ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทน. 67/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9)

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday November 19, 2021 11:44 —ประกาศ ก.ล.ต.

ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทน. 67/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9)
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551  และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535  คณะกรรมการกำกับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคำว่า ?ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้คืน?และคำว่า ?ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน? (subordinated perpetual bond) ระหว่าง
บทนิยามคำว่า ?การลงทุนที่ไม่จำกัดรูปแบบ? และคำว่า ?โครงการ? ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการ
กำกับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2562  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562
                    ??ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้คืน?  หมายความว่า   ตราสารหนี้ซึ่งได้รับ
อนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
                        (1)  ตราสารหนี้ที่อยู่ระหว่างผิดนัดชำระหนี้ (distressed bond)
                        (2)  ตราสารหนี้ที่มีการเลื่อนกำหนดชำระหนี้คืน (rescheduled bond)
                        (3)  ตราสารหนี้ที่ผู้ออกอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
                        (4)  ตราสารหนี้ที่ผู้ออกอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (restructured bond)
                        (5)  ตราสารหนี้ที่มีการผิดนัดชำระหนี้เนื่องมาจากเหตุผิดนัดของหุ้นกู้ชุดอื่น ๆ
(cross default)
                        (6)  ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (subordinated perpetual bond)
ที่ผู้ออกมีปัญหาในการชำระหนี้คืน
(7)  ตราสารหนี้อื่นใดที่ผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกับผู้ออกตราสารหนี้ที่มีลักษณะ
ตาม (1) (2) หรือ (5)
?ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน? (subordinated perpetual bond)
หมายความว่า  ตราสารหนี้ด้อยสิทธิตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า?
                    ข้อ 2   ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 15/2560  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2563  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวม
เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563  และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
?ข้อ 2   ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขาย
เฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ โดยมีนโยบายการลงทุนในลักษณะของการลงทุนที่ไม่จำกัดรูปแบบหรือมีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้คืน ที่มิได้มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการตามประกาศฉบับอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ  ทั้งนี้ กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งตามประกาศนี้ต้องไม่เป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้
                    (1)  กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
                    (2)  กองทุนรวมอีทีเอฟ
                    (3)  กองทุนรวมเพื่อการออม?
ข้อ 3   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับ
ตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อ
ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2561  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
                    ?(3)  ระบุข้อความ ?กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้คืน? ไว้ในชื่อ  ทั้งนี้ เฉพาะกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้คืน?


                    ข้อ 4   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 15/2560  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
                    ?ข้อ 3/2   กองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการ
ชำระหนี้คืนที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งตามประกาศนี้ นอกจากต้องเป็นไปตามข้อ 3 แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
                    (1)  เป็นกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้
                          (ก)  กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
                          (ข)  กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (auto redemption)
                    (2)  มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้คืนโดยเฉลี่ย
ในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
(3)  เริ่มมีการลงทุนครั้งแรกในตราสารหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้คืนภายใน 6 เดือน
นับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม  เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานในกรณี
มีเหตุจำเป็นและสมควร  ทั้งนี้ ไม่ให้นำอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ว่าด้วยการลงทุนของกองทุนมาใช้บังคับภายในระยะเวลาดังกล่าว
                    (4)  มีการกำหนดอายุของกองทุนรวมที่สอดคล้องกับตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินที่ลงทุน
                    (5)  เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้เฉพาะกับผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อปรากฏในทะเบียน
ผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งแรกและยังมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่มีการเสนอขาย
หน่วยลงทุนเพิ่มเติมเท่านั้น?
                    ข้อ 5   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่ ทน. 15/2560  เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
                    ?ข้อ 4/1   ในกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่
มีปัญหาในการชำระหนี้ หากครบกำหนดระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกแล้วปรากฏว่ากองทุนรวม
มีการจำหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนได้ไม่ถึง 10 ราย  ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลง
โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558  เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558  โดยอนุโลม

                    เมื่อปรากฏว่ามีจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 รายในวันทำการใด
ให้บริษัทจัดการดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม  โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564  เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่
29 มกราคม พ.ศ. 2564  โดยอนุโลม?
                    ข้อ 6   ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
                                 ประกาศ  ณ  วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564



          (นางสาวรื่นวดี  สุวรรณมงคล)
          เลขาธิการ
          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
          ประธานกรรมการ
          คณะกรรมการกำกับตลาดทุน

          ที่มา: http://www.sec.or.th/

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