กรกฎาคม 2549
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ
กองทุนรวม/กองทุนส่วนบุคคลทุกบริษัท
ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทุกราย
ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลทุกราย
นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ที่ น.(ว) 12 /2549 เรื่อง นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ
ด้วยสำนักงานได้ออกประกาศจำนวน 1 ฉบับคือ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (“ประกาศที่ สน. 28/2549”)
เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้าใจที่ตรงกันและถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดได้อย่างถูกต้อง สำนักงานจึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นในประกาศและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. รายละเอียดของร่างประกาศสำนักงาน ได้จัดทำประกาศเกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนตามแนวทางการจัดทำ streamline ประกาศ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะมาจากประกาศที่ได้ยกเลิกไปแล้ว เพียงแต่นำมาจัดหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการอ่านและการทำความเข้าใจ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.1 เนื้อหาของประกาศแบ่งออกเป็น 2 ภาค ประกอบด้วย
(1) ประเภททรัพย์สิน ซึ่งใช้กับกองทุนทุกประเภท อันได้แก่ กองทุนรวม (“MF”) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (“PVD”) กองทุนส่วนบุคคล (“PF”)
(2) อัตราส่วนการลงทุน ซึ่งใช้กับ MF PVD และ PFรายย่อย
1.2 สาระสำคัญของประกาศที่แก้ไขเพิ่มเติมจากประกาศเดิม
ภาคที่ 1 ประเภททรัพย์สิน
(1) กรณีเฉพาะ PF ที่มิใช่ PFรายย่อยและ PVD (ข้อ 7) อนุญาตให้ทำธุรกรรมการขายชอร์ต และการยืมหลักทรัพย์ โดยการขายชอร์ตต้องปฏิบัติตามประกาศว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง และการยืมหลักทรัพย์ต้องทำกับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุน ประเภทสถาบันเท่านั้น (สำหรับกรณี MF สำนักงานอยู่ระหว่างศึกษาหลักการเพื่อเตรียมสอบถามความเห็นผู้ประกอบการต่อไป)
(2) กรณีเฉพาะ MF (ข้อ 5) อนุญาตเพิ่มให้หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นประเภทหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ (ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ PF และ PVD ลงทุนได้อยู่แล้ว)
(3) กรณี MF PVD และ PF
1. การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ structured note (ข้อ 5 และข้อ 7) กำหนดให้ MF PVD และPF ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ structured note ได้ โดยในกรณี MF PVD และPF รายย่อยสำนักงานจะกำหนดหลักเกณฑ์การลงทุนเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง และในกรณี structured note ยังเป็นตราสารที่ไม่มีสภาพคล่อง
2. การลงทุนในตราสารหนี้ (กรณี MF PVD และ PFรายย่อย (ข้อ 12 — ข้อ 14))
สำนักงานได้ปรับปรุงประเภทตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในประเทศไทยให้เป็นไปตามหนังสือเวียนที่ กลต.น.(ว) 28/2548 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2548 และ กลต.น.(ว) 37/2548 ลงวันที่ 29 กันยายน 2548 ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการ ก.ล.ต.ในการประชุมครั้งที่ 8/2548 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2548 และเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การลงทุนของ MF PVD หรือ PFรายย่อย เป็นไปอย่างเหมาะสม ภายใต้หลักการที่กำหนดให้กองทุนต้องลงทุนในตราสารที่มีคุณภาพซึ่งสามารถกำหนดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างเหมาะสม
3. การลงทุนในต่างประเทศ
