(ต่อ) แบบรายงานของบล.

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday May 18, 1992 14:49 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                   สารบัญ
หน้า
1. คำแนะนำทั่วไป 1-1
2. แบบรายงานที่กำหนดและกำหนดการยื่น 2-1
3. คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงาน 3-1
3.1 รายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน 3.1
แบบ บ.ล.2 : รายงานฐานะการเงิน 3.1-1
ตาราง บ.ล.2/1 : รายได้และค่าใช้จ่าย 3.1-8
3.2 รายงานธุรกิจหลักทรัพย์ 3.2
แบบ บ.ล.3 : รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ 3.2-1
ตาราง บ.ล.3/1 : รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัท 3.2-3
————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
1. คำแนะนำทั่วไป
1. ให้บริษัทหลักทรัพย์ จัดทำรายงานต่าง ๆ ตามแบบที่กำหนดพร้อมคำอธิบายประกอบการจัด
ทำรายงานที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามความเป็นจริง และ
ให้ยื่นรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตรงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละประเภท
แบบรายงาน
2. รายงานที่จัดทำเพื่อยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ทุกฉบับ จะต้องลงนามโดย
บุคคลที่บริษัทแต่งตั้งให้มีอำนาจลงนามได้ พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อ ตำแหน่ง และประทับตราบริษัทกำกับไว้ด้วย
สำหรับรายงานใดที่มีจำนวนหน้ามากกว่าหนึ่งหน้าหรือรายงานที่พิมพ์ด้วยกระดาษต่อเนื่องที่มีการแบ่งแยก
ออกเป็นแผ่น ๆ ให้ผู้มีอำนาจลงนามกำกับทุกหน้าของรายงานนั้นด้วย
3. ในการจัดทำรายงานดังกล่าวให้ใช้แบบพิมพ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.จัดพิมพ์ไว้
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ซึ่งมีจำหน่ายที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำหรับบริษัทที่ประสงค์จะ
จัดทำรายงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้กระดาษพิมพ์ต่อเนื่องนั้น จะกระทำได้เฉพาะกรณีที่รายงานซึ่ง
บริษัทจัดทำขึ้นนั้นมีรูปแบบและถ้อยคำถูกต้องครบถ้วน และตรงตามแบบที่กำหนดไว้ในแบบรายงานนั้น ๆ
ทุกประการเท่านั้น
4. ในกรณีการจัดส่งรายงานต่าง ๆ ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ (Computer
Readable Form) ให้จัดทำได้ตามรูปแบบของข้อมูล (Format) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
กำหนดให้เท่านั้น
5. หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับแบบรายงานดังกล่าว โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่าย
กำกับและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
2. แบบรายงานที่กำหนดและกำหนดเวลาการยื่น
แบบรายงานที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นต่อสำนักงานคณะ
กรรมการ ก.ล.ต. ตามนัยของมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
2535 ประกอบด้วยแบบรายงานต่าง ๆ ตามที่ปรากฎในตารางต่อไปนี้
สำหรับคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานให้เป็นไปตามคำอธิบายในแต่ละแบบรายงานซึ่ง
แนบไว้ท้ายคำอธิบายนี้
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
แบบรายงานของบริษัทหลักทรัพย์
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ชื่อรายงาน รหัสรายงาน ความถี่ใน กำหนด
การรายงาน เวลายื่น
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
1. รายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
