(ต่อ 3) การยื่นและยกเว้นการยื่นแบบแสดงข้อมูลเสนอขาย-หลักทรัพย์

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday September 12, 1996 15:43 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                  ส่วนที่ 4
การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
การรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลให้เป็น ดังนี้
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ทุกคนลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประ
ทับตราบริษัท (ถ้ามี) และกรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประ
ทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลพร้อมทั้งมอบอำนาจ
ให้บุคคลใดลงนามกำกับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
"ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบข้อความและข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับนี้แล้วขอรับรองว่า
ข้อความและข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทำให้ผู้อื่นสำคัญผิดหรือขาดข้อความที่ควรต้อง
แจ้งในสาระสำคัญอันอาจทำให้บุคคลผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์เสียหาย และข้าพเจ้าทราบว่าหากข้อความและข้อ
มูลดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่ข้าพเจ้าให้คำรับรองไว้ ผู้จองซื้อหลักทรัพย์อาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก
ข้าพเจ้าได้ตามมาตรา 82 หรือมาตรา 83 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
2535 และข้าพเจ้าอาจได้รับโทษตามมาตรา 278 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันด้วย
ในกรณีนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูก
ต้องที่เป็นชุดเดียวกัน ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้..............เป็นผู้ลงลายมือชื่อกำกับเอกสารนี้ไว้
ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ..............กำกับไว้ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่
ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลไว้"
ชื่อ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ
1. .............. ............... ................
2. .............. ............... ................
3. .............. ............... ................
.............. ............... ................
.............. ............... ................
ผู้รับมอบอำนาจ .............. ............... ................
หมายเหตุ ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงาน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรตามข้อ 15 วรรคสอง (1)
ของประกาศนี้ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลบางรายอาจยังไม่ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลใน
วันที่ยื่นแบบดังกล่าวได้ แต่เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไปผู้เสนอขายต้องดำเนินให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อให้
ครบ แบบแสดงรายการข้อมูลจึงจะมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 18 (1) ของประกาศนี้เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้า
ลักษณะตามข้อ 15 วรรคสอง (2) ของประกาศนี้
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์
ให้เจ้าของหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล หากเจ้าของหลักทรัพย์เป็น
นิติบุคคล ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) และให้
กรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) เพื่อ
รับรองความถูกต้องของข้อมูลพร้อมทั้งมอบอำนาจให้บุคคลใดลงนามกำกับเอกสาร ในแบบแสดงรายการ
ข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบตามที่กำหนดในข้อ 1
พร้อมกันนี้ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้ง
ประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลของบริษัทที่
ปรากฎอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังต่อไปนี้
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลส่วนที่เกี่ยวกับ..............ที่เจ้าของหลักทรัพย์ได้ระบุ
ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับนี้ เป็นข้อมูลที่ตรงกันกับข้อมูลที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ให้ไว้"
ชื่อ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ
1. .............. ............... ................
2. .............. ............... ................
3. .............. ............... ................
.............. ............... ................
ลักษณะการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน แบบย่อย 1
2.1 ลักษณะกิจการ
ให้ระบุประเภทธุรกิจที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. รวมทั้งระบุจำนวนและที่ตั้งของสำนักงานหรือสาขาและขอบเขตธุรกิจที่
ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการของสำนักงานหรือสาขานั้น
2.2 แหล่งที่มาของเงินทุน
ให้อธิบายแหล่งที่มาของเงินทุนตามรายละเอียดต่อไปนี้
(1) เงินทุน ณ วันสิ้นงวด แยกตามประเภทเจ้าหนี้ และตามระยะเวลาชำระคืน ใน
ระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบันตามตารางต่อไปนี้
แหล่งที่มาของเงินทุน ณ วันสิ้นงวด แยกตามประเภทเจ้าหนี้และระยะเวลาชำระคืน
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ประเภทเจ้าหนี้และ ปี 25.... ปี 25.... ปี25.... งวด....ปี....
