(ต่อ2) แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday March 8, 2006 13:29 —ประกาศ ก.ล.ต.

          (ก.6) อัตราจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ 
(ก.7) เหตุผลกรณีไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ
(ก.8) งวดสุดท้ายที่นำส่งเงิน
(ก.9) วิธีการจ่ายเงิน ซึ่งควรเป็นไปตามข้อบังคับกองทุน
(ข) มีการตรวจสอบลายมือชื่อกรรมการกองทุนในหนังสือแจ้งการสิ้น
สมาชิกภาพจากคณะกรรมการกองทุนเทียบกับแบบลายมือชื่อที่คณะกรรมการกองทุนได้ให้ไว้กับ
บริษัทจัดการว่ามีอำนาจลงนามหรือไม่ทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นกรรมการที่แจ้งสิ้นสมาชิกภาพเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
(ค) ปรับปรุงข้อบังคับให้เป็นปัจจุบัน และควรจัดเก็บข้อบังคับ และเอกสาร
ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินให้แก่สมาชิก
(2) การคำนวณจำนวนเงินที่จะจ่ายให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ
(ก) ตรวจสอบข้อมูลประกอบการคำนวณจ่ายเงินให้ถูกต้องครบถ้วน
ตามหลักเกณฑ์ที่ข้อบังคับกองทุนกำหนด หากมีข้อสงสัยในข้อมูลหรือหลักเกณฑ์ที่ข้อบังคับกองทุนกำหนดแม้เพียงประเด็นเล็กน้อย บริษัทจัดการควรสอบถามคณะกรรมการกองทุนทันทีเพื่อให้ได้ความชัดเจน
(ข) กรณีมีการตรวจพบว่าการจ่ายเงินไม่ถูกต้อง ให้เร่งดำเนินการแก้ไข ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนดหรือข้อตกลงใด ๆ ระหว่างคณะกรรมการกองทุนกับบริษัทจัดการ และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
(3) การควบคุมให้มีการจ่ายเงินภายใน 30 วันนับแต่วันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ โดยบริษัทจัดการบันทึกรายละเอียดการนำส่งเอกสารการจ่ายเงินให้คณะกรรมการกองทุนภายในวันที่มีการนำส่งเอกสารดังกล่าว ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วย ชื่อและรหัสสมาชิก เลขที่เอกสารการจ่ายเงิน จำนวนเงิน วันที่ในเอกสารการจ่ายเงิน เพื่อสามารถตรวจสอบว่าได้จ่ายเงินอย่างถูกต้องให้กับสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ รวมทั้งมีหลักฐานที่สามารถยืนยันว่าบริษัทจัดการนำส่งเอกสารการจ่ายเงินให้คณะกรรมการกองทุนแล้ว
(4) การควบคุมการรับเงินของสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์
(ก) มีการตรวจสอบการรับเงินของสมาชิก/ผู้รับประโยชน์ เพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว กรณีบริษัทจัดการมีการจ่ายเป็นเช็คควรมีการ Reconcile บัญชีเช็คอย่างน้อยเดือนละครั้ง และให้เสร็จสิ้นภายในเดือนถัดไป
(ข) มีทะเบียนคุมเช็คคงค้าง เพื่อสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่ยังไม่ได้ขึ้นเงิน
2. จัดให้มีระบบบัญชีกองทุน อันได้แก่
1.1 ระบบการคำนวณมูลค่าต่อหน่วยและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และ
1.2 ระบบการจัดทำบัญชีทรัพย์สินเพื่อแสดงรายการและจำนวนทรัพย์สินของกองทุน ตลอดจนการบันทึกรายการรับหรือจ่ายทรัพย์สินของกองทุน และการจัดทำงบการเงิน
3.4 ระบบการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance function)
วัตถุประสงค์
บริษัทจัดการต้องมีระบบในการควบคุมดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการจัดการลงทุน และงานที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประกาศ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีการกำหนดแผนการตรวจสอบประจำปี วิธีการในการควบคุมดูแลและตรวจสอบอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีความเป็นอิสระ มีการกำหนดขั้นตอน วิธีการและระยะเวลาอย่างชัดเจนในการรายงานผลการตรวจสอบไปยังคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท เช่น Audit Committee โดยตรง เพื่อให้เป็นไปตามหลักการ check and balance ที่ดี รวมทั้งมีหลักเกณฑ์และวิธีการในการป้องกันข้อผิดพลาดจากการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประกาศ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
แนวทางปฏิบัติ
1. จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงาน โดยมีการจัดทำให้เป็นปัจจุบัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวควรมีการสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และถือปฏิบัติโดยไม่ชักช้า
