การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday September 13, 2006 15:10 —ประกาศ ก.ล.ต.

                              ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ สน. 28/2549
เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน
_______________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 16 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อ 18(6) และข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 30/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
(1) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับกองทุนต่าง ๆ มีดังนี้
(ก) “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล
(ข) “กองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุล
เงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่
ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks
(EMEAP)
(ค) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัด
ตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ง) “กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์
หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนรายย่อยต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท
(2) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับตราสาร มีดังนี้
(ก) “หุ้น” หมายความว่า หุ้นของบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ มิ
ให้หมายความรวมถึงหุ้นของบริษัทจัดการลงทุนต่างประเทศ (foreign investment company) ที่มีการดำเนิน
การในลักษณะของโครงการลงทุนแบบกลุ่ม (collective investment scheme)
(ข) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ระยะสั้นตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(3) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับกิจการ มีดังนี้
(ก) “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ข) “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ค) “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทำการซื้อขาย
ได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(จ) “นิติบุคคลต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและเป็นภาคเอกชน
(ฉ) “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นของบริษัทจัดการหรือของนายจ้างตั้งแต่ร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่
จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการหรือของนายจ้าง และบริษัทที่บริษัทจัดการหรือนายจ้างถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบ
ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น แล้วแต่กรณี
(ช) “สถาบันการเงินตามกฎหมายไทย” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ
สถาบันการเงิน
(4) บทนิยามที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มีดังนี้
(ก) “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตัวตราสาร ที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา หรือที่ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน แล้วแต่กรณี ครั้งล่าสุด โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน เว้นแต่ข้อกำหนดในประกาศนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ตัวตราสาร ที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา
หรือที่บุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่
ข้อกำหนดในประกาศนี้กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง
(ข) “อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(ค) “อันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)” หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน กำหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้
(5) บทนิยามเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured note) มีดังนี้
(ก) “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio management)” หมายความว่า การ
ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. การลดความเสี่ยง (hedging)
2. การลดค่าใช้จ่าย
3. การเพิ่มรายได้ของกองทุนโดยไม่มีความเสี่ยง หรือหากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็ก
น้อย
(ข) “การลดความเสี่ยง (hedging)” หมายความว่า การลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองทุนลง
ทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นด้วยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่
โอนสิทธิได้ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือด้วยการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี
(ค) “ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์” หมายความว่า ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ
(ง) “ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารหรือสัญญาดังต่อไปนี้
1. ตราสารทางการเงินหรือสัญญาที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง หรือ
2. หุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการ
อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ เว้นแต่ในข้อกำหนดในประกาศนี้จะแสดงให้เห็นว่าไม่รวมถึง
หุ้นกู้อนุพันธ์
(จ) “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตาม
กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็น
ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
(recognized exchange)
(ฉ) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ
สัญญาอื่นในทำนองเดียวกัน
(ช) “ค่าเดลต้า” หมายความว่า อัตราเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหรือสัญญา กับราคาสินค้าหรือตัว
แปรของตราสารหรือสัญญา แล้วแต่กรณี
(6) บทนิยามอื่น ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรม มีดังนี้
(ก) “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อส่งมอบ
(ข) “การรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น” หมายความว่า การรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่า
ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขหรือ
ระยะเวลาที่ประกาศนั้นกำหนด
(ค) “คำเสนอซื้อ” หมายความว่า คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
(7) “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 3 การจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์เฉพาะจากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินที่กำหนดไว้ในภาค 1 ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนตามที่กำหนดไว้ในภาค 2 เว้นแต่เป็นกรณีที่อยู่ภายใต้บทเฉพาะกาลตามภาค 3 ได้
ภาค 1
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน
หมวด 1
บททั่วไป
ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามประเภทที่กำหนดในหมวด 2 ทั้งนี้ ตามลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุนที่กำหนดในหมวด 3
(2) เปิดเผยข้อมูลการลงทุนตามหมวด 4
(3) เมื่อมีเหตุที่ทำให้ทรัพย์สินที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ขาดคุณสมบัติที่จะลงทุนหรือมีไว้ได้ต่อไป ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหมวด 5
หมวด 2
ข้อกำหนดประเภททรัพย์สินตามลักษณะของกองทุน
ข้อ 5 ในกรณีของกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้กองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับข้อ 6 ด้วย
(1) ตราสารแห่งทุนตามส่วนที่ 1 ของหมวด 3
(2) ตราสารแห่งหนี้ตามส่วนที่ 2 ของหมวด 3
(3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามส่วนที่ 3 ของหมวด 3
(4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ของหมวด 3
(5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(6) เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสดตามส่วนที่ 5 ของหมวด 3
(7) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 6 ของหมวด 3
(8) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 9 ของหมวด 3
(9) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 10 ของหมวด 3
(10) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (1) ถึง (9) โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
ในกรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลงทุนหรือได้มาซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตาม (5) ได้
ข้อ 6 ในกรณีที่กองทุนเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าว การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุนดังกล่าวต้องเป็นการลงทุนในต่างประเทศ(offshore investment) เป็นหลักไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยประเทศเหล่านั้นต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นการลงทุนในประเทศ (onshore investment) ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 12 หรือเงินฝากตามข้อ 21(1) ที่มีอายุของตราสารหรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี ต่ำกว่าหนึ่งปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
