ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ ขส. 1/2562 เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday September 23, 2019 11:13 —ประกาศ ก.ล.ต.

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ที่ ขส. 1/2562

เรื่อง โครงสร้างการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงานและสถานที่ติดต่อ

เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานคณะกรรมการ

กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

_______________________

ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจต่าง ๆ ของสำนักงาน โดยเพิ่มส่วนงานจากเดิม 32 ฝ่าย เป็น 33 ฝ่าย และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของส่วนงานต่าง ๆ ของสำนักงาน เพื่อให้การบริหารจัดการงานของสำนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสำนักงาน โดยควบรวมงานกำกับดูแลด้านการระดมทุนเริ่มตั้งแต่ต้นกระบวนการไปจนถึงการกำกับดูแล (end-to-end) ให้อยู่ภายในส่วนงานเดียว ขยายบทบาทด้านการพัฒนาตลาดทุนด้วยการให้ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปในวงกว้างมีช่องทางเข้าถึงตลาดทุนได้มากขึ้น เพิ่มช่องทางการสนับสนุนและผลักดันงานด้านธรรมาภิบาล การมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) รวมงานกำกับดูแลด้านการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลทั้งในส่วนของการกำหนดหลักเกณฑ์ การพิจารณาคำขออนุญาต ตลอดจนการพิจารณาความผิดของผู้ให้บริการไว้ในส่วนงานเดียว เพิ่มส่วนงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนงานของเลขาธิการและรวมศูนย์งานด้านเลขานุการของคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และงานประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 (1) (2) และ (3) ที่จะให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ จึงขอประกาศโครงสร้างการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่ วิธีดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ดังนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ขส. 1/2561 เรื่อง โครงสร้างองค์กร และอำนาจหน้าที่ขององค์กร ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ข้อ 2 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้จัดตั้งสำนักงาน และกำหนดให้มีคณะกรรมการ ก.ล.ต. และต่อมาพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเพิ่มเติม

ข้อ 3 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กำหนดในมาตรา 31/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คนแต่ไม่เกิน 6 คนเป็นกรรมการ โดยในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านบัญชี และด้านการเงิน ด้านละ 1 คน และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่อง องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อำนาจดังกล่าวรวมถึง

(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

(2) กำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับคำขออนุญาต คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาตหรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต

(3) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ

(4) ออกระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับเกี่ยวกับการพนักงาน ระบบพนักงานสัมพันธ์การบรรจุแต่งตั้งถอดถอน และวินัยพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน การกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น ๆ รวมตลอดถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ

(5) กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

(6) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ยังมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้

อำนาจหน้าที่ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540

(1) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์

(2) กำกับดูแลให้นิติบุคคลเฉพาะกิจปฏิบัติตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540

(3) กำหนดประเภทของสินทรัพย์ที่อนุญาตให้ทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และประเภทของหลักทรัพย์ที่จะออกเนื่องจากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์

(4) ออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540

(5) กำหนดค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่าง ๆ ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540

(6) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546

คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาตลอดจนกำกับดูแลในเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมกำกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อำนาจหน้าที่ดังกล่าวรวมถึง

(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546

(2) กำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการขออนุญาต การขอจดทะเบียน การขอความเห็นชอบ การออกใบอนุญาต การรับจดทะเบียน การให้ความเห็นชอบ หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ที่ได้จดทะเบียน หรือที่ได้รับความเห็นชอบ

(3) กำหนดขอบเขตและวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546

(4) กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง

(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550

(2) กำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการขออนุญาต การอนุญาต หรือการประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550

(3) กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550

อำนาจหน้าที่ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีหน้าที่และอำนาจวางนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับและควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการกำกับและควบคุมการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล และการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หน้าที่และอำนาจดังกล่าวให้รวมถึง

(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

(2) กำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับคำขออนุญาต การอนุญาต คำขอความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี การยื่นคำขอต่าง ๆ หรือการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบ

(3) กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บังคับพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

(4) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

ข้อ 4 คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกอบด้วยเลขาธิการเป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมาย 1 คน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่งตั้งโดยผ่านการคัดเลือกตามที่กำหนดในมาตรา 31/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 อีกไม่เกิน 4 คนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์

ให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่น โดยต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนให้รวมถึง

(1) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดในเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สำนักหักบัญชี นายทะเบียนหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ

(2) รายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด

(3) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกำกับตลาดทุน มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองลูกค้า การรักษาความมั่นคงของระบบการเงิน หรือการควบคุมความเสี่ยงอันเกิดจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ข้อ 5 สำนักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการทั้งปวงของสำนักงาน ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวเลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.

สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการก.ล.ต. และปฏิบัติงานอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 หรือตามกฎหมายอื่น อันได้แก่ การกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 การออกประกาศหรือคำสั่ง เป็นต้น

อำนาจและหน้าที่ของสำนักงานดังกล่าวรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสำนักงาน

(1) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยนโอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้

(2) กู้ยืมเงินหรือให้กู้ยืมเงินและลงทุนหาผลประโยชน์

(3) กำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ

(4) รับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงานกำหนด

โดยที่สำนักงานได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 ให้เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา สำนักงานจึงมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย

ข้อ 6 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โครงสร้างการดำเนินงานของสำนักงานโดยอนุมัติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แบ่งออกเป็นส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้

(1) ฝ่ายกฎหมายและพัฒนา

(2) ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป

(3) ฝ่ายกำกับการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน

(4) ฝ่ายกำกับการสอบบัญชี

(5) ฝ่ายกำกับตลาด

(6) ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน

(7) ฝ่ายกำกับธุรกิจตัวกลาง

(8) ฝ่ายกำกับธุรกิจออกแบบการลงทุนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

(9) ฝ่ายกำกับรายงานทางการเงิน

(10) ฝ่ายคดี

(11) ฝ่ายงานเลขาธิการ

(12) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 1

(13) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2

(14) ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 3

(15) ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดทุน

(16) ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1

(17) ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2

(18) ฝ่ายตรวจสอบภายใน

(19) ฝ่ายตราสารหนี้

(20) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

(21) ฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายและคดีปกครอง

(22) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

(23) ฝ่ายนโยบายธุรกิจจัดการลงทุน

(24) ฝ่ายนโยบายธุรกิจตัวกลาง

(25) ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร

(26) ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 1

(27) ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2

(28) ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ

(29) ฝ่ายวิจัย

(30) ฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด

(31) ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน

(32) ฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน

(33) ฝ่ายสื่อสารและบริการผู้ลงทุน

ข้อ 7 ฝ่ายกฎหมายและพัฒนา มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายเพื่อวางกรอบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในตลาดทุน

(2) ศึกษา พัฒนา ยกร่าง และแก้ไขกฎหมายที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน

(3) ประสานงานและติดตามความคืบหน้าร่างกฎหมายของสำนักงาน รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานในการชี้แจง ศึกษารวบรวมข้อมูล และปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวในชั้นการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรากฎหมาย

(4) ให้ความเห็นหรือให้การสนับสนุนฝ่ายงานหลักในการพิจารณาร่างกฎหมายที่หน่วยงานภายนอกขอความเห็น

(5) ตรวจพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจและบันทึกข้อตกลงที่สำนักงานทำกับหน่วยงานต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ

(6) ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย (ด้านที่ปรึกษา)

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 8 ฝ่ายการเงินและบริหารทั่วไป มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) บริหารจัดการระบบบัญชี จัดทำรายงานด้านการเงินและภาษีอากร บริหารจัดการเงินสด สภาพคล่อง และเงินลงทุน รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลทางการเงินเพื่อการตัดสินใจทางนโยบาย

(2) บริหารจัดการการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและงานบริการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมทั้งให้คำแนะนำแก่ฝ่ายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง

(3) วางแผนและบริหารจัดการระบบวิศวกรรมอาคาร การจัดสรรพื้นที่สำนักงาน การให้บริการด้านการจัดประชุม การจัดเลี้ยง การดูแลความสะอาดในอาคาร และบริการด้านรถยนต์สำหรับผู้บริหารและส่วนกลาง

(4) จัดระบบรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคารและผู้มาติดต่อ รวมทั้งบริหารจัดการผู้ประกอบการที่ใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน

(5) จัดการเอกสารที่รับจากภายนอกและจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนบริหารจัดการคลังเอกสาร

(6) จัดระบบควบคุมภายในที่ดีและบริหารจัดการให้มีการใช้ทรัพยากรในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดระบบการบริหารความเสี่ยง และระบบสารสนเทศที่เพียงพอและเหมาะสมกับการบริหารจัดการงานในฝ่าย

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 9 ฝ่ายกำกับการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงาน

โดยสรุปดังนี้

(1) กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน ที่เป็นธนาคาร บริษัทประกันชีวิต และบริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงผู้แนะนำการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน

(2) กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ ที่เป็นธนาคารและบริษัทประกันชีวิต โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว รวมถึงผู้แนะนำการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน

(3) กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทค้าตราสารหนี้ ที่เป็นธนาคารและบริษัทประกันชีวิต โดยการให้ใบอนุญาต พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร

(4) ให้ความเห็นชอบและพัฒนาผู้ขายผลิตภัณฑ์การลงทุน ได้แก่ ผู้แนะนำการลงทุน และผู้วางแผนการลงทุน