— รายงานฐานะการเงิน แบบ บ.ล. 2 ทุกเดือน 21 วัน
— รายได้และค่าใช้จ่าย ตาราง บ.ล.2/1 ทุกเดือน 21 วัน
2. รายงานธุรกิจหลักทรัพย์
— รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์* แบบ บ.ล.3 ทุกเดือน 14 วัน
- รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัท ตาราง บ.ล.3/1 ทุกเดือน 14 วัน
—————————————————————————————————
* ต้องมีรายงานรายสำนักงานในภูมิภาคด้วย (ถ้ามี)
11.8 กำไรระหว่างงวดการบัญชี หมายถึง กำไร (ขาดทุน) นับแต่หลังวันสิ้นงวดการบัญชี
ก่อนจนถึงวันที่รายงาน ถ้าเป็นขาดทุนให้แสดงจำนวนขาดทุนในวงเล็บ ทั้งนี้ ให้แสดงรายละเอียดใน
ตาราง บ.ล.2/1 : รายได้และค่าใช้จ่าย แนบด้วย
11.9 รายการอื่น หมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้นที่มิได้กำหนดให้รายการไว้ในรายการ 11.1-
11.8 ทั้งนี้ ให้รวมกำไร (ขาดทุน) จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรารอตัดบัญชีไว้ใน
รายการนี้ด้วย โดยแสดงจำนวนขาดทุนไว้ในวงเล็บ
หมายเหตุท้ายรายงาน
1. สินทรัพย์ที่มีภาระผูกพัน หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่นำไปจำนอง จำนำ
เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน หรือค้ำประกัน หรือก่อภาระผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้รายงานแยกเป็นอสัง
หาริมทรัพย์และอื่น ๆ โดยให้แสดงมูลค่าสุทธิหลังจากหักจำนวนกันไว้เผื่อการลดค่าของสินทรัพย์นั้น ๆ
2. อื่น ๆ (ระบุ) ให้ระบุประเภทรายการตรงกันข้ามหรือภาระผูกพันแต่ละประเภทให้ชัด
เจน เช่น ดอกเบี้ยค้างรับที่มิได้ถือเป็นรายได้ (ซึ่งไม่ต้องรายงานไว้ในรายการ 4.5 : ดอกเบี้ยค้างรับ
แต่ให้รายงานไว้ในรายการนี้) ภาระจากการเป็นลูกหนี้ร่วม (เฉพาะส่วนที่บริษัทต้องรับภาระของลูกหนี้
ร่วมรายอื่น) ฯลฯ
คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานรายได้และค่าใช้จ่าย (ตาราง บ.ล.2/1)
1. รายได้ธุรกิจหลักทรัพย์
1.1 ค่านายหน้า หมายถึง ค่านายหน้าที่บริษัทได้รับในการประกอบกิจการนายหน้าซื้อขาย
หลักทรัพย์
1.2 กำไร (ขาดทุน) จากการซื้อขายหลักทรัพย์ หมายถึง กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายหรือขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ หรือมีผลกำไร (ขาดทุน) จากการตีราคา
หลักทรัพย์ ให้นำมาปรับปรุงรายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ หากมียอดสุทธิเป็นขาดทุนให้แสดงไว้ในวงเล็บ
1.3 รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ หมายถึง ค่าธรรมเนียมและบริการที่ได้รับจากการให้
บริการแก่ลูกค้า เช่น ค่าธรรมเนียมในการให้คำปรึกษาการลงทุน ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่าย
หลักทรัพย์ เป็นต้น
1.4 ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม หมายถึง ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
1.5 ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์ หมายถึง ดอกเบี้ยและเงินปันผลหรือ
ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการลงทุนในหลักทรัพย์
อนึ่ง หากรายได้ธุรกิจหลักทรัพย์ปรากฎยอดรวมเป็นผลขาดทุน ให้แสดงยอดขาดทุนไว้ในวง
เล็บ
2. ค่าใช้จ่ายธุรกิจหลักทรัพย์
2.1 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม หมายถึง ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินจากธนาคารและสถาบันการเงิน
รวมทั้งดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี และดอกเบี้ยจากการขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาจะซื้อคืน