ระยะเวลาชำระคืน ———————————————————————————————————————————————————————
ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
สถาบันการเงินในประเทศ
- ทวงถาม
- ไม่เกิน 3 เดือน
- 3-12 เดือน
- เกิน 12 เดือน
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
บุคคลธรรมดา
- ทวงถาม
- ไม่เกิน 3 เดือน
- 3-12 เดือน
- เกิน 12 เดือน
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
นิติบุคคล
- ทวงถาม
- ไม่เกิน 3 เดือน
- 3-12 เดือน
- เกิน 12 เดือน
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ต่างประเทศ
- ทวงถาม
- ไม่เกิน 3 เดือน
- 3-12 เดือน
- เกิน 12 เดือน
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวมทั้งสิ้น 100% 100% 100% 100%
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ทั้งนี้ในกรณีที่มีการออกหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ ให้ระบุรายละเอียด
ของหลักทรัพย์ดังกล่าวโดยสังเขปด้วย
(2) อัตราดอกเบี้ย เงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมแยกตามประเภทเงินรับฝากหรือเงินกู้
ยืมระยะเวลาชำระคืน และวงเงินกู้ยืม ในงวดปัจจุบัน
(3) สัดส่วนเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมจากกลุ่มเจ้าหนี้สูงสุด 10 อันดับแรก ต่อเงินรับ
ฝากหรือเงินกู้ยืมทั้งหมดของบริษัท ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
ในกรณีที่สัดส่วนดังกล่าวของเจ้าหนี้กลุ่มใดมากกว่าร้อยละ 10 ณ วันสิ้นงวด
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน ให้ระบุประเภทธุรกิจ จำนวนกลุ่ม และเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืม
รวมจากกลุ่มเจ้าหนี้ดังกล่าว หากเจ้าหนี้กลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทผู้บริหาร หรือกลุ่มผู้ถือหุ้นราย
ใหญ่ของบริษัท ให้ระบุความเกี่ยวข้องและเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมรวมจากกลุ่มเจ้าหนี่ที่มีความเกี่ยวข้อง
ด้วย
2.3 การให้กู้ยืม
ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการให้กู้ยืมและการบริหารความเสี่ยงจากการให้กู้ยืม
ตามรายละเอียดต่อไปนี้
(1) นโยบายการให้กู้ยืม ให้ระบุเป้าหมายการให้กู้ยืมแยกตามประเภทธุรกิจ นโยบาย
เกี่ยวกับการวางหลักประกันหรือการค้ำประกัน ขั้นตอนการให้กู้ยืม ผู้มีอำนาจอนุมัติวงเงินการให้กู้ยืม และ
การควบคุมดูแลและติดตามลูกหนี้
(2) เงินให้กู้ยืมคงค้าง ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน ตาม
ตารางต่อไปนี้
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
เงินให้กู้ยืมคงค้าง ณ วันสิ้นงวด แยกตามประเภทลูกหนี้และระยะเวลาชำระคืน
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ประเภทลูกหนี้และ ปี 25..... ปี 25.... ปี 25.... งวด....
ระยะเวลาชำระคืน ปี 25...
—————————————————————————————————————————————————————
ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
บุคคลธรรมดา
- ทวงถาม
- ไม่เกิน 1 ปี
- 1-5 ปี
- เกิน 5 ปี
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
นิติบุคคล
- ทวงถาม
- ไม่เกิน 1 ปี
- 1-5 ปี
- เกิน 5 ปี
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
สถาบันการเงิน
- ทวงถาม
- ไม่เกิน 1 ปี
- 1-5 ปี
- เกิน 5 ปี
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวมทั้งสิ้น 100% 100% 100% 100%
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
เงินให้กู้ยืมคงค้าง ณ วันสิ้นงวด แยกตามประเภทธุรกิจของลูกหนี้
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ประเภทธุรกิจ ปี 25... ปี 25... ปี 25... งวด...ปี...
————————————————————————————————————————————————————————
ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
สถาบันการเงิน
การก่อสร้าง
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
การบริโภคส่วนบุคคล
ธุรกิจหลักทรัพย์
ธุรกิจเช่าซื้อ
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม 100% 100% 100% 100%
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
เงินให้กู้ยืมคงค้าง ณ วันสิ้นงวด แยกตามวงเงินให้กู้ยืม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
วงเงินให้กู้ยืม ปี... ปี... ปี... งวด... ปี...
