หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday May 13, 1998 10:48 —ประกาศ ก.ล.ต.

             ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 
ที่ สน. 9/2541
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมการให้ยืม
หลักทรัพย์ของกองทุนรวม
_______________________
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6(11) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม
พ.ศ. 2535 ข้อ 10(11) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536
ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ข้อ 3(10) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในตราสาร
แห่งหนี้ พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2536 ข้อ 27(8) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และข้อ 3(11) แห่งประกาศคณะ
กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ
จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมประเภทที่ลงทุนในหน่วยลงทุน ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2540 สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์" หมายความว่า สัญญาซึ่งบริษัทหลักทรัพย์โอนหลักทรัพย์
ของกองทุนรวมให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคล
เดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท รุ่น และชนิดเดียวกัน ในจำนวนที่เทียบเท่ากัน
คืนให้แก่กองทุนรวม
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือ กองทุนรวม
ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์" หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
"เงินสด" หมายความว่า เงินสดสกุลบาท
"สมาคม" หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียน
กับสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน
และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน เพื่อดำเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทหลักทรัพย์ทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้
ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์ทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้เฉพาะกับผู้ได้รับใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ 4 ในการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้ให้ยืมต้องทำ
ด้วยความเข้าใจว่าเป็นการให้ยืมหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้มีการ
ขาย หรือจะมีการขายในประเทศไทย หรือเพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถคืนหลักทรัพย์ที่เคยยืมมาก่อน
ข้อ 5 หลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อาจให้ยืมได้ ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ใน
ระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็น
นายทะเบียนหลักทรัพย์
ข้อ 6 ในการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้สัญญาที่มีลักษณะและสาระ
สำคัญของสัญญาตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยลักษณะและ
สาระสำคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ข้อ 7 ในการจัดการกองทุนรวมตราสารแห่งทุนและกองทุนรวมผสม บริษัทหลักทรัพย์อาจทำ
ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ โดยต้องดำเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืม เพื่อเป็น
ประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือ
ตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก หรือที่กระทรวงการคลังเป็น
ผู้รับอาวัลทั้งจำนวน หรือเป็นผู้ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(3) เล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับ
แรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานเป็นผู้ออกให้
แก่กองทุนรวมเพื่อเป็นประกันการคืนหลักทรัพย์ให้แก่กองทุนรวม โดยธนาคารพาณิชย์นั้นยินยอมรับผิดใน
ฐานะลูกหนี้ชั้นต้น
(4) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน
สี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานเป็นผู้ออก
(5) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือ นิติบุคคลที่
มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบัน
จัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน เป็นผู้ออก
(6) ตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จาก
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน หรือตราสารแห่งหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้นเงิน
และดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้รับรองโดยเป็นการรับรองตลอดไป ผู้รับอาวัลทั้งจำนวน หรือ
ผู้สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยทั้งจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะ
ดังกล่าว
(7) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ใน SET 50 INDEX
ในการจัดการกองทุนรวมที่มิใช่กองทุนรวมตราสารแห่งทุนหรือกองทุนรวมผสม บริษัท
หลักทรัพย์อาจทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ โดยต้องดำเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกัน
จากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะตามที่กำหนดใน (1) ถึง (6)
ข้อ 8 การวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมเพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ตามข้อ 7
(2) (4) (5) (6) และ (7) บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการให้กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน
ดังกล่าว หรือต้องดำเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากหลัก
ประกันดังกล่าวได้โดยพลัน
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ห้ามมิให้บริษัท
หลักทรัพย์นำหลักประกันที่กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไปโอนหรือขายต่อ
ข้อ 9 ในการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการให้มีการดำรง
มูลค่าหลักประกันตามข้อ 7 ณ สิ้นวัน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สินตามข้อ 7(1) หรือ (2) มูลค่าหลักประกันต้องไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 105 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(2) กรณีหลักประกันเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อ 7(3) หรือทรัพย์สินตามข้อ 7(4) (5)
หรือ (6) มูลค่าหลักประกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 110 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(3) กรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สินตามข้อ 7(7) มูลค่าหลักประกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ
140 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
ในกรณีที่มูลค่าหลักประกันดังกล่าวน้อยกว่าอัตราส่วนที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์
ต้องดำเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันเพิ่มเติมจากผู้ยืมให้มูลค่าหลักประกันเป็นไปตามอัตราส่วน
ดังกล่าวภายในวันทำการถัดจากวันที่มูลค่าหลักประกันมีมูลค่าน้อยกว่าอัตราส่วนที่กำหนด
ข้อ 10 ในกรณีที่หลักประกันเป็นเงินสด ให้บริษัทหลักทรัพย์นำเงินสดดังกล่าวไปลงทุนโดยทันที
ในทรัพย์สินหรือหาดอกผลดังต่อไปนี้