2.2 ค่านายหน้าและค่าธรรมเนียม หมายถึง ค่านายหน้าและค่าธรรมเนียมที่บริษัทจ่ายไปใน
การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
3. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
หมายถึง จำนวนเงินที่กันไว้สำหรับหนี้สงสัยจะสูญเพื่อให้เพียงพอกับเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ย
ค้างรับส่วนที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ในแต่ละงวดบัญชี
อนึ่ง เงินให้กู้ยืมที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ และได้ตัดบัญชีเป็นหนี้สูญแล้วในเดือนนั้น ให้จัดทำ
รายละเอียดแสดงชื่อลูกหนี้และจำนวนเงินที่ตัดเป็นหนี้สูญแนบมาพร้อมรายงานนี้ด้วย
4. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน
4.1 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน หมายถึง เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา โบนัส เงิน
บำเหน็จ เงินเพิ่มค่าครองชีพ เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานส่วนที่บริษัทเป็นผู้จ่ายให้เงินช่วยเหลือเพื่อ
สวัสดิการ ภาษีเงินได้ที่บริษัทออกให้ และเงินอื่น ๆ ที่บริษัทจ่ายให้แก่พนักงาน ลูกจ้าง และกรรมการ
โดยให้แสดงจำนวนรวมของพนักงาน ลูกจ้าง และกรรมการที่บริษัทจ่ายเงินให้ในเดือนนั้นไว้ในวงเล็บด้วย
4.2 ค่าโฆษณาและส่งเสริมกิจการ หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่บริษัทจ่ายเพื่อประโยชน์ใน
การประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อส่งเสริมกิจการของบริษัท ทั้งนี้ ให้รวมถึงค่ารับรอง
4.3 ค่าเช่า หมายถึง ค่าตอบแทนที่คิดให้เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
4.4 ค่าเสื่อมราคา หมายถึง มูลค่าของทรัพย์สินถาวรที่มีตัวตนที่ตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชี
ต่าง ๆ ตามหลักการบัญชี
4.5 ค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่น หมายถึง ค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติจากการดำเนิน
งานนอกจากที่แสดงไว้ในรายการ 2 รายการ 3 และรายการ 4.1-4.4 แล้ว ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยว
กับอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและบริการที่บริษัทจ่ายเพื่อประโยชน์ในการ
ดำเนินงาน เป็นต้น
5. รายได้ (ค่าใช้จ่าย) อื่น หมายถึง รายได้นอกจากที่แสดงไว้ในรายการ 1 เช่น รายได้จากการให้
เช่าอาคารสถานที่ของบริษัท และค่าใช้จ่ายนอกจากที่แสดงไว้ในรายการ 2 ถึง 4 เช่น ขาดทุนจาก
การขายทรัพย์สิน (แต่ไม่รวมขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่แสดงไว้ในรายการ 1.2) โดยให้นำราย
ได้และค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักกลบกันแล้ว แสดงยอดสุทธิ หากยอดสุทธิเป็นค่าใช้จ่ายให้แสดงไว้ในวงเล็บ
6. กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าภาษีเงินได้และรายการพิเศษ หมายถึง ยอดรวมของรายได้ (รายการ 1)
หักด้วยยอดรวมค่าใช้จ่าย (รายการ 2 ถึง 4) แล้วบวกหรือลบรายได้ (ค่าใช้จ่าย) อื่น (รายการ 5)
หากมีผลขาดทุนให้แสดงไว้ในวงเล็บ
7. ค่าภาษีเงินได้ หมายถึง ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรหรือ
ตามวิธีการบัญชีสำหรับภาษีเงินได้
8. รายการพิเศษ หมายถึง รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนมากพอที่ถือได้ว่ามีนัยสำคัญและมีลักษณะไม่
ปกติ แตกต่างไปจากกิจกรรมการดำเนินงานตามปกติของบริษัท และเป็นรายการที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น
