ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. ๒๙/๒๕๖๗ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๒๕)
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐/๔ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๗/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๐/๔ ในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น(cold wallet) ที่กำหนดให้การโอนสินทรัพย์ดิจิทัลกระทำโดยบุคคลที่ได้รับมอบหมายร่วมกันยืนยันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวต้องไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือบุตรบุญธรรม (ข) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (ค) คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา หรือคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) (๒) ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝาก สินทรัพย์ดิจิทัล ต้องเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไว้ในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล ตามวรรคหนึ่ง (๑) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า (๓) ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล และมีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ให้ดำเนินการดังนี้ (ก) ให้เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่เฉพาะเวลาที่มีการทำธุรกรรมเท่านั้น (hot wallet) ได้ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า และส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เก็บรักษาในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล ตามวรรคหนึ่ง (๑) (ข) กรณีเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าตั้งแต่ ๑๕ ล้านบาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา ๕ วันติดต่อกัน ให้เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่เฉพาะเวลาที่มีการทำธุรกรรมเท่านั้น (hot wallet) ได้ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า และให้นำส่วนที่เหลือทั้งหมดไปฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่มีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะดังกล่าว (ค) กรณีเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา ๕ วันติดต่อกัน ให้เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่เฉพาะเวลาที่มีการทำธุรกรรมเท่านั้น (hot wallet) ได้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า และให้นำส่วนที่เหลือทั้งหมดไปฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศทันทีตั้งแต่ มีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะดังกล่าว
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะนำสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งมีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง (๓) (ข) หรือ (ค) บางส่วนไปเก็บไว้ในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้สามารถกระทำได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า
ในกรณีที่ไม่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝาก สินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่มีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ตามวรรคหนึ่ง (๓) (ข) หรือ (ค) แล้วแต่กรณี ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนำสินทรัพย์ดิจิทัล ในส่วนดังกล่าวไปเก็บไว้ในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง (๑)?
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๐/๕ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ วิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๑๓) ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๐/๕ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศตามข้อ ๑๐/๔ วรรคหนึ่ง (๓) (ข) หรือ (ค) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศที่ผู้ให้บริการนั้น มีสถานประกอบการตั้งอยู่ (๒) มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ความพร้อม และได้รับการยอมรับในการให้บริการ รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (๓) มีระบบงานและมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (๔) มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) ที่มีประสิทธิภาพ (๕) มีการแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ใช้บริการแต่ละรายออกจากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (๖) มีมาตรการที่แสดงได้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ใช้บริการฝากไว้จะไม่ถูกนำไปใช้หรือหาดอกผลไม่ว่าโดยวิธีใด (๗) มีระบบถ่วงดุลหรือมาตรการควบคุมการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยอย่างน้อยต้องกำหนด ให้การโอนสินทรัพย์ดิจิทัลกระทำโดยบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปร่วมกันยืนยันการทำธุรกรรม โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามข้อ ๑๐/๔ วรรคหนึ่ง (๑) รวมทั้งมีการเก็บหรือขอหลักฐานเพื่อยืนยันการทำธุรกรรมจากผู้สั่งการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล เมื่อเป็น การโอนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ (๘) มีระบบที่สามารถรองรับการกำหนดเงื่อนไขในการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลเกี่ยวกับขนาดธุรกรรมหรือการจำกัดปริมาณธุรกรรม ณ ช่วงเวลาใด ได้ตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการ (๙) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (๑๐) ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าขาดการกำกับดูแลกิจการที่ดี (๑๑) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากรรมการหรือผู้บริหารมีประวัติการถูกลงโทษหรือถูกดำเนินการ หรืออยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินการในลักษณะที่เป็นการหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต เกี่ยวกับทรัพย์สิน? ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐/๗ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๗/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๐/๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไว้กับ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ ๑๐/๔ วรรคหนึ่ง (๓) (ข) หรือ (ค) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสัญญาการแต่งตั้งเป็นตัวแทนในการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อกำหนดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทน ข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบ ในกรณีที่สินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าเกิดความเสียหาย และข้อกำหนดให้ตัวแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กำหนด (๒) ฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็น ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล? ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของวรรคหนึ่งในข้อ ๑๕ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๙/๒๕๖๓ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(๑) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ใน ความครอบครองไม่ว่าจะมีการประกอบธุรกิจอื่นหรือไม่ก็ตาม ให้ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC - ๒? ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของวรรคหนึ่งในข้อ ๑๕ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๙/๒๕๖๓ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(๓) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ที่ไม่ใช่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล และไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง ให้ดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC - ๑ และ NC - ๓ ด้วย? ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖/๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๙/๒๕๖๓ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๖/๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC - ๑ และไม่สามารถดำรงเงินกองทุนดังกล่าว ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) จัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันแรก ที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถดำรงเงินกองทุนได้ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการติดต่อกัน (๒) ดำเนินการตามแผนหรือแนวทางการแก้ไขที่ได้แจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตาม (๑) เพื่อให้สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในแผนดังกล่าวซึ่งต้องไม่เกิน ๔๕ วันนับแต่วันแรกที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ หรืออยู่ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๒) สำนักงาน ก.ล.ต. อาจห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (๑) ให้บริการหรือเปิดบัญชีเพื่อการให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้ารายใหม่ (๒) เพิ่มวงเงินซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า (๓) ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติม (๔) กระทำอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดำเนินงาน หรือ การปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่จัดส่งแผนหรือแนวทางการแก้ไข หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง (๑) หรือ (๒) หรือมีเงินกองทุนต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของเงินกองทุนขั้นต่ำที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดำรงเป็นระยะเวลา ๕ วันติดต่อกัน แล้วแต่กรณี สำนักงาน ก.