(ต่อ 3) การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday January 16, 1998 14:03 —ประกาศ ก.ล.ต.

คำอธิบายประกอบการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1
วิธีปฏิบัติ
1. ให้บริษัทคำนวณและดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นรายวัน โดยต้องคำนวณให้เสร็จภายในวันที่
ทำการถัดไป
2. ให้บริษัทจัดทำแบบรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของสำนักงานใหญ่รวมสาขา (ถ้ามี)
โดยแสดงยอดคงค้างของแต่ละรายการในแบบรายงานเป็นหน่วยบาทเศษของหนึ่งบาทตั้งแต่ห้าสิบ
สตางค์ขึ้นไปให้ปัดเป็นหนึ่งบาท และใส่เครื่องหมายจุลภาค "," หลังหลักพันและหลักล้าน พร้อม
ทั้งยื่นแบบรายงานดังกล่าวจำนวน 1 ชุดต่อฝ่ายกำกับธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.
ในกรณีดังนี้
การยื่นแบบรายงาน กำหนดส่ง
กรณีปกติ : สิ้นวันทำการสุดท้ายของเดือนเป็นประจำทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
กรณี NCR เข้าใกล้ขั้นต่ำที่สำนักงานกำหนด : สิ้นวันเป็นรายวัน
ติดต่อกันในกรณีที่เข้าเกณฑ์ต้องรายงานตามข้อ 5 ของประกาศ
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การ
คำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลง
วันที่ 24 ธันวาคม 2540 โดยให้รายงาน
ตั้งแต่ : วันที่บริษัทเริ่มมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเท่ากับ \
หรือน้อยกว่าอัตราส่วนตามข้อดังกล่าว > ภายใน 1 วันทำการถัดจากวันที่จัดทำรายงาน
จนถึง : วันที่บริษัทเริ่มมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิมากกว่า /
อัตราส่วนตามข้อดังกล่าวเป็นเวลา 2 วันทำการติดต่อกัน /
รายละเอียดประกอบการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
____________________________________________________________________________
| | |
| รายการ | คำอธิบาย |
|_______________________________|__________________________________________|
|ส่วนที่ 1 : เงินกองทุนสภาพคล่อง | |
| | |
|1.เงินสดและเงินฝากธนาคาร |ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ที่บริษัทมีอยู่ เงินฝากธนาคาร|
| |ทุกประเภท บัตรเงินฝาก (Negotiable Certificate|
| |of Deposit: NCD) ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือ |
| |สถาบันการเงินอื่น และรวมถึงตราสารสั่งจ่ายใด ๆ ที่นำ |
| |ฝากธนาคารเพื่อเรียกเก็บตามระเบียบการหักบัญชีระห่วาง|
| |ธนาคาร ซึ่งเรียกเก็บได้ภายในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ไม่ |
| |ว่ารายการดังกล่าวจะอยู่ในบัญชีของบริษัท หรือบัญชีของ |
| |บริษัทเพื่อลูกค้า (segregated account) ตามประกาศ|
| |ว่าด้วย การแยกบัญชีเงินของลูกค้า |
| |การคำนวณรายการที่ 1 ในส่วนที่เป็นเงินฝาก ให้ใช้ยอด|
| |เงินฝากในบัญชี โดยไม่ต้องคำนวณดอกเบี้ยค้างรับเป็นราย|
| |วัน และในกรณีเป็น NCD ให้ใช้ราคาตลาดของ NCD นั้น|
| |ถ้าไม่มี ให้ใช้ราคาที่ตราไว้หน้าตั๋ว (face value) |
| |สำหรับกรณีเป็น NCD ที่มีดอกเบี้ย หรือราคาทุนสำหรับ |
| |กรณีเป็น NCD ที่ไม่มีดอกเบี้ย |
| | |
|2.ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดย|ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ที่ออกโดยสถาบันการเงิน|
| สถาบันการเงิน |ตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน|
| |ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นตั๋วของบริษัท หรือตั๋วของบริษัทเพื่อลูกค้า|