(ก) กรณี MF PVD หรือ PF รายย่อยที่จัดตั้งในรูปกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (ข้อ 6) โดยลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV จะอนุญาตให้ลงทุนในประเทศได้เฉพาะตราสาร/เงินฝากระยะสั้น (ต่ำกว่า 1 ปี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงานรอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน และการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(ข) การลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน (ข้อ 17 (2)) (กรณี MF PVD PF) เพิ่มเติม
- กรณีผู้ออกเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ผู้ออกเป็นนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งไม่ได้จัดตั้งในรูปบริษัท (เดิมใช้คำว่า “บริษัทต่างประเทศ” ) โดยยังคงคุณสมบัติของตราสารที่ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ investment grade และได้รับคัดเลือกให้ใช้ในการคำนวณ benchmark bond index ที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
- กรณีตราสารหนี้ดังกล่าวมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี และได้รับ rating ใน 2 อันดับแรก ซึ่งผู้ลงทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยไม่กำหนดเงื่อนไขเรื่อง benchmark bond index เนื่องจากเป็นตราสารระยะสั้น
อนึ่ง สำนักงานขอเรียนว่า benchmark bond index ใดที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็น index ที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
1. เป็นดัชนีที่มีความน่าเชื่อถือ และองค์ประกอบของดัชนี (composition) มีการ diversified อย่างเหมาะสม
2. มีการจัดทำดัชนี โดย index provider ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และมีวิธีการจัดทำที่โปร่งใสชัดเจน และชัดเจน
3. มีการเปิดเผยข้อมูลของ index เป็นภาษาอังกฤษผ่านอินเตอร์เน็ต และต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของดัชนีได้ง่าย
(ค) การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ (ข้อ 20)
- ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีทรัพย์สินที่ลงทุนเป็นประเภทและชนิดเดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ เว้นแต่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำโดยตรง
- กรณีที่เป็นการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของ retail fund PVD หรือ PF รายย่อย หน่วยลงทุนที่จะลงทุนหรือมีไว้ได้ ต้องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็น retail fund เช่นกัน
4. การลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพ (กรณี MF PVD PF รายย่อย (ข้อ 19))อนุญาตเพิ่มเติมให้กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกัน ลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ในขณะที่ลงทุนหรือได้มา มูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีมูลค่าสูงกว่าราคาตลาดของหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น (out of the money)
(ข) กรณีที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ ให้บริษัทจัดการขายหุ้นที่ได้รับจากการแปลงสภาพนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้หุ้นดังกล่าวมา
(ค) ต้องระบุหลักเกณฑ์ตาม (ก) และ (ข) ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
เหตุผล เนื่องจากหุ้นกู้แปลงสภาพที่อยู่ในช่วง in the money จะมีการเปลี่ยนแปลงราคาคล้ายตราสารทุน ไม่มีลักษณะเป็นตราสารหนี้
5. เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการลงทุนใน warrant หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (“TSR”) และ derivative warrant (“DW”) (ข้อ 9) โดยต้องลงทุนภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio management :EPM)
(ข) บริษัทจัดการต้องดำเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุนที่มีคุณภาพซึ่งมีสภาพคล่องในจำนวนที่เพียงพอต่อมูลค่าการใช้สิทธิตามตราสารดังกล่าว (fully covered) ไว้ตลอดเวลาที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารนั้น รวมกันไม่เกิน 5 %NAV) โดยพิจารณาว่าตราสารดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทหนึ่ง จึงควรลงทุนภายใต้เงื่อนไขเหมือนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทอื่นๆ ที่กำหนดให้ต้องลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ EPM และต้องทำการ fully covered เพื่อป้องกันการ leverage
6. การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives) ของ MF PVD และPF รายย่อย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และต้องไม่ทำให้ความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(ก) หลักเกณฑ์การลงทุนใน derivatives (ข้อ 33) ต้องไม่ทำให้วัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนเบี่ยงเบนไปจากเดิม และต้องทำเพื่อวัตถุประสงค์ EPM กล่าวคือภายใต้วัตถุประสงค์
(1) เพื่อลดความเสี่ยง (2) ลดค่าใช้จ่าย หรือ (3) เพิ่มผลตอบแทนโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงแก่กองทุนอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี ในกรณีกองทุนรวมตลาดเงิน (money market fund) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ทำเพื่อลดความเสี่ยงเท่านั้น
(ข) กำหนดตัวแปรอ้างอิงของ derivatives (ข้อ 34) โดยสัญญา derivatives ต้องมีตัวแปรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- หลักทรัพย์หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์
- อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงิน สำหรับ derivatives ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นตัวแปรอ้างอิงให้ทำเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเท่านั้น
- อันดับความน่าเชื่อถือหรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชำระหนี้ของตราสารหนี้
- ทองคำ น้ำมันดิบ commodity index ทั้งนี้ กรณี commodity index ให้ระบุ ชื่อ index ไว้ในโครงการด้วย
(ค) จัดประเภทหลักทรัพย์ของ derivatives ตามสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิง (ข้อ 39)
(ง) ในกรณีที่ตัวแปรอ้างอิงเป็นดัชนี (ข้อ 35) ต้องเป็นดัชนีที่มีความน่าเชื่อถือ มีวิธีการจัดทำที่โปร่งใสชัดเจน และกองทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของดัชนีได้ง่าย
(จ) กรณี cross hedge (ข้อ 36(1)) ค่า absolute correlation ระหว่าง hedged item และ ตัวแปรของ derivative ต้องไม่น้อยกว่า 0.7
เหตุผล เพื่อให้กองทุนใช้ hedging instrument ในการป้องกันความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยง
(ฉ) ห้ามกองทุน write naked option (ข้อ 36(2)) ให้ทำได้เฉพาะ write covered call
เหตุผล การ write naked option มีความเสี่ยงสูงไม่เหมาะสมกับกองทุน ในขณะที่การ write covered call นั้นไม่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่อาจเพิ่มผลตอบแทนให้กองทุนได้
(ช) กรณีที่ derivatives ที่มีข้อกำหนดว่าอาจมีการ settle ด้วยทรัพย์สินอื่น (ข้อ 36(3)) ต้องเป็นทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้ได้
(ซ) การทำธุรกรรมใน OTC (ข้อ 36(4)) ต้องมีคู่สัญญาเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ ตัวแทนซื้อขายสัญญาล่วงหน้า หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(ฌ) ต้องจัดให้มีข้อตกลงในการทำสัญญา OTC (ข้อ 37) ให้คู่สัญญาทำการคำนวณและแจ้งมูลค่าของสัญญาทุกวันที่ 15 และวันทำการสุดท้ายของเดือน ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติให้คู่สัญญาทำการ update ราคาและแจ้งให้บริษัทจัดการทราบทันที และบริษัทจัดการต้อง unwind สัญญาได้เมื่อต้องการ เหตุผล เพื่อให้มูลค่าของสัญญาที่ใช้ในการคำนวณ NAV เป็นมูลค่าที่ถูกต้องและเหมาะสม
(ญ) การดำเนินการเมื่อได้ลงทุนใน derivatives (ข้อ 38)
- หากวัตถุประสงค์การลงทุนมิใช่เพื่อลดความเสี่ยง ต้องทำการ fully covered
- ในการ write covered call กองทุนต้องดำรงสินค้าตามสัญญาไว้ตลอดอายุของสัญญา
