการที่กล่าวข้างต้น
(2) หลักทรัพย์หุ้นทุน
ประกอบด้วย
(2.1) หลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(2.1.1) หลักทรัพย์จดทะเบียน ได้แก่หุ้นทุนที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2.1.2) หลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หมายถึง หลักทรัพย์ตาม (2.1.1) ที่มิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแต่ได้รับการอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(2.2) หลักทรัพย์ต่างประเทศ
หมายถึง หลักทรัพย์ตาม (2.1) ที่ออกจำหน่ายในต่างประเทศ
(2.3) หลักทรัพย์อื่น
หมายถึง หลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุนที่มิอาจแสดงไว้ในรายการที่กล่าวข้างต้น
(3) หลักทรัพย์อื่น
หมายถึง ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อตราสารหนี้หน่วยลงทุน และหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มิอาจแสดงในรายการตาม (1) และ (2)
4.3 ค่าเผื่อการลดราคาหลักทรัพย์ (Allowance for diminution in value of securities)
หมายถึง จำนวนเงินที่ตั้งไว้เผื่อสำหรับขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดของหลักทรัพย์ที่แสดงราคาเงินลงทุนในหลักทรัพย์ด้วยราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า
5. บัญชีระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ (Accounts with securities companies)
หมายถึง ยอดดุลสุทธิลูกหนี้ของบัญชีระหว่างบริษัทกับบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่นที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์
6. ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ และดอกเบี้ยค้างรับ (Securities business receivables and accrued interest receivables)
6.1 ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ (Securities business receivables)
หมายถึง การให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ลูกค้า (รวมทั้งบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อี่น) โดยลูกค้าใช้หลักทรัพย์ที่ซื้อนั้นวางเป็นประกัน (margin loan) ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินจ่ายแทนลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินสดแต่บริษัทเป็นผู้จ่ายเงินทดรองไปก่อน
6.2 ดอกเบี้ยค้างรับ (Accrued interest receivables)
หมายถึง ดอกเบี้ยค้างรับจากลูกหนี้ ที่กำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 6.1
6.3 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for doubtful accounts)
หมายถึง จำนวนที่กันไว้เพื่อหักจากเงินให้กู้ยืม ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับ สำหรับส่วนที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้
7. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ (Premises and equipment, net)
หมายถึง
7.1 อสังหาริมทรัพย์และสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ หรือได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่สำหรับดำเนินธุรกิจหรือสำหรับพนักงานของบริษัทนั้น และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์
7.2 อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้ง และยานพาหนะต่าง ๆ
ทรัพย์สินดังกล่าวให้แสดงมูลค่าสุทธิหลังจากหักค่าเสื่อมราคาสะสม และสิทธิการเช่าส่วนที่ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว
8. สินทรัพย์อื่น (Other assets)
หมายถึง
8.1 รายได้ค้างรับที่บริษัทได้บันทึกบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้รับเงิน เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงิน ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลค้างรับ เงินปันผลค้างรับ แต่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับจากการให้กู้ยืมและลูกหนี้ซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 2 และ 6 แล้ว
8.2 รายจ่ายล่วงหน้าที่บริษัทได้จ่ายไปแล้ว แต่เป็นค่าใช้จ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีในอนาคต
8.3 ลูกหนี้ที่มิได้เกิดจากการให้กู้ยืม เช่น ลูกหนี้จากการทุจริตของพนักงาน โดยให้แสดงจำนวนสุทธิที่คาดว่าจะเรียกเก็บได้
8.4 ยอดดุลสุทธิลูกหนี้ในบัญชีระหว่างกันของสำนักงานใหญ่กับสำนักงานอื่น หรือสาขา
8.5 สินทรัพย์อื่นที่ไม่อาจแสดงไว้ในรายการที่กล่าวข้างต้น
ในกรณีที่สินทรัพย์อื่นรายการใดมีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ 20 ของยอดรวมสินทรัพย์อื่น ให้แสดงสินทรัพย์อื่นนั้นเป็นรายการแยกต่างหาก โดยแสดงไว้ในลำดับต่อจากรายการที่ 7
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
9. เงินกู้ยืม (Borrowings)
9.1 จากธนาคาร (From banks)
หมายถึง เงินกู้ยืมทุกประเภทจากธนาคารในประเทศ เช่น เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ตั๋วเงินจ่ายการขายและขายช่วงลดเช็ค
9.2 จากสถาบันการเงิน (From financial institutions)
หมายถึง เงินกู้ยืมทุกประเภทจากสถาบันการเงินในประเทศ ตามรายการที่ 2 ยกเว้นที่กำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 9.1 แล้ว
9.3 จากต่างประเทศ (From foreign countries)
หมายถึง เงินกู้ยืมทุกประเภทจากต่างประเทศ
10. หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (Securities sold under repurchase agreements)