2. จัดให้มีแผนการตรวจสอบ (Audit plan) ประจำปี โดยควรจะระบุผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาในการตรวจสอบอย่างชัดเจนว่าเมื่อไร และอย่างไร เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกไตรมาส เป็นต้น
3. มีการกำกับดูแลและการตรวจสอบที่ครอบคลุมในเรื่องต่างๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
3.1 การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนงานของบริษัท
3.2 การเสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการ / ความคาดหวัง ข้อจำกัด และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของลูกค้า
3.3 การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (Retail fund)
3.4 การรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนให้อยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
3.5 การระบุและตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า และการรายงานธุรกรรมที่ต้องสงสัยตามแนวปฏิบัติของสำนักงานเกี่ยวกับการจัดระบบงานบริหารความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงิน
3.6 การลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน อัตราส่วนการลงทุน ตามที่กำหนดในโครงการ สัญญาการจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งตามที่กฎหมายกำหนด
3.7 การบริหารความเสี่ยงในการตัดสินใจลงทุน (Portfolio Management Risk)
3.8 การดำรงสภาพคล่องของกองทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการรับซื้อคืนของกองทุน/การสิ้นสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.9 การลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้แก่
(1) การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (Proprietary trading)
(2) การทำธุรกรรมเพื่อกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Affiliated transactions)
(3) การซื้อขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของพนักงานของบริษัทจัดการ (Staff dealing)
(4) การรับผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทนายหน้า (Soft commissions)
3.10 การวิเคราะห์หลักทรัพย์ และการตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์
3.11 การส่งคำสั่งซื้อขาย และการจัดสรรหลักทรัพย์ระหว่างกองทุน
3.12 การจัดทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์
3.13 การคำนวณมูลค่ายุติธรรมของตราสาร และการประกาศ NAV
3.14 การบันทึกบัญชีการทำรายการธุรกรรมต่างๆ ของกองทุน และการค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
3.15 การแก้ไขโครงการ และตรวจสอบความถูกต้องในกรณีที่ต้องขอมติจากถือหน่วย
3.16 การใช้สิทธิออกเสียงเพื่อกองทุน (Proxy voting)
3.17 การมอบหมายงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการจัดการลงทุนให้ผู้อื่น
3.18 การควบคุมดูแลให้ผู้จัดการกองทุนปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
3.19 การจัดทำและจัดส่งรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง
4 มีหลักเกณฑ์ และวิธีการในการป้องกันและแก้ไขข้อผิดพลาด การทุจริต ฉ้อฉล หลอกลวงผู้ลงทุน รวมถึงการปกป้องสิทธิประโยชน์ของลูกค้า
5 จัดทำรายงานการดูแลการปฏิบัติงานประจำปี (Annual compliance report) และข้อเสนอแนะต่อฝ่ายบริหารและคณะกรรมการบริษัท โดยรายงานดังกล่าวควรครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
5.1 เรื่องที่ตรวจสอบ
5.2 วิธีการในการตรวจสอบ
5.3 ระยะเวลาที่ตรวจสอบ
5.4 ผลการตรวจสอบ
5.5 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
5.6 การป้องกันปัญหาการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายและประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ
6 รายงานการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ตลอดจนจรรยาบรรณในการ จัดการลงทุน ซึ่งมีความร้ายแรงและมีผลกระทบต่อชื่อเสียง และการดำเนินงานของบริษัทจัดการให้สำนักงานโดยเร็ว
7 ผู้ทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติงานดังกล่าวมีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดโทษผู้ที่กระทำผิด
8 มีศูนย์กลางในการศึกษา รวบรวมระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นที่ปรึกษาด้านกฎระเบียบต่างๆ
9 จัดให้มีการอบรมพนักงานให้รับทราบ และเข้าใจถึงจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
