หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday April 5, 2000 10:18 —ประกาศ ก.ล.ต.

                              ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 14/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
__________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก(1) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539(2) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2541เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2541
ข้อ 2 ในประกาศนี้
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
"ลูกค้า" หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คำว่า "ลูกค้า" หมายความถึง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
"สมาคม" หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานเพื่อดำเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง
"บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล" หมายความว่า บุคคลผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตั้งแต่ตำแหน่งผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลขึ้นไปจนถึงตำแหน่งผู้จัดการ
"ผู้จัดการ" หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
"ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน" หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กำหนดไว้ในสัญญา
"ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์" หมายความว่า สัญญาซึ่งบริษัทจัดการโอนหลักทรัพย์ของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะโอนหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน ประเภท รุ่น และชนิดเดียวกัน ในจำนวนที่เทียบเท่ากันคืนให้แก่กองทุนส่วนบุคคล
"บริษัท" หมายความว่า บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
"ผู้รับฝากทรัพย์สิน" หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
"บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการหรือของนายจ้างตั้งแต่ร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการหรือของนายจ้าง และบริษัทที่บริษัทจัดการหรือนายจ้างถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น แล้วแต่กรณี
"นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง
"ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล" หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอำนาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า
"พนักงานที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า พนักงานของบริษัทจัดการที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน
"บริษัทนายหน้า" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 3 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ รวมทั้งต้องเป็นสมาชิกสมาคมและต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ตลอดจนต้องมีบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและพนักงานที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานดังกล่าวด้วย
ข้อ 4 ในการมอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลูกค้าอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการหลักทรัพย์ และทรัพย์สินของตนดังต่อไปนี้(1) เงินสด(2) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น(3) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก(4) ตั๋วสัญญาใช้เงิน(5) ตั๋วแลกเงิน(6) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน(7) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์(8) ทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนดข้อ 5 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ และทรัพย์สินดังต่อไปนี้(1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น(2) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก(3) ตั๋วสัญญาใช้เงิน(4) ตั๋วแลกเงิน(5) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน(6) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(7) ทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 6 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังต่อไปนี้(1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก(3) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย(4) ตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก(5) ตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลังโดยไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลำดับก่อนมาแล้ว(7) ตราสารแห่งหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก(8) ตราสารแห่งหนี้ที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออก(9) หน่วยลงทุน หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน(10) หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น(11) ตราสารแห่งหนี้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ในอันดับที่สำนักงานประกาศกำหนด(12) บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก(13) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลังโดยไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเองเป็นผู้สลักหลังในลำดับก่อนมาแล้ว
(14) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน
(15) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(16) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (11) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินกองทุนแต่การลงทุนในทรัพย์สินตาม (11) ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินกองทุน
การลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (3) หรือ (4) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันต้องไม่น้อยกว่าอัตราส่วนที่สำนักงานประกาศกำหนด
การลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (10) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ที่ออกโดยบริษัทเดียวกันต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินกองทุน และเมื่อรวมกันแล้วทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุน
การกำหนดหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตาม (16) ให้สำนักงานมีอำนาจประกาศกำหนดให้ถือปฏิบัติตามวรรคสองหรือวรรคสี่ด้วยก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราส่วนการลงทุน ให้บริษัทจัดการตีราคาหลักทรัพย์และทรัพย์สินตามราคาทุน โดยให้รวมค่านายหน้าที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมา (ถ้ามี)
ข้อ 7 ในการรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้ลูกค้าที่เป็นคณะบุคคล คณะบุคคลดังกล่าวต้องประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองถึงเก้ารายโดยบุคคลทุกรายต้องมีสัญชาติไทยทั้งหมดหรือไม่มีสัญชาติไทยทั้งหมด