(ฎ) การทำ fully covered คือ การดำเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุน (ตามประเภทที่ สำนักงานกำหนด) ในมูลค่าที่เพียงพอต่อมูลค่าสุทธิที่กองทุนอาจมีภาระต้องชำระหนี้หรือชำระค่าสินค้าเมื่อสิ้นสุดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเหตุผล เพื่อจำกัดความเสี่ยงจากการ leverage
7. ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured note)
(ก) หลักเกณฑ์การลงทุนใน structured note (ข้อ 40 และ 41)
- ไม่ทำให้วัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนเบี่ยงเบน
- ไม่ทำให้กองทุนขาดทุนสูงกว่ามูลค่าเงินลงทุน
- มีการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรตาม derivatives
- มีข้อตกลงให้คู่สัญญาทำการคำนวณและแจ้งมูลค่าของสัญญาทุกวันที่ 15 และวันทำการสุดท้ายของเดือน ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติให้คู่สัญญาทำการ update ราคาและแจ้งให้ บลจ. และ ThaiBMA ทราบทันที
- ในกรณีเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือไม่ได้ ต้องมีข้อกำหนดให้ บลจ. สามารถ unwind ตราสารได้เมื่อต้องการ
(ข) กำหนดลักษณะของ structured note ที่กองทุนลงทุนได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงาน (ข้อ 42)
- หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เปลี่ยนมือได้ตามข้อ 14(3)
- เป็นตราสารที่ผู้ออกเป็นสถาบันการเงินไทย หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่ได้รับ rating ในระดับ investment grade
- เป็นตราสารที่รับประกันเงินต้น 100% ณ วันครบอายุตราสาร
- จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นหรือกลุ่มหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ตราสารหนี้หรือกลุ่มตราสารหนี้ที่กองทุนลงทุนได้ ทั้งในและต่างประเทศ
(ค) กรณีอื่นต้องขอความเห็นชอบก่อนลงทุน โดยยื่นคำขอตามรูปแบบและวิธีการดังนี้ (ข้อ 40 วรรค 2)
- โครงสร้างและรายละเอียดของตราสาร
- วัตถุประสงค์การลงทุน
- วิธีการกำหนดมูลค่ายุติธรรม
- แนวทางการบริหารความเสี่ยง
- การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุน
- การบันทึกบัญชีในงบการเงิน
8. กำหนดแนวทางดำเนินการเมื่อทรัพย์สินที่ลงทุนหรือมีไว้มีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป จนเป็นเหตุให้เป็นประเภททรัพย์สินที่กองทุนไม่สามารถลงทุนได้ (ข้อ 49) ให้บริษัทจัดการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ เหตุผล เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นกรณีที่ทรัพย์สินมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป
ภาคที่ 2 อัตราส่วนการลงทุน
การกำหนดอัตราส่วน
(1) การลงทุนในต่างประเทศ
เดิม กำหนด company limit ไม่เกิน 35% NAV
แก้ไข ไม่กำหนดอัตราส่วนการลงทุนในตราสารภาครัฐต่างประเทศที่ได้ rating อยู่ใน 2 อันดับแรก โดยกรณีกองทุนเปิดที่ไม่ใช่กองทุนแบบ auto redemption กำหนด issue size ไม่เกินร้อยละ 20 ของแต่ละ issue (ข้อ 53)
(2) การลงทุนในตราสารแห่งทุน
เดิม กำหนด company limit ไม่เกิน 5% NAV
แก้ไข กำหนด company limit หุ้นของบริษัทที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและอยู่ระหว่าง IPO เป็นไม่เกินร้อยละ 15% NAV เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาคุณสมบัติในเบื้องต้นแล้ว (ข้อ 58 (2))
(3) การลงทุนในตราสารที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน
เดิม เฉพาะ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ที่เป็น listed company จึงจะมี company limit ไม่เกิน 20% ของ NAV
แก้ไข กำหนด company limit ของ ธพ. หรือ บง. เป็นไม่เกิน 20 % NAV โดยมีข้อกำหนดสำหรับการลงทุนในตราสารแต่ละประเภทดังนี้ (ข้อ 57)
1. กรณีตราสารหนี้/เงินฝาก สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 20% NAV (bank risk)
2. กรณีตราสารทุนขึ้นกับสถานะของบริษัท (เหมือนเกณฑ์การลงทุนในตราสารทุนทั่วไป) กล่าวคือ (ก) listed company ไม่เกิน 15 %NAV และ (ข) non-listed company ไม่เกิน 5 % NAV แต่การลงทุนใน 1. และ 2. รวมกันแล้วไม่เกิน 20% NAV