10 มีศูนย์กลางในการรับเรื่องร้องเรียน การติดตามแก้ไขเรื่องร้องเรียน และการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ
3.5 ระบบการจัดทำและจัดเก็บเอกสารหลักฐาน
วัตถุประสงค์
บริษัทจัดการต้องมีระบบในการจัดทำหรือบันทึกข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบว่าการประกอบธุรกิจจัดการลงทุนมีการปฏิบัติที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องและข้อผูกพันตามรายละเอียดของโครงการหรือสัญญามอบหมายการจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งมีหลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นว่ามีการจัดเก็บรักษาข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างปลอดภัย โดยสามารถเรียกใช้ได้โดยสะดวก
แนวทางปฏิบัติ
1. มีการจัดทำหรือบันทึกข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของ
กองทุน/ลูกค้าอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยควรจัดทำเอกสารอย่างน้อยครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การเปิดบัญชีลูกค้า/การทำสัญญาการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยเป็นการจัดทำ
ข้อมูลเพื่อทำความรู้จักลูกค้า(Know Your Customer) และการตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่ง
รวมทั้งการแก้ไข/ปรับปรุงข้อมูลลูกค้าให้เป็นปัจจุบันด้วย โดยการจัดทำและเก็บเอกสารหลักฐานกรณี
ดังกล่าวควรให้มีความสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสำนักงานเกี่ยวกับการจัดระบบงานบริหารความเสี่ยง
ในการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงิน
(2) การให้คำแนะนำ/การเสนอนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับวัตุประสงค์การลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ (Suitability)
(3) การรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน/การเพิ่มลดเงินทุนของกองทุนส่วนบุคคล
(4) การดูแลรักษาทรัพย์สินของกองทุน
(5) การวิเคราะห์หลักทรัพย์สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน รวมทั้งเหตุผลการ
ลงทุน
(6) การส่งคำสั่งซื้อขายและใบยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์ ทรัพย์สิน และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลการซื้อขายที่มีลายเซ็นผู้มีอำนาจในการแก้ไขหรือปรับปรุง ตรวจสอบความถูกต้องก่อนและหลังการแก้ไข
(7) การจัดสรรหลักทรัพย์ ทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กองทุนทั้งก่อนและ
หลังการส่งคำสั่ง
(8) การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายของแต่ละกองทุน
รวมทั้งการกระทบยอดกับผู้ดูแลผลประโยชน์/ผู้รับฝากทรัพย์สิน
(9) การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน/ลูกค้า (NAV) มูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วย ราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน รวมทั้งการจัดทำบันทึกในกรณีเกิด incorrect pricing
(10) การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อแก้ไขโครงการเพิ่มเติม และการขอความเห็นชอบจากลูกค้ากรณีที่เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกองทุนส่วนบุคคล
(11) การจ่ายเงินปันผล
(12) การคำนวณผลการดำเนินงานของกองทุน
(13) การไปใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองทุน (Proxy voting)
(14) ข้อผูกพันหรือข้อสัญญาระหว่างกองทุนและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การมอบหมายการจัดการ
(15) การกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ การจัดทำข้อมูลที่กล่าวข้างต้นควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยหมายรวมถึง ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผ่านการสอบทานและรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมที่รับผิดชอบด้วย
2. มีการจัดเก็บเอกสารของลูกค้าที่ง่ายต่อการค้นหาเมื่อต้องการใช้ มีความปลอดภัยจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง มีการควบคุมการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเอกสาร และอยู่ในสถานที่ที่ผู้ใช้งาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกใช้งานได้โดยเร็ว ในกรณีที่มีการจัดเก็บในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีระบบสำรองข้อมูล (Back up) รวมทั้งมีมาตรการรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้การดำเนินงานหยุดชะงักเกินสมควร
3. การจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในรูปเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เก็บรักษาให้ครบถ้วนอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการทำรายการหรือธุรกรรมตามข้อ 1 โดยข้อมูลและเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการรับลูกค้า ให้ยังคงจัดเก็บไว้อีกไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังจากวันที่กองทุน/ลูกค้าปิดบัญชี
หมวดที่ 4
ระบบการควบคุมภายใน
______________________________
บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เน้นให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีการบริหารความเสี่ยง การกำหนดเป้าหมายและภารกิจในการตรวจสอบภายในรวมทั้งการสอบทานอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจัดการต้องมีอำนาจที่จะดำเนินการในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของบริษัท เพื่อทำให้บรรลุตามภารกิจและวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยพิจารณาถึง
องค์ประกอบอย่างน้อยดังต่อไปนี้
4.1 สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)
วัตถุประสงค์
ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมีการจัดกระบวนการบริหารให้เกิดบรรยากาศของการควบคุม และสร้างจิตสำนึกที่ดีในการควบคุม และการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่พนักงานทุกคน รวมทั้งการสร้างระบบข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายขององค์กรอย่างเพียงพอและชัดเจนซึ่งรวมถึงการจัดให้มีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
แนวทางปฏิบัติ
1. มีการจัดโครงสร้างองค์กร (Organization Structure) ที่เหมาะสมกับลักษณะของ บริษัทจัดการ ที่ทำให้ผู้บริหารสามารถวางแผนงาน สั่งการ และควบคุมการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
2. มีการระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน รวมถึงการให้พนักงานแต่ละคนทราบถึงบทบาทอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และตระหนักถึงหน้าที่รับผิดชอบของตนต่อการควบคุมภายใน
3. มีการกำหนดวิธีการมอบอำนาจในการปฏิบัติงาน (Assignment of Authority and Responsibility) การกำหนดวิธีการรายงาน และอำนาจในการอนุมัติ ซึ่งควรมอบในระดับที่ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความคิดริเริ่ม หรือสามารถแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน
4. มีการส่งเสริมให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ และเป็นไปตามมาตรฐานของการปฏิบัติงาน
4.2 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
วัตถุประสงค์
บริษัทจัดการต้องให้ความสำคัญในการบริหารและจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยง (Risk management) ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของบริษัทเพื่อระบุประเด็น และกำหนดแนวทางการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในระดับที่ยอมรับได้ โดยจัดให้มีผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ
จากผู้ปฏิบัติงาน (Risk taker) และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
แนวทางปฏิบัติ
1. การกำหนดนโยบายในการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่ได้รับความเห็นชอบจาก
ผู้บริหารระดับสูง ควรมีลักษณะดังนี้
(1) มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ขนาด และความซับซ้อนทางการประกอบธุรกิจ
(2) การทบทวนและปรับปรุงให้เห็นเป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับภาวะตลาดและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจเป็นระยะ
(3) นโยบายดังกล่าวอย่างน้อยควรครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การระบุความเสี่ยง (Risk identification)
(ข) การประเมินความเสี่ยง (Risk evaluation) ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
- โอกาสหรือความถี่ที่จะละเมิดความเสี่ยง
- ความมีนัยสำคัญหรือผลกระทบ
(ค) การกำหนดเครื่องมือและมาตรการในการบริการและจัดสรรกับความเสี่ยง
(ง) ประเมินประสิทธิภาพในการบริหารและควบคุมความเสี่ยง
2. ในการบริหารและควบคุมความเสี่ยงเกี่ยวกับการจัดการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบาย
ดังกล่าวควรจัดให้มี