| |(segregated account) ตามประกาศว่าด้วยการแยก|
| |บัญชีเงินของลูกค้า |
| | |
| 2.1 สถาบันการเงินทั่วไป |สถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการได้ตามปกติ |
| | |
| 2.2 สถาบันการเงินที่ถูกระงับ |สถาบันการเงินที่ถุกระงับกิจการโดยกระทรวงการคลัง |
| กิจการ | |
| | |
| 2.2.1 P/N หรือ B/E ที่ |P/N หรือ B/E ที่ออกโดยสถาบันการเงินที่ถูกระงับกิจการ|
| เปลี่ยนไม่ได้ |ที่ไม่สามารถนำไปแลกเป็น P/N หรือ NCD ที่ออกโดย |
| |สถาบันการเงินอื่นตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนด |
| | |
| 2.2.2 P/N หรือ B/E ที่ |P/N หรือ B/E ที่ออกโดยสถาบันการเงินที่ถูกระงับกิจการ|
| เปลี่ยนได้ |ที่สามารถนำไปแลกเป็น P/N หรือ NCD ที่ออกโดยสถาบัน|
| |การเงินอื่นตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดได้ โดย|
| |ที่ตั๋วเงิน หรือบัตรเงินฝากใหม่มีเงื่อนไขการชำระเงินแตก|
| |ต่างจากตั๋วเงิน หรือบัตรเงินฝากทั่วไปที่สถาบันการเงินอื่น|
| |นั้นออกให้แก่ผู้ฝากเงินของตนเอง (ถ้าเงื่อนไขเหมือนกัน|
| |ตั๋วเงินหรือบัตรเงินฝากใหม่และจะเป็นตั๋วเงินหรือบัตรเงิน|
| |ฝากของสถาบันการเงินทั่วไปตามข้อ 1 หรือข้อ 2.1 แล้ว|
| |แต่กรณี) |
| | |
| ก. มูลค่าหน้าตั๋ว/ราคาตลาด |P/N และ B/E ให้คำนวณมูลค่าตามราคาที่ตราไว้หน้าตั๋ว |
| |(face value) |
| | |
| ข. ค่าความเสี่ยง |- ค่าความเสี่ยงของ ข้อ 2.2.1 : P/N B/E ที่เปลี่ยน|
| |ไม่ได้ ให้คิดค่าความเสี่ยงร้อยละ 100 ของมูลค่าหน้าตั๋ว/|
| |ราคาตลาด |
| |- ค่าความเสี่ยงของ ข้อ 2.2.2 : P/N B/E ที่เปลี่ยน |
| |ได้ ให้คิดค่าความเสี่ยงเท่ากับ (1 - อัตราที่สามารถกู้ยืม|
| |เงินจากสถาบันการเงิน ที่ออกตั๋วใหม่โดยใช้ตั๋วนั้นเป็น |
| |ประกัน) ถ้าสถาบันการเงินที่ออกตั๋วใหม่มิได้ประกาศอัตรา|
| |การกู้ยืมเงินดังกล่าว ให้ใช้อัตราของสถาบันการเงินอื่น |
| |ที่ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะเดียวกันแทนได้ |
| | |
|3.เงินลงทุนในหลักทรัพย์โดยมี |หลักทรัพย์ที่บริษัทซื้อ โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนให้คำนวณสิน|
| สัญญาจะขายคืน |ทรัพย์สภาพคล่องสุทธิโดยเปรียบเทียบระหว่าง "ราคาขาย|
| |คืน ณ ปัจจุบัน" กับ "หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยง"|
| |ของคู่สัญญาแต่ละราย ดังนี้ |
| | |
| ก. ราคาขายคืน ณ ปัจจุบัน |ราคาซื้อ บวกด้วยดอกเบี้ยค้างรับ ณ วันที่รายงาน |
| |ดอกเบี้ยค้างรับ = ราคาซื้อ x อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา |
| |x ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ซื้อถึงวันที่รายงาน/365 วัน |
| | |
| ข. หลักประกัน |มูลค่าตามราคาตลาด ณ วันที่รายงานของหลักทรัพย์ที่บริษัท|
| |ซื้อไว้โดยมีสัญญาจะขายคืน ถ้าไม่มี ให้ใช้ราคาอื่นที่เหมาะ|
| |สม |
| | |
| ค. ค่าความเสี่ยง |ค่าความเสี่ยงของหลักประกัน = หลักประกัน x อัตรา |
| |ความเสี่ยงของหลักประกันประเภทนั้น (ใช้อัตราเดียวกับ |
| |ค่าความเสี่ยงของเงินลงทุนตามส่วนที่ 3) |
| |"หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยง" หมายถึง หลักประกัน |
| |(ข) หักด้วย ค่าความเสี่ยง (ค) |
| | |
| 3.1 หลักประกันหลังหักค่า |หมายถึง คู่สัญญารายที่ "ราคาขายคืน ณ ปัจจุบัน" ต่ำกว่า|
| ความเสี่ยงคุ้มหนี้ |หรือเท่ากับ "หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยง" โดยใน|
