หลักเกณฑ์เปิดเผยข้อมูลการเงินและผลงานบริษัทที่ออกหุ้น

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday May 18, 1992 14:10 —ประกาศ ก.ล.ต.

                          ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหุ้น
_____________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ ในแบบแสดงรายการย่อของงบการเงิน และในรายงานการ
เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่กำหนดตามประกาศนี้
"บริษัทที่ออกหุ้น" หมายความว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่ออกหุ้นตามมาตรา 32
หรือมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
"บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทในเครือของ
บริษัทย่อยโดยอนุโลม
"บริษัทใหญ่" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้นไม่ว่าโดยทางตรง
หรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหุ้น
"บริษัทย่อย" หมายความว่า บริษัทที่บริษัทที่ออกหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
"บริษัทร่วม" หมายความว่า บริษัทที่บริษัทที่ออกหุ้นถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือ
ทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบ แต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
"บริษัทที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บริษัทที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ออกหุ้นหรือบริษัท
ย่อยอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นบริษัทที่ผู้บริหารเฉพาะที่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทที่ออกหุ้นหรือ
บริษัทย่อยมีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
"ผู้บริหาร" หมายความว่า กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ พนักงานระดับ
ผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป หรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอำนาจในการจัดการบริษัทและ
รวมถึงบุคคลซึ่งบริษัททำสัญญาให้มีอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัท
"ผู้ถือหุ้นรายใหญ่" หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ใน
บริษัทที่ออกหุ้นรวมกันเกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหุ้นการถือหุ้น
ดังกล่าวให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
"ผู้ที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 258 (1) ถึง
(7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยอนุโลม
ข้อ 2 ให้บริษัทที่ออกหุ้นจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานตามที่กำหนดในข้อ 3 ข้อ 4
และข้อ 5 โดยถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) บริษัทที่ออกหุ้นที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เสนอขายหุ้น
ที่ออกใหม่ ให้เริ่มจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานดังกล่าวเมื่อได้ดำเนินการขายหุ้นแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ จนกว่าจะเลิกบริษัท
(2) บริษัทที่ออกหุ้นที่ถือว่าได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยไม่ต้อง
ยื่นคำขออนุญาต ให้เริ่มจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานดังกล่าวเมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการ
ข้อมูลการเสนอขายหุ้นและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยเจ้าของหุ้นและ
ได้ดำเนินการขายหุ้นแล้วเสร็จ ทั้งนี้ จนกว่าจะเลิกบริษัท
ข้อ 3 ให้บริษัทที่ออกหุ้นจัดทำและส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานตาม
มาตรฐานการสอบบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยไปยังสำนัก
คณะกรรมการ ก.ล.ต. จำนวนสามฉบับ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส
การเสนองบการเงินตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทที่ออกหุ้นแสดงรายการย่อตามแบบแนบท้าย
ประกาศนี้ และให้บริษัทที่ออกหุ้นเสนองบการเงินรายไตรมาสสำหรับแต่ละงวดไตรมาสของปี และ
งบเปรียบเทียบดังนี้
(1) งบกำไรขาดทุนแสดงผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสปัจจุบันเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และงวดตั้งแต่ต้นปีของปีการเงินปัจจุบันจนถึงวันสุดท้ายของไตรมาสปัจจุบัน
ปรียบเทียบกับงวดตั้งแต่วันต้นปีของปีการเงินก่อนจนถึงวันสุดท้ายของไตรมาสเดียวกันของปีการเงิน
ก่อน ทั้งนี้ หากมีรายการพิเศษ การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี รายได้และค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามฤดูกาล
หรือรายการพิเศษ การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี รายได้และค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามฤดูกาล หรือรายการ
อื่นใดที่ทำให้ฐานะหรือรายได้และค่าใช้จ่ายของบริษัทที่ออกหุ้นเปลี่ยนแปลงผิดปกติ บริษัทที่ออกหุ้นต้อง
แจ้งรายการดังกล่าวพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลประกอบด้วย
(2) งบดุลแสดงฐานะการเงิน ณ วันสุดท้ายของไตรมาสปัจจุบันเปรียบเทียบกับ ณ วัน
สุดท้ายของไตรมาสเดียวกับของปีก่อน
บริษัทที่ออกหุ้นอาจจัดส่งงบการเงินที่ปิดบัญชีทุกงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือน
หรือหนึ่งปี แทนการจัดส่งงบการเงินรายไตรมาสสำหรับงวดการบัญชีนั้นได้ หากบริษัทที่ออกหุ้นสามารถ
จัดส่งงบการเงินดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ภายในระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วัน
สิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ โดยแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบก่อนหากบริษัท
ที่ออกหุ้นจะดำเนินการดังกล่าว
ข้อ 4 ให้บริษัทที่ออกหุ้นจัดทำงบการเงินประจำงวดการบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว และจัดส่งให้สำนักงานกรรมการ ก.ล.ต. จำนวนสามฉบับภายใน
สามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาหนึ่งปี หรือวันสิ้นสุดระยะเวลาหกเดือน โดยงบการเงินนั้น
อย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูล ดังนี้
(1) เปิดเผยข้อมูลในงบการเงินตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ออก
ตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และปฏิบัติตาม
มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
(2) ในการปฏิบัติตาม (1) อย่างน้อยให้บริษัทที่ออกหุ้นเปิดเผยรายละเอียดไว้ใน
หมายเหตุประกอบงบการเงินดังต่อไปนี้ คือ รายการบัญชีกับบริษัทในเครือ บริษัทร่วม บริษัทที่เกี่ยวข้อง
ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว การนำสินทรัพย์วางเป็นหลักประกันหนี้สิน
ข้อจำกัดอื่นที่มีต่อกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการใช้สินทรัพย์ของบริษัท การประกันหนี้สินของบริษัทที่ออกหุ้นโดย
บุคคลหรือโดยสินทรัพย์ของบุคคลที่สาม ข้อผูกพันที่จะต้องรักษาระดับทุนทำการหรือรักษาส่วนของผู้ถือหุ้นไว้
ข้อจำกัดเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล ข้อผูกพันที่จะลดหนี้ระยะยาว เงื่อนไขและข้อกำหนดอื่นที่มีตามสัญญา
เงินกู้ระยะยาว ข้อผูกพันซื้อโรงงานหรือเครื่องจักรซึ่งเป็นจำนวนเงินมาก การทำสัญญาเช่าระยะยาว
การให้กู้ยืมแก่ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหุ้นและการเปลี่ยนแปลงในระหว่างปีโดยไม่รวมถึงการให้กู้ยืมเพื่อ
เป็นสวัสดิการตามปกติของบริษัทที่ออกหุ้น ข้อผูกพันตามโครงการ บำเหน็จ บำนาญ และข้อผูกพันอื่น ๆ
ที่มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
(3) ให้บริษัทที่ออกหุ้นจัดทำงบการเงินรวมเป็นการเพิ่มเติมในกรณีที่บริษัทที่ออกหุ้น
มีเงินลงทุนในบริษัทอื่นมากกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น และใน
กรณีที่บริษัทที่ออกหุ้นไม่ได้นำบริษัทดังกล่าวมารวมในงบการเงินรวม ให้แจ้งเหตุผลถึงการไม่นำมารวมและ
ให้เปิดเผยงบการเงินของบริษัทดังกล่าวนั้นไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินรวมด้วย
(4) ให้จัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน หรืองบแสดงที่มาและใช้ไป
ของเงินทุนเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