2.1 การป้องกันความเสี่ยงด้านราคา (Market risk) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการ
เคลื่อนไหวของราคาที่อาจทำให้เกิดผลกำไรหรือขาดทุนจากการลงทุนได้ โดย
(1) การระบุความเสี่ยง
มีการกำหนดประเด็นปัญหาและสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ทรัพย์สิน หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ผิดไปจากสภาพปกติ
(2) การประเมินความเสี่ยง
มีการกำหนดรูปแบบและวิธีการที่ใช้วัดค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น Value at Risk (VaR) ซึ่งควรมีการทดสอบ model validity อย่างสม่ำเสมอ และการทำ back testing รวมทั้งมีการกำหนด market risk limit ที่ยอมรับได้ตามประเภทของตราสารที่ลงทุน เช่น
ตราสารทุน : beta limit, loss control limit, VaR limit
ตราสารหนี้ : duration limit
(3) การติดตาม
(ก) มีระบบการติดตามการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดไปจากสภาพปกติ
(ข) มีการทดสอบความถูกต้องของ Model ที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
(ค) มีการทำ scenario/sensitivity analysis และ stress test ในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวควรจะพิจารณาถึงภาวะตลาดและความผันผวนของตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วย
2.2 การป้องกันความเสี่ยงของผู้ออกตราสาร/คู่สัญญา (Credit risk) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ออกตราสาร/คู่สัญญา ไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพัน โดย
(1) การระบุความเสี่ยง
มีการกำหนดประเด็นปัญหาและสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน และความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร/คู่สัญญา
(2) การประเมินความเสี่ยง
(ก) มีการกำหนดรูปแบบและวิธีการที่ใช้วัดค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งควรมีการทดสอบ Model validity อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดค่าความเสี่ยงที่กองทุนจะสามารถรับได้ และการกำหนดการกระจุกตัวของผู้ออกตราสาร/คู่สัญญารายใดรายหนึ่ง
(ข) มีการพิจารณากำหนด Credit rating ขั้นต่ำในการลงทุน
(3) การติดตาม
(ก) มีระบบการทบทวนเครดิตของผู้ออกตราสาร/คู่สัญญา โดยการตรวจสอบฐานะทางการเงินและความน่าเชื่อถือ
(ข) มีแนวทางการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงในกรณีผู้ออกตราสาร/คู่สัญญา
ไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันได้
2.3 การป้องกันความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity risk) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจาก
กองทุนไม่สามารถดำรงสภาพคล่องให้เพียงพอต่อการไถ่ถอนหน่วยลงทุน รวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่กองทุนไม่สามารถขายหลักทรัพย์ หรือเลิกสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ในราคาตลาด เนื่องจากการ
ขาดสภาพคล่อง หรือการเกิดวิกฤตการณ์ใด ๆ โดย
(1) การระบุความเสี่ยง มีการกำหนดประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง
(2) การประเมินความเสี่ยง มีการศึกษาพฤติกรรมในการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของ
กองทุน เพื่อนำไปประมาณการกระแสเงินสดเข้าออกจากกองทุน เพื่อกำหนดตัวเลข X% ที่กองทุนควรสำรองเงินสดเผื่อการไถ่ถอนหน่วยลงทุน
(3) การติดตามความเสี่ยง มีระบบการกำกับควบคุมสำหรับติดตามการดำรง
สภาพคล่อง
2.4 การป้องกันความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational risk) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่
เกิดจากความผิดพลาดของบุคลากร (Human error) หรือระบบงานและการควบคุมการปฏิบัติงานไม่รัดกุมเพียงพอ ตลอดจนความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเสียหายจนทำให้บริษัทจัดการไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ โดย
(1) การระบุความเสี่ยง มีการกำหนดประเด็นปัญหา และสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากร และความเพียงพอของระบบงาน ระบบฐานข้อมูล และระบบการควบคุมภายใน
(2) การประเมินความเสี่ยง มีการกำหนดรูปแบบและวิธีการในการประเมินอย่าง
ต่อเนื่องด้วยการพิจารณาจุดควบคุมภายในต่าง ๆ ในขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(3) การติดตาม
(ก) มีการกำหนดแผนการสุ่มตรวจสอบการปฏิบัติงาน ระบบงาน และการควบคุมภายในที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกเรื่อง