แต่ละราย
——————————————————————————————————————————————————————————
วงเงิน ยอด จำนวน วงเงิน ยอด จำนวน วงเงิน ยอด จำนวน วงเงิน ยอด จำนวน
รวม คงค้าง ราย รวม คงค้าง ราย รวม คงค้าง ราย รวม คงค้าง ราย
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ไม่เกิน 1 ล้านบาท
1 - 20 ล้านบาท
20 - 100 ล้านบาท
เกิน 100
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
(3)สัดส่วนเงินให้กู้ยืมคงค้างแก่กลุ่มลูกหนี้สูงสุด 10 อันดับแรก ต่อเงินให้กู้ยืมคงค้างทั้ง-
หมดของบริษัท ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
ในกรณีที่สัดส่วนดังกล่าวของลูกหนี้กลุ่มใดมากกว่าร้อยละ 10 ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่
ผ่านมา และงวดปัจจุบัน ให้ระบุประเภทธุรกิจ จำนวนกลุ่ม และเงินให้กู้ยืมคงค้างรวมแก่กลุ่มลูกหนี้
ดังกล่าว หากลูกหนี้กลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องกับบริษัท ผู้บริหาร หรือกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ให้
ระบุความเกี่ยวข้อง และเงินให้กู้ยืมคงค้างแก่กลุ่มลูกหนี้ที่มีความเกี่ยวข้องด้วย
(4) การจัดขึ้นสินทรัพย์ของบริษัทโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จากการตรวจสอบ
โดย ธปท. ครั้งล่าสุดให้อธิบายความหมายของสินทรัพย์จัดชั้นในแต่ละประเภท มูลค่าสินทรัพย์จัดชั้นแต่ละ
ประเภท หลักเกณฑ์การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และมูลค่าสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์
ของ ธปท. และความเห็นของ ธปท. เกี่ยวกับความเพียงพอของสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัท
(5)การจัดชั้นสินทรัพย์ เพื่อตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ของบริษัทให้อธิบาย
ความหายของสินทรัพย์จัดชั้นในแต่ละประเภท มูลค่าสินทรัพย์จัดชั้นในแต่ละประเภทนโยบายการตั้งสำรอง
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ของบริษัท และมูลค่าสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ณ วันสิ้นปีบัญชีล่าสุด
และงวดปัจจุบัน และอธิบายว่าปัจจุบันบริษัทมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เพียงพอตามเกณฑ์ขั้นต่ำ
ของ ธปท. หรือไม่ ทั้งนี้ การจัดชั้นสินทรัพย์เพื่อตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ของบริษัทไม่ใช่
การติดตามลูกหนี้รายที่ ธปท. จัดชั้น
(6)นโยบายการระงับรับรู้รายได้ และรายละเอียดของลูกหนี้ค้างชำระเงินงวด ณ วันสิ้น
งวดปัจจุบันตามตารางต่อไปนี้
รายละเอียดลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่าระยะเวลา
การค้างชำระที่ ธปท. กำหนดให้ระงับรับรู้รายได้ (... เดือน)
ณ วันที่.............................
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ยอดหนี้คงค้าง ยอดหนี้คงค้างรวม ลูกหนี้ที่หลักประกันไม่คุ้ม
แต่ละราย จำนวนราย —————————————————————————————————————————
เงินต้นที่ค้าง ดอกเบี้ย จำนวนราย ยอดหนี้คงค้างรวม
ชำระรวมกับ
ที่ยังไม่ถึง
กำหนดชำระ
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ไม่เกิน 1 ล้านบาท
1 - 20 ล้านบาท
20 - 100 ล้านบาท
เกิน 100 ล้านบาท
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
(7) นโยบายกำหนดสัดส่วนเงินให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือธุรกิจประเภทใดประเภท
หนึ่งต่อเงินให้กู้ยืมทั้งหมดของบริษัท (single lending limit) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำของธปท.