บ่อย เช่น ค่าเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำท่วมหรือภัยธรรมชาติอย่างอื่น โดยให้แสดงเป็นยอดสุทธิ หลัง
จากปรับปรุงค่าภาษีเงินได้แล้ว ถ้ายอดสุทธิเป็นค่าใช้จ่ายให้แสดงไว้ในวงเล็บ
9. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ หมายถึง กำไร (ขาดทุน) ตามรายการ 6 หักด้วยค่าภาษีเงินได้ (รายการ
7) และหักหรือรวมรายการพิเศษ (รายการ 8) หากมีผลขาดทุนสุทธิให้แสดงไว้ในวงเล็บ
"ยอดสะสม" หมายถึง ยอดเงินสะสมของแต่ละรายการนับแต่หลังวันสิ้นงวดการบัญชีก่อนจนถึง
วันที่รายงาน
อนึ่ง กำไร (ขาดทุน) สุทธิตามรายการ 9 ในช่อง "ยอดสะสม" จะต้องเท่ากับรายการ
"11.8 : กำไรระหว่างงวดการบัญชี" ในแบบรายงาน บ.ล.2
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อความทั่วไป
1. ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำรายงานธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย แบบ บ.ล.3 และ
ตารางประกอบ คือ ตาราง บ.ล.3/1 โดยให้รายงานยอดมูลค่าการซื้อหรือขายทั้งสิ้นในรอบระยะเวลา
1 เดือน สิ้นสุดวันสิ้นเดือนของทุกเดือน และยอดคงเหลือของหลักทรัพย์ ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละรายการ
ในแบบรายงานเป็นหน่วยพันบาทถ้วน (ใส่เครื่องหมายจุลภาค "," หลังหลักพันและหลักล้าน)
2. ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในภูมิภาคจัดทำรายงานแบบ บ.ล.3 ของรายสำนัก
งานในภูมิภาคด้วย และยื่นมาพร้อมกับแบบ บ.ล.3 ของ "รวมทุกสำนักงาน" โดยทำเครื่องหมาย [x
]
ที่มุมบนด้านซ้ายพร้อมระบุชื่อหรือประเภทสำนักงานและสถานที่ตั้งสำนักงานนั้น ๆ
3.ให้ยื่นรายงานดังกล่าวข้างต้นตามข้อ 1 และข้อ 2 จำนวนอย่างละ 2 ชุด ต่อสำนักงาน
คณะกรรมการ ก.ล.ต.ภายในวันที่ 14 ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————
คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ (แบบ บ.ล.3)
การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน หมายถึง การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์รับ
อนุญาตทุกประเภทที่ออกโดยภาคเอกชนและภาครัฐบาล แต่ไม่รวมการซื้อขายตามระเบียบธนาคารแห่งประ
เทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนหรือขายคืน
การซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ได้จดทะเบียน หมายถึง การซื้อขายหลักทรัพย์ทุกประเภทที่ออกโดย
ภาคเอกชนและภาครัฐบาลและไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นหลักทรัพย์ที่เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
แต่ไม่รวมการซื้อขายตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะซื้อ
คืนหรือขายคืน
การซื้อขายเพื่อลูกค้า หมายถึง การซื้อขายในฐานะเป็นนายหน้า หรือตัวแทนซื้อขายหรือแลก
เปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นโดยได้รับค่านายหน้า หรือบำเหน็จเป็นการตอบแทน ให้รายงานตามราคา
ซื้อขายจริงโดยไม่รวมหรือไม่หักค่านายหน้าและค่าบริการทุกประเภท แยกตามประเภทลูกค้าที่กำหนดดังนี้
1. บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แต่มิได้เป็น
สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
2. กองทุนรวม หมายถึง โครงการจัดการลงทุนของบริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการจัด
การลงทุนที่มีถิ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และจัดตั้งขึ้นโดยมีเงินทุนมาจากในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น
กองทุนสินภิญโญห้า กองทุนทรัพย์สมบูรณ์ เป็นต้น