| |ช่อง ก. ข. และ ค. ให้ใช้ผลรวมของราคาขายคืน ณ|
| |ปัจจุบัน หลักประกัน และค่าความเสี่ยง ตามลำดับ ของคู่|
| |สัญญาทุกรายที่หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยงคุ้มหนี้และใน|
| |ช่อง 3.1 ให้ใช้ "ราคาขายคืน ณ ปัจจุบัน" ตามช่อง ก.|
| |เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิ |
| | |
| 3.2 หลักประกันหลังหัก |หมายถึง คู่สัญญารายที่ "ราคาขายคืน ณ ปัจจุบัน" มาก |
| ค่าความเสี่ยงไม่คุ้มหนี้ |กว่า "หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยง" โดยในช่อง ก. |
| |ข. และ ค. ให้ใช้ผลรวมของราคาขายคืน ณ ปัจจุบัน |
| |หลักประกัน และค่าความเสี่ยงตามลำดับ ของคู่สัญญาทุก |
| |รายที่หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยงไม่คุ้มหนี้ และในช่อง|
| |3.2 ให้ใช้ "มูลค่าหลักประกัน" ตามช่อง ข. หักด้วย |
| |"ค่าความเสี่ยง" ตามช่อง ค. เป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง |
| |สุทธิ |
| | |
|4. เงินลงทุน (ดูรายละเอียดประกอบใน |เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และตราสารแห่งหนื้อื่น (ไม่รวมข้อ|
| ส่วนที่ 3) | 2 : ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการ|
| |เงิน ข้อ 3 : เงินลงทุนในหลักทรัพย์โดยมีสัญญาจะขายคืน|
| |และหลักทรัพย์ที่ให้ยืมที่บริษัทเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการ |
| |เปลี่ยนแปลงราคาของตราสารนั้น)โดยในช่อง ก.และ ข.|
| |ให้ใช้ค่าที่คำนวณได้จากข้อ 6 ก.และ 6 ข. ของส่วนที่ 3|
| |ตามลำดับ และในช่อง 4 ของส่วนที่ 1 ให้คำนวณสินทรัพย์|
| |สภาพคล่องสุทธิโดยใช้ "มูลค่าเงินลงทุน" ตามช่อง ก. |
| |หักด้วย "ค่าความเสี่ยง" ตามช่อง ข. |
| | |
|5. ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ |ลูกหนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์และ|
| |ธุรกิจการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ |
| | |
| 5.1 ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง |บัญชีของลูกหนี้ที่สั่งซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินสด โดยไม่รวม |
| |ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องบังคับคดีประนอมหนี้ หรือ |
| |ผ่อนชำระ |
| | |
| 5.1.1 ลูกหนี้ยังไม่พ้น |ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งที่อยู่ระหว่างการเรียกชำระเงิน
| กำหนดชำระ |ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะชำระเงินตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ |
| |หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กำหนด (ยังอยู่ภายใน T + 3) |
| | |
| ก. มูลหนี้ |ยอดเงินค้างชำระของลูกหนี้ ให้คำนวณโดยใช้ผลรวมของ |
| |ยอดสุทธิของลูกค้าทุกรายที่มียอดดุลสิทธิลูกหนี้ (ถ้าลูกค้า |
| |รายใดมียอดดุลสุทธิเจ้าหนี้ให้แสดงเป็นหนี้สินในรายการ |
| |เจ้าหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ในส่วนที่ 2 ข้อ 4.1 : ขาย |
| |หลักทรัพย์ตามคำสั่ง) |
| | |
| ค. ค่าความเสี่ยง |คำนวณค่าความเสี่ยงเท่ากับร้อยละ 1.5 ของมูลหนี้ในช่อง|
| |ก. |
| |ให้คำนวณสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิในช่อง 5.1.1 โดยนำ |
| |"มูลหนี้" ตามช่อง ก. หักด้วย "ค่าความเสี่ยง" ตามช่อง|
| |ค. |
| | |
| 5.1.2 ลูกหนี้พ้นกำหนดชำระ |ลูกหนี้ซื้อหลักทรัยพ์ตามคำสั่งที่ไม่สามารถชำระเงินได้ตาม |