(5) งบการเงินประจำปีจะต้องเสนอตัวเลขของปีก่อนเพื่อนเปรียบเทียบ
(6) ในกรณีที่เป็นปัญหาการบัญชีที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีของไทยครอบคลุมถึงให้ปฏิบัติ
ตามลำดับดังนี้
(ก) ใช้มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศของ Accounting Standards
Council
(ข) ใช้มาตรฐานการบัญชีของ American Institution of Certified
Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board
ในกรณีทีใช้มาตรฐานตาม (ก) และหรือ (ข) ให้ระบุแหล่งที่มาของมาตรฐาน
การบัญชีที่ใช้ด้วย
ข้อ 5 ให้บริษัทที่ออกหุ้นจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท และจัดส่งให้
สำนักคณะกรรมการ ก.ล.ต. จำนวนสามฉบับภายในระยะเวลาสี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
รายงานประจำปีนั้นต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังนี้
(1) ชื่อ สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ประเภทธุรกิจ
(2) จำนวน มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น และทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วทั้งหมด
(3) คำชี้แจงของประธานกรรมการ หรือคณะกรรมการเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน
(4) ข้อมูลที่สำคัญโดยสรุปของกิจการ
(5) รายงานโดยสังเขปในลักษณะวิเคราะห์เกี่ยวกับผลการดำเนินงานและการ
ปลี่ยนแปลงในผลการดำเนินงาน
(6) ชื่อและตำแหน่งของกรรมการ และกรรมการบริหาร
(7) ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม รวมถึงการถือหุ้น
ของบริษัทในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
(8) งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วโดยไม่ตัดทอน
(9) ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและฐานะการเงินเปรียบเทียบอย่างน้อย
สามปี ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์รวม ทุนที่ออกแล้วเรียกชำระแล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้จากการ
ขาย กำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้น มูลค่าตามบัญชี เงินปันผลต่อหุ้น และอัตราเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ
ข้อ 6 ให้บริษัทที่ออกหุ้นจัดทำรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมตามแบบ 56-1 ที่กำหนด
ท้ายประกาศนี้ และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จำนวนสามฉบับภายในระยะเวลาสามเดือน
น้บแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2535
(นายสุธี สิงห์เสน่ห์)
ประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
__________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________
แบบแสดงรายการย่อของงบการเงิน
1. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจทั่วไป
งบกำไรขาดทุน | งบดุล
รายได้ | สินทรัพย์
รายได้จากการขาย |สินทรัพย์หมุนเวียน
รายได้อื่น | ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ
ค่าใช้จ่าย | สินค้าคงเหลือ
ต้นทุนขาย | สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
ค่าใช้จ่ายอื่น |ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ
ภาษีเงินได้ |สินทรัพย์อื่น
รายการพิเศษ |รวม
กำไรสุทธิ | หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
กำไรต่อหุ้น |หนี้สินหมุนเวียน
| เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร
| เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย
| หนี้สินหมุนเวียนอื่น
|เงินกู้ยืมระยะยาว
|หนี้สินอื่น
|ส่วนของผู้ถือหุ้น
|รวม
2. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
งบกำไรขาดทุน | งบดุล
รายได้ | สินทรัพย์
ดอกเบี้ยและส่วนลด |เงินลงทุนในหลักทรัพย์
รายได้อื่น |เงินให้กู้ยืมสุทธิ
ค่าใช้จ่าย |สินทรัพย์อื่น
เงินเดือนและค่าจ้าง |รวม
ดอกเบี้ยจ่ายและส่วนลดจ่าย | หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
ค่าใช้จ่ายอื่น |เงินฝาก
ภาษีเงินได้ |หนี้สินอื่น
รายการพิเศษ |ส่วนของผู้ถือหุ้น
กำไรสุทธิ |รวม
กำไรต่อหุ้น |
3. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์