3. ลูกค้าชาวต่างประเทศ หมายถึง บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
4.ลูกค้าอื่น หมายถึง บุคคลอื่นนอกเหนือจากที่รายงานไว้ในข้อ1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้าง
ต้นแล้ว
การซื้อขายเพื่อบริษัท หมายถึง การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนในนามของบริษัทเองให้รายงาน
ด้วยมูลค่าการซื้อขายจริงโดยไม่รวมหรือไม่หักค่านายหน้าและบริการทุกประเภท
การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หมายถึง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทรับมาเพื่อจำหน่ายให้
แก่ประชาชน และสามารถจำหน่ายไปได้จริงในเดือนที่รายงาน แต่ไม่รวมถึงการจำหน่ายหลักทรัพย์ที่
บริษัทแบ่งให้บริษัทอื่นรับไปจำหน่าย ให้รายงานมูลค่าของหลักทรัพย์ที่บริษัทสามารถจำหน่ายไปได้จริงไว้
ในช่อง "รวม"
สำหรับหลักทรัพย์ที่บริษัทรับมาจำหน่ายแล้วมียอดคงเหลือ และบริษัทต้องซื้อไว้เองนั้นให้ราย
งานยอดมูลค่ารวมที่บริษัทต้องซื้อไว้ในหัวข้อที่ 2 : การซื้อขายเพื่อบริษัท ในช่อง "ซื้อ"
กรณีบริษัทที่รายงานเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ให้รายงานมูลค่า
รวมของการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สั่งซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
คำอธิบายการจัดทำรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบริษัท ( ตาราง บ.ล. 3/1 )
รายชื่อหลักทรัพย์ หมายถึง ชื่อหลักทรัพย์ทุกรประเภทที่ออกโดยเอกชนและภาครัฐบาลที่เป็น
กรรมสิทธิ์ของบริษัทโดยการซื้อ หรือได้มาจากการชำระหนี้หรือการประกันการให้กู้ยืม ให้รายงานชื่อ
หลักทรัพย์ทุกประเภทเป็นอักษรย่อภาษาอังกฤษตามที่ใช้กันในตลาดหลักทรัพย์ ยกเว้นหลักทรัพย์อื่นและหุ้นกู้
ให้รายงานชื่อเต็มเป็นภาษาอังกฤษพร้อมวงเล็บชื่อเต็มภาษาไทย ทั้งนี้ ให้รายงานชื่อหลักทรัพย์เรียง
ตามลำดับตัวอักษร ( A-Z ) ภายใต้หัวข้อที่กำหนด ดังนี้
1. หลักทรัพย์จดทะเบียน หมายถึง หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียน หรือได้รับการอนุญาต
ให้ทำการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ ( แต่ไม่รวมหุ้นกู้ซึ่งให้รายงานไว้ในรายการ 3 )
2. หลักทรัพย์นอกตลาดฯ หมายถึง หลักทรัพย์ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นหลักทรัพย์จด
ทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์
3.หุ้นกู้ หมายถึง หุ้นกู้ทุกประเภททั้งที่เป็นและไม่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์
รับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์
จำนวนเงิน ให้รายงานมูลค่าการซื้อขายจริงโดยไม่รวมหรือไม่หักค่านายหน้าและบริการ
ทุกประเภท
ยอดคงเหลือ ให้รายงานยอดคงเหลือของหลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ณ วันสิ้นเดือน
ที่รายงาน โดยแสดงรายละเอียด ดังนี้
จำนวนหุ้น หมายถึง จำนวนหลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซึ่งปรากฏในบัญชี ณ วันสิ้น
เดือนที่รายงาน
มูลค่าตามราคาทุน หมายถึง มูลค่าของหลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทให้รายงานมูลค่า
ตามราคาทุน ยกเว้นหลักทรัพย์รัฐบาลและหุ้นกู้ ให้รายงานมูลค่าตามราคาที่ตราไว้ ( Par Value )
ยอดรวมของข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ในช่องยอดคงเหลือ "มูลค่าตามราคาทุน" จะต้องเท่า
กับรายการ 3.1 บวกรายการ 3.2 ในรายงานแบบ บ.ล.2

แท็ก คำอธิบาย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