พร้อมทั้งอธิบายว่าปัจจุบันการให้กู้ยืมของบริษัทเป็นไปตามนโยบายที่บริษัทกำหนดหรือไม่
(8) การดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของบริษัทในงวดปัจจุบัน พร้อมทั้งอธิบายว่าปัจจุบัน
บริษัทมีการดำรงเงินกองทุนดังกล่าวเพียงพอตามเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท. หรือไม่
2.4 ธุรกิจอื่น ๆ
ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจลักษณะอื่น ๆ นอกเหนือจากการให้กู้ยืม เช่น
ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจวิเทศธนกิจ ธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ โดยแสดงผล
งานที่สำคัญและรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากธุรกิจนั้น ๆ และภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นใน
อนาคต ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
2.5 การทำสัญญาหรือข้อตกลงว่าจ้างหรือร่วมมือกับบุคคลอื่น
ในกรณีที่บริษัทมีการทำสัญญา หรือข้อตกลงว่าจ้างหรือร่วมมือกับบุคคลอื่นไม่ว่าในประเทศหรือ
ต่างประเทศ เพื่อร่วมบริหารหรือพัฒนางานของบริษัท ให้สรุปสาระสำคัญของสัญญา เช่น คู่สัญญา อายุ
สัญญา เงื่อนไขของสัญญา อัตราค่าตอบแทน และระยะเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในความ
เห็นชอบสัญญาดังกล่าว (ถ้ามี)
2.6 ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
ให้อธิบายลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการใน
อุตสาหกรรม (key success factor) โอกาสและอุปสรรคในอุตสาหกรรมและปัจจัยภายนอก ที่อาจมี
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม และธุรกิจของบริษัทในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้โดยสังเขป ทั้งนี้ให้อธิบาย
ถึงลักษณะดังต่อไปนี้ของอุตสาหกรรมด้วย
(1) ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
(2) มูลค่าเงินกู้ยืมรวมแยกตามแหล่งที่มาของเงินกู้ยืม
(3) มูลค่าเงินให้กู้ยืมแยกตามประเภทการให้กู้ยืมและประเภทธุรกิจของลูกหนี้
(4) ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทเทียบกับคู่แข่ง
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
แบบย่อย 2
ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์
2.1 ลักษณะบริการ
ให้ระบุประเภทธุรกิจที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงการคลัง สำนัก
งานคณะกรรมการ ก.ล.ต. รวมทั้งระบุจำนวนและที่ตั้งของสำนักงานหรือสาขาและขอบเขตธุรกิจที่ได้รับ
อนุญาตให้ดำเนินการของสำนักงานหรือสาขานั้น
2.2 แหล่งที่มาของเงินทุน
(1) ให้อธิบายแหล่งที่มาของเงินทุน ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาและงวดปัจจุบัน
แยกตามประเภทเจ้าหนี้และนโยบายในการจัดหาเงินทุนในอนาคตในกรณีที่มีการออกหลักทรัพย์ประเภท
ตราสารหนี้ ให้ระบุรายละเอียดของหลักทรัพย์ดังกล่าวโดยสังเขป
(2) สัดส่วนเงินกู้ยืมจากลุ่มเจ้าหนี้สูงสุด 10 อันดับแรก ต่อเงินกู้ยืมทั้งหมดของบริษัท ณ วัน
สิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
ในกรณีที่สัดส่วนดังกล่าวของเจ้าหนี้กลุ่ใดมากกว่าร้อยละ 10 ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่
ผ่านมาและงวดปัจจุบันให้ระบุประเภทธุรกิจจำนวนกลุ่ม และเงินกู้ยืมรวมจากกลุ่มเจ้าหนี้ดังกล่าว
หากเจ้าหนี้กลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องกับบริษัท ผู้บริหาร หรือกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ให้ระบุความ
เกี่ยวข้องและเงินกู้ยืมรวมจากกลุ่มเจ้าหนี้ที่มีความเกี่ยวข้องด้วย
2.3 ธุรกิจหลักทรัพย์
ให้อธิบายรายละเอียดธุรกิจหลักทรัพย์แยกตามประเภทของธุรกิจดังนี้
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(1.1) ส่วนแบ่งตลาดมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท และมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์
ของบริษัทแยกตามประเภทลูกค้าและแยกตามลักษณะการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า(บัญชีเงินสดหรือบัญชี
margin) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบันตามตารางต่อไปนี้
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ ปี 25.... ปี 25.... ปี 25.... งวด....
ปี 25...