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 10 ฝ่ายกำกับการสอบบัญชี มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) พัฒนาด้านการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงเสนอแนะการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน

(2) ให้ความเห็นชอบและกำกับดูแลผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงให้ความเห็นในกรณีการพิจารณาความผิดผู้สอบบัญชีและการสั่งลงโทษ (สั่งพัก)

(3) ตรวจสอบการทำงานและสอบทานคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี

(4) ประสานงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านการสอบบัญชี

(5) ปฏิบัติงานด้านต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการสอบบัญชีของตลาดทุนไทยน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 11 ฝ่ายกำกับตลาด มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) กำกับดูแลและพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำนักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ การพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการตรวจสอบองค์กรดังกล่าว ในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี โครงสร้างของระบบซื้อขาย ระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้มีความมั่นคง ปลอดภัย น่าเชื่อถือ เป็นไปตามมาตรฐาน และแข่งขันได้ในระดับสากล

(2) ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในด้านอื่น ๆ ให้มีการดำเนินงานตามเป้าหมายและความคาดหวังของสำนักงาน และทำให้การกำกับดูแลกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ของสำนักงานมีความสอดคล้องกันในภาพรวม

(3) ติดตามสภาพการซื้อขายในตลาดรองของหลักทรัพย์ต่าง ๆ และศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในภาพรวม

(4) ติดตามและวิเคราะห์ภาวะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ เสนอแนะนโยบายแก้ไขปัญหา รวมถึงวางแนวทางเพื่อจำกัดความเสียหายหรือป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวม

(5) กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผันให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ กรรมการ และผู้บริหาร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับ ผู้ประกอบธุรกิจ และบุคลากร

(6) ให้คำปรึกษาและข้อคำแนะนำแก่ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล

(7) ติดตามและพิจารณาดำเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาตและประสานงานกับฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

(8) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 12 ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ พิจารณาการเริ่มประกอบธุรกิจ ดังนี้

(ก) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน ซึ่งรวมถึงการจัดการกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจจัดการลงทุน (เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวม ผู้รับฝากทรัพย์สินกองทุนส่วนบุคคล นายทะเบียนหน่วยลงทุนและสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ไม่รวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์) ตัวแทนการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดอันดับกองทุนรวม เป็นต้น)

(ข) ผู้ประกอบธุรกิจทรัสต์สำหรับการบริหารและจัดการลงทุน เฉพาะทรัสตีของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ไมรวมผู้จัดการของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์) ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน และผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า หรือจัดจำหน่าย หลักทรัพย์

(ค) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายตราสารหนี้ และหน่วยลงทุน ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน

(2) ติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ และบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ ตามข้อ (1)

(3) อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบุคลากร ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร เฉพาะสังกัดบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน และผู้จัดการกองทุน

(4) ติดตามและพิจารณาดำเนินการเบื้องต้นกับผู้ประกอบธุรกิจตาม ข้อ (1) โดยไม่ได้รับอนุญาต

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 13 ฝ่ายกำกับธุรกิจตัวกลาง มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับตราสารทุนและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท (ไม่รวมธุรกิจจัดการลงทุน ธุรกิจนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน และธุรกิจสินค้าเกษตรล่วงหน้า) โดยการให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากร ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร นักวิเคราะห์ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากร

(2) ติดตามและพิจารณาดำเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ (1) โดยไม่ได้รับอนุญาต

(3) กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลและลงโทษบริษัทสมาชิก

(4) การเป็นศูนย์กลางการประสานงานกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 14 ฝ่ายกำกับธุรกิจออกแบบการลงทุนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ศึกษาและเสนอแนะนโยบายเพื่อส่งเสริมการให้บริการออกแบบการลงทุน

(2) พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการออกแบบการลงทุน

(3) กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการออกแบบการลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตอบข้อหารือและดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียน

(4) วางแผนการสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้ผู้ลงทุนใช้บริการออกแบบการลงทุนผ่านกิจกรรมและช่องทางต่าง ๆ

(5) สร้างและสานสัมพันธ์กับพันธมิตรโครงการ 5 ขั้นมั่นใจลงทุน เพื่อร่วมกันสนับสนุนการดำเนินการตามข้อ (4)

(6) ศึกษาพัฒนาการ การออกกฎหมาย กฎเกณฑ์กองทุนการออมในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะนโยบายในการส่งเสริมการออมและการลงทุนของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และการออกประกาศนายทะเบียน

(7) ดำเนินการในฐานะนายทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 รวมทั้งการตอบข้อหารือและข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้อง

(8) ดูแลการขอใช้วงเงินลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในผลิตภัณฑ์สกุลเงินตราต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

(9) ติดตาม รวบรวมข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจนำส่งสำนักงานที่เกี่ยวกับการให้บริการออกแบบการลงทุนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดทำรายงาน

(10) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 15 ฝ่ายกำกับรายงานทางการเงิน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) พัฒนาด้านการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน รวมถึงเสนอแนะแนวทางการวางกลไกและรากฐานของระบบการจัดทำและการรายงานทางการเงินธุรกิจในตลาดทุน และแนวทางการกำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

(2) ตรวจทานรายงานทางการเงิน การจัดทำและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

(3) ให้คำปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี แก่ส่วนงานในสำนักงาน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

(4) ประสานงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านการบัญชี

(5) ปฏิบัติงานด้านต่างประเทศเพื่อส่งเสริมให้รายงานทางการเงินของตลาดทุนไทยน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 16 ฝ่ายคดี มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) พิจารณาการดำเนินการลงโทษทางปกครองกับนิติบุคคลและผู้ประกอบวิชาชีพที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับเรื่องมาจากฝ่ายงานต้นเรื่อง

(2) เสนอข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ

(ก) คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

(ข) คณะกรรมการเปรียบเทียบ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระรากำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

(ค) คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550

(ง) คณะที่ปรึกษาสำหรับมาตรการลงโทษทางแพ่ง

(จ) คณะกรรมการวินัยบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน

(ฉ) คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย (ด้านคดี)

(3) ดำเนินการเพื่อการบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง ทั้งกรณีที่ผู้กระทำผิดตกลงยินยอมรับมาตรการลงโทษ และกรณีที่ผู้กระทำผิดไม่ยินยอมและต้องดำเนินการฟ้องคดีต่อศาล

(4) ประสานงานและติดตามคดีที่อยู่ในกระบวนการดำเนินคดีอาญา

(5) เป็นผู้แทนในการแก้คดีหรือให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและคดีในกรณีที่มีผู้ยื่นฟ้องสำนักงานหรือบุคคลที่ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานให้กับสำนักงาน เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวในการต่อสู้คดี ฟ้องแย้ง หรือฟ้องกลับ

(6) ดำเนินคดีกับบุคคลที่ไม่ชำระเงินค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย

(7) บังคับคดีกับบุคคลที่ไม่ชำระค่าปรับทางปกครอง หรือบังคับคดีตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง

(8) พิจารณาข้อมูลที่จะนำส่งตามหมายศาล หนังสือเรียกของพนักงานผู้มีอำนาจ หรือหนังสือร้องขอใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หรือพิจารณาบุคคลที่จะเป็นผู้แทนสำนักงานในการเบิกความเป็นพยานในคดีตามหมายเรียกของศาล รวมทั้งการเตรียมข้อมูลการเป็นพยานให้กับบุคคลดังกล่าว

(9) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 17 ฝ่ายงานเลขาธิการ มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) งานเลขานุการคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

(2) สนับสนุนเลขาธิการในงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เลขาธิการดำรงตำแหน่งทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน

(3) ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น

(4) งานวิชาการ เช่น การศึกษาและจัดทำข้อเสนอในเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญและเร่งด่วนตามที่ได้รับมอบหมาย

(5) พิจารณาให้ความเห็นต่อการสั่งการของเลขาธิการ

(6) ปฏิบัติงานด้านเลขานุการและธุรการของสำนักงานและผู้บริหารระดับสูง

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 18 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 1 มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ เช่น การควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้างการซื้อกิจการโดยการใช้หนี้หรือเงินกู้ เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วย

(2) พิจารณาคำขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับตราสารทุนและตราสารที่คล้ายทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ และตราสารกึ่งทุน เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน

(3) กำกับดูแลการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ซึ่งรวมถึงการวางหลักเกณฑ์กำกับดูแล การพิจารณาคำขอ ผ่อนผัน และการเปิดเผยข้อมูล

(4) ติดตามการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

(5) สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานแล้ว

(6) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับ (2) – (6) ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 19 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ เช่น การควบรวมกิจการ การปรับโครงสร้างการซื้อกิจการโดยการใช้หนี้หรือเงินกู้ เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วย

(2) พิจารณาคำขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับตราสารทุนและตราสารที่คล้ายทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ และตราสารกึ่งทุน เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน

(3) กำกับดูแลการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ซึ่งรวมถึงการวางหลักเกณฑ์กำกับดูแล การพิจารณาคำขอ ผ่อนผัน และการเปิดเผยข้อมูล

(4) ติดตามการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

(5) สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานแล้ว

(6) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับ (2) – (6) ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 20 ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 3 มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ศึกษา เสนอนโยบาย ในการส่งเสริมให้ตลาดทุนเป็นทางเลือกในการระดมทุน รวมทั้งออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

(2) งานนโยบายเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารทุน ตราสารที่คล้ายทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ ตราสารกึ่งทุน