(1) เงินฝากในธนาคารที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือ ในธนาคาร
พาณิชย์ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่า
เชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
(2) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือ
ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 7(2)
(3) บัตรเงินฝากตามข้อ 7(4)
(4) ตั๋วสัญญาใช้เงินตามข้อ 7(5)
(5) ทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคาร
แห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 7(2)
ข้อ 11 ในการคำนวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และมูลค่าหลักประกันที่มิใช่เงินสดและมิใช่เล็ต
เตอร์ออฟเครดิต ให้ใช้วิธีคำนวณตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ประ
กาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัด
การกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2536 หรือประ
กาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ
วิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.240 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่ม
เติม แล้วแต่กรณี และตามมาตรฐานการคำนวณที่สมาคมกำหนด
ข้อ 12 ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้มูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ในการคำนวณอัตราส่วนการทำ
ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ และการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ การคำนวณมูลค่า
ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์คำนวณโดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม รวมผล
ประโยชน์ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คำนวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการให้กองทุนรวมมีกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน
ตามข้อ 8 มิให้นำมูลค่าหลักประกันดังกล่าวในส่วนที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการทำธุรกรรมการให้ยืม
หลักทรัพย์มารวมคำนวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ข้อ 13 ให้บริษัทหลักทรัพย์ทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่ง
ได้ โดยมีมูลค่าธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์รวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
ของกองทุนรวม
ข้อ 14 ให้บริษัทหลักทรัพย์นำมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมตามธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์มารวม
คำนวณในอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
ข้อ 15 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำรายงานการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม
เป็นรายเดือนตามแบบและคำอธิบายประกอบการจัดทำแบบรายงานการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
ของกองทุนรวมแนบท้ายประกาศนี้ และส่งให้สำนักงานพร้อมแผ่น diskette ภายในวันที่ 15 ของเดือน
ถัดไป
ข้อ 16 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2541
(นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา)
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
____________________________________________________________________________
บลจ. ....................
ชื่อกองทุนรวม ....................
รายงานการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม
ประจำเดือน .............. พ.ศ. .....
__________________________________________________________________________________________
รายชื่อคู่สัญญา วัน เดือน ปี ชื่อและประเภท มูลค่าของ อัตรา อายุของ ชื่อและประเภท หมายเหตุ
ที่ทำธุรกรรม หลักทรัพย์ที่ให้ยืม หลักทรัพย์ที่ให้ยืม ผลตอบแทน สัญญา ของหลักประกัน
ณ วันทำธุรกรรม ณ วันทำธุรกรรม ต่อปี
(พันบาท) (ร้อยละ) (วัน)
__________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________
รวม
__________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________
รวม
__________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________
รวม
__________________________________________________________________________________________
รวมทั้งสิ้น
__________________________________________________________________________________________
มูลค่าการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์รวม ณ สิ้นเดือน ......... คิดเป็นร้อยละ ....... ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ขอรับรองว่ารายงานนี้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง
................... ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
ประทับตราบริษัท ( )
ตำแหน่ง .......................
วันที่ ..........................
คำอธิบายประกอบการจัดทำแบบรายงานการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม
การทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม ให้รายงานแยกรายกองทุนรวม ดังนี้
1. รายชื่อคู่สัญญา หมายถึง คู่สัญญาที่ทำธุรกรรมกับกองทุนรวม ให้แสดงชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
เช่น ABC Fin & Sec Co., Ltd. เป็นต้น ทั้งนี้ ให้เรียงตามลำดับอักษรด้วย
2. ข้อมูลแสดง วัน เดือน ปี ที่ทำธุรกรรมให้แสดงเป็น วัน/เดือน/ปี เช่น 25/09/41 และ
ให้รายงานตามลำดับวันที่ที่ทำธุรกรรม
3. ข้อมูลแสดงชื่อและประเภทของหลักทรัพย์ที่ให้ยืม และข้อมูลแสดงชื่อและประเภทของ
หลักประกัน ให้แสดงดังนี้
- ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพฯ หรือศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ให้แสดงชื่อย่อภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุ
ประเภทของหลักทรัพย์นั้นนำหน้าชื่อย่อดังกล่าว เช่น หุ้นจดทะเบียน - JKL เป็นต้น
- ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น ให้ใช้ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุ
ประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นนำหน้าชื่อดังกล่าว เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน - XYZ Co., Ltd. เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่มีการให้ยืมหลักทรัพย์ในวัน เดือน ปีเดียวกันมากกว่าหนึ่งรายการ ให้
แสดงชื่อและประเภทของหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเรียงตามประเภทของหลักทรัพย์ ดังนี้
- พันธบัตร
- ตั๋วเงินคลัง
- หุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
- หุ้นกู้และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
- หน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
- หลักทรัพย์อื่น
4. ข้อมูลแสดงอัตราผลตอบแทนต่อปี ให้แสดงอัตราผลตอบแทนที่กองทุนรวมได้รับจากการทำ
ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนรวม ในกรณีที่ได้รับเงินสดเป็นหลักประกัน ให้แสดงอัตราผล
ตอบแทนจากการนำเงินสดไปลงทุนในทรัพย์สินหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กำหนดในประกาศนี้ หักด้วย
rebate rate ตามที่สัญญากำหนด
5. การจัดทำรายงานใน diskette ให้จัดทำโดยใช้โปรแกรม excel โดยรายงานเป็น
รายกองทุนรวมตามวันที่จดทะเบียนกองทุนรวม และแสดงต่อเนื่องใน worksheet เดียวกัน

แท็ก กองทุนรวม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