หลักเกณฑ์จัดตั้งกองทุนรวม : รับซื้อคืนหน่วยลงทุนปี 2536

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday July 30, 1993 10:55 —ประกาศ ก.ล.ต.

                 ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
พ.ศ. 2536
———————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ1ให้ยกเลิกความในข้อ5 วรรคสองและข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลัก-ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ข้อ 2 ในประกาศนี้
"บริษัทหลักทรัพย์" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"กองทุนเปิด" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้ง และจัดการ โดยบริษัทหลักทรัพย์
"กองทุนเปิดที่มีทุนมาจากต่างประเทศ" หมายความว่า กองทุนเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคล ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และรับชำระเงินค่าหน่วยลงทุนด้วยเงินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนเปิด
ข้อ3 ในการจัดตั้ง และจัดการกองทุนเปิด ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดตามประกาศนี้
ข้อ4เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ยื่นคำขอจัดตั้งกองทุนเปิดและได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.แล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนได้ ทั้งนี้ หนังสือชี้ชวนที่จัดทำเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนต้องดำเนินการดังนี้
(1)จัดส่งหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้แก่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน เพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนครั้งแรก
(2)จัดทำหนังสือชี้ชวนใหม่ทุกรอบปีบัญชี เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเปิด ณ วันสิ้นปีบัญชีและส่งให้แก่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น
ข้อ5 ในการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนครั้งแรก ให้บริษัทหลักทรัพย์กำนหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนไม่เกินยี่สิบเอ็ดวัน และราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขายให้เป็นราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ บวกค่าธรรมเนียมการขายไม่เกินอัตราที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิด
เมื่อได้จดทะเบียนกองทุนเปิดแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ขายหน่วยลงทุนในราคาตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ระบุไว้ ในโครงการจัดการกองทุนเปิดนั้น บวกค่าธรรมเนียมการขายไม่เกินอัตราที่ระบุไว้ในโครงการจัดกองทุนเปิด
ในการชำระค่าหน่วยลงทุน หากมิใช่กรณีที่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดหนึ่ง เพื่อซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดอื่นที่จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์เดียวกันผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องชำระด้วยเงินจนเต็มค่า จะหักกลบลบหนี้กับบริษัทหลักทรัพย์ไม่ได้
ข้อ6เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกหากปรากฎว่าโครงการจัดการกองทุนเปิดใดไม่สามารถขายหน่วยลงทุนให้แก่ประชาชนได้ถึงสิบราย หรือขายหน่วยลงทุนให้แก่ประชาชนได้ถึงสิบรายแต่มีมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดต่ำกว่าห้าสิบล้านบาทให้บริษัทหลักทรัพย์ยุติโครง-การจัดการกองทุนเปิดนั้นและคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุน เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ให้ดำเนินโครงการจัดการกองทุนเปิดนั้นต่อไปได้
กองทุนเปิดใดมีผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือต่ำกว่าสิบราย หรือมีมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดลดลงเหลือต่ำกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทหลักทรัพย์เลิกกองทุนเปิดนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ให้ดำเนินกองทุนเปิดนั้นต่อไปได้
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
ข้อ 7 ในกรณีที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่คนจองซื้อหน่วยลงทุน หรือถือหน่วยลงทุนร่วมกัน ให้บริษัทหลักทรัพย์จดแจ้งชื่อบุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนร่วมกันในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและในหน่วยลงทุนหรือหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
บริษัทหลักทรัพย์ต้องกำหนดให้บุคคลตามวรรคหนึ่ง แต่งตั้งบุคคลในจำนวนนั้นแต่เพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะผู้จองซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน และให้บริษัทหลักทรัพย์บันทึกชื่อบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นชื่อแรกของผู้จองซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
ข้อ 8 ภายใต้บังคับข้อ 9 ให้บริษัทหลักทรัพย์ออกหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิด
หน่วยลงทุนต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน
(2) ชื่อและประเภทของกองทุนเปิด
(3) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน และประเภทของหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(4) เลขที่หน่วยลงทุน
(5) จำนวนหน่วยลงทุน
(6) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน หรือคำแถลงว่าได้ออกหน่วยลงทุนนั้นให้แก่ผู้ถือ
(7) วันเดือนปีที่ออกหน่วยลงทุน
(8) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทหลักทรัพย์
(9) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์