(3) วางนโยบาย พิจารณาคำขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเกี่ยวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินการภายหลัง การจัดตั้งและเสนอขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน

(4) วางนโยบายเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของตัวกลางในกระบวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน ผู้จัดการกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และพิจารณาคำขอความเห็นชอบตัวกลางดังกล่าว รวมทั้งเข้าตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

(5) พิจารณาข้อร้องเรียน และกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับ (3) ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่เข้าข่ายเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบเชิงลึก

(6) จัดการระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การดำเนินการภายหลังการเสนอหลักทรัพย์และการทำหน้าที่ของตัวกลางในกระบวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 21 ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดทุน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงาน

โดยสรุปดังนี้

(1) เสนอแนะนโยบาย บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และขอบเขตอำนาจในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสำคัญ

(2) วางแผน ดำเนินการ และบริหารจัดการข้อมูล ออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูล รวมถึงพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์และเรียกดูข้อมูล เพื่อให้สำนักงานมีข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจเชิงนโยบาย สนับสนุนงานของฝ่ายงานต่าง ๆ และการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน

(3) พัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และเครื่องมือที่จำเป็นในการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อให้สำนักงานมีข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจเชิงนโยบายเป็นหลัก

(4) สนับสนุนและให้คำแนะนำส่วนงานในการจัดทำรายงาน รวมถึงการออกแบบและปรับปรุงระบบงานและกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 22 ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 1 มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ตลอดจนพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการกระทำความผิดในมาตราที่สำคัญ อื่น ๆ หรือการกระทำผิดอื่นซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือใช้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเชิงลึก

(2) นำเสนอผลสรุปการตรวจสอบและความเห็น รวมถึงประเด็นข้อกฎหมาย ให้คณะกรรมการด้านตรวจสอบและคดีพิจารณาก่อนจะเสนอสำนักงาน

(3) ประสานงานและสนับสนุนด้านข้อมูลกับฝ่ายคดี พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ สำหรับการดำเนินการทางอาญา และร่วมกับฝ่ายคดีในการฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง สำหรับการดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง

(4) กำกับและดูแลตลาดหลักทรัพย์ และตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการซื้อขาย และการป้องกันการกระทำไม่เป็นธรรมในตลาดทุน

(5) ติดตามข่าวสารและพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์

(6) จัดการระบบฐานข้อมูลลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เกี่ยวข้องจากการดำเนินคดี

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 23 ฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน 2 มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ตลอดจนพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำอันฝ่าฝืนหรือกระทำผิดกฎหมายในลักษณะการบริหารงานที่เป็นการฉ้อโกง และการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ใช้ความระมัดระวังหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือใช้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเชิงลึก

(2) นำเสนอผลสรุปการตรวจสอบและความเห็น รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายให้คณะกรรมการด้านตรวจสอบและคดีพิจารณาก่อนจะเสนอสำนักงาน

(3) ประสานงานและสนับสนุนด้านข้อมูลกับฝ่ายคดี พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ สำหรับการดำเนินการทางอาญา และร่วมกับฝ่ายคดีในการฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง สำหรับการดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง

(4) จัดการระบบฐานข้อมูลลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เกี่ยวข้องจากการดำเนินคดี

(5) ประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือและดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีร่วมกัน

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 24 ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ตรวจสอบ สอบทาน และประเมินด้วยวิธีการตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน เพื่อให้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิผลของกระบวนการกำกับดูแล กิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน

(2) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน ซึ่งรวมถึงความเสี่ยง และการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน

(3) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

(4) ปฏิบัติงานด้านเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 25 ฝ่ายตราสารหนี้ มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) กำหนดนโยบายในการพัฒนาและกำกับดูแลตลาดตราสารหนี้ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกตราสารหนี้ประเภทใหม่ ๆ และกำกับดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

(2) กำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาคำขออนุญาตเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ หุ้นกู้อนุพันธ์ และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และกำกับดูแลตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับ ตราสารหนี้ ได้แก่ ที่ปรึกษาการเงิน ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ นายทะเบียนหุ้นกู้ และ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งรวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การให้ความเห็นชอบผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว การกำกับดูแล และการพิจารณาเรื่องร้องเรียน

(3) กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ผู้ค้าตราสารหนี้ นายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ให้ได้มาตรฐานและแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งรวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย Thai BMA การกำกับดูแลสมาชิก การพิจารณาเรื่องร้องเรียน และการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว

(4) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 26 ฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ศึกษาและติดตามเทคนิคการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพนักงานใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในงานสำนักงาน

(2) รับผิดชอบงานด้านบริหารบุคคลของสำนักงาน ซึ่งรวมถึงการจัดโครงสร้างองค์กร จัดทำแผนอัตรากำลัง การสรรหาพนักงาน การประเมินผล การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ

(3) รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาพนักงาน รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหาร การฝึกอบรม การพัฒนาสายงานอาชีพ การพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพและการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

(4) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน รวมถึงการสื่อสารและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นองค์กรน่าทำงาน

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 27 ฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายและคดีปกครอง มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงาน

โดยสรุปดังนี้

(1) ให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายต่อส่วนงานต่าง ๆ ของสำนักงาน

(2) วางแนวทางในการต่อสู้คดีปกครองที่สำนักงาน คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี รวมรวมพยานหลักฐานเพื่อแก้ต่าง และจัดทำเอกสารเพื่ออธิบายความเชื่อมโยงของพยานหลักฐาน รวมทั้งเหตุผลของการกระทำอันเป็นสาเหตุแห่งการถูกฟ้องคดี ตลอดจนเป็นผู้แทนในการติดต่อกับศาลจนคดีถึงที่สุด

(3) ดูแลรับผิดชอบการดำเนินกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของสำนักงานและคณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดทำสรุปข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน และจัดทำความเห็นเสนอคณะอนุกรรมการซึ่งทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ ตลอดจนปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะอนุกรรมการ รวมถึงการสรุปข้อเท็จจริงและนำเสนอความเห็นของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาวินิจฉัย รวมทั้งแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์

(4) ยกร่างบันทึกความร่วมมือ บันทึกข้อตกลง (เฉพาะที่สำนักงานทำกับหน่วยงานหรือองค์กรในประเทศ) สัญญา ข้อบังคับ คำสั่ง และระเบียบที่ใช้กับงานภายในของสำนักงาน กรรมการ และพนักงานของสำนักงาน

(5) ดูแลรับผิดชอบการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ติดต่อประสานกับคู่กรณี และปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของอนุญาโตตุลาการ

(6) ติดตามพัฒนาการกฎหมายที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักงานและดูแลให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 28 ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงาน

โดยสรุปดังนี้

(1) ติดตามและนำเสนอการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ ของสำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ

(2) ศึกษา ติดตาม และให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในตลาดทุน รวมถึงประเมินผลกระทบในด้านการกำกับดูแลของสำนักงาน และให้การสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรการรองรับอย่างเหมาะสม

(3) บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารการจัดการเครือข่ายข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

(4) วิเคราะห์ จัดหา และออกแบบระบบงานเพื่อการใช้งานภายในและให้บริการต่อบุคคลภายนอก

(5) ให้คำปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 29 ฝ่ายนโยบายธุรกิจจัดการลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) เสนอแนะนโยบายเพื่อการพัฒนาและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการลงทุน ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจจัดการลงทุน (เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวม ผู้รับฝากทรัพย์สินกองทุนส่วนบุคคล (ไม่รวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และบริษัทในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์) เป็นต้น) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน รวมถึงออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(2) พิจารณาคำขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม รวมทั้งการตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง

(3) ติดตามและวิเคราะห์ภาวะตลาดทุนและการลงทุนของกองทุนรวม เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ เสนอแนะนโยบายแก้ไขปัญหา รวมถึงวางแนวทางเพื่อจำกัดความเสียหายและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมกองทุนรวมและตลาดทุนโดยรวม

(4) ประสานงานและกำกับดูแลการทำหน้าที่ของสมาคมหรือองค์กรกำกับดูแลตนเองในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจจัดการลงทุน และธุรกิจนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน ซักซ้อม สื่อสาร และตอบข้อหารือผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งประสานงานกับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง

(5) สนับสนุนการเสนอขายกองทุนรวมข้ามประเทศ โดยมองหาโอกาส อำนวยความสะดวก และช่วยลดอุปสรรคให้แก่บริษัทจัดการ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านตลาดทุนในต่างประเทศ

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 30 ฝ่ายนโยบายธุรกิจตัวกลาง มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) เสนอแนะนโยบายในการพัฒนาและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน นายหน้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(2) กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจเฉพาะสินค้าเกษตร และบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตั้งแต่การให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ อนุญาต ผ่อนผัน ให้ความเห็นชอบผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบุคลากร ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร นักวิเคราะห์ รวมถึงผู้แนะนำการลงทุนที่อยู่ภายใต้สังกัดของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และพิจารณาเรื่องร้องเรียน การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากร

(3) ติดตามดูแลการบริหารความเสี่ยงในด้านฐานะการเงินของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสินค้าเกษตร และธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อมิให้กระทบต่อลูกค้า ระบบการชำระราคาและส่งมอบ ตลอดจนความเชื่อมั่นของตลาดทุนโดยรวม