งบกำไรขาดทุน | งบดุล
รายได้ | สินทรัพย์
ดอกเบี้ยและส่วนลด |เงินลงทุนในหลักทรัพย์
ค่านายหน้าและกำไรจากการค้า |เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้สุทธิ
หลักทรัพย์ |สินทรัพย์อื่น
รายได้อื่น |รวม
ค่าใช้จ่าย | หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
ดอกเบี้ยจ่ายและส่วนลดจ่าย |ตั๋วเงินจ่าย
ค่าใช้จ่ายอื่น |หนี้สินอื่น
ภาษีเงินได้ |ส่วนของผู้ถือหุ้น
รายการพิเศษ |รวม
กำไรสุทธิ |
กำไรต่อหุ้น |
4. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจประกันชีวิตและวินาศภัย
งบกำไรขาดทุน | งบดุล
รายได้ | สินทรัพย์
เบี้ยประกันภัยรับสุทธิ |สินทรัพย์หมุนเวียน
กำไรจากการลงทุน |เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม
ค่าใช้จ่าย |สินทรัพย์อื่น
ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัย |รวม
ค่าใช้จ่ายอื่น | หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
ภาษีเงินได้ |หนี้สินหมุนเวียน
รายการพิเศษ | เงินสำรองการเสี่ยงภัย
กำไรสุทธิ | หนี้สินหมุนเวียนอื่น
กำไรต่อหุ้น |เงินสำรองประกันชีวิต
|หนี้สินอื่น
|ส่วนของผู้ถือหุ้น
|รวม
|
คำอธิบายรายการย่อของงบการเงิน
รายการย่อของงบการเงินให้มีมีความหมายโดยย่อเช่นเดียวกับที่ปรากฎในเอกสารแนบท้าย
คำชี้แจงของกรมทะเบียนการค้า เรื่อง การจัดทำงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนและการลงลายมือชื่อรับรอง
การสอบบัญชี ลงวันที่ 1 มกราคม 2520 ตามประเภทธุรกิจนั้น ๆ ยกเว้นรายการดังต่อไปนี้ (เลขใน
วงเล็บหลังรายการย่อของงบการเงินแสดงถึงหมายเลขกำกับรายการย่อตามเอกสารแนบท้ายคำชี้แจงของ
กรมทะเบียนการค้าที่กล่าวข้างต้น)
1. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจทั่วไป
งบกำไรขาดทุน
ค่าใช้จ่ายอื่น
หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (2.2) และดอกเบี้ยจ่าย (2.3)
งบดุล
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร (1.1) เงินลงทุนระยะสั้น (1.2) เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือ
บริษัทร่วม (1.4) และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (1.6)
สินทรัพย์อื่น
หมายถึง ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง (2) เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือ
บริษัทร่วม และบริษัทอื่น (3) และสินทรัพย์อื่น (5)
หนี้สินหมุนเวียนอื่น
หมายถึง เงินปันผลค้างจ่าย (1.3) ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (1.4) เงินกู้
ยืมจากบริษัทในเครือและบริษัทร่วม (1.5) และหนี้สินหมุนเวียนอื่น (1.6)
หนี้สินอื่น
หมายถึง เจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากกรรมการและลูกจ้าง (2) เงินกู้ยืมจากบริษัทในเครือและบริษัทร่วม
(3) เงินทุนเลี้ยงชีพและบำเหน็จ (4) และหนี้สินอื่น (6)
2. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
งบกำไรขาดทุน
รายได้อื่น
หมายถึง ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากเงินลงทุน (1.2) ค่าธรรมเนียมและบริการ (1.3) กำไรจาก
การปริวรรต (1.4) และรายได้อื่น (1.5)
ดอกเบี้ยและส่วนลดจ่าย
หมายถึง ดอกเบี้ยเงินฝาก (2.2) และดอกเบี้ยและส่วนลดจ่าย (2.3)
ค่าใช้จ่ายอื่น
หมายถึง ค่าธรรมเนียมและบริการ (2.4) ค่าภาษีอากร (2.5) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารและสถานที่
(2.6) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ (2.7) ค่าเผื่อหนี้สูญ (2.8) และค่าใช้จ่ายอื่น (2.9)
งบดุล
สินทรัพย์อื่น
หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร (1) บัญชีระหว่างธนาคารที่มีดอกเบี้ย (2) ดอกเบี้ยค้างรับ (5)
ทรัพย์สินรอการขาย (6) ภาระของลูกค้าจากการรับรอง (7) ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (8)
และสินทรัพย์อื่น (9)
หนี้สินอื่น
หมายถึง บัญชีระหว่างธนาคารที่มีดอกเบี้ย (2) หนี้สินจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (3) เงินกู้ยืม (4) เงินทุน
เลี้ยงชีพและบำเหน็จ (5) ภาระของธนาคารจากการรับรอง (6) และหนี้สินอื่น (7)
3. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์
งบกำไรขาดทุน
ค่านายหน้าและกำไรจากการค้าหลักทรัพย์
หมายถึง ค่านายหน้า (1.4) และกำไรจากการค้าหลักทรัพย์ (1.6)
รายได้อื่น
หมายถึง รายได้จากลูกหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระ (1.2) ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากเงินลงทุน (1.3)
ค่าธรรมเนียมและบริการ (1.5) และรายได้อื่น (1.7)
ค่าใช้จ่ายอื่น
หมายถึง เงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอย่างอื่นที่จ่ายให้ลูกจ้าง (2.1) ค่านายหน้า (2.3) ค่าธรรมเนียม
และบริการ (2.4) ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย (2.5) ค่าภาษีอากร (2.6) ค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับอาคาร สถานที่ และอุปกรณ์ (2.7) ค่าเผื่อหนี้สูญ (2.8) และค่าใช้จ่ายอื่น (2.9)
งบดุล
สินทรัพย์อื่น
หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร (1) เงินให้กู้ยืมเมื่อทวงถาม (2) ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่กรรม
การและลูกจ้าง (5) ดอกเบี้ยและเงินปันผลค้างรับ (6) ทรัพย์สินรอการขาย (7) ที่ดิน
อาคาร และอุปกรณ์ (8) และสินทรัพย์อื่น (9)
หนี้สินอื่น
หมายถึง เงินกู้ยืมเมื่อทวงถาม (1) เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร (2) บัญชีลูกค้า (3)
เงินกู้ยืมอื่น (5) เจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากกรรมการและลูกจ้าง (6) เงินทุนเลี้ยงชีพและบำ
เหน็จ (7) และหนี้สินอื่น (8)
4. บริษัทจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจประกันชีวิตและบริษัทจำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
งบกำไรขาดทุน
กำไรจากการลงทุน
หมายถึง ผลต่างระหว่างรายได้จากการลงทุน (3) กับค่าใช้จ่ายในการลงทุน (4)
งบดุล
สินทรัพย์อื่น
หมายถึง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (3) และสินทรัพย์อื่น (4)
หนี้สินหมุนเวียนอื่น
หมายถึง เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร (1.1) ค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย (1.2) เงินที่
ต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยค้างจ่าย (1.3) เงินค้างจ่ายเกี่ยวกับการประกันต่อ (1.4)
เงินประกันที่ถือไว้ตามสัญญาประกันต่อ (1.6) และหนี้สินหมุนเวียนอื่น (1.7)
หนี้สินอื่น
หมายถึง เงินทุนเลี้ยงชีพและบำเหน็จ (2) และหนี้สินระยะยาวอื่น (4)
__________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________
รายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัทที่ออกหุ้น
1. ข้อมูลทั่วไปของบริษัท
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ ให้ระบุถึง
- การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้ที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5
ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ในระยะ 5 ปีย้อนหลังก่อนวันยื่นรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่ม
เติม
- การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการ
บริหารงานในระยะ 5 ปีย้อนหลังก่อนวันยื่นรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
2. ทุนของบริษัท
(ก) ทุนจดทะเบียน ณ วันที่______________จำนวน________________ล้านบาท
แบ่งเป็น หุ้นสามัญ จำนวน___________หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ_______________บาท หุ้นบุริมสิทธิ
จำนวน____________หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ___________บาท และหุ้นอื่น ๆ (ระบุ)__________
จำนวน____________หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ___________บาท (ให้ระบุสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับ
หุ้นบุริมสิทธิและหุ้นอื่น ๆ (ถ้ามี) ด้วย)
ทุนที่เรียกชำระแล้ว จำนวน___________ล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นสามัญ จำนวน
___________หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ_________บาท หุ้นบุริมสิทธิ จำนวน___________หุ้น มูลค่าที่
ตราไว้หุ้นละ__________บาท หุ้นอื่น ๆ (ระบุ)__________จำนวน___________หุ้น มูลค่าที่ตราไว้