| ภายใน 30 วัน |กำหนดแต่พ้นกำหนดเวลาที่ต้องชำระไม่เกิน 30 วัน (เกิน|
| |T + 3 แต่อยู่ภายใน T + 3 + 30) ให้คำนวณสินทรัพย์ |
| |สภาพคล่องสุทธิ โดยเปรียบเทียบระหว่าง "มูลหนี้" กับ |
| |"หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยง" ของลูกหนี้แต่ละราย |
| |ดังนี้ |
| | |
| ก. มูลหนี้ |ยอดเงินค้างชำระของลูกหนี้ บวกด้วย ดอกเบี้ยค้างรับ |
| |ตามบัญชี (ถ้ามี) (ไม่ต้องคำนวณดอกเบี้ยค้างรับทุกวัน |
| |แต่ใช้ยอดที่ตั้งค้างรับไว้แล้ว) |
| | |
| ข.หลักประกัน |มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้ของลูกค้า |
| |ซึ่งได้แก่ |
| |- หลักทรัพย์ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าซึ่งยังมิได้ชำระค่าซื้อให้|
| | บริษัท |
| |- ทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางเป็นประกันในการเปิดบัญชีซื้อ-|
| | ขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดกับบริษัท |
| | |
| ค.ค่าความเสี่ยง |ค่าความเสี่ยงของหลักประกัน = หลักประกัน x อัตราค่า |
| |ความเสี่ยงของหลักประกันนั้น |
| |การคำนวณมูลค่าหลักประกัน และค่าความเสี่ยงของหลัก |
| |ประกันประเภทต่าง ๆ ให้ใช้เกณฑ์ดังนี้ |
| | |
| |- เงินสด : คำนวณมูลค่าโดยใช้เงินที่ลูกค้านำมาวาง |
| | บวก ดอกเบี้ยค้างรับตามบัญชี (ถ้ามี) และค่าความเสี่ยง
| | เท่ากับ 0% |
| |- L/C หรือ หนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ |
| | คำนวณมูลค่าโดยใช้วงเงินที่ได้รับการค้ำประกัน และค่า|
| | ความเสี่ยงเท่ากับ 0% |
| |- P/N NCD B/E ที่ออกโดยสถาบันการเงิน : คำนวณ |
| | เหมือนข้อ 2 ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดย |
| | สถาบันการเงิน |
| |- หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือศูนย์ซื้อขาย|
| | หลักทรัพย์ : คำนวณมูลค่าโดยใช้ราคาตลาด ณ วันที่ |
| | รายงาน ถ้าไม่มีให้ใช้ราคาอื่นที่เหมาะสม และคำนวณ |
| | ค่าความเสี่ยง โดยใช้อัตราความเสี่ยง ดังนี้ |
| |
| | 1 ก.ค.-31 ธ.ค. 41 1 ม.ค. 42 เป็นต้นไป
| |- หุ้นใน SET 50 ร้อยละ 10 ร้อยละ 10
| |- หุ้นที่ไม่อยู่ใน SET 50 ร้อยละ 10 ร้อยละ 30
| |- หุ้นที่ติดเครื่องหมาย C, SP ร้อยละ 100 ร้อยละ 100
| | ตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป
| |
| |- พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และตราสารหนี้อื่น|
| | : คำนวณมูลค่าโดยใช้ราคาตลาด ณ วันที่รายงาน ถ้า |
| | ไม่มีให้ใช้ราคาอื่นที่เหมาะสม และคำนวณค่าความเสี่ยง|
| | โดยใช้อัตราเช่นเดียวกับเงินลงทุนประเภทเดียวกันนี้ตาม
| | ข้อ 4 : เงินลงทุน "หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยง"|
| | หมายถึง "หลักประกัน" ตามช่อง ข. หักด้วย "ค่าความ
| | เสี่ยง" ของหลักประกันตามช่องค. |
| | |
| 5.1.2.1 หลักประกันหลังหัก |หมายถึง ลูกค้ารายที่ "มูลหนี้" ต่ำกว่าหรือเท่ากับ "หลัก |
| ความเสี่ยงคุ้มหนี้ |ประกันหลังหักค่าความเสี่ยง" โดยในช่องก. ข. และ ค.|
| |ให้ใช้ผลรวมของมูลหนี้หลักประกัน และค่าความเสี่ยง ตาม|
| |ลำดับ ของลูกค้าทุกรายที่หลักประกันหลังหักค่าความเสี่ยง |
| |คุ้มหนี้ และในช่อง 5.1.2.1 ให้ใช้ "มูลหนี้" ในช่อง ก.|
| |เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิ |
| | |
| 5.1.2.2 หลักประกันหลังหัก |หมายถึง ลูกค้ารายที่ "มูลหนี้" มากกว่า "หลักประกันหลัง|