(4) กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์และบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลสมาชิก เช่น การพิจารณาให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์สำคัญ ๆ ในการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด รวมถึงการมีส่วนร่วมเข้าตรวจสอบ

(5) ประสานงานกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเรียนรู้ รับฟังข้อมูลอย่างเปิดใจ รวมถึงการให้ความเห็นชอบประกาศหรือแนวทางของสมาคมหรือองค์กรดังกล่าว

(6) ติดตามพัฒนาการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ในตลาดทุน เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงประสานงานกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจหรือองค์กรกำกับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันการยกระดับความพร้อมรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์ในภาคธุรกิจตลาดทุน

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 31 ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และการนำหลักธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมาย บูรณาการเข้ากับกระบวนการทำงาน การตัดสินใจของทั้งสำนักงาน เพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน และการเป็นหน่วยงานกำกับดูแลที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

(2) จัดทำกรอบนโยบายและแผนการบริหารความเสี่ยงองค์กร และแผนบริหารความต่อเนื่องในการดำเนินงาน โดยอิงมาตรฐานสากล

(3) จัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง รายงานความคืบหน้าการปฏิบัติตามแผน ผลสัมฤทธิ์ผลของการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อผู้บริหารระดับสูง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลความเสี่ยง และคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามลำดับ

(4) เสนอแนะแนวทาง สนับสนุน และให้คำแนะนำฝ่ายงานในการออกแบบและปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมถึงจัดให้มีสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร

(5) สนับสนุน ติดตาม ให้ความรู้ คำแนะนำแก่ฝ่ายงานและพนักงานในเรื่องธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง และกระบวนการทำงาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์กร

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 32 ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 1 มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ยกร่างและปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและกำกับดูแล

(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อการระดมทุนหรือเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเงินของภาคธุรกิจ และการเสนอขายโทเคนดิจิทัล

(ข) การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

(ค) การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ

(ง) ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมตาม (ก) (ข) และ (ค) ได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้สอบบัญชี บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (ก)) ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล

(จ) การกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์และโทเคนดิจิทัล

(2) ให้คำปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตาม (1)

(3) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 33 ฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ยกร่างและปรับปรุงประกาศเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและกำกับดูแล

(ก) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ธุรกิจตัวกลาง และกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรในธุรกิจดังกล่าว

(ข) ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำนักหักบัญชี องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และบรรดาสมาคมหรือองค์กรที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจดังกล่าว

(2) ให้คำปรึกษาและความเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตาม (1)

(3) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 34 ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ศึกษา กำหนดท่าที นโยบาย และยุทธศาสตร์ของตลาดทุนไทย และท่าทีกลยุทธ์กับตลาดทุนต่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาค พหุภาคี และทวิภาคี เพื่อให้ตลาดทุนไทยแข่งขันได้ในระดับสากลและมีความน่าเชื่อถือ สามารถตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

(2) ติดตามการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสากลสำคัญในตลาดทุนและพัฒนาการของตลาดทุนต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนฝ่ายงานต่าง ๆ ในการปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลของสำนักงานให้เทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล

(3) จัดทำแผนกลยุทธ์ของสำนักงานและดำเนินการด้านการต่างประเทศ ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาตลาดทุนไทย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสำนักงาน

(4) ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความรู้ และผลักดันให้ทุกฝ่ายงานมีการดำเนินการ ติดตาม ประเมินผลและรายงานตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนด

(5) พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ความเสี่ยงด้านตลาดทุน ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยส่งเสริมและสนับสนุนฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ ติดตาม ควบคุมและลดความเสี่ยงในตลาดทุน และประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อระบบการเงินร่วมกัน แต่ไม่รวมการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

(6) เป็นทีมเลขานุการการประชุมหรือทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง

(7) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 35 ฝ่ายวิจัย มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ให้บริการด้านงานวิจัยเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสำนักงาน โดยจัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านพัฒนาการต่าง ๆ ของตลาดทุน รวมถึงโอกาสและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในงานด้านนโยบายของสำนักงาน

(2) ให้คำปรึกษาและร่วมเป็นคณะทำงานกับฝ่ายงานและหน่วยงานต่าง ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือต่อยอดงานวิจัย รวมทั้งสนับสนุนด้านเทคนิคและการวิเคราะห์แก่ฝ่ายงานต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และกลไกในตลาดทุน

(3) เผยแพร่และแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมและจัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับตลาดทุน

(4) พบปะ สื่อสาร เรียนรู้ สร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานต่าง ๆ และนำมาสู่การพัฒนางานวิจัยเชิงนโยบาย

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 36 ฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนแก่ประชาชน ซึ่งประกอบด้วยผู้สนใจลงทุน ผู้ลงทุน รวมถึงกรรมการและสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผู้ที่ต้องการระดมทุน