หุ้นละ__________บาท (ให้ระบุสิทธิและผลประโยชน์เกี่ยวกับหุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นอื่น ๆ (ถ้ามี) ด้วย)
(ข) การเพิ่ม(ลด)ทุนในระยะ 3 ปีย้อนหลังก่อนวันยื่นรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่ม
เติม ตามรายการดังนี้
วัน/เดือน/ปี ที่จดทะเบียน จำนวนทุนที่เปลี่ยนแปลง เหตุผลในการ สัดส่วนและราคา
เปลี่ยนแปลงทุนในหนังสือ ทุนที่เพิ่ม(ลด) ทุนหลังเพิ่ม(ลด) เพิ่ม(ลด)ทุน ในการเพิ่มทุน
บริคณห์สนธิ
___________________ __________ ____________ __________ ____________
___________________ __________ ____________ __________ ____________
___________________ __________ ____________ __________ ____________
(ค) พันธะผูกพันของบริษัทเกี่ยวกับการออกหุ้นในอนาคต ให้ระบุพันธะผูกพันต่าง ๆ
ของบริษัท เช่น เงื่อนไขการแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ เงื่อนไขของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
สัญญาการขายหุ้นให้กรรมการหรือพนักงานในอนาคต ฯลฯ
(ง) โครงสร้างส่วนของผู้ถือหุ้น (ณ วันที่______________)
ทุนชำระแล้ว _________________________
ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น _________________________
กำไรสะสม _________________________
สำรอง_______________________ _________________________
อื่น ๆ (ระบุ)__________________ _________________________
(จ) ตลาดรองของหลักทรัพย์ในปัจจุบัน
หุ้นสามัญของบริษัทปัจจุบันซื้อขายอยู่ในตลาด/ศูนย์ ____________________
หุ้นบุริมสิทธิของบริษัทปัจจุบันซื้อขายอยู่ในตลาด/ศูนย์____________________
หุ้นกู้ของบริษัทปัจจุบันซื้อขายอยู่ในตลาด/ศูนย์ ____________________
อื่น ๆ (ระบุ)____________ของบริษัทปัจจุบัน
ซื้อขายอยู่ในตลาด/ศูนย์ ____________________
3. ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
(ก) ให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทโดยระบุถึง
- ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง และอายุ
- สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท (ร้อยละของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด)
- ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหารด้วยกัน
หมายเหตุ ความสัมพันธ์ทางครอบครัว หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต
ความสัมพันธ์โดยการสมรส และความสัมพันธ์โดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ระบุเฉพาะความ
สัมพันธ์ลำดับ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา รวมทั้ง คู่สมรส และบุตรของบุคคล
ดังกล่าว
คุณสมบัติผู้บริหาร ให้ระบุว่าผู้บริหารมีคุณสมบัติครบตามมาตรา 68 แห่งพระราช
บัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 และตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และการอนุญาต ฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2535 หรือ
ไม่ และให้ระบุว่ากรรมการรายใดเป็นกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอกตามประกาศดังกล่าวด้วย
- วันเริ่มต้นสิ้นสุดของตำแหน่ง (ถ้ามี)
- คุณวุฒิทางการศึกษาระดับสูงสุด
- ประสบการณ์การทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลังก่อนวันที่ยื่นรายงานการเปิดเผย
ข้อมูลเพิ่มเติม โดยระบุชื่อและธุรกิจหลักของบริษัทหรือองค์กรที่เข้าไปทำงานด้วย
- ประวัติการกระทำผิดตามกฎหมาย ในระยะ 10 ปีย้อนหลังก่อนวันที่ยื่นรายงาน
การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม ให้ระบุ ประวัติการถูกพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มลาย หรือกระทำผิด
เกี่ยวกับทรัพย์โดยสุจริต
- หนี้ที่ผู้บริหารมีอยู่กับบริษัทหรือบริษัทในเครือ ให้ระบุชื่อผู้บริหาร ยอดหนี้คงค้าง
ณ วันต้นปีการเงิน การเปลี่ยนแปลงของหนี้ระหว่างปีการเงิน ยอดหนี้คงค้าง ณ วันสิ้นงวดการบัญชีล่าสุด
ลักษณะของหนี้ อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ทั้งนี้ หนี้ที่ต้องระบุไม่รวมถึงหนี้ที่เกิดจากสวัสดิการตามปกติ