(4) การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
1. การจัดตั้ง feeder fund
เดิม อนุญาตเฉพาะกรณีลงทุนต่างประเทศ
เพิ่มเติม สามารถจัดตั้ง feeder fund ได้ทั้งกรณีหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ในประเทศและหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ (ลงทุนในกองทุนอื่น (master fund)) ตั้งแต่ 80% NAV (ข้อ 77)
2. ยกเลิก ข้อกำหนดการลงทุนในกองทุนใดเกิน 50% ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนนั้น (issue size) และข้อกำหนดการลงทุนในบริษัทจัดการใดบริษัทจัดการหนึ่งไม่เกิน 30% ของกองทุนรวมหน่วยลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุนในหน่วยลงทุนให้มากขึ้น
(5) การลงทุนในหน่วยลงทุนของกอง 1 (ข้อ 63)
1. กำหนด product limit ไม่เกินร้อยละ 15 ของ NAV
2. กำหนด fund limit (กองใดกองหนึ่ง) ไม่เกินร้อยละ 15 ของ NAV
(6) การลงทุนใน structured note
1. กำหนด product limit ไม่เกิน 25% ของ NAV สำหรับกองทุนเปิด แต่ไม่รวมถึง กองทุนเปิดแบบ auto redemption หรือ interval fund ที่มีช่วงเวลาระหว่างการรับซื้อคืนยาวกว่าอายุของตราสาร (ข้อ 67)
2. กำหนด product limit ไม่เกิน 15% ของ NAV สำหรับ PVD หรือ PF รายย่อย (ข้อ 68)
(7) ข้อกำหนดของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น
เดิม การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่ได้ rating ในระดับ investment grade เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ไม่เกินร้อยละ 35 ของ NAV
แก้ไขเป็น การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน 2 อันดับแรก (high quality) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ไม่เกินร้อยละ 35 ของ NAV (ข้อ 81)
เหตุผล เพื่อให้กองทุนลงทุนในตราสารที่มีคุณภาพสูงที่สามารถคุ้มครองเงินต้นได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ข้อกำหนดในการคำนวณอัตราส่วน
(1) การคำนวณอัตราส่วนสำหรับ warrant DW และ TSR (“ตราสาร”)
1. นับมูลค่าที่ผู้ออกมีภาระต่อกองทุนใน company limit ของผู้ออกตราสาร
2. นับมูลค่า underlying x delta ใน company limit ของผู้ออก underlying
เหตุผล เพื่อจำกัด credit risk ของผู้ออกตราสาร และเพื่อจำกัด exposure ต่อผู้ออก underlying
(2) การคำนวณอัตราส่วนสำหรับ derivatives
1. นับมูลค่าที่คู่สัญญาจะต้องชำระให้กองทุนใน company limit ของคู่สัญญา
2. ในกรณีที่การลงทุนใน derivatives เป็นผลให้กองทุนมี credit risk ของผู้ออกสินค้าหรือผู้ต้องชำระหนี้ตามสินค้าอ้างอิง ให้นับมูลค่าขนาดของสัญญา (notional amount) ใน company limit ของผู้ออกสินค้าหรือผู้ต้องชำระหนี้ตามสินค้าอ้างอิง ยกเว้นกรณีสัญญาออปชันให้ใช้ notional amount x delta
เหตุผล กรณีที่กองทุนลงทุนใน derivatives แล้วได้กำไร กองทุนมีความเสี่ยงที่คู่สัญญาจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญา และการเปลี่ยนแปลงในความน่าเชื่อถือหรือผลประกอบการของผู้ออกสินค้าอ้างอิงอาจทำให้มูลค่าของ derivatives เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
(3) การคำนวณอัตราส่วนสำหรับ structured note
1. ในกรณีที่การลงทุนใน structured note เป็นผลให้กองทุนมี credit risk ของผู้ออกสินค้าหรือผู้ต้องชำระหนี้ตามสินค้า ให้คำนวณอัตราส่วนเสมือนลงทุนในสินค้านั้นโดยตรงสำหรับผู้ออกแต่ละราย
2. ในกรณีกองทุนลงทุนใน structured note ที่อาจมีการชำระหนี้เป็นทรัพย์สิน ให้กองทุนนำมูลค่าทรัพย์สินไปคำนวณอัตราส่วนในทันทีเสมือนได้ลงทุนในทรัพย์สินนั้นแล้ว
เหตุผล ผลตอบแทนของ structured note ขึ้นอยู่กับผลประกอบการหรือความน่าเชื่อถือของผู้ออกสินค้าอ้างอิง และเพื่อป้องกันการเกินอัตราส่วนเมื่อได้รับชำระทรัพย์สิน
การดำเนินการเมื่อมีเหตุที่ทำให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วน
(1) อัตราส่วนตราสารเทียบเท่าเงินฝากเฉลี่ยรอบปีบัญชีต้องไม่เกิน 45% NAV .
