กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการของผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday July 6, 2000 13:54 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                        ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 18/2543
เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็น
ลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการ
หรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"ผู้จัดการ" หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้รับฝากทรัพย์สินให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้รับฝากทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม
"ผู้รับฝากทรัพย์สิน" หมายความว่า บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามข้อ 3(6)แห่งประกาศที่ กน. 15/2543 และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานให้เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
"ประกาศ ที่ กน. 15/2543" หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 2 เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามข้อ 15 วรรคสอง แห่งประกาศ ที่ กน. 15/2543สำนักงานจึงกำหนดให้ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการพิจารณาระดับความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
(1) ปัจจัยหลัก ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สำนักงานให้น้ำหนักในการพิจารณามากกว่าข้อเท็จจริงอื่น ได้แก่
(ก) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น มีผลกระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น
(ข) นัยสำคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
(ค) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม
(2) ปัจจัยรอง ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงประเภทที่สำนักงานใช้เพื่อการเพิ่มหรือลดน้ำหนักในการพิจารณาข้อเท็จจริงโดยรวม ได้แก่
(ก) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น
(ข) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทำหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำ เช่นการใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอำพราง เป็นต้น
(ค) ประวัติพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามในเรื่องเดียวกันในอดีต
(ง) การจงใจฝ่าฝืนหรือละเลยกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(จ) พฤติกรรมอื่นในภายหลัง เช่น ให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีหรือการดำเนินคดี หรือปิดบังอำพรางหรือทำลายพยานหลักฐานในคดีหรือให้การเท็จ เป็นต้น
ข้อ 3 กำหนดระยะเวลาห้ามมิให้บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ ที่ กน. 15/2543เป็นหรือจะเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลมีดังต่อไปนี้
=====================================================================================
ประเภทของลักษณะต้องห้าม ระดับความร้ายแรงของพฤติกรรม ระยะเวลาสูงสุดที่จะพิจารณาไม่ให้ความห็นชอบ =======================================================================================
ข้อ 14(9) (10) (11) (12) เล็กน้อย หนึ่งปี
(13) หรือ (14)
แห่งประกาศที่ กน.15/2543 ปานกลาง สามปี
รุนแรง ห้าปี ===================================================================================
ข้อ 14(15) เล็กน้อย หนึ่งปี
แห่งประกาศ ที่ กน. 15/2543 ปานกลาง สองปี
รุนแรง สามปี ====================================================================================
ข้อ 14(16) เล็กน้อยปานกลางรุนแรง หกเดือน
แห่งประกาศ ที่ กน. 15/2543 ปานกลาง หนึ่งปี
รุนแรง สองปี =====================================================================================
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