(10) ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหลักทรัพย์และตราประทับของบริษัทหลักทรัพย์หรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ข้อ9 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์กำหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิดว่าจะออกหนังสือรับ-รองสิทธิในหน่วยลงทุน หรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแทนการออกหน่วยลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องออกหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนหรือปรับ-ปรุงรายการในสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้เป็นปัจจุบัน และมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิด
หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้
(1) ชื่อและประเภทของกองทุนเปิด
(2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน และประเภทของหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(3) เลขที่หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
(4) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน
(5) จำนวนหน่วยลงทุน และวันเดือนปีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซื้อหรือขายหน่วยลงทุน
(6) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทหลักทรัพย์
(7) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์
(8) ลายมือชื่อบุคคลผู้ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจลงนามเพื่อบริษัทหลักทรัพย์ในการรับรองข้อความหรือรายการในหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
ข้อ10ในการจัดการกองทุนเปิดให้บริษัทหลักทรัพย์ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
(1) พันธบัตรรัฐบาล
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ซึ่งออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4)ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะครบกำหนดชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งปี ซึ่งบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก
(5) ตั๋วแลกเงินที่จะครบกำหนดชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งปี ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทเงินทุนรับรอง รับอาวัล หรือสลัก หลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ย
(6) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(7) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(8) หลักทรัพย์จดทะเบียน หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(9) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(10) หุ้น หุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้หรือตั๋วเงินซึ่งเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) เป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ยื่นคำขอ ซึ่งเป็นผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัดแล้วแต่กรณีได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อสำนักงานคณะกรรม-การ ก.ล.ต.และได้รับอนุญาตแล้ว
(ข) เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือตั๋วเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัดที่ถือว่า ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.ให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นได้โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาต เนื่องจากเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุน โดยเฉพาะเจาะจงจำนวนไม่เกินสามสิบห้ารายภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน หรือเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนที่มีลักษณะหรือจัดอยู่ในประเภทที่คณะกรรมการก.ล.ต.ประกาศกำหนด และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่าหกสิบล้านบาท และได้ดำเนินกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี โดยมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานอย่างน้อยสองปีติดต่อกัน จนถึงงวดการบัญชีครั้งหลังสุด
(ค)เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท ซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่าหกสิบล้านบาท และได้ดำเนินกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี โดยมีกำไรสุทธิจากกการดำเนินงานอย่างน้อยสองปีติดต่อกันจนถึงงวดการบัญชีครั้งหลังสุด
ในกรณีที่เป็นกองทุนเปิดที่มีทุนมาจากต่างประเทศ การลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือตั๋วเงินซึ่งเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของข้อกำหนดในวรรคหนึ่ง
(11) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผล โดยวิธีอื่นตามที่สำนังานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
บริษัทหลักทรัพย์ต้องลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตาม (1)เฉพาะที่ซื้อไว้โดยมีสัญญาขายคืน(2) (4) (5) (6) และ (7) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเปิด ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้รับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกวันทำการ การดำรงอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ให้กระทำตั้งแต่วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนจนถึงวันที่บริษัทหลักทรัพย์ ได้ชำระเงินให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนในงวดนั้นเสร็จสิ้นแล้ว
อัตราส่วนที่ต้องดำรงตามวรรคสอง ให้ถือเอามูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเปิด เมื่อสิ้นวันทำการวันก่อนเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
