ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 21/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
และกองทุนส่วนบุคคล
(ฉบับที่ 12)
____________________
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 89/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 10 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังนี้
(ก) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล โดยให้ประกาศภายในวันทำการถัดไป
(ข) วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด โดยให้ประกาศภายในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่เปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทำการ ให้ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังนี้เพิ่มเติมด้วย
1. วันทำการก่อนวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยให้ประกาศภายในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
2. วันทำการสุดท้ายของแต่ละเดือน โดยให้ประกาศภายในวันทำการถัดไป ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทุนรวมกำหนดวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันเกินกว่า 1 เดือน
3. วันที่ปรากฏเหตุการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าจะมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ประกาศภายในวันทำการถัดไป”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) วงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนได้ในวันส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ต้องไม่เกินวงเงินดังนี้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในโครงการด้วย
(ก) วงเงินรายบุคคลตามที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนด
(ข) วงเงินรวมของกองทุนรวมให้เป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนในทรัพย์สินหรือถือครองทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงของกองทุนรวมตามที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนด”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 28 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
“(6) อยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102/1”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ 35 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กำหนดไว้ในข้อ 101 ข้อ 102 ข้อ 102/1 ข้อ 106/2 หรือข้อ 106/3 โดยเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกำหนดจัดทำหรือจัดส่งรายงานดังกล่าว”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 37 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 64/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
“(5/1) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดที่มิใช่ดอกผลหรือผลประโยชน์ทั่วไปที่เกิดจากการลงทุน (ถ้ามี)”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 45 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 7 ให้ยกเลิกส่วนที่ 12 การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวม ข้อ 92 ของหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ส่วนที่ 12
การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์
ในนามกองทุนรวม
__________________
ข้อ 92 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหลักทรัพย์ในนามกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม
(2) เปิดเผยแนวทางและการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงตาม (1) ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 93 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใด ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลของกองทุนรวมดังกล่าว ด้วยวิธีการที่เหมาะสมดังต่อไปนี้
(1) เปิดเผยข้อมูลในลักษณะที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถทราบได้ เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
(2) แจ้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 97 และข้อ 98 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 97 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีความประสงค์จะลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามที่ได้ระบุไว้ในโครงการและได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบอย่างทั่วถึงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลต้องกระทำโดยวิธีการที่เหมาะสมอันทำให้มั่นใจได้ว่า ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว เช่น เผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เป็นต้น
การลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายให้แตกต่างไปจากโครงการ ให้ถือว่าสำนักงานให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ 98 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีความประสงค์จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามที่ระบุไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลกับสภาพปกติทางธุรกิจและประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ และต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าอย่างทั่วถึงด้วยวิธีการที่เหมาะสมอันทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวม และ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
(2) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการแล้วว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถกระทำการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง 1 ปีนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะขึ้นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่เกินกว่าอัตรา ร้อยละ 5 ของอัตราขั้นสูงดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
(ข) ในกรณีที่การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ของอัตราขั้นสูงดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับมติพิเศษในการเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง มิให้นำมาใช้กับกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติพิเศษ”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 99 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 99 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามข้อ 97 หรือข้อ 98(2) ให้สำนักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 102 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 102 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 105 เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจำนวนดังนี้ ในวันทำการใด
(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปหรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 35 ราย
(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจำหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคมความใน (1) วรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามข้อ 106/2
(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิ ณ วันใดวันหนึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(ข) มียอดรวมการขายคืนหน่วยลงทุนสุทธิในช่วงระยะเวลา 5 วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนใดติดต่อกันคิดเป็นจำนวนเกินกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีกำหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) การพิจารณาระยะเวลาการขายคืนหน่วยลงทุน ให้พิจารณาจากเฉพาะในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกองทุนรวมเปิดให้รับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้น
ความใน (2) วรรคหนึ่ง มิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าการเลิกกองทุนรวมจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ เนื่องจากกองทุนรวมยังคงมีทรัพย์สินคงเหลือที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการขายคืนนั้นในกรณีที่กองทุนรวมซึ่งมีการขายคืนหน่วยลงทุนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตาม (2) วรรคหนึ่ง เป็นกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเลิกกองทุนรวมดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 106/3 ความใน (2) วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม มิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังนี้