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ตลาดหลักทรัพย์ (ล้านบาท)
บริษัท (ล้านบาท)
ส่วนแบ่งตลาด (%)
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
แยกตามประเภทลูกค้า
- บัญชีลงทุนของบริษัท
- กองทุนรวม
- sub broker
- ลูกค้าทั่วไป
- ลูกค้าต่างประเทศ
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
แยกตามลักษณะการซื้อขาย
- cash
- margin
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
(1.2) รายชื่อตัวแทนนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (sub broker) (ถ้ามี) ที่ส่งคำสั่งซื้อขาย
หลักทรัพย์ผ่านบริษัท ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
(1.3) กรณีที่บริษัทเป็น sub broker ให้ระบุรายชื่อนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (broker)
ที่บริษัทส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
(1.4) นโยบายในการรับลูกค้าและอนุมัติวงเงินซื้อหลักทรัพย์ให้ลูกค้าขั้นตอนการอนุมัติ ผู้มี
อำนาจอนุมัติ และการควบคุมและติดตามวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งบัญชีเงินสด และบัญชีให้กู้ยืมเพื่อ
ซื้อหลักทรัพย์ (margin)
(1.5) สัดส่วนกลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทสูงสุด 10 อันดับแรก ต่อมูลค่า
ซื้อขายหลักทรัพย์รวมของบริษัท ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
ในกรณีที่สัดส่วนดังกล่าวของลูกค้ากลุ่มใดมากกว่าร้อยละ 10 ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และ
งวดปัจจุบัน ให้ระบุประเภทธุรกิจ จำนวนกลุ่ม และมูลค่ารวมการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัท ของกลุ่ม
ลูกค้าดังกล่าว หากลูกค้ากลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องกับบริษัท ผู้บริหาร หรือกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
ให้ระบุความเกี่ยวข้องและมูลค่ารวมการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทของกลุ่มลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องด้วย
(1.6) การให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ให้ระบุความละเอียดเกี่ยวกับการให้กู้ยืม และการ
บริหารความเสี่ยงจากการให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์เช่นนโยบายการให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ เป้าหมาย
การให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์แยกตามประเภทลูกค้า หรือหลักทรัพย์ นโยบายเกี่ยวกับการวางหลักประกัน
หรือการค้ำประกันขั้นตอนการให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์อำนาจในการอนุมัติวงเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
และการควบคุมดูแลและติดตามลูกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
(1.7) เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้าง ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวด
ปัจจุบัน ตามตารางต่อไปนี้
เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้าง ณ วันสิ้นงวด แยกตามวงเงินให้กู้ยืม
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
วงเงินให้กู้ยืม ปี 25... ปี 25... ปี 25... งวด...ปี 25...
แต่ละราย ———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
วงเงิน ยอดคงค้าง จำนวน วงเงิน ยอดคงค้าง จำนวน วงเงิน ยอดคงค้าง จำนวน วงเงิน ยอดคงค้าง จำนวน
รวม ราย รวม ราย รวม ราย รวม ราย
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ไม่เกิน 1 ล้านบาท
1 - 20 ล้านบาท
20 - 100 ล้านบาท
เกิน 100 ล้านบาท
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
(1.8) สัดส่วนเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้างแก่กลุ่มลูกหนี้สูงสุด 10 อันดับแรก ต่อเงิน
ให้กู้ยิมเพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้างทั้งหมดของบริษัท ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาและงวดปัจจุบัน
ในกรณีที่สัดส่วนของลูกหนี้กลุ่มใดมากกว่าร้อยละ 10 ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
และงวดปัจจุบัน ให้ระบุประเภทลูกหนี้ จำนวนกลุ่ม และเงินให้กู้ยืม เพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้างรวมแก่กลุ่ม
ลูกหนี้ดังกล่าว หากลูกหนี้กลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องกับบริษัท ผู้บริหารหรือกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ให้
ระบุความเกี่ยวข้องและเงินให้กู้ยืม เพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้างรวมแก่กลุ่มลูกหนี้ที่มีความเกี่ยวข้องด้วย
(1.9) สัดส่วนเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้างในหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งสูงสุด
10 อันดับแรก ต่อเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้างทั้งหมดของบริษัท ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่าน
มา และงวดปัจจุบัน
ในกรณีที่สัดส่วนดังกล่าวในหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งมากกว่าร้อยละ 10 ณ วันสิ้นงวด
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน ให้ระบุประเภทหลักทรัพย์และเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์คงค้าง
ในหลักทรัพย์ดังกล่าว
(1.10) การสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ให้อธิบายนโยบายการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัย
จะสูญและสำรองเผื่อการลดมูลค่าของหลักทรัพย์และอธิบายว่าปัจจุบันบริษัทตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ
สูญและค่าเผื่อการลดมูลค่าของหลักทรัพย์เพียงพอกับลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย และการลดมูล
ค่าของหลักทรัพย์หรือไม่
(1.11) รายละเอียดลูกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า
6 เดือน ณ วันสิ้นงวดปัจจุบันตามตารางต่อไปนี้
รายละเอียดลูกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 6 เดือน
ณ วันที่.................