ของบริษัท
- ส่วนได้เสียของผู้บริหารในบริษัท ให้ระบุส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทาง
อ้อมในกิจการใด ๆ ที่บริษัทเป็นคู่สัญญากับผู้บริหารในปัจจุบัน โดยให้ระบุชื่อผู้บริหาร ลักษณะความสัมพันธ์
กับบริษัท ลักษณะส่วนได้เสีย พร้อมจำนวนเงิน ทั้งนี้ ให้ระบุถึงกรณีที่ผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้บริหารมีส่วนได้เสีย
ในบริษัทด้วย
(ข) ค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัท ให้ระบุจำนวนผู้บริหารและยอดรวมเงินเดือนและ
ค่าตอบแทนอื่น ๆ ของผู้บริหารทั้งหมดของบริษัท ในกรณีที่ผู้บริหารได้รับผลตอบแทนเป็นสัดส่วนต่อผลการ
ดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ระบุสัดส่วนดังกล่าวเป็นยอดรวมของผู้บริหารทั้งหมด
(ค) ให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มผู้ที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของจำนวนหุ้น
ที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ที่มีชื่อปรากฎตามทะเบียนผู้ถือหุ้นไม่เกินกว่า 30 วันก่อนวันยื่นรายงานการเปิด
เผยข้อมูลเพิ่มเติมตามรายการดังนี้
ร้อยละของ
ชื่อผู้ถือหุ้น/กลุ่มผู้ถือหุ้น สัญชาติ จำนวนหุ้น หุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
1. ________________ _______ ____________ ___________________
2. ________________ _______ ____________ ___________________
หมายเหตุ กลุ่มผู้ถือหุ้น หมายถึง ผู้ถือหุ้น และผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ถือหุ้นรายนั้น
4. ลักษณะการประกอบธุรกิจ
ให้อธิบายประเภทกิจการและลักษณะการประกอบธุรกิจหลักในปัจจุบันของบริษัทและ
บริษัทย่อยที่ทำในระหว่างปี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญตั้งแต่วันต้นปีการเงินของธุรกิจ
พร้อมทั้งโครงสร้างรายได้ของบริษัทในระยะ 3 ปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
และงวดปัจจุบัน คำอธิบายต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) ลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือบริการหลัก
ให้อธิบายลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือบริการหลักของบริษัทหรือบริษัทย่อยอย่าง
ละเอียด โดยแยกตามสายผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือประเภทผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ
มูลค่าการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ของบริษัทและบริษัทย่อย ให้แยกตามสายผลิตภัณฑ์
หรือบริการ หรือประเภทผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ พร้อมทั้งระบุการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
ในระยะ 3 ปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท______________________
ปี 25.. ปี 25.. ปี 25..
ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
มูลค่าการจำหน่ายในประเทศ
จำแนกตามผลิตภัณฑ์
_____________ ______ ___ ______ ___ ______ ___
_____________ ______ ___ ______ ___ ______ ___
รวมมูลค่าการจำหน่ายในประเทศ ______ ___ ______ ___ ______ ___
มูลค่าการจำหน่ายต่างประเทศ
จำแนกตามผลิตภัณฑ์
_____________ ______ ___ ______ ___ ______ ___
รวมมูลค่าการจำหน่ายต่างประเทศ ______ ___ ______ ___ ______ ___
มูลค่าการจำหน่ายในประเทศ
และต่างประเทศ
จำแนกตามผลิตภัณฑ์
_____________ ______ ___ ______ ___ ______ ___
_____________ ______ ___ ______ ___ ______ ___
รวมมูลค่าการจำหน่ายในประเทศ
และต่างประเทศ ______ 100 ______ 100 ______ 100
อัตราเพิ่ม (ลด) ของมูลค่า
การจำหน่าย (%) ______ ___ ______ ___ ______ ___
(ข) ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน
ให้อธิบายภาพรวมของอุตสาหกรรมและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทและ
บริษัทย่อย แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรม สภาพการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมนั้นหรืออุตสาหกรรมที่
เกี่ยวข้อง จำนวนคู่แข่งขันที่สำคัญ ตลอดจนสถานภาพในการแข่งขันของบริษัทและบริษัทย่อย