(2) ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการเงิน การลงทุน การระดมทุน และตลาดทุน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตาม (1) ผ่านโครงการ สื่อ และเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ตลอดจนการออกไปพบปะประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

(3) พัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนด้านตลาดทุนในต่างจังหวัด เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานของสำนักงานในพื้นที่ และสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน

(4) เป็นศูนย์กลางประสานงาน และทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ในด้านการให้ความรู้ การให้คำแนะนำ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาดทุน

(5) ติดตามการเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มของสถานการณ์ในตลาดทุน ผลิตภัณฑ์ด้านตลาดทุนใหม่ ๆ ศึกษาพฤติกรรมของผู้ลงทุน เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ลงทุน และสามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและหลากหลายในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ป้องกันหรือป้องปรามโอกาสเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ลงทุน

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 37 ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ติดตาม ศึกษาพัฒนาการและผลกระทบของนวัตกรรม / เทคโนโลยีทางการเงิน และรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนและสินทรัพย์ดิจิทัล วิเคราะห์และเสนอท่าที นโยบาย แนวทางการพัฒนาและกำกับดูแลที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุน / สินทรัพย์ดิจิทัลในไทย

(2) ผลักดัน ดำเนินการ และร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน เพื่อทำให้เกิดระบบนิเวศน์ และแนวทางดำเนินการซึ่งสนับสนุนให้นวัตกรรมทางการเงินที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นได้จริงในไทย รวมทั้งให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้เกี่ยวข้องภายนอกเกี่ยวกับการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีทางการเงิน

(3) เสนอนโยบาย ออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายทะเบียน เป็นต้น

(4) ให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับนวัตกรรม / เทคโนโลยีทางการเงินและรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนและสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการกรณีการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต

(5) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน ดังนี้

(ก) ออกและแก้ไขประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal)

(ข) พิจารณาคำขออนุญาตและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอของข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน รวมทั้งสอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกและเสนอขายดังกล่าวภายหลังการเสนอขาย

(ค) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล

(ง) ติดตามและพิจารณาดำเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ออกและเสนอขายที่อยู่ในรูปแบบโทเคน ที่ไม่ได้รับอนุญาต และประสานงานกับสายงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

(จ) พิจารณาเรื่องร้องเรียน และรวบรวมข้อมูลกรณีที่สงสัยว่าผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลอาจมีการกระทำหน้าที่บกพร่อง รวมทั้งพิจารณาข้อบกพร่องและมาตรการลงโทษผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 38 ฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงาน

โดยสรุปดังนี้

(1) กำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้างการประกอบธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

(2) กำหนดแนวทางและดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดแรงผลักดันจากสังคม โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดำเนินการตาม (1)

(3) ดำเนินการหรือสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดทำคู่มือ เครื่องมือช่วยให้ความรู้ในเรื่องตาม (1) และ (2) กับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสถาบัน หน่วยงานและ/หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

(4) ดำเนินการหรือสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของบริษัทจดทะเบียนและผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ตลอดจนสำนักงาน

(5) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 39 ฝ่ายสื่อสารและบริการผู้ลงทุน มีหน้าที่และวิธีการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

(1) ติดตามข้อมูลข่าวสาร กำหนดท่าที กลยุทธ์ ดำเนินการสื่อสาร และให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงในประเด็นที่เป็นข่าว รวมถึงจัดเตรียมร่างข่าวและงานสื่อมวลชนสัมพันธ์ โดยทำงานร่วมกับโฆษกของสำนักงาน

(2) กำหนดกลยุทธ์และดำเนินการบริหารจัดการภาพลักษณ์ของสำนักงาน การสื่อสารทั้งภายในและภายนอก การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ การเขียนบทความ การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ การบริหารจัดการสื่อโซเชียลของสำนักงาน (อาทิ เฟสบุค ทวิตเตอร์) การจัดกิจกรรมและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

(3) เป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลสำหรับผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง และรับเบาะแสและเรื่องร้องเรียนจากบุคคลภายนอก ซึ่งรวมทั้งบริหารจัดการโดยประสานงานกับ ฝ่ายต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้การดำเนินการของสำนักงานมีความรวดเร็วและช่วยยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ลงทุน

(4) บริหารจัดการเว็บไซต์ขององค์กร เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการบริการผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

(5) บริหารจัดการการแปลข่าว ประกาศและข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ

(6) ปฏิบัติงานและ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 40 สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2033-9999 โทรสาร 0-2033-9660

การติดต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถกระทำผ่านสำนักงานได้ตามสถานที่ทำการข้างต้น หรือทาง email: info@sec.or.th นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th

ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562

(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)

เลขาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ที่มา: http://www.sec.or.th/


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