ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. ๔/๒๕๖๘ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๑๑)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๐ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า ?ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน? ?ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? ?เงินกองทุน? ?บริษัทประกันภัย? และ ?ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? ระหว่างบทนิยามคำว่า ?หุ้นกู้ด้อยสิทธิ? และ ?ข้อกำหนดสิทธิ? ในข้อ ๒ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ??ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน? หมายความว่า หุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทไม่มีประกันที่มีการกำหนดให้สิทธิในการรับชำระหนี้ของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญและมีลักษณะ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทประกันภัยโดยเป็นหุ้นกู้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) มีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถือหุ้นกู้ปลดหนี้ (๒) เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพชนิดที่มีการกำหนดเงื่อนไขบังคับแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่ ของผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ?ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? หมายความว่า หุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทไม่มีประกันที่มีการกำหนดให้สิทธิในการรับชำระหนี้ของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยกว่า สิทธิของเจ้าหนี้สามัญ และไม่มีเงื่อนไขให้ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าชำระหนี้คืนก่อนกำหนด โดยผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีการกำหนดเงื่อนไขครบถ้วนในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) เงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเลื่อนหรือยกเลิกการชำระดอกเบี้ยตามตราสาร (๒) เงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเลื่อนชำระเงินต้น ตามตราสาร ?เงินกองทุน? หมายความว่า เงินกองทุน ดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (๑) เงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับองค์ประกอบของเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศซึ่งอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ BASEL III (๒) เงินกองทุนสำหรับบริษัทประกันภัยตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัยเกี่ยวกับการกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันภัย (๓) เงินกองทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ?บริษัทประกันภัย? หมายความว่า บริษัท ดังต่อไปนี้ (๑) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามพระราชบัญญัติประกัน วินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ?ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? หมายความว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ? ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๑๗ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(๓) การเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วเพื่อประโยชน์ ในการปรับโครงสร้างหนี้? ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑๘ แห่งประกาศคณะกรรมการ กำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ?ในกรณีตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่งเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขาย หุ้นรองรับด้วย? ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๒๐ ผู้ออกตราสารหนี้ไม่มีประวัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ภายในระยะเวลา ๒ ปีก่อนวันยื่นจดข้อจำกัดการโอนต่อสำนักงาน เคยเสนอขายตราสารหนี้ ไม่ว่าประเภทใด ๆ หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จำกัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน โดยผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรที่จะออกตราสารในครั้งนี้ รวมทั้งมีมาตรการป้องกัน การไม่ปฏิบัติดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว (๒) ภายในระยะเวลา ๒ ปีก่อนวันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้เคยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และผู้ออกตราสารหนี้ยังไม่ได้ ชำระหนี้ครบถ้วนตามตราสารรุ่นดังกล่าว ความในวรรคหนึ่ง (๒) มิให้นำมาใช้บังคับกับการเสนอขายในลักษณะ PP๑๐? ข้อ ๕ ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ ๒๓/๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๓/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๒ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้ตราสารหนี้ที่เสนอขายมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ลักษณะของตราสารหนี้ หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงิน ๑. มีคำเรียกชื่อเป็นการเฉพาะ ซึ่งแสดงปีที่ครบกำหนด ไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของตราสารหนี้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน เว้นแต่เป็นการเสนอขายพันธบัตร โดยวิธีเพิ่มปริมาณตามข้อ ๓๓ ? ? ? ๒. ต้องไม่มีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตสามารถเลื่อนหรือยกเลิกการชำระดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนอื่น การถูกลดมูลค่าตามตราสาร (write down) การปลดหนี้ตามตราสาร (write off) หรือมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับโครงสร้างการจ่ายผลตอบแทนเป็นลำดับขั้น (waterfall structure) เว้นแต่เป็น ตราสารหนี้ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวได้ตามที่กำหนดเพิ่มเติมไว้ในภาคผนวก ๒ ท้ายประกาศนี้ ? ? - ๓. กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตรา ที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น ? ? ? ๔. มูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของตราสารหนี้ (ไม่ว่าตราสารหนี้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือ หลายครั้ง) ? ? ? ๕. เป็นตราสารชนิดระบุชื่อผู้ถือ ? ? - ๖. มีข้อความในใบตราสารที่แสดงว่า ผู้ได้รับอนุญาตจะ ไม่รับจดทะเบียนการโอนตราสารไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจำกัดการโอนตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจำกัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสำนักงาน* ? ? - ๗. กรณีเป็นตราสารหนี้ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ต้องยื่นคำขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับตราสารดังกล่าวเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ออกตราสารหนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้น ? ? - * หากเป็นกรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ได้รับอนุญาตสามารถจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบันก็ได้? ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๔๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์ การใช้เงินที่ได้แจ้งไว้ต่อสำนักงาน หรือเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล แล้วแต่กรณี เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) หลักเกณฑ์ตามที่ผู้ได้รับอนุญาตกำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ (๒) หลักเกณฑ์ตามข้อกำหนดสิทธิมาตรฐานที่กำหนดไว้บนเว็บไซต์ของสำนักงาน ในกรณีที่ ผู้ได้รับอนุญาตไม่ได้มีการกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินไว้ในข้อกำหนดสิทธิ? ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของวรรคหนึ่งในข้อ ๔๘ แห่งประกาศคณะกรรมการ กำกับตลาดทุนที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๓/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(๑) จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและเป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นที่ออกตาม ความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการไทยหรือหน่วยงานภาครัฐไทย งบการเงินที่จัดทำขึ้น ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Thai Financial Reporting Standards for Publicly Accountable Entities) โดยให้ใช้บังคับกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๗๐ เป็นต้นไป? ข้อ ๙ ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ ๕๙/๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๓/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (๒) ในวรรคหนึ่งของข้อ ๖๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?(ข) ตราสารหนี้ที่ขออนุญาตไม่ใช่ตราสารหนี้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ๑. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ๒. หุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท (perpetual bond) ๓. หุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ๔. หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งผู้ออกมิใช่บุคคลตามข้อ ๖๒ ๕. หุ้นกู้แปลงสภาพ ๖. ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ๗. ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า? ข้อ ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖๙/๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ?ข้อ ๖๙/๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการแจ้งต่อสำนักงานภายใน ๗ วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดำรงคุณสมบัติตามข้อ ๔๘ หรือข้อ ๕๓ (๒) หรือ (๓) (๒) ตราสารหนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ำกว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ? ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗๓/๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๓/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๗๓/๑ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ หรือได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับ ที่ลงทุนได้ นอกจากต้องมีคำเรียกชื่อเฉพาะตามข้อ ๓๒ ในตาราง ๑. แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตระบุข้อความเพิ่มเติมในชื่อหุ้นกู้หรือพันธบัตรว่า ?เสี่ยงสูง?? ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกภาคผนวก ๑ บัญชียกเว้นข้อกำหนดของหลักเกณฑ์ทั่วไป ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๓/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ และให้ใช้ภาคผนวก ๑ บัญชียกเว้นข้อกำหนดของหลักเกณฑ์ทั่วไป ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกคำศัพท์และคำอธิบายศัพท์คำว่า ?ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน? ?เงินกองทุน? และ ?บริษัทประกันภัย? ในคำศัพท์และคำอธิบายศัพท์ ของภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาตและเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคล ที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. ๓/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ข้อ ๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔ ใน ๑.๒ เงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต ของส่วนที่ ๑ หุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท (Perpetual Bond) ในภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาต และเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคล ที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ?ข้อ ๔ การกำหนดเงื่อนไขการเลื่อนการชำระดอกเบี้ยตามตราสาร ผู้ออกตราสารจะสามารถกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวได้เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท (subordinated perpetual bond)? ข้อ ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖/๒ ใน ๕.๑.๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ของ ๕.๑ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับกรณีการอนุญาตเป็นการทั่วไป ในส่วนที่ ๕ หุ้นกู้ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ของภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาต และเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัดและการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ?ข้อ ๖/๒ หุ้นกู้ที่ออกเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์สามารถกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับโครงสร้างการจ่ายผลตอบแทนเป็นลำดับขั้น (waterfall structure) ได้? ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกข้อ ๒ ใน ๘.๑ หลักเกณฑ์การอนุญาตเพิ่มเติม ของส่วนที่ ๘ ตราสารหนี้ที่เสนอขายในประเทศไทยโดยกิจการต่างประเทศ ในภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาต และเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัดและการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการ กำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๖๑/๒๕๖๖ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของ ๙.๑ เงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต ในส่วนที่ ๙ ตราสารหนี้ GSSB ของภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาต และเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัดและการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคล ในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๓/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ข้อ ๑ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ GSSB ในลักษณะ PP๑๐ ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยข้อมูลก่อนการเสนอขายต่อผู้ลงทุนตามภาคผนวก ๖ การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมกรณีเสนอขาย ตราสารหนี้ GSSB ตามแบบ ๖๙ ? PP - รายครั้ง ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วย การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และให้นำส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสำนักงานพร้อมกับการรายงานผลการขายด้วย? ข้อ ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ ๑๐ ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาต และเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการ กำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๖/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ?ส่วนที่ ๑๐ ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หลักเกณฑ์ในส่วนนี้ใช้บังคับกับการอนุญาตให้เสนอขายตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยกรณีตราสารที่ขออนุญาตเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ การอนุญาตดังกล่าวให้รวมถึงการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับด้วย การเสนอขายตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้อยู่ภายใต้บังคับของส่วนนี้ด้วย ๑๐.๑ หลักเกณฑ์การอนุญาตเพิ่มเติม ข้อ ๑ ในการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ต้องยื่นคำขออนุญาตและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่กำหนดในส่วนนี้ (๑) การเสนอขายในลักษณะ PP๑๐ (๒) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน (๓) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (๔) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๒ ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และต้องแสดงได้ว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาตมีมติโดยชัดแจ้งให้ออกตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ โดยมติดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ เว้นแต่กรณีที่เป็นการออกตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใด ที่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานเนื่องจากมีเหตุจำเป็นและสมควร (๑) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจำกัด ต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติ การออกหุ้นกู้ (๒) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ต้องได้รับมติตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชนจำกัดที่อนุมัติการออกหุ้นกู้ ข้อ ๓ ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ย ของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (๒) มีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเลื่อนหรือยกเลิกการชำระดอกเบี้ย และเลื่อนการชำระเงินต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ (ข) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผิดนัดชำระราคาหรือส่งมอบหลักทรัพย์ต่อสำนักหักบัญชีหรือต่อลูกค้า เว้นแต่การผิดนัดดังกล่าวไม่ได้เกิดจากปัญหาฐานะทางการเงินหรือการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานแล้ว (๓) ไม่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามส่วนที่ ๖ ของภาคผนวกนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และหุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีการกำหนดเงื่อนไขแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (๒) เงื่อนไขในการแปลงสภาพต้องไม่ขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติ ข้อ ๕ ในกรณีที่ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้นำหลักเกณฑ์การอนุญาตในส่วนที่ ๒ หุ้นกู้แปลงสภาพ ของภาคผนวกนี้ มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในส่วนนี้ เว้นแต่หลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกหุ้นรองรับ และการกำหนดลักษณะของผู้ขออนุญาตตามประกาศหุ้น PO ข้อ ๖ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งในส่วนของ issue rating และ issuer rating โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสำนักงาน ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ซึ่งเข้าลักษณะของ ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ข้อ ๗ การพิจารณาคำขออนุญาตของสำนักงาน ให้ดำเนินการภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ การดำเนินการของสำนักงาน ระยะเวลา ๑. การสอบทานข้อเท็จจริง และการแจ้งข้อสังเกตเพื่อให้ ผู้ขออนุญาตชี้แจง ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน ๔๕ วัน(๑) ๒. พิจารณาและแจ้งผลการพิจารณา ๓๐ วัน(๒) (๑) นับแต่วันที่สำนักงานได้รับเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสำหรับประชาชน (๒) นับแต่วันที่สำนักงานได้รับคำชี้แจงของผู้ขออนุญาตต่อข้อสังเกตของสำนักงานในการสอบทานข้อเท็จจริง ๑๐.๒ เงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต ข้อ ๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า มีคำเรียกชื่อที่บ่งชี้ลักษณะเฉพาะของตราสาร ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ระบุชื่อเรียกว่า ?ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีเงื่อนไขในการเลื่อนหรือการยกเลิกการชำระดอกเบี้ย และการเลื่อนการชำระเงินต้น? (๒) ระบุข้อความเพิ่มเติมต่อท้ายชื่อตราสารตาม (๑) เพื่อแสดงถึงคุณสมบัติและเงื่อนไข ของตราสาร เช่น ระบุปีที่ครบกำหนดไถ่ถอนหรือลักษณะในเรื่องการแปลงสภาพ เป็นต้น ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ ๖ อย่างต่อเนื่อง ตลอดอายุของตราสาร ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อกำหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กำหนด ไว้ในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถือตราสารทราบโดยไม่ชักช้าเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นไปตามเงื่อนไขในการเลื่อนหรือการยกเลิกการชำระดอกเบี้ยตามตราสาร และการเลื่อนการชำระเงินต้นตามตราสาร โดยต้องระบุรายละเอียดในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวไว้ให้ชัดเจน ในหนังสือที่แจ้ง ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินกองทุนเป็นรายเดือน ไว้บนเว็บไซต์ของผู้ได้รับอนุญาต ภายใน ๕ วันทำการแรกของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ข้อมูลที่เปิดเผย บนเว็บไซต์ต้องเป็นข้อมูลเดียวกับที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีหน้าที่นำส่งตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนของ ผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ได้รับอนุญาตเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอขายตราสารให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ออกตราสารดังกล่าวและหุ้นรองรับ (๒) จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือตราสารจะได้รับ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีหุ้นรองรับได้ (๓) ให้นำหลักเกณฑ์เงื่อนไขภายหลังการอนุญาตในส่วนที่ ๒ หุ้นกู้แปลงสภาพของภาคผนวกนี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในส่วนนี้? ข้อ ๒๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๘
(นางพรอนงค์ บุษราตระกูล)
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ที่มา: http://www.sec.or.th/