หมายถึง หลักทรัพย์ที่บริษัทขายโดยมีสัญญาซื้อคืน
11. บัญชีระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ (Accounts with securities companies)
หมายถึง ยอดดุลสุทธิเจ้าหนี้ของบัญชีระหว่างบริษัทกับบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่นที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์
12. บัญชีลูกค้า (Customers' accounts)
หมายถึง เจ้าหนี้ของบริษัทอันเกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ได้แก่ เงินมัดจำของลูกค้าที่นำมาวางไว้เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าเงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ใดๆ ซึ่งลูกค้าฝากให้บริษัทขาย
13. หนี้สินอื่น (Other liabilities)
หมายถึง หนี้สินอื่นนอกจากที่กำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 9 - 12
ในกรณีหนี้สินอื่นรายการใดมีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ 20 ของยอดรวมหนี้สินอื่น ให้แสดงหนี้สินอื่นนั้นเป็นรายการแยกต่างหาก โดยแสดงไว้ในลำดับต่อจากรายการที่ 12
14. ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders' equity)
14.1 ทุนเรือนหุ้น (Share capital)
14.1.1 ทุนจดทะเบียน (Authorized share capital)
หมายถึง ทุนของบริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้นและมูลค่าที่ตราไว้ ตามที่จดทะเบียนแต่ละชนิด
14.1.2 ทุนที่ออกและชำระแล้ว (Issued and paid-up share capital)
หมายถึง จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นที่ได้นำออกจำหน่ายและเรียกให้ชำระมูลค่าหุ้นแล้ว ให้แสดงเป็นหุ้นแต่ละชนิด
ในกรณีที่มีการให้สิทธิพิเศษใดแก่หุ้นบุริมสิทธิ ให้เปิดเผยไว้ด้วย
14.2 ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Stock rights, warrants and options)
หมายถึง มูลค่าของสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือในการซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ
ให้เปิดเผยจำนวนสิทธิทั้งหมดและจำนวนคงเหลือ ตลอดจนเงื่อนไขของการใช้สิทธิ และภาระผูกพันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ ถ้าเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ให้เปิดเผยจำนวนสิทธิทั้งหมดและจำนวนคงเหลือ ตลอดจนเงื่อนไขของการใช้สิทธิและภาระผูกพันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
14.3 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Premium on share capital)
หมายถึง ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นหรือเงินที่ได้จากการขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนของหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ
14.4 ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน (Appraisal surplus)
หมายถึง ส่วนเกินจากราคาทุนหรือราคาตามบัญชีของทรัพย์สิน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
14.5 กำไรสะสม (Retained earnings)
14.5.1 จัดสรรแล้ว (Appropriated)
14.5.1.1 สำรองตามกฎมาย (Legal reserve)
หมายถึง สำรองที่กันไว้จากกำไรสุทธิประจำปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
14.5.1.2 อื่นๆ (Other)
หมายถึง จำนวนที่จัดสรรจากกำไรสะสมเพื่อการใดๆ ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ให้แสดงเป็นแต่ละประเภท เช่น เพื่อรักษาระดับเงินปันผล เพื่อขยายกิจการหรือตามเงื่อนไขของภาระผูกพัน
14.5.2 ยังไม่ได้จัดสรร (Unappropriated)
หมายถึง กำไรสะสมและกำรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันที่คงเหลือหลังจากการจัดสรร
ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็นผลขาดทุนสะสม ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมาย วงเล็บและเรียกเป็น "ขาดทุนสะสม"
14.6 ขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดจากหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน (Unrealized loss on securities for investment)
หมายถึง ส่วนต่างของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่มีราคารวม หรือราคาตามบัญชีสูงกว่าราคาตลาดรวม
บัญชีกำไรขาดทุน
1. รายได้ธุรกิจหลักทรัพย์ (Securities business income)
1.1 ค่านายหน้า (Brokerage fees)
หมายถึง ค่านายหน้าที่บริษัทได้รับจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
1.2 ค่าธรรมเนียมและบริการ (Fees and services income)
หมายถึง ค่าธรรมเนียมและบริการที่บริษัทได้รับจากการให้บริการแก่ลูกค้า เช่นค่าธรรมเนียมในการให้คำปรึกษาการลงทุน ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
1.3 กำไร (ขาดทุน) จากการซื้อขายหลักทรัพย์ (Gain (loss) on trading in securities)
หมายถึง กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายหรือขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ หรือมีผลกำไรขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ ให้นำมาปรับปรุงรายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ หากมียอดสุทธิเป็นผลขาดทุน ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
1.4 ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากหลักทรัพย์ (Interest and dividend on securities)
หมายถึง ดอกเบี้ยและเงินปันผลหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการลงทุนในหลักทรัพย์
1.5 ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม (Interest on margin loans)
หมายถึง ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
อนึ่ง หากรายได้ธุรกิจหลักทรัพย์ปรากฏยอดรวมเป็นผลขาดทุน ให้ใช้คำว่า "รวมผลขาดทุนจากธุรกิจหลักทรัพย์" แทน "รวมรายได้ธุรกิจหลักทรัพย์"
2. ค่าใช้จ่ายธุรกิจหลักทรัพย์ (Securities business expenses)
2.1 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (Interest on borrowing)
หมายถึง ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินจากธนาคารและสถาบันการเงิน รวมทั้งดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี และดอกเบี้ยจากการขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาจะซื้อคืน
2.2 ค่านายหน้า (Brokerage expenses)
หมายถึง ค่านายหน้าที่บริษัทจ่ายไปในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
2.3 ค่าธรรมเนียมและบริการ (Fees and services expenses)
หมายถึง ค่าธรรมเนียมและบริการที่บริษัทจ่ายไปในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
3. หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ (Bad debt and doubtful accounts)
หมายถึง เงินที่ให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้ รวมทั้งจำนวนที่กันไว้สำหรับหนี้สงสัยจะสูญ เพื่อให้เพียงพอกับเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับส่วนที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ หลังจากได้ดำเนินการตามสมควรเพื่อให้ได้ชำระหนี้แล้ว ให้นำไปหักจากบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในกรณีเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับที่ตัดบัญชีเป็นสูญไปแล้วภายหลังได้รับชำระคืน ให้นำไปเพิ่มในบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
สำหรับลูกหนี้ที่เกิดจากการทุจริตของพนักงาน และลูกหนี้ที่แสดงเป็นสินทรัพย์อื่นในงบดุลที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นแสดงไว้ในรายการที่ 5.5
4. รายได้อื่น (Other income)
หมายถึง รายได้นอกจากที่แสดงไว้ในรายการที่ 1
ทั้งนี้ ให้รวมกำไรอื่นที่ไม่จัดเป็นรายการพิเศษ เช่น กำไรจากการขายที่ดิน อาคารอุปกรณ์และทรัพย์สินอื่น ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการขายหรือขาดทุนจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว ให้นำมาหักจากรายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ กรณีที่ยอดสุทธิเป็นผลขาดทุน ให้นำไปแสดงไว้ในรายการที่ 5.5
ในกรณีที่รายได้อื่นรายการใดมีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ 20 ของยอดรวมรายได้อื่น ให้แสดงรายได้อื่นนั้นเป็นรายการแยกต่างหาก โดยแสดงไว้ในลำดับต่อจากรายการที่ 3
5. ค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (Operating expenses)
5.1 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน (Personnel expenses)
หมายถึง เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา โบนัส เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มค่า ครองชีพ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานส่วนที่บริษัทเป็นผู้จ่ายให้ เงินช่วยเหลือเพื่อสวัสดิการ ภาษี เงินได้ที่บริษัทออกให้ และเงินอื่นที่บริษัทจ่ายให้แก่พนักงานและลูกจ้าง
5.2 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่และอุปกรณ์ (Premises and equipment expenses)
หมายถึง ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่า ค่าซ่อมแซม ค่าบริการในการบำรุงรักษาค่าเบี้ยประกันภัย ค่าภาษีที่ดินและโรงเรียน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าวัสดุของใช้ และค่าใช้จ่ายอื่น เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องตกแต่งติดตั้ง และยานพาหนะ
5.3 ค่าภาษีอากร (Taxes and duties)
หมายถึง ค่าภาษีอากรต่าง ๆ เช่น ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีป้าย อากรแสตมป์ แต่ไม่รวมถึงภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 7 ภาษีที่ดินและโรงเรือนสำหรับที่ทำการซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 5.2 และภาษีเงินได้ที่บริษัทออกให้แก่กรรมการ พนักงานและลูกจ้าง ซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 5.1 และ 5.4 แล้ว
5.4 ค่าตอบแทนกรรมการ (Directors' remuneration)
หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่จ่ายให้กรรมการตามมาตรา 90 แห่งพระราช บัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
5.5 ค่าใช้จ่ายอื่น (Other expenses)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนอกจากที่กำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 2 และรายการที่ 5.1 ถึง 5.4
ทั้งนี้ ให้รวมถึงขาดทุนอื่นที่ไม่จัดเป็นรายการพิเศษ เช่น ผลเสียหายจากการ ทุจริตของพนักงาน ผลขาดทุนจากการขายที่ดิน อาคาร อุปกรณ์และทรัพย์สินอื่น ในกรณีที่มีรายได้จาก การขายทรัพย์สินดังกล่าว ให้นำมาหักจากรายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ หากยอดสุทธิเป็นผลกำไรให้นำ ไปแสดงไว้ในรายการที่ 4
ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายอื่นรายการใดมีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ 20 ของยอดรวมค่าใช้ จ่ายอื่น ให้แสดงค่าใช้จ่ายอื่นนั้นเป็นรายการแยกต่างหาก โดยแสดงไว้ในลำดับต่อจากรายการที่ 5.4
6. กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้และรายการพิเศษ (Income (loss) before income tax and extraordinary items)
หมายถึง ยอดรวมรายได้หักด้วยยอดรวมค่าใช้จ่าย แต่ก่อนหักภาษีเงินได้และก่อน รายการพิเศษ หากมีผลขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
7. ภาษีเงินได้ (Income tax expenses)
หมายถึง ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณขึ้นตามวิธีการบัญชี หรือตามบทบัญญัติแห่งประมวล รัษฎากร
8. กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ (Income (loss) before extraordinary items)
หมายถึง กำไร (ขาดทุน) หลังจากหักภาษีเงินได้ แต่ก่อนรายการพิเศษ หากมีผล ขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
9. รายการพิเศษ (Extraordinary items)
หมายถึง รายการที่มิได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามปกติของบริษัท และไม่อาจคาด ได้ว่าจะเกิดขึ้นอีก เช่นค่าเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำท่วมหรือภัยธรรมชาติอย่างอื่น รายการพิเศษนี้ ให้แสดงเป็นยอดสุทธิหลังจากหักภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องแล้ว และให้แสดงจำนวนภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้อง ไว้ด้วย
ในกรณีที่รายการพิเศษเป็นผลขาดทุน ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
10. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (Net income (loss))
หมายถึง กำไรหรือขาดทุนหลังจากหักหรือรวมรายการพิเศษแล้ว หากมีผลขาดทุนสุทธิ ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
11. กำไรต่อหุ้น (Earnings per share)
วิธีคำนวณให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยเรื่องกำไรต่อหุ้น โดยแสดงแยกเป็น
11.1 กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ (Income (loss) before extraordinary items)
หมายถึง ส่วนเฉลี่ยของกำไรหรือขาดทุนก่อนรายการพิเศษต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น หากมีผลขาดทุนก่อนรายการพิเศษ ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
11.2 รายการพิเศษ (Extraordinary items)
หมายถึง ส่วนเฉลี่ยของรายการพิเศษต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น หากรายการพิเศษนั้น เป็นผลขาดทุน ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
11.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (Net income (loss))
หมายถึง ส่วนเฉลี่ยของกำไรสุทธิหรือขาดทุนต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้นหากมีผลขาดทุน สุทธิ ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
งบกระแสเงินสด
รายการในงบกระแสเงินสดของบริษัทหลักทรัพย์ให้ใช้ความหมายตามที่กำหนด ดังนี้
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน หมายถึง เงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิด รายได้ของกิจการหรือจากกิจกรรมอื่นที่มิใช่กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมที่จัดหาเงิน เช่น เงินสดรับ หรือจ่าย ค่าดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เงินสดที่รับจากเงินปันผลและรายได้อื่น เงินสด ที่จ่ายไปหรือรับชำระคืนเงินให้กู้ยืม เงินสดจ่ายล่วงหน้าให้ลูกค้า เงินสดรับหรือจ่ายที่เกิดจากการซื้อ ขายหลักทรัพย์ระยะสั้น เงินสดรับจากการขายทรัพย์สินรอการขาย เป็นต้น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน หมายถึง เงินสดที่เกิดจากการซื้อและจำหน่ายทรัพย์สิน และเงินลงทุนในกิจการอื่นระยะยาว เช่น เงินสดรับหรือจ่ายจากการขายหรือซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ค่าสิทธิ และทรัพย์สินอื่น เงินสดรับหรือจ่ายจากการขายหรือซื้อหุ้นทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทุน หุ้นกู้ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีลักษณะคล้ายทุน ตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวของกิจการอื่น เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ซึ่งจัดเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรม ดำเนินงาน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน หมายถึง เงินสดที่เกิดจากหนี้สินและส่วนของเจ้าของ หรือจากกิจกรรมอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและโครงสร้างของส่วนของเจ้าของและ ส่วนของการกู้ยืมของกิจการ เช่น เงินสดรับหรือจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน ในประเทศและต่างประเทศ เงินสดที่ได้รับจากการเพิ่มทุนหรือออกหุ้นทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ หุ้นทุน หุ้นกู้ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ หรือเงินสดจ่ายเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ ตราสาร แสดงสิทธิในหนี้ที่มีลักษณะคล้ายทุน ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ เงินปันผลจ่าย เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกระแส เงินสดจากดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งจัดเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมบัตรเงินฝาก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