(ค) การตลาดและการจำหน่าย
- กลยุทธ์ในการแข่งขันโดยสังเขป
ให้อธิบายจุดเด่นด้านการตลาดของบริษัทที่ใช้ในการแข่งขัน (เช่น คุณภาพผลิต
ภัณฑ์ ราคา บริการ ฯลฯ)
- การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย
ให้อธิบายวิธีการจำหน่ายและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- ลักษณะของลูกค้าและความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับบริษัทหรือบริษัทย่อย
ให้อธิบายลักษณะของลูกค้าและความสัมพันธ์ รวมถึงสัดส่วนการขายแก่ลูกค้าราย
ใหญ่ 10 รายแรกต่อยอดขายรวมพร้อมทั้งแสดงข้อมูล หรือสัดส่วนการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
เป็นรายประเทศ ในกรณีที่การดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยขึ้นอยู่กับลูกค้าเพียงรายเดียว หรือน้อย
ราย ให้อธิบายถึงลักษณะของลูกค้าและความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยละเอียดรวมถึงผลกระทบถ้าจะต้องสูญเสีย
ลูกค้าดังกล่าว และในกรณีที่บริษัทต้องประมูลแข่งกับคู่แข่งขันรายอื่น ๆ ในโครงการหลัก ให้ระบุ
จำนวนผู้ประมูลพร้อมรายชื่อ (ถ้าทราบ)
- ผลของฤดูกาลที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของบริษัทหรือบริษัทย่อย
ให้อธิบายว่าผลประกอบการของบริษัทเป็นฤดูกาลหรือไม่ ช่วงไหนเป็นช่วงที่
บริษัทมีผลประกอบการสูงสุดและต่ำสุด
- งานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ
ให้แสดงมูลค่าของงานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ (รวมคำสั่งซื้อ) ณ วันสิ้นงวดการบัญชี
หลังสุด และเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน พร้อมทั้งอธิบายว่าจำนวนดังกล่าวถูกกระทบจากปัจจัย
ด้านฤดูกาลหรือไม่
(ง) การผลิต
- กำลังการผลิตและปริมาณการผลิตจริง
ให้แสดงกำลังการผลิตและปริมาณการผลิตจริง โดยแยกตามสายผลิตภัณฑ์หรือ
บริการ หรือประเภทผู้ใช้ ในระยะ 3 ปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม
ปี 25.. ปี 25.. ปี 25..
กำลังการผลิตเต็มที่ (หน่วย:_______)
ผลิตภัณฑ์
_______________ ________ ________ ________
_______________ ________ ________ ________
ปริมาณการผลิตจริง (หน่วย:_______)
ผลิตภัณฑ์
_______________ ________ ________ ________
_______________ ________ ________ ________
การใช้กำลังการผลิต (%) ________ ________ ________
อัตราเพิ่มของปริมาณการผลิต (%) ________ ________ ________
(ให้แสดงแผนภูมิขั้นตอนการผลิตและคำอธิบายโดยย่อ)
- ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ
ให้อธิบายประเภทและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่สำคัญ สัดส่วนการซื้อวัตถุดิบใน
ประเทศและต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงด้านระดับราคา ปริมาณการใช้วัสดุทดแทนผลการเปลี่ยนแปลง
เทคโนโลยีต่อการใช้วัตถุดิบและสภาพปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ จำนวนผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ในกรณีที่มีผู้จำหน่าย
วัตถุดิบรายเดียวหรือน้อยราย ให้อธิบายความสัมพันธ์และผลกระทบต่อบริษัทและบริษัทย่อยถ้าสูญเสียผู้
จำหน่ายรายนั้น
- การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ
ให้สรุปสาระสำคัญของสัญญาการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค สัญญาการจัดการ
สัญญาแฟรนไชส์ หรือสัญญาอื่นในลักษณะเดียวกัน ในประเด็นเกี่ยวกับ คู่สัญญา อายุสัญญา เงื่อนไขของ
สัญญา อัตราค่าตอบแทน ฯลฯ
- การวิจัยและการพัฒนา
ให้ระบุจำนวนเงินโดยประมาณซึ่งได้ใช้ไปในการวิจัยและการพัฒนาที่สำคัญใน
ระยะ 3 ปีย้อนหลังก่อนปีที่ยื่นรายงานการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม โดยอธิบายว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าว บริษัท
หรือบริษัทย่อย หรือลูกค้าของบริษัทหรือบริษัทย่อยเป็นผู้จ่าย
ในกรณีที่เปิดเผยได้ ให้อธิบายถึงสถานภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่ว่าอยู่ในขั้นตอนใด
เช่น วางแผน หรือขั้นดำเนินการ ตลอดจนวิธีการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