ล.ต. อาจกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (๑) ระงับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท (๒) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการระงับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (๓) กระทำการหรืองดเว้นการกระทำอื่นใด ในการกำหนดหลักเกณฑ์ตามวรรคสองและวรรคสาม สำนักงาน ก.ล.ต. ต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการแก้ไขฐานะการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การคุ้มครองลูกค้า และ การป้องกันความเสี่ยงในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล? ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖/๓ และข้อ ๑๖/๔ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๙/๒๕๖๓ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๖/๓ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงเงินกองทุน ส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน หรืออยู่ในระหว่างดำเนินการตามข้อ ๑๖/๒ (๓) สำนักงาน ก.ล.ต. อาจห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การคุ้มครองลูกค้า และการป้องกันความเสี่ยงในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล (๑) ให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (๒) ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติม (๓) ในกรณีเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ห้ามรับจัดการเงินทุนของลูกค้าเพิ่มเติม (๔) กระทำอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดำเนินงาน หรือ การปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ข้อ ๑๖/๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงเงินกองทุนขั้นต้นหรือเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ หรือไม่สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม เพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนหรือแนวทางตามข้อ ๑๖/๒ (๓) หรือระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ ๑๖/๕ หรือไม่สามารถดำรงฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่น ที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ต้องระงับการประกอบธุรกิจ แล้วแต่กรณี สำนักงาน ก.ล.ต. อาจกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ในการแก้ไข ฐานะการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การคุ้มครองลูกค้า และการป้องกันความเสี่ยง ในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล (๑) ระงับการประกอบธุรกิจในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดำรงเงินกองทุน (๒) แจ้งการไม่สามารถดำรงเงินกองทุนหรือฐานะทางการเงิน พร้อมด้วยสาเหตุและการระงับ การประกอบธุรกิจตาม (๑) เป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่สำนักงาน ก.ล.ต. และลูกค้าทราบ (๓) ในกรณีเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ติดต่อลูกค้าโดยเร็วเพื่อสอบถามความประสงค์ของลูกค้าว่าจะให้จัดการทรัพย์สินของลูกค้าอย่างไร ทั้งนี้ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดำเนินการ ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว (๔) กระทำการหรืองดเว้นการกระทำอื่นใด? ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖/๗ และข้อ ๑๖/๘ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๙/๒๕๖๓ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๖/๗ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงเงินกองทุนหรือ อยู่ในระหว่างดำเนินการตามข้อ ๑๖/๖ (๓) สำนักงาน ก.ล.ต. อาจห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การคุ้มครองลูกค้า และการป้องกันความเสี่ยงในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล (๑) ให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (๒) ขยายระยะเวลาการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดิมของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (๓) กระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดำเนินงานหรือการปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ข้อ ๑๖/๘ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตามข้อ ๑๖/๖ (๓) หรือไม่มีเงินกองทุนติดต่อกันเกินกว่า ๕ วันทำการ สำนักงาน ก.ล.ต. อาจกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การคุ้มครองลูกค้า และการป้องกันความเสี่ยงในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล (๑) ระงับการประกอบธุรกิจในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดำรงเงินกองทุน (๒) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการระงับการประกอบธุรกิจ (๓) กระทำการหรืองดเว้นการกระทำอื่นใด? ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖/๙ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๗/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๖/๙ ในกรณีที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลมีหน้าที่ต้องดำรงเงินกองทุน โดยวิธี NC - ๔ และไม่สามารถดำรงเงินกองทุนดังกล่าว สำนักงาน ก.ล.ต. อาจกำหนดให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การคุ้มครองลูกค้า และการป้องกันความเสี่ยงในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล (๑) ระงับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (๒) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการระงับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (๓) กระทำการหรืองดเว้นการกระทำอื่นใด? ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖/๑๐ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๗/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑๖/๑๐ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ระงับการประกอบธุรกิจตามข้อ ๑๖/๑ วรรคสาม ข้อ ๑๖/๔ ข้อ ๑๖/๘ และข้อ ๑๖/๙ และสามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ ยื่นคำขออนุญาตกลับมาประกอบธุรกิจต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดไว้บนเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชน โดยให้สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณา คำขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับคำขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสำหรับประชาชน? ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกข้อ ๔๒ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกภาคผนวก ๑ การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๗/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ภาคผนวก ๑ การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกภาคผนวก ๒ การดำเนินการกรณีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนโดยวิธี NC - ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๗/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๑๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องดำรงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ใช้บังคับในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับ ดำรงเงินกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในภาคผนวก ๑ การดำรงเงินกองทุนของ ผู้ประกอบธุรกิจ ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (๑) ดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำคงที่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงินกองทุนขั้นต่ำที่ต้องดำรงเพิ่มขึ้น ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ และต้องดำรงเงินกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๘ (๒) ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่คำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าที่เก็บรักษา ในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ต้องดำรงเพิ่มขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๘ และต้องดำรงเงินกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๙ (๓) ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิดังนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ (ก) เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่คำนวณจากมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading service risk) (ข) เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่คำนวณจากสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนเกิน (ค) เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่คำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าที่เก็บรักษา ในระบบการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่เฉพาะเวลาที่มีการทำธุรกรรมเท่านั้น (hot wallet) เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ในระบบดังกล่าวเกินร้อยละ ๑๐ ของทรัพย์สินของลูกค้าทั้งหมด ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่สามารถดำรงเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ก่อนวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัลต้องดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่น้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ใช้บังคับในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่มา: http://www.sec.or.th/