ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 27/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 18)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 10(1) มาตรา 30 และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) ในบทนิยามคำว่า ?ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล?ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ?(11) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล? ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 10/4 แห่งประกาศคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(2) เมื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 5 วันติดต่อกัน ให้นำสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งต้องเก็บไว้ในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้นไปฝากไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามข้อ 10/5 หรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใน 45 วันนับแต่วันที่มีการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะดังกล่าว เว้นแต่สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไม่มีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติดังกล่าว หรือไม่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนำสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวไปเก็บไว้ในระบบที่มีลักษณะตาม (1)? ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 10/5 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง และผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศดังกล่าว มีการตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนช่วงนั้นต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามวรรคหนึ่ง หรือส่วนที่ 3/1 การเป็น ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วแต่กรณี ด้วย? ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/7 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ?ข้อ 10/7 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 10/4 วรรคหนึ่ง (2) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีสัญญาการแต่งตั้งเป็นตัวแทนในการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อกำหนดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทน ข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในกรณีที่สินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าเกิดความเสียหาย และข้อกำหนดให้ตัวแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กำหนด (2) ฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล? ข้อ 5 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า ?บริษัทหลักทรัพย์? ?ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? และ ?ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์? ก่อนบทนิยามคำว่า ?ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล? ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ??บริษัทหลักทรัพย์? หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ?ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? ?ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์? หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์? ข้อ 6 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า ?ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล? ระหว่างบทนิยามคำว่า ?ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล? และ ?ดำรงเงินกองทุน? ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ??ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล? หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็น ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล? ข้อ 7 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า ?ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4? ระหว่างบทนิยามคำว่า ?ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3? และ ?เงินกองทุนขั้นต้น? ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ??ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4? หมายความว่า ดำรงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในกลุ่ม 4 ของภาคผนวก 1 การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้? ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(3) บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องดำรงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุน ของผู้ประกอบธุรกิจ? ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ 14 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้น การปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 15 ข้อ 15/1 และข้อ 16 (1) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ เนื่องจากอยู่ระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ (2) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่หยุดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทุกประเภทและได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ตามข้อ 7/3 แล้ว? ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ?ข้อ 15/1 ให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจประเภทอื่น ได้แก่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีหน้าที่ต้องดำรงเงินกองทุนตามประกาศใดประกาศหนึ่งดังนี้ด้วย (1) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ (2) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อนี้ มีหน้าที่ต้องดำรงเงินกองทุนโดยครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดในภาคผนวก 1 การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ท้ายประกาศนี้? ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ 16 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (1) การคำนวณและจัดทำรายงานการคำนวณเงินกองทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) การคำนวณเงินกองทุนสำหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 15/1 วรรคสอง? ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในตอนที่ 4 การดำเนินการกรณีที่สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ ของส่วนที่ 2 การดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุน ในหมวด 3 การดำรงเงินกองทุน และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุน ข้อ 16/9 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ตอนที่ 4 การดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ข้อ 16/9 ให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดำรงเงินกองทุน โดยวิธี NC-4 และไม่สามารถดำรงเงินกองทุนดังกล่าว ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ วิธีการที่กำหนดในภาคผนวก 2 การดำเนินการกรณีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถ ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศนี้? ข้อ 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นตอนที่ 5 การดำเนินการกรณีที่สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ ของส่วนที่ 2 การดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุน ในหมวด 3 การดำรงเงินกองทุน และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุน ข้อ 16/10 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ?ตอนที่ 5 การดำเนินการกรณีที่สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ ข้อ 16/10 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ระงับการประกอบธุรกิจและ สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ตามข้อ 16/1 ข้อ 16/4 ข้อ 16/8 และข้อ 16/9 ยื่นคำขออนุญาต กลับมาประกอบธุรกิจต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดไว้บนเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชน โดยให้สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคำขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับคำขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสำหรับประชาชน? ข้อ 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3/1 การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 49/1 ถึงข้อ 49/6 ของหมวด 8 ข้อกำหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ?ส่วนที่ 3/1 การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 49/1 ในส่วนนี้ ?ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล? หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจ การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ?การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล? หมายความว่า การให้บริการลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การรับฝากหรือเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ (2) การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) หรือสิ่งอื่นใดที่ต้อง เก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จหรือบางส่วน ?ผู้ที่เกี่ยวข้อง? หมายความว่า (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหุ้นส่วน (2) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด (3) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้น ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (4) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) หรือบริษัทตาม (3) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (5) นิติบุคคลที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคล ผู้มีอำนาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถมีอำนาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ข้อ 49/2 ในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนสินทรัพย์ดิจิทัลกับหรือจากผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล วิธีการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในการดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า (ถ้ามี) ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ให้บริการ รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) จัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้า ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีข้อกำหนดในลักษณะที่เป็นการปฏิเสธหรือจำกัดความรับผิดชอบ ต่อสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า และกรณีสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจาก การละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องมีข้อกำหนดให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลรับผิดชอบในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าอย่างเต็มจำนวน ข้อ 49/3 ห้ามมิให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลกระทำการใดอันมีผลเป็น การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย คำสั่งศาล หรือคำสั่งของหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ข้อ 49/4 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลได้ภายในเวลาอันสมควร ข้อ 49/5 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีระบบงานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ระบบการแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งแยกสินทรัพย์ดิจิทัล ของลูกค้าออกจากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ระบบการจัดทำทะเบียนการรับฝากและเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า โดยต้องแสดงรายการและจำนวนสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนบันทึกรายการรับหรือจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (3) ระบบที่สามารถรองรับการกำหนดเงื่อนไขในการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลเกี่ยวกับ ขนาดธุรกรรมหรือการจำกัดปริมาณธุรกรรม ณ ช่วงเวลาใด ได้ตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 49/6 ห้ามมิให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้ถือหุ้นในผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ตนให้บริการเกินร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น โดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย (2) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลมีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ตนให้บริการเกินร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ให้นำบทนิยามคำว่า ?ผู้ที่เกี่ยวข้อง? ตามข้อ 49/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) ผู้ถือหุ้นของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ถือหุ้นของ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (4) กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้ให้บริการ รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการ (5) มีความเกี่ยวข้องในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะที่อาจทำให้ ขาดความเป็นอิสระ ในกรณีที่จะต้องมีการวินิจฉัยความเกี่ยวข้องในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ในลักษณะที่อาจทำให้ขาดความเป็นอิสระตามวรรคหนึ่ง (5) ให้สำนักงาน ก.ล.ต. เสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาโดยเร็ว? ข้อ 15 ให้ยกเลิกตารางท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ตารางโครงสร้างข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลท้ายประกาศนี้ เป็นตารางท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 แทน ข้อ 16 ให้ยกเลิกภาคผนวกการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และ ให้ใช้ภาคผนวก 1 การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวก 1 การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 แทน ข้อ 17 ให้เพิ่มภาคผนวก 2 การดำเนินการกรณีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวก 2 การดำเนินการกรณี ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 18 ให้แก้ไขคำว่า ?ภาคผนวกการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลท้ายประกาศนี้? ในบทนิยามคำว่า ?ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1? ?ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2? ?ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3? ?เงินกองทุนขั้นต้น? ?เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิด จากการปฏิบัติงาน? และ ?เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ? ของข้อ 12 และในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นคำว่า ?ภาคผนวก 1 การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้? ข้อ 19 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้ ภายในโอกาสแรกที่สามารถทำได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 20 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่มา: http://www.sec.or.th/