ข้อ 8 บริษัทจัดการต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของลูกค้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการและตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ 9 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทำข้อมูลของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร (customer's profile) โดยมีรายละเอียดของ ข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลตามที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลดังกล่าว ให้บริษัทจัดการแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการเสนอนโยบายการลงทุนให้แก่ลูกค้านั้น บริษัทจัดการได้พิจารณาจากข้อมูลเพียงเท่าที่ลูกค้าให้บริษัทจัดการเท่านั้น
(2) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าซึ่งได้ประเมินจากวัตถุประสงค์ในการลงทุนของลูกค้า ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจำกัดการลงทุน โดยคำนึงถึงข้อมูลของลูกค้าตาม (1) ด้วย และจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นไปตามนโยบายการลงทุนดังกล่าว
ข้อ 10 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับลูกค้า โดยมีสาระสำคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้(1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ(2) ประเภท อัตรา และวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล(3) นโยบายการลงทุนตามข้อ 9 (4) ข้อจำกัดในการลงทุนโดยกำหนดเงื่อนไขหรืออัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินแต่ละประเภท (ถ้ามี) (5) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของสัญญา
(6) วิธีการแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน และกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินเป็นบริษัทในเครือของบริษัทจัดการต้องมีสาระครบถ้วนตามข้อ 15(6)(7) ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบดังนี้ และกำหนดระยะเวลาที่ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของลูกค้าตามข้อ 21(3)(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลตามข้อ 22(ค) รายงานเกี่ยวกับการลงทุนตามข้อ 11 หรือการก่อภาระผูกพันตามข้อ 12 (ง) การทำธุรกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าตามข้อ 13(2) และข้อ 14(4)(จ) ข้อมูลอื่นใดที่บริษัทจัดการและลูกค้าตกลงกันให้เปิดเผยเพิ่มเติม(8) เงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา การต่ออายุสัญญา และการยกเลิกสัญญา(9) กำหนดเวลาและวิธีการจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าในระหว่างที่สัญญายังมีผลใช้บังคับ
(10) ข้อความเกี่ยวกับการห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนตามข้อ 11 และข้อ 12 (11) คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของลูกค้าว่าอาจจะไม่ได้รับเงินทุนและผลประโยชน์คืนเท่ากับจำนวนเงินทุนที่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการลงทุน(12) รายการอื่นใดตามที่สำนักงานประกาศกำหนดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าขนาดของตัวอักษรของข้อความตาม (10) และคำเตือนตาม (11) ต้องสามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน โดยขนาดของตัวอักษรต้องไม่เล็กกว่าขนาดของตัวอักษรปกติที่ใช้ในสัญญานั้น
ข้อ 11 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ำประกัน เว้นแต่ได้ปฏิบัติดังต่อไปนี้(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าโดยได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากลูกค้าตามวรรคหนึ่ง อาจกำหนดไว้ในสัญญาหรือได้รับความยินยอมก่อนการลงทุนดังกล่าวก็ได้
(2) เว้นแต่ลูกค้าจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องระบุวันที่ลงทุน ชื่อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุน จำนวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุน และอัตราส่วนการลงทุนโดยเทียบกับเงินกองทุน
(3) ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ำประกัน มีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินกองทุน โดยคำนวณตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของนายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้าง ทั้งนี้ มิให้นับรวมตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ำประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือเป็นผู้ค้ำประกัน รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
การคำนวณอัตราส่วนการลงทุนตาม (3) ให้นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 12 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามมิให้บริษัทจัดการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งรวมถึงการขายออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (index option) ที่มิใช่เป็นการล้างฐานะออปชันที่เกิดจากการซื้อออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ไว้ เว้นแต่ได้ปฏิบัติดังต่อไปนี้(1) ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า โดยได้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของลูกค้าด้วยแล้ว
การได้รับความยินยอมจากลูกค้าตามวรรคหนึ่งอาจกำหนดไว้ในสัญญาหรือได้รับความยินยอมก่อนการก่อภาระผูกพันดังกล่าวก็ได้
(2) เว้นแต่ลูกค้าจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ให้บริษัทจัดการรายงานให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(ก) กรณีเป็นการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า ที่มิใช่การขายออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (index option) ต้องระบุวันที่ก่อภาระผูกพัน ประเภทการก่อภาระผูกพันต่อทรัพย์สิน จำนวนเงินที่ก่อภาระผูกพัน และอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล
(ข) กรณีเป็นการขายออปชันที่มีตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (indexoption) ต้องระบุวันที่ก่อภาระผูกพัน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ซึ่งเป็นตัวแปรอ้างอิง ประเภทของออปชัน กำหนดระยะเวลาใช้สิทธิของออปชัน (expiration date) มูลค่าของตัวแปรอ้างอิงที่กำหนดในตราสาร (exercise price) จำนวน ราคาต่อหน่วย มูลค่าออปชันที่ก่อภาระผูกพัน และอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันโดยเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล
รายงานที่ส่งให้ลูกค้าที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (2) ให้มีรายการอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันที่เทียบกับเงินกองทุน แทนรายการอัตราส่วนการก่อภาระผูกพันที่เทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