(ข) มีการกำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การแยกส่วนงานระหว่างสายงานการปฏิบัติการและสายงานจัดการลงทุน การสอบทานและสอบยัน
ข้อมูล เป็นต้น
(ค) มีการจัดทำแผนฉุกเฉินรองรับในแต่ละด้านตามความจำเป็นและสมควร
2.5 การป้องกันความเสี่ยงด้านกฎหมาย (Legal risk) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ตลอดจนความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทจัดการ (Reputation risk)
4.3 กิจกรรมควบคุม (Control Activities)
วัตถุประสงค์
บริษัทจัดการต้องกำหนดกิจกรรมสนับสนุนการปฏิบัติงานในทุกกิจกรรมให้เป็นไปตามนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน และนโยบายต่างๆ ขององค์กร เช่น การฝึกอบรม การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
การสอบทานการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นตามความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้
แนวทางปฏิบัติ
1. มีการกำหนดกิจกรรมการควบคุมความเสี่ยง หรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น และหา
วิธีการแก้ไข หรือป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น การให้ความเห็นชอบ การสอบทานการปฏิบัติหน้าที่
การรักษาความปลอดภัย และการควบคุมระบบสารสนเทศ เป็นต้น ซึ่งอาจกำหนดลักษณะของการ
ควบคุมใน 4 ลักษณะอย่างน้อย ดังนี้
1) การควบคุมแบบป้องกัน (Preventive Control) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงและ
ข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก เช่น การมีระบบในการเตือน (Early warning) เพื่อให้การลงทุนเป็นไปตาม
อัตราส่วนการลงทุนของแต่ละโครงการ
2) การควบคุมแบบค้นพบ (Detective Control) เพื่อสืบหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การมีระบบการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
3) การควบคุมแบบแก้ไข (Corrective Control) เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
หรือหาวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก เช่น มีการตรวจสอบหาสาเหตุของระบบงานที่มี
ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และในกรณีที่พบว่าเกิดจากผู้ปฏิบัติงานเข้าใจผิด ควรจะมีการอบรมให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง
4) การควบคุมแบบส่งเสริม โดยการให้คำแนะนำล่วงหน้า (Directive Control) เพื่อ
ส่งเสริม หรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น การจัดทำ Fund mandate ของ
กองทุนที่มีการจัดตั้งใหม่ เพื่อสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจลักษณะของแต่ละกองทุน เช่น นโยบาย
วัตถุประสงค์ อัตราส่วนการลงทุน เป็นต้น
2. มีการกำหนดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการ
สอบยันความถูกต้องระหว่างกัน (Checks and Balances) เช่น กำหนดบุคลากรตั้งแต่ 2 คน หรือมากกว่าปฏิบัติงานหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยวิธีการต่าง ๆ โดยให้แต่ละคนแบ่งแยกหน้าที่กันอย่างเหมาะสมที่สุด
4.4 สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)
วัตถุประสงค์
บริษัทจัดการต้องมีระบบการรับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทั้งที่เป็น
สารสนเทศจากแหล่งภายในและแหล่งภายนอก และมีระบบการสื่อสารขององค์กรที่จะสร้างความ
เข้าใจที่ตรงกันของบุคลากรที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในงานที่สัมพันธ์กัน
แนวทางปฏิบัติ
1. มีระบบสารสนเทศที่มีลักษณะ ดังนี้
1.1 มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีเนื้อหาสาระที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจ
1.2 มีความถูกต้องสมบูรณ์ โดยมีความถูกต้องของข้อเท็จจริง และมีรายละเอียดที่จำเป็นครบถ้วน
1.3 มีความเป็นปัจจุบัน ที่ให้ข้อเท็จจริงที่มีความทันต่อเหตุการณ์
1.4 มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
1.5 มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล และมีระบบการรักษาความปลอดภัยจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
2. มีช่องทางการสื่อสารที่เพียงพอ และสามารถเข้าถึงผู้ปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึงเพื่อให้
(ยังมีต่อ)

แท็ก ลายมือ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