ข้อ 11 การลงทุนตามข้อ 10 เฉพาะหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน และหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนต้องไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะ-กรรมการ ก.ล.ต.เป็นอย่างอื่น
(1) การลงทุนในหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นผู้จัดตั้งและจัดการ ต้องไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นผู้จัดตั้งและจัดการนั้น
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมหลายกองทุนรวม การลงทุนในหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นผู้จัดตั้งและจัดการ เมื่อรวมทุกกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดตั้งและจัดการแล้วต้องไม่ถึงร้อยละห้าสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นผู้จัดตั้งและจัดการนั้น
(2)การลงทุนในหน่วยลงทุน และหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นผู้จัดตั้งและจัดการต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเปิดที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดตั้งและจัดการ
(3) การลงทุนในหน่วยลงทุนและหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นผู้จัดตั้งและจัดการต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเปิดที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดตั้งและจัดการ
ข้อ 12 ให้บริษัทหลักทรัพย์คำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุนราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามระยะเวลาดังนี้
(1)คำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งทุกสิ้นวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยให้วันศุกร์เป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์
(2) คำนวณมูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน
(3) ประกาศมูลค่าและราคาที่คำนวณได้ตาม (1) หรือ (2) ภายในวันทำการถัดจากวันที่คำนวณ และแต่กรณี โดย
(ก) ประกาสในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ และ
(ข)ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยณ สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาของบริษัทหลัก-ทรัพย์ และสำนักงานซึ่งเป็นสถานที่ติดต่อของผู้ดูแลผลประโยชน์
(4)จัดให้บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนสนับสนุนการขาย และรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทราบมูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อแจ้งต่อผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อได้รับการร้องขอ
มูลค่าหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งหมายถึง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนที่จำ-หน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทำการที่คำนวณนั้น
ข้อ 13 ให้บริษัทหลักทรัพย์คำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนเปิดด้วยวิธีดังนี้
(1)พันธบัตรรัฐบาลตั๋วเงินคลังตราสารแห่งหนี้ทุกชนิดหรือบัตรเงินฝากให้ใช้ราคาตลาดครั้งสุดท้าย หรือให้กำหนดมูลค่าตามราคาที่ตราไว้หรือราคาที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นรวมดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่พึงได้รับจนถึงวันที่คำนวณมูลค่า
(2)หลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ให้ใช้ราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
(3)เงินฝากธนาคารประเภทมีกำหนดระยะเวลา ให้กำหนดมูลค่าด้วยยอดคงค้างรวมดอก-เบี้ยค้างรับ (ถ้ามี)
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถแสดงให้เห็นได้ว่า วิธีคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนเปิดตามวรรคหนึ่งทำให้มูลค่าทรัพย์สินไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะคำนวณมูลค่าหรือกรณีที่เป็นทรัพย์สินอื่นนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่งให้บริษัทหลักทรัพย์กำหนดมูลค่าทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรมด้วยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์
ข้อ 14 ในการใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุนหรือจำนวนหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการดังนี้
(1)คำนวณมูลค่า หรือจำนวนเป็นตัวเลขทศนิยมห้าตำแหน่ง ให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทศนิยมเพียงสี่ตำแหน่ง โดย
(ก)กรณีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนให้ตัดทศนิยมตำแหน่งที่ห้าทิ้งหากมูลค่าหน่วยลงทุนใช้ เพื่อการคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนให้ปัดทศนิยมตำแหน่งที่สี่ขึ้นและหากมูลค่าหน่วยลงทุนใช้เพื่อการคำนวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงุทนให้ตัดทศนิยมตำแหน่งที่ห้าทิ้ง
(ข) กรณีจำนวนหน่วยลงทุน ให้ตัดทศนิยมตำแหน่งที่ห้าทิ้ง
ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคำนวณตามวรรคหนึ่งให้บริษัทหลักทรัพย์นำผลประโยชน์นั้นเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนเปิด
(2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน เป็นตัวเลขทศนิยมอย่างน้อยสองตำแหน่ง โดยในกรณีราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้แสดงค่าทศนิยมด้วยวิธีการเดียวกับ (1) (ก)
ข้อ 15 ในการขายหน่วยลงทุนหรือการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการดังนี้
(1)กำหนดวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน และกำนหดวันรับคำสั่งซื้อหรืคำสั่งขายคตืนหน่วยลงทุนจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิด
(2) ขายหน่วยลงทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนที่คำนวณได้เมื่อสิ้นวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันนั้นเป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี
(3) เมื่อถึงวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนที่กำหนด บริษัทหลักทรัพย์ต้องรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจำนวนทั้งหมดที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้มีคำสั่งขายคืนไว้
(4)กรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนคิดเป็นจำนวนทั้งหมดเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมด ในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันใด และบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจำนวนทั้งหมดในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันนั้นตาม(3) ได้ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์แล้วให้บริษัทหลักทรัพย์รับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยปฏิ-บัติตามเงื่อนไข ดังนี้
(ก)รับซื้อคืนหน่วยลงทุน จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันนั้น
(ข) รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจำนวนที่เหลือจาก (ก) โดย
1.กรณีวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันถัดไปห่างจากวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันก่อนไม่เกินห้าวันทำการ ให้บริษัทหลักทรัพย์รับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันถัดไปหรือวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันใหม่ที่กำหนด เพื่อการนี้ไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิดซึ่งต้องไม่ช้ากว่าวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันถัดไปนั้น
2.กรณีวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันถัดไปห่างจากวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันก่อนเกินห้าวันทำการ ให้บริษัทหลักทรัพย์รับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันใหม่ ที่กำหนด เพื่อการนี้ไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิด ทั้งนี้ วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันใหม่ให้ห่างจากวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนก่อนได้ไม่เกินห้าวันทำการ
3. รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจำนวนที่เหลือจาก (ก) ทั้งหมด เว้นแต่กรณีหน่วยลงทุนจำนวนดังกล่าว มีจำนวนเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตาม (ก) และบริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจำนวนที่เหลือทั้งหมดดังกล่าวได้ในครั้งเดียวกันบริษัทหลักทรัพย์จะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นครั้งๆแต่ละครั้งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตาม(ก)จนกว่าจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจำนวนดังกล่าวเสร็จสิ้นก็ได้ ทั้งนี้ การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแต่ละครั้งให้กระทำในวันที่กำหนดตาม (ข) 1. หรือ 2. แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
(ค)ในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตาม(ก) และ (ข)บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดสรรจำนวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนตามสัดส่วนจำนวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืน
(ง) แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบในทันที ทุกครั้งที่บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการตาม(ก) หรือ (ข) และจัดทำรายงานในเรื่องดังกล่าวเป็นหนังสือ รวมทั้งแสดงหลักฐานการให้ความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการตาม(ก)หรือ (ข) แล้วแต่กรณีด้วย ในการนี้ บริษัทหลักทรัพย์จะมอบหมายให้ผู้ดูและผลประโยชน์เป็นผู้แจ้งหรือจัดทำรายงานแทนก็ได้
(จ)ในระหว่างที่บริษัทหลักทรัพย์ยังดำเนินการตาม(ก)ถึง(ค) ไม่แล้วเสร็จ หากถึงวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันอื่นและมีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนอีกบริษัทหลักทรัพย์ต้องรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันอื่นนั้นได้ โดยให้ปฏิบัติตาม (ก) (ข) (ค) และ (ง) โดยอนุโลม
ในวันที่บริษัทหลักทรัพย์รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจำนวนสุดท้ายที่ค้างอยู่บริษัทหลักทรัพย์จะเริ่มการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ของวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนวันอื่นเพิ่มเติมด้วยเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ แล้วจึงปฏิบัติตาม (ก) (ข) (ค) และ (ง) โดยอนุโลมต่อไป
(5)มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตาม (2) ต้องเป็นมูลค่าและราคาที่ได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์
(6) ชำระเงินให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในสี่วันทำการนับแต่วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน
(7)เพิ่มจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วหรือยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนในวันทำการถัดจากวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนจำนวนนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ16 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการเงินของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.อาจประกาศอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์หยุดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่รวมแล้วต้องไม่เกินสามสิบวันทำการติดต่อกัน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.ให้ขยายระยะเวลาหยุดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนออกไปได้
