หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday October 26, 2000 14:05 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                        ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 54/2543
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
___________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน
"สิทธิเรียกร้อง" หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน "สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์(2) บริษัทเงินทุน(3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์(4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์(5) บริษัทประกันภัย(6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9)(7) ธนาคารแห่งประเทศไทย(8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ(9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ(10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(11) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(12) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(13) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535(14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป(15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด(16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) (17) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
"โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ
"ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
"นายทะเบียน" หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่รับให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในสิทธิเรียกร้อง หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม"ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ตัดสินใจซื้อ เช่า จำหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ตัดสินใจตามที่ระบุไว้ในโครงการ (2) ผู้คัดเลือกหรือเสนอให้ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จำหน่าย โอน หรือรับโอนอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง
"ผู้จัดการกองทุนรวม" หมายความว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น
"เช่า" หมายความว่า การที่กองทุนรวมเช่าอสังหาริมทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงการที่กองทุนรวมได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
"อาคารขนาดใหญ่" หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกินหนึ่งพันตารางเมตร หรือโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกินสองพันตารางเมตร
"สถาบันการเงินต่างประเทศ" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
"บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
"ผู้สอบบัญชี" หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 การยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องยื่นคำขอภายในสองปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยยื่นคำขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดของโครงการตามรายการที่สำนักงานประกาศกำหนดตามมาตรา 118(1)
(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีสาระสำคัญอย่างน้อยตามที่กำหนดในมาตรา 119 และตามที่กำหนดในข้อ 8
(3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์
(4) ร่างสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี)
(5) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 3 บริษัทจัดการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ สัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และสัญญาร่วมบริหาร (ถ้ามี) โดยมีสาระสำคัญไม่ต่างจากร่างข้อผูกพันและร่างสัญญาที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงาน
(2) จัดส่งและจัดให้มีหนังสือชี้ชวนและรายละเอียดของโครงการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(ก) จัดส่งหนังสือชี้ชวนให้สำนักงานภายในเจ็ดวันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่เริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) จัดให้มีรายละเอียดของโครงการไว้ ณ ที่ทำการของบริษัทจัดการ เพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันสามารถตรวจดูได้ และจัดสำเนาให้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ จนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม
ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และหากมีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสำนักงานก่อน ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ให้บริษัทจัดการกำหนดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติ ให้บริษัทจัดการดำเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์จัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการตรวจพบเองหรือปรากฏจากการตรวจสอบของสำนักงาน และให้บริษัทจัดการแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สำนักงานทราบภายในสามวันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่แก้ไขเสร็จสิ้น
ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสองให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสำนักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ทั้งนี้ เว้นแต่สำนักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการยุติการจำหน่ายหน่วยลงทุนและให้ถือว่าการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้นสิ้นสุดลง หากครบกำหนดระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้วปรากฏว่า
(1) ไม่สามารถจำหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันได้ถึงสิบราย
(2) ไม่สามารถจำหน่ายหน่วยลงทุนได้ถึงห้าร้อยล้านบาท
ข้อ 6 บริษัทจัดการอาจแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิดได้ โดยกำหนดสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิดท่าเทียมกัน แต่ต้องกำหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ในการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจแบ่งตามทรัพย์สินที่ลงทุนหรือได้มา หรือแบ่งตามสิทธิหรือประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากกองทุนรวมก็ได้ แต่ในกรณีที่แบ่งตามทรัพย์สินจะต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวอย่างน้อยสิบราย
ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดเกินหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ หน่วยลงทุนที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์และเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถือรวมกันต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมรวมกันเกินหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดำเนินการลดสัดส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงทุนหรือได้มาเกินอัตราส่วนดังกล่าว หรือดำเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เหลือไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมดของกองทุนรวมภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดำเนินการตามวรรคสองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้บริษัทจัดการดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
การนับจำนวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นับรวมจำนวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานประกาศกำหนดด้วย