(ก) กองทุนรวมตลาดเงิน
(ข) กองทุนรวมหน่วยลงทุน
(ค) กองทุนรวมฟีดเดอร์
(ง) กองทุนรวมดัชนี
(จ) กองทุนรวมอีทีเอฟ”
ข้อ 12 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 102/1 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“ข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 105 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้วมีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าจะมีการขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 102(2) วรรคหนึ่ง และการเลิกกองทุนรวมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ 102(2) วรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความในข้อ 105 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 105 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสำนักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1
(3) จำหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทำได้เพื่อชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
(4) ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจำนวนเงินที่รวบรวมได้ตามวรรคหนึ่ง (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102 หรือข้อ 102/1 และเมื่อได้ดำเนินการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น”
ข้อ 14 ให้ยกเลิกความในข้อ 106/3 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 106/3 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 102(2) หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม ดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตาม
ข้อ 102(2) หรือข้อ 102/1 พร้อมทั้งแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อกำหนดสิทธิในการรับเงินคืนจากการเลิกกองทุนรวม และแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์
(2) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสำนักงานทราบภายในวันทำการถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามขั้นตอนในการเพิกถอนหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์
(3) จำหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทำได้เพื่อชำระเงินคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน
(4) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในวันปิดสมุดทะเบียนตาม (1) ทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และชำระเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) คืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเมื่อได้ดำเนินการชำระเงินแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 15 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 107 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) การดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 105(4) ข้อ 106 ข้อ 106/2(1) (จ) หรือข้อ 106/3(4)”
ข้อ 16 ให้ยกเลิกความในข้อ 123/2 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 123/2 ในกรณีที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปรากฏเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังต่อไปนี้ และมิให้นำความในข้อ 105 มาใช้บังคับ
(1) ยุติการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสำนักงานทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1 โดยข้อมูลที่แจ้งดังกล่าวต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อยดังนี้
(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดำเนินการโอนย้ายการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นตามแนวทางที่กำหนดไว้ในโครงการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน
(ข) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นอีกทอดหนึ่ง ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อโอนย้าย การลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกำหนด และผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังนี้
1. เป็นการโอนย้ายตามคำสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกโดยโอนย้ายไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน
2. เป็นการโอนย้ายการลงทุนภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนด ทั้งนี้ ในการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะสามารถดำเนินการเพื่อแจ้งโอนย้ายการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
(3) จำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1
(4) รวบรวมเงินที่ได้จากการดำเนินการตาม (3) ภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1
(5) ดำเนินการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นตามแนวทางที่กำหนดไว้ในโครงการโดยไม่ชักช้าเมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 17 ให้ยกเลิกความในข้อ 133/1 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 133/1 ในกรณีที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวปรากฏเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามข้อ 102(1) หรือ (2) หรือข้อ 102/1 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 123/2 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น”
ข้อ 18 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 9 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนเพียงครั้งเดียว ข้อ 148/1 ข้อ 148/2 และข้อ 148/3 ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“หมวด 9
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับกองทุนรวม
ที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียว
_________________
ข้อ 148/1 ในหมวดนี้ คำว่า “กองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนเพียงครั้งเดียว” หมายความว่า กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกำหนดอายุของทรัพย์สิน หรือครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม
ข้อ 148/2 มิให้นำความในข้อ 10 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มุ่งเน้น การลงทุนเพียงครั้งเดียว โดยให้บริษัทจัดการคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) คำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างน้อยในวันดังนี้
(ก) คำนวณทุกสิ้นวันทำการก่อนวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ข) คำนวณทุกสิ้นวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทำการถัดไป
(ค) คำนวณทุกสิ้นวันทำการสุดท้ายของแต่ละเดือน และประกาศภายในวันทำการถัดไป
(ง) คำนวณทุกสิ้นวันที่ปรากฏเหตุการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าจะมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ และประกาศภายในวันทำการถัดไป
(2) คำนวณและประกาศราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างน้อยในวันดังนี้
(ก) คำนวณทุกสิ้นวันทำการก่อนวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน
(ข) คำนวณทุกสิ้นวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคา และประกาศภายในวันทำการถัดไป
ข้อ 148/3 มิให้นำความในข้อ 35 ข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 38 และข้อ 39 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนเพียงครั้งเดียวซึ่งมีอายุกองทุนไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเป็นกองทุนรวม”
ข้อ 19 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 10 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับกองทุนรวมตลาดเงินที่กำหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ข้อ 148/4 ข้อ 148/5 ข้อ 148/6 ข้อ 148/7 ข้อ 148/8 ข้อ 148/9 ข้อ 148/10 และข้อ 148/11 ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวม แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
“หมวด 10
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับกองทุนรวมตลาดเงิน
ที่กำหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่