ข้อ17ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย หรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนเปิด บริษัทหลักทรัพย์ต้องกำหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิด
ในกรณีที่เป็นค่าธรรมเนียมการขายหรืรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนทราบโดยชัดเจนถึงอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกหรือยอมให้มีการเรียกค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่าย หรือเงินตอบ-แทนอื่นใดดังต่อไปนี้จากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนหรือกองทุนเปิด
(1) ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจัดตั้งกองทุนเปิด
(2) ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนกองทุนเปิดหรือการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนเปิด
(3)ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย หรือ เงินตอบแทนอื่นใด ที่มิได้ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนเปิด
ข้อ 18 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำรายงานทุกรอบปีบัญชี เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเปิด ณ วันสิ้นปีบัญชีและส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อยู่ในทะเบียผู้ถือหน่วยลงทุน และสำนักงานคณะกรมการ ก.ล.ต. ภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น หรือเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทที่ออกให้แก่ผู้ถือร้องขอ
รายงานตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) งบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของกองทุนเปิดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(2) ประเภท ชื่อ จำนวน และมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กองทุนเปิดลงทุนไว้
(3) ปริมาณการซื้อและปริมาณการขายหลักทรัพยืหรือทรัพย์สินหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นใดของกองทุนเปิดในรอบปีบัญชีรวมทั้งค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการดังกล่าวซึ่งเรียกเก็บจากกองทุนเปิด
(4) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนเปิดของบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ 19 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์กำหนดไว้ในโครงการ จัดการกองทุนเปิดให้มีการจ่ายเงินปันผลแก่ผุ้ถือหน่วยลงทุน การจ่ายเงินปันผลให้กระทำได้ เมื่อการดำเนินงานตามโครงการจัดการกองทุนเปิดกำไรสุทธิ
ให้บริษัทหลักทรัพย์ประกาศการจ่ายเงินปันผล โดย
(1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
(2) ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์และสำนักงานซึ่งเป็นสถานที่ติดต่อของผู้ดูแลผลประโยชน์
(3) ส่งประกาศดังกล่าวไปให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หรือเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทที่ออกให้แก่ผู้ถือร้องขอ
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่ต่างกัน สำหรับหน่วยลงทุนที่ขายในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.อาจกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏบัติเพิ่มเติมก็ได้
ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจำนวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นำเงินปันผลจำนวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนเปิดนั้น
ข้อ20ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีผู้สอบบัญชีทรัยพ์สินของกองทุนเปิด ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามโดยถือตามข้อกำหนดในข้อ1แห่ง ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งออกตามความในมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยอนุโลม
ข้อ21 ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ซึ่งออกตามความในมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ในกรณีที่มีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลประโยชน์และแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์อื่นแทนไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทหลักทรัพย์จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ก่อน
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ และมิได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด บริษัทหลักทรัพย์ต้องขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาให้แก้ไขเมื่อได้รับอนุญาตแล้วให้บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์อื่นแทนโดยพลัน
ข้อ 22 มิให้นำความในข้อ 4 ข้อ 6 ข้อ 10 วรรคสองและวรรคสาม ข้อ 12 ข้อ 14 และข้อ 19 วรรคสอง มาใช้บังคับกับกองทุนเปิดที่มีทุนมาจากต่างประเทศ
ข้อ 23 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจพิจารณาสั่งการให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามข้อ 4 ข้อ 12 (3) (ก) หรือ ข้อ 19 วรรคสอง (1) เป็นประการอื่นได้
ข้อ 24 โครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ให้จัดตั้งก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากบริษัทหลักทรัพย์จะแก้ไขให้เป็นโครงการจัดการกองทุนเปิดต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.กำหนดก่อน
ข้อ 25 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