ข้อ 8 ให้บริษัทจัดการจัดทำข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการซึ่งต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อยตามมาตรา 119 และต้องมีข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนว่าบริษัทจัดการหรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนซึ่งจะมีผลให้กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่าสิบราย หรือน้อยกว่าจำนวนที่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานตามข้อ 28(2) ในกรณีที่มีการโอนหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ 9 ในกรณีที่บริษัทจัดการกำหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน ชื่อ ประเภท ชนิด และอายุโครงการ (ถ้ามี)(2) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน จำนวนหน่วยลงทุน และจำนวนเงินทุนของกองทุนรวม(3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน(4) เลขที่หน่วยลงทุนและจำนวนหน่วยลงทุนที่ถือ(5) วัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยลงทุน(6) ข้อความที่เป็นข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8(7) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ(8) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ดูแลผลประโยชน์(9) ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการและตราประทับของบริษัทจัดการ หรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี
ข้อ 10 ห้ามบริษัทจัดการเรียกหรือรับค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม นอกจากค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนตามอัตราและวิธีการที่กำหนดไว้ในโครงการ
ในกรณีที่บริษัทจัดการแต่งตั้งที่ปรึกษา บริษัทจัดการอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งที่ปรึกษาจากกองทุนรวมก็ได้
ข้อ 11 บริษัทจัดการต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8
ในกรณีที่นายทะเบียนลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนโดยฝ่าฝืนข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตามข้อ 8 ให้บริษัทจัดการดำเนินการให้นายทะเบียนเพิกถอนการลงทะเบียนการโอนหน่วยลงทุนนั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ 12 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้ ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนรวม (1) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการซื้อ เช่า จำหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง โดยผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการแต่งตั้งต้องเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง
(2) ผู้จัดการกองทุนรวม เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น โดยผู้จัดการกองทุนรวมที่บริษัทจัดการแต่งตั้งต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวม และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น
ข้อ 13 ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนขึ้นซึ่งประกอบด้วยผู้ถือหน่วยลงทุนหรือตัวแทนผู้ถือหน่วยลงทุน และตัวแทนบริษัทจัดการ เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ(1) ตัดสินใจซื้อ เช่า จำหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง(2) พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม(3) คัดเลือกผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ และผู้บริหารสิทธิเรียกร้อง(4) พิจารณาเรื่องการเพิ่มเงินทุนหรือลดเงินทุนของกองทุนรวม หรือ(5) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ข้อ 14 การซื้อ เช่า จำหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้(1) อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือเช่าหรือที่เป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย(2) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม การนับอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับการลงทุนในทรัพย์สินใด ๆ ในลักษณะที่แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และการลงทุนในสิทธิเรียกร้องผ่านการซื้อหุ้นของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน เช่น บริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
(3) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ห้ามมิให้บริษัทจัดการดำเนินการดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง หรือทรัพย์สินใด ๆ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ตามอัตราส่วนที่กำหนดใน (2) ให้บริษัทจัดการดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าวข้อ 15 ในกรณีที่บริษัทจัดการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ บริษัทจัดการอาจลงทุนก่อสร้างต่อให้แล้วเสร็จได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคารขนาดใหญ่ทั้งอาคาร อาคารนั้นต้องมีการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าโครงสร้างอาคารโดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมมูลค่าที่ดินและมูลค่าระบบวิศวกรรมประกอบอาคารทั้งหมดเช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น(2) กรณีที่เป็นการซื้อหรือได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างทั้งโครงการก่อสร้าง มูลค่ารวมของมูลค่าสาธารณูปโภคที่ได้ลงทุนไปแล้ว และมูลค่าอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มีการก่อสร้างแล้วของโครงการนั้นต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบห้าของราคาซื้อหรือได้มาซึ่งโครงการก่อสร้างดังกล่าว โดยได้รับการรับรองจากบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ มิให้นับรวมถึงส่วนของโครงการก่อสร้างที่ได้มีการโอนสิทธิให้แก่ลูกค้าของโครงการไปแล้วหรือ(3) กรณีที่มิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม (1) หรือ (2) จำนวนเงินที่ใช้ในการก่อสร้างต่อต้องไม่เกินสี่เท่าของราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มาซึ่งอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือโครงการก่อสร้างนั้น โดยมิให้นับรวมค่าที่ดินในราคาซื้อหรือมูลค่าที่ได้มา และมิให้นับรวมค่าเครื่องตกแต่ง และอุปกรณ์ในจำนวนเงินดังกล่าว
ข้อ 16 การลงทุนในสิทธิเรียกร้องต้องเป็นการลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ หรือเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยและดำเนินการโดยสาขาในประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม และต้องเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้แก่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้น (2) สิทธิเรียกร้องที่มีสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจำนวนด้วย(3) สิทธิเรียกร้องที่มีหลักประกันร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน โดยมูลหนี้คงค้างในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินมีมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลหนี้คงค้างรวม ทั้งนี้ต้องซื้อสิทธิเรียกร้องในส่วนของสถาบันการเงินดังกล่าวทั้งจำนวนด้วย หรือ(4) สิทธิเรียกร้องที่มีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางราชการ เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นเจ้าหนี้
ข้อ 17 การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ห้ามมิให้บริษัทจัดการนำอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแสวงหาประโยชน์อื่นใดนอกจากการให้เช่าพื้นที่โดยตรง หรือให้เช่าแก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อนำอสังหาริมทรัพย์ไปจัดหาผลประโยชน์ หรือดำเนินการอื่นใดในลักษณะที่ใกล้เคียงกันตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 18 ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหรือได้มาซึ่งที่ดินเปล่า (raw land) บริษัทจัดการสามารถดำเนินการปรับปรุงสภาพเพื่อปกปักรักษา หรือเพื่อประโยชน์ในการจำหน่ายที่ดินเปล่านั้นเท่านั้น เช่น การก่อสร้างรั้ว หรือการปรับปรุงสภาพทางเข้าออก เป็นต้น
ข้อ 19 ให้บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการซื้อ เช่าจำหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม หรือการลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสำนักงานภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ซื้อ เช่า จำหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าว โดยหนังสือสรุปข้อมูลต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับราคาที่ซื้อ เช่า จำหน่าย โอนหรือรับโอนซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือราคาที่ลงทุนในหรือจำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้อง