______________
ข้อ 148/4 ในหมวดนี้
“กองทุนรวมตลาดเงินที่กำหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน ซึ่งกำหนดราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขายและรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา
ข้อ 148/5 ในการจัดการกองทุนรวมตลาดเงินที่กำหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม เว้นแต่มีบทบัญญัติตามหมวดนี้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
ส่วนที่ 1
การคำนวณจำนวนหน่วยลงทุนโดยใช้ราคา
หน่วยลงทุนคงที่
______________
ข้อ 148/6 ในการคำนวณจำนวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่กำหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) กำหนดมูลค่าหน่วยลงทุน ราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขายและรับซื้อคืนให้คงที่ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ
(2) คำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนโดยใช้มูลค่ายุติธรรม ทั้งนี้ ในการคำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนดังกล่าว ให้คำนวณเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมอย่างน้อย 10 ตำแหน่งต่อหน่วยลงทุน โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล
(3) เพิ่มหรือยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุน หรือดำเนินการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในโครงการ เพื่อรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่ในการเพิ่มหรือยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุนภายหลังจากการคำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนตาม (2) ให้เป็นราคาคงที่ ให้จัดสรรมูลค่าหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย โดยมีทศนิยม 2 ตำแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล ทั้งนี้ หากมีมูลค่าหน่วยลงทุนคงเหลือจากการจัดสรรมูลค่าหน่วยลงทุนดังกล่าว ให้ใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย ครั้งละไม่เกินกว่า 0.01 บาท โดยเรียงลำดับตามมูลค่าการถือหน่วยลงทุนสูงสุด
ข้อ 148/7 ในกรณีที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหน่วยลงทุนในแต่ละวัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยจำนวนหน่วยลงทุนดังกล่าว และแจ้งให้บุคคลดังต่อไปนี้ทราบโดยวิธีการใด ๆ
(1) ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ลงทุน
(2) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือ เมื่อได้รับการร้องขอ
ส่วนที่ 2
การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
______________
ข้อ 148/8 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขายหน่วยลงทุนตามจำนวนทั้งหมดที่มีคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนด้วยราคาหน่วยลงทุนคงที่ โดยรับชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ซื้อหน่วยลงทุนในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายในวันทำการถัดจากวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว
ข้อ 148/9 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจำนวนทั้งหมดที่มีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาหน่วยลงทุนคงที่ โดยชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน และยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุน ไม่ว่าการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวจะเกิดขึ้นในหรือนอกเวลาเวลาทำการของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ เว้นแต่กำหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนในวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 20(3) (ง) ก็ได้
(1) กรณีที่การรับซื้อคืนอยู่ภายในวงเงินตามข้อ 22(3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนนั้นให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนและยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุนในวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) กรณีที่การรับซื้อคืนเกินกว่าวงเงินตามข้อ 22(3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าวงเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนและยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุนในวันทำการถัดจากวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่กำหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินกว่าวงเงินตามวรรคหนึ่งหรือตามจำนวนทั้งหมดที่มีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทำการถัดจากวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนก็ได้
ข้อ 148/10 ในกรณีที่มีการคำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนก่อนรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่ หากมีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของราคาหน่วยลงทุนคงที่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนดส่วนได้เสียของผู้ถือหน่วยลงทุนสำหรับสิทธิประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในกองทุนรวมไว้ในโครงการให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมเป็นสำคัญ และปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ตลอดจนไม่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นที่เหลืออยู่
ส่วนที่ 3
การดำเนินการเมื่อจำนวนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง
______________
ข้อ 148/11 ในกรณีที่จำนวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนมีจำนวนไม่ถูกต้องให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่จำนวนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนของการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อการรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่ หากมูลค่าดังกล่าวที่ไม่ถูกต้องคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าที่ถูกต้อง ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 3 การดำเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ของหมวดที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ในภาค 2 การจัดการกองทุนรวมมาใช้บังคับ เพื่อให้การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยลงทุนเป็นไปตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ในกรณีที่จำนวนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องเกิดขึ้นภายหลังจากการรักษาราคาหน่วยลงทุนให้เป็นราคาคงที่ ให้ปรับปรุงจำนวนหน่วยลงทุน เพื่อให้การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยลงทุนเป็นไปตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป”
ข้อ 20 ให้ยกเลิกข้อ 159 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 21 ให้ยกเลิกความในข้อ 171 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 171 ในส่วนนี้
“นโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง” หมายความว่า นโยบายการลงทุนที่กำหนดให้มีการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้รวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น
(1) ตราสารทุน
(2) ตราสารหนี้ดังนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
(ข) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. มีกำหนดการชำระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน หรือมีข้อกำหนดชำระคืนเงินต้นเพียงบางส่วนหรือไม่คืนเงินต้น
2. มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชำระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ย เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด การขยายระยะเวลาการชำระหนี้หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(3) ทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6.2 ของส่วนที่ 3 : อัตราส่วนการลงทุนที่คำนวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ในภาคผนวก 4-PVD ท้ายประกาศการลงทุน”
ข้อ 22 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 192 แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การจัดทำและส่งรายงานอื่นใดให้แก่ลูกค้า”
ข้อ 23 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่มา: http://www.sec.or.th/