กรณีที่บริษัทจัดการลงทุนเกินอัตราส่วนที่กำหนด ให้บริษัทจัดการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีนั้น
(2) การเกิน company limit
1. กรณีที่เกิดจากการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ให้บริษัทจัดการดำเนินการแก้ไขอัตราส่วนภายใน 30 วันนับแต่วันแรกที่ผู้ซื้อหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR)
2. กรณีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ (จาก investment grade เป็น junk) ได้แก่ ถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ถูกปรับลด rating ให้บริษัทดำเนินการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีประกาศให้ทราบถึงเหตุดังกล่าว
3. กรณีที่เกิดจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น หรือไม่ได้เกิดจาการลงทุนเพิ่มบริษัทจัดการยังคงมีทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ โดยให้จัดทำรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ คณะกรรมการกองทุน ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ทราบภายใน 3 วันนับแต่วันที่เกินอัตราส่วน พร้อมจัดทำสำเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้บทเฉพาะกาลสำหรับกองทุนรวมเดิม
(1). กรณีที่กองทุนใดลงทุนในทรัพย์สินที่ไม่เป็นไปตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศใช้บังคับ บริษัทยังจะคงไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อกองทุนต่อไปได้ แต่หากมีการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวไปเท่าใด บริษัทอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงเท่าจำนวนที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ไม่รวมตราสารหนี้ที่กองทุนได้มาหลังวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 ซึ่งต้องจำหน่ายออกจากกองทุนภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เป็นไปตามมติคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(2) กรณีที่กองทุนใดลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเป็นไปตามประกาศที่ใช้บังคับก่อนประกาศฉบับนี้ แต่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนดในประกาศฉบับนี้ บริษัทยังจะคงไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกำหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลงหรือได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจำนวนที่เหลือ
(3) การยื่นแก้ไขเพิ่มเติมโครงการของบริษัทจัดการ
(ก) กรณีกองทุนรวมปิด หรือ กรณี PF PVD ให้บริษัทจัดการยื่นแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้
(ข) กรณีกองทุนรวมเปิดให้ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมโครงการภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ยกเว้นกรณีกองทุนรวมเปิดดังกล่าวจะครบอายุโครงการภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการไม่จำเป็นต้องยื่นแก้ไขเพิ่มเติมโครงการแต่อย่างใด
(ค) กรณีกองทุนที่จัดตั้งแล้วแต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการยื่นแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ต่อสำนักงาน ก่อน IPO
(ง) กรณีกองทุนยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสำนักงาน แต่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ต่อสำนักงานภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสำนักงาน แต่ต้องไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยกเว้นกรณีกองทุนรวมดังกล่าวจะครบอายุโครงการภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการไม่จำเป็นต้องยื่นแก้ไขเพิ่มเติมโครงการแต่อย่างใด
4. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแก้ไขประกาศและประเด็นซักซ้อมความเข้าใจ มีดังนี้
4.1 ผลกระทบ
(1) กองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (ลงทุนไม่ต่ำกว่า 80% ของ NAV) ประกาศกำหนดให้ลงทุนในตราสารที่เสนอขายในประเทศไทยได้เฉพาะตราสารหนี้หรือเงินฝากที่อายุคงเหลือหรือระยะเวลาการฝากเงินต่ำกว่า 1 ปี และต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงานรอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุนเท่านั้น
แนวทางแก้ไข
บริษัทจัดการต้องปฏิบัติเรื่องการลงทุนให้เป็นไปตามประกาศใหม่ตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ดี กรณีที่ลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ก่อนประกาศใหม่มีผลใช้บังคับ กองทุนยังจะคงไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวต่อไปได้ แต่หากมีการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวไปเท่าใด บริษัทอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจำนวนที่เหลืออยู่เท่านั้น
(2) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ประกาศกำหนดให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน 2 อันดับแรก (high quality) (เดิมเป็น investment grade) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ไม่เกินร้อยละ 35 ของ NAV
แนวทางแก้ไข บริษัทจัดการต้องปฏิบัติเรื่องการลงทุนให้เป็นไปตามประกาศใหม่ตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ดี กรณีที่ลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ก่อนประกาศใหม่มีผลใช้บังคับ กองทุนยังจะคงไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวต่อไปได้ แต่หากมีการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวไปเท่าใด บริษัทอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจำนวนที่เหลืออยู่เท่านั้น
(3) การลงทุนใน derivatives และ structured note
แนวทางแก้ไข สำหรับกองทุนที่มิได้ระบุในโครงการเกี่ยวกับการลงทุนใน derivatives และ structured note หากบริษัทจัดการประสงค์จะลงทุน บริษัทจัดการต้องแก้ไขโครงการโดยการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน หรือขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ไม่สามารถใช้ fast track ได้ ซึ่งสำนักงานจะพิจารณาและให้ความเห็นชอบที่มีผลใช้บังคับไปข้างหน้า และอาจกำหนดให้ผู้ถือหน่วยที่ได้รับผลกระทบสามารถออกจากกองทุนโดย exit without fee ได้ อย่างไรก็ดี กรณีเป็นกองทุนปิด หรือกองทุนประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถออกจากกองทุนได้เอง หากบริษัทจัดการประสงค์จะลงทุน ต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยเท่านั้น
(4) ประเภทหลักทรัพย์และอัตราส่วนใหม่
แนวทางแก้ไข
(ยังมีต่อ)