ข้อ 20 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) พันธบัตร(2) ตั๋วเงินคลัง(3) เงินฝากหรือบัตรเงินฝาก(4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน(5) หุ้นกู้(6) หุ้น(7) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน(8) หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่มีสัญญาขายคืน(9) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานกำหนดหรือให้ความเห็นชอบในกรณีที่สำนักงานเห็นว่า การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเหตุให้การจัดการกองทุนรวมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรวม สำนักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมได้
ข้อ 21 ให้บริษัทจัดการคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน และแจ้งมูลค่าดังกล่าวที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้วให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและสำนักงานทราบภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันทำการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม แล้วแต่กรณี
ในระหว่างที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกำหนดราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่เป็นธรรม โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือโดยมติตามเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
ข้อ 22 ในกรณีที่มีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่คำนวณตามข้อ 21 อันมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของกองทุนรวมอย่างมีนัยสำคัญ ให้บริษัทจัดการแจ้งเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย
ข้อ 23 ให้บริษัทจัดการจัดทำรายงานของกองทุนรวมทุกสิ้นปีการเงินของกองทุนรวมและส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งส่งให้สำนักงานภายใน สามเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นปีการเงินของกองทุนรวม โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้(1) รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภทที่ลงทุน หรือที่ได้รับมาเนื่องจากการได้รับชำระหนี้หรือการบังคับหลักประกัน พร้อมทั้งมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทำการสุดท้ายของปี(2) สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง(3) กำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือการโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง(4) งบการเงินล่าสุดที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชี(5) การเปรียบเทียบงบดุล และงบกำไรขาดทุนของปีการเงินปัจจุบันและปีก่อน(6) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
ข้อ 24 การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิจากการขายหรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง ให้บริษัทจัดการจ่ายได้ไม่เกินสองในสามส่วนของกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายในการขายหรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องแล้ว
ข้อ 25 ในการลดเงินทุนของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการมิได้กำหนดเรื่องการลดเงินทุนและเหตุในการลดเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน และได้มติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนบริษัทจัดการต้องระบุจำนวนเงินทุนและจำนวนหน่วยลงทุนที่จะลด วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนและวันคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และให้บริษัทจัดการดำเนินการดังต่อไปนี้(1) ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน และคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว(2) ดำเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ มูลค่าหน่วยลงทุนให้คำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน
การลดเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจลดมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน หรือลดจำนวนหน่วยลงทุนก็ได้ แต่ห้ามมิให้บริษัทจัดการลดเงินทุนของกองทุนรวมจนเหลือต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาทภายในสามปีแรกนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สิน
เป็นกองทุนรวม โดยจำนวนเงินทุนของกองทุนรวม ให้คำนวณจากมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนและเมื่อได้ดำเนินการลดเงินทุนของกองทุนรวมแล้วให้บริษัทจัดการยื่นคำขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมต่อสำนักงานตามแบบที่สำนักงานประกาศกำหนดภายในห้าวันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ดำเนินการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ในกรณีที่บริษัทจัดการลดเงินทุนของกองทุนรวมจนเหลือต่ำกว่าห้าสิบล้านบาทให้บริษัทจัดการดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมนั้น
ข้อ 26 ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม บริษัทจัดการอาจเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมได้ภายในสามปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าว หากบริษัทจัดการมิได้กำหนดเรื่องการเพิ่มเงินทุนและวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมไว้ในโครงการ บริษัทจัดการต้องดำเนินการดังต่อไปนี้(1) จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือมีหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องระบุวัตถุประสงค์การเพิ่มเงินทุน จำนวนเงินทุนและจำนวนหน่วยลงทุนที่จะเพิ่ม วิธีการกำหนดราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน(2) ขอความเห็นชอบจากสำนักงาน โดยต้องระบุรายละเอียดเช่นเดียวกันกับการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) เป็นอย่างน้อย(3) จัดส่ง หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวน โดยให้นำความในข้อ 3(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม(4) จดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง และให้นำข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
กำหนดระยะเวลาการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง มิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมเพื่อดำเนินการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ข้อ 27 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนรวมโดยมีจำนวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานเป็นจำนวนหนึ่ง แต่กองทุนรวมนั้นมีเงินที่รวมเข้าเป็นกองทรัพย์สินและจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมไม่เต็มตามจำนวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน บริษัทจัดการอาจเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมได้ภายในสามปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมไม่เกิน
จำนวนเงินทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน เมื่อบริษัทจัดการได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม หรือเมื่อมีมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น
กำหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อดำเนินการปรับปรุงสภาพอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์
เมื่อบริษัทจัดการได้ดำเนินการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมแล้ว ให้บริษัทจัดการรายงานผลการขายหน่วยลงทุนให้สำนักงานทราบภายในสามวันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันทำการสุดท้ายของเดือนที่มีการขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
ข้อ 28 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร สำนักงานอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 5(1) ข้อ 7 วรรคสาม ข้อ 14 (1) และระยะเวลาการลงทุนตาม (2) และข้อ 25 วรรคสามได้
ข้อ 29 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกองทุนรวมตามประกาศนี้ให้เป็นกองทุนรวมที่สามารถจำหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนทั่วไป โดยมิได้จำกัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
ข้อ 30 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