| ค่าความเสี่ยงไม่ |หักค่าความเสี่ยง" โดยในช่อง ก. ข. ค. ให้ใช้ผลรวม |
| คุ้มหนี้ |ของมูลหนี้ หลักประกัน และค่าความเสี่ยง ตามลำดับ ของ|
| |ลูกค้าทุกรายที่หลักประกันหลักหักค่าความเสี่ยงไม่คุ้มหนี้ |
| |และในช่อง 5.1.2.2 ให้ใช้ "หลักประกัน" ตามช่อง ข.|
| |หักด้วย "ค่าความเสี่ยง" ตามช่อง ค. เป็นสินทรัพย์ |
| |สภาพคล่องสุทธิ |
| | |
| 5.1.3 ลูกหนี้พ้นกำหนดชำระ |ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งที่ไม่ชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์ |
| มากกว่า 30 วัน |และพ้นกำหนดชำระเงินเกินกว่า 30 วัน เกินกว่า T + 3|
| |+30) ให้แสดงมูลหนี้ในช่องก. และหลักประกันในช่อง ข.|
| |โดยใช้เกณฑ์เดียวกับข้อ 5.1.2 แต่ไม่ให้คิดเป็นสินทรัพย์ |
| |สภาพคล่อง |
| | |
| 5.2 ลูกหนี้บัญชีมาร์จิน |บัญชีของลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืม |
| |หลักทรัพย์ (Margin Account) ของลูกค้าทั่วไปที่บันทึก |
| |ในบัญชีมาร์จิ้น แต่ไม่รวมลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้อง |
| |บังคับคดี ประนอมหนี้หรือผ่อนชำระ ให้คำนวณโดย |
| |เปรียบเทียบระหว่าง "มูลหนี้" กับ "หลักประกันหลังหักค่า|
| |ความเสี่ยง" ของลูกค้าแต่ละราย ถ้าลูกค้ามีบัญชีมาร์จิ้นทั้ง|
| |ในระบบเดิมและระบบใหม่ บริษัทอาจนำมูลหนี้และหลัก |
| |ประกันของทั้ง 2 บัญชีมาคำนวณรวมกัน หรือแยกคำนวณ |
| |ระหว่างบัญชีระบบเดิมกับระบบใหม่ก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติ |
| |เช่นเดียวกับสำหรับลูกหนี้ทุกราย |
| | |
| ก. มูลหนี้ |ยอดหนี้คงค้างของลูกค้าในบัญชีมาร์จิ้น ซึ่งประกอบด้วย |
| | 1.การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ กรณีเป็นบัญชีในระบบ |
| |credit balance ให้ใช้ยอดเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์|
| |ณ วันที่รายงาน (ไม่ใช่ยอดที่สุทธิจากยอด cash |
| |balance ของลูกค้า) และในกรณีเป็นบัญชีมาร์จิ้นในระบบ|
| |เดิม (P/N หรือ cash margin) ให้ใช้มูลหนี้ที่รวมกำไร|
| |ขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ค่านายหน้าค้างรับ และ |
| |ดอกเบี้ยค้างรับตามบัญชีแล้ว ทั้งนี้ มูลหนี้ของลูกค้าในบัญชี |
| |ตามระบบเดิมจะนำมาใช้คำนวณสินทรัพย์สภาพคล่องได้จน |
| |ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 |
| | 2.การยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต ให้คำนวณมูลหนี้โดย |
| |ใช้ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ให้ยืม ณ วันรายงาน |
| | |
| ข. หลักประกัน |มูลค่าหลักประกันที่เป็นประกันการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย |
| |ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้า ทั้งนี้ เฉพาะหลักประกันประเภท |
| |ที่สามารถนำมาคำนวณในบัญชีมาร์จิ้นได้ ตามประกาศ |
| |สำนักงานว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ยืมเงินเพื่อซื้อ |
| |หลักทรัพย์ และการให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ต (เฉพาะ|
| |เงินสด P/N B/E NCD หรือ L/C ของสถาบันการเงิน |
| |พันธบัตร หรือหลักทรัพย์จดทะเบียน) การคำนวณมูลค่า |
| |หลักประกันของลูกหนี้บัญชีมาร์จิ้นให้ใช้เกณฑ์เดียวกับ |
| |ข้อ 5.1.2 |
|_______________________________|__________________________________________|
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