กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรม อันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday July 6, 2000 14:56 —ประกาศ ก.ล.ต.

                              ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สธ/น. 19/2543
เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรม
อันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
___________________________________
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และข้อ 4 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ผู้ถือหุ้นรายใหญ่" หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
"ประกาศกระทรวงการคลัง" หมายความว่า ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
"ประกาศคณะกรรมการ" หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่12 พฤษภาคม 2543
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามข้อ 5 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงการคลัง และข้อ 4 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการ สำนักงานจึงกำหนดให้ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการพิจารณาระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
(1) ปัจจัยหลัก ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สำนักงานให้น้ำหนักในการพิจารณามากกว่าข้อเท็จจริงอื่น ได้แก่(ก) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น มีผลกระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น
(ข) นัยสำคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
(ค) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม(2) ปัจจัยรอง ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สำนักงานใช้เพื่อการเพิ่มหรือลดน้ำหนักในการพิจารณาข้อเท็จจริงโดยรวม ได้แก่(ก) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น
(ข) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทำหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำ เช่นการใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอำพราง เป็นต้น
(ค) ประวัติพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามในเรื่องเดียวกันในอดีต
(ง) การจงใจฝ่าฝืนหรือละเลยกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(จ) พฤติกรรมอื่นในภายหลัง เช่น ให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีหรือการดำเนินคดี หรือปิดบังอำพรางหรือทำลายพยานหลักฐานในคดีหรือให้การเท็จเป็นต้น
ข้อ 3 กำหนดระยะเวลาห้ามมิให้บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศคณะกรรมการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์มีดังต่อไปนี้
=====================================================================================
ประเภทของลักษณะต้องห้าม ระดับความร้ายแรงของพฤติกรรม ระยะเวลาสูงสุดที่จะพิจารณาไม่ให้ความห็นชอบ =======================================================================================
ข้อ 4(3) (4) (5) (6) (7) เล็กน้อย หนึ่งปี
(8) (9) (10) หรือ (10)
แห่งประกาศกระทรวงการคลัง ปานกลาง สามปี
และข้อ 3(3) (4) (5) (6)
(7) (8) (9) หรือ (10)
แห่งประกาศคณะกรรมการ รุนแรง ห้าปี ===================================================================================
ข้อ 4(11) แห่งประกาศ เล็กน้อย หนึ่งปี
กระทรวงการคลังและ ปานกลาง สองปี
ข้อ 3 (3) (4) (5) (6)
(7) (8) (9) (10)
แห่งประกาศคณะกรรมการ รุนแรง สามปี
ข้อ 3(11) แห่งประกาศคณะกรรมการ
=====================================================================================
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