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ยอดหนี้คงค้าง ยอดหนี้คงค้างรวม ลูกหนี้ที่หลักประกันไม่คุ้ม
แต่ละราย จำนวนราย —————————————————————————————————————————————
เงินต้นที่ค้าง ดอกเบี้ย จำนวนราย ยอดหนี้คงค้างรวม
ชำระรวมกับ
ที่ยังไม่ถึง
กำหนดชำระ
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ไม่เกิน 1 ล้านบาท
1 - 20 ล้านบาท
20 - 100 ล้านบาท
เกิน 100 ล้านบาท
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
——————————————————————————————————————————————————————————————————————————
(1.12) นโยบายการกำหนดสัดส่วนเงินกู้ให้ยืม เพื่อซื้อหลักทรัพย์แก่ ลูกหนี้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
หรือหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ต่อเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด (single lending
limit) พร้อมทั้งอธิบายว่าปัจจุบันการให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท เป็นไปตามนโยบายที่บริษัท
กำหนดหรือไม่
(1.13) การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (net liquid assets) ของบริษัทในงวด
ปัจจุบัน พร้อมทั้งอธิบายว่าปัจจุบันบริษัทมีการดำรงเงินกองทุนดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของสำนัก
งานคณะกรรมการ ก.ล.ต.หรือไม่
(2) การค้าหลักทรัพย์
(2.1)นโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท ขั้นตอนและอำนาจในการพิจารณาอนุมัติ
การลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท
(2.2) มูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์แยกตามประเภทหลักทรัพย์ (หลักทรัพย์รัฐบาลและที่รัฐ-
บาลค้ำประกัน หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และ
หลักทรัพย์อื่น) ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน (การคำนวณมูลค่าเงินลงทุนให้ใช้
ราคาเดียวกับที่ปรากฎในงบการเงิน)
(2.3) สัดส่วนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ตามราคาทุนสูงสุด 10 อันดับ
แรก ต่อเงินลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทตามราคาทุน ณ วันสิ้นงวด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และ
งวดปัจจุบัน
ในกรณีที่สัดส่วนดังกล่าวมากกว่าร้อยละ 10 ณ วันสิ้นงวดในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวด
ปัจจุบัน ให้ระบุประเภทธุรกิจของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น ราคาทุนและราคาตลาดของหลักทรัพย์นั้น
(ไม่เกินกว่า 30 วันก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล)
(3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงิน
ให้อธิบายลักษณะของบริการ รวมทั้งผลงานที่สำคัญ และค่าธรรมเนียมที่ได้รับรวมสำหรับ
ธุรกิจนี้ ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
(4) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ให้แสดงรายละเอียดผลงานที่สำคัญ และค่าธรรมเนียมที่ได้รับรวมสำหรับธุรกิจนี้ ในระยะ 3
ปีที่ผ่านมา และงวดปัจจุบัน
2.4 การทำสัญญาหรือข้อตกลงว่าจ้างหรือร่วมมือกับบุคคลอื่น
ในกรณีที่บริษัทมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงว่าจ้างหรือร่วมมือกับบุคคลอื่นไม่ว่าในประเทศหรือ
ต่างประเทศ เพื่อร่วมบริการหรือพัฒนางานของบริษัท ให้สรุปสาระสำคัญของ สัญญา เช่น คู่สัญญา อายุ
สัญญา เงื่อนไขของสัญญา อัตราค่าตอบแทน และระยะวเลาที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ในความ
เห็นชอบสัญญาดังกล่าว (ถ้ามี)
2.5 ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
ให้อธิบายลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรม ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการใน
อุตสาหกรรม (key success factor) โอกาสและอุปสรรคในอุตสาหกรรม ปัจจัยภายนอกที่อาจมี
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจของบริษัทในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ โดยสังเขป ทั้งนี้ ให้อธิบายถึง
ลักษณะดังต่อไปนี้ของอุตสาหกรรมด้วย
(1) ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
(2) ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