(2) เข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 9 ข้อ 36(4) และข้อ 37
(3) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (1) หรือ (2) โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
บริษัทจัดการอาจนับมูลค่าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตาม (2) รวมในอัตราส่วนของการลงทุนในต่างประเทศ (offshore investment) ตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งด้วยได้
ข้อ 7 ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์ ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ทุกประเภท ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 10
(3) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17
(4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามส่วนที่ 4 ของหมวด 3
(5) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินสดตามส่วนที่ 5 ของหมวด 3
(6) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase agreement) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 7 ของหมวด 3
(7) ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีของธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์ ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันเท่านั้น และในกรณีของธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวด 3
(8) การขายชอร์ต ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง โดยอนุโลม
(9) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกลักษณะ ทั้งนี้ การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 36 (4) ด้วย
(10) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงทุกประเภท
(11) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (1) ถึง (10) โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
หมวด 3
ข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสาร
และหลักเกณฑ์การลงทุน
ส่วนที่ 1
ตราสารแห่งทุน
ข้อ 8 ตราสารแห่งทุน ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาดังต่อไปนี้
(1) ตราสารแห่งทุนในประเทศตามข้อ 9
(2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 10
ข้อ 9 ตราสารแห่งทุนในประเทศ ได้แก่ ตราสาร หรือสัญญา ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้
(1) หุ้น
(2) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสาร
แห่งทุน หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น
(3) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) การลงทุนในตราสารดังกล่าวต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio
management)
(ข) บริษัทจัดการต้องดำเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุนที่มีคุณภาพซึ่งมีสภาพคล่องในจำนวนที่เพียงพอต่อ
มูลค่าการใช้สิทธิตามตราสารดังกล่าว (fully covered) ไว้ตลอดเวลาที่ได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารนั้น ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
(4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(5) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็นหลักทรัพย์ตาม (1)(2)(3) หรือ (4) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวดนี้
ข้อ 10 ตราสารแห่งทุนต่างประเทศ ได้แก่ หุ้นหรือหน่วยลงทุนที่เสนอขายในต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
(2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุน หรือที่เป็นกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ด้วย
ส่วนที่ 2
ตราสารแห่งหนี้
ข้อ 11 ตราสารแห่งหนี้ ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาดังต่อไปนี้
(1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 12
(2) ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17
(3) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีข้อกำหนดให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 10 ของหมวดนี้
ข้อ 12 ตราสารแห่งหนี้ในประเทศ ได้แก่ หลักทรัพย์ ตราสาร หรือสัญญาที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากตามข้อ 13
(2) ตราสารแห่งหนี้ทั่วไปตามข้อ 14
ข้อ 13 ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ได้แก่
(1) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก หรือหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน
(2) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เป็นผู้ออก ซึ่งกำหนดวันใช้เงินตามตั๋วไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันออกตั๋ว และเป็นตั๋วเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
(3) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินอายุไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออก ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับแรก ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นอันดับความน่าเชื่อถือของ
ผู้ออกตราสาร ต้องเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้มาจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น (short-term
rating) ด้วย หรือ
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้
(investment grade) ทั้งนี้ โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ
Standard & Poor หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันอื่นที่สำนักงานกำหนดเพิ่มเติม
ข้อ 14 ตราสารแห่งหนี้ทั่วไป ได้แก่
(1) ตราสารภาครัฐไทย อันได้แก่
(ก) ตั๋วเงินคลัง
(ข) พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ค) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน
(2) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ อันได้แก่ ตราสารที่มีรูปแบบทำนองเดียวกับตราสารภาครัฐไทยที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวต้องมีลักษณะตามข้อ 15 ด้วย
(3) ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ ซึ่งหมายถึง พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ที่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์ ที่สำนักงานอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะทั่วไปหรือในลักษณะจำกัด หรือที่ออกภายใต้ข้อผูกพันที่กำหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง หรือที่นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก หรือที่เป็นหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นทั้งหมดต่อผู้ถือหุ้นโดยได้รับชำระราคาเต็มมูลค่าที่เสนอขายจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ต้องมีลักษณะตามข้อ 15 ด้วย
(4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร หรือหุ้นกู้ที่ไม่ใช่หุ้นกู้อนุพันธ์
(5) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่เสนอขายในต่างประเทศโดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นกู้อนุพันธ์
(6) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่สำนักงานกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น
(7) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 7 ของหมวดนี้
(8) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็นตราสารแห่งหนี้ตาม(1)(2)(3) (4) หรือ (6) หรือข้อ 13 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 8 ของหมวดนี้
ข้อ 15 ตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 14(2) และตราสารที่เปลี่ยนมือได้ตามข้อ 14(3) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นตราสารขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(2) มีราคาที่เหมาะสมตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกำหนด หรือมีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอราคาซื้อและรับซื้อตราสารนั้น ในราคาดังกล่าว (bid price แบบ firm quote) ตามจำนวนและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกำหนดอยู่เสมอ โดยได้ส่งสำเนาราคาแก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตลอดอายุของตราสารนั้น และ
(3) เป็นตราสารที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นตราสารภาครัฐต่างประเทศ ตราสารดังกล่าวต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) เว้นแต่ผู้ออกตราสารดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ ตราสารนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) เท่านั้น
(ข) ในกรณีที่ผู้ออกตราสารเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ตราสารนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
(ค) ในกรณีที่กองทุนลงทุนในตราสารอื่นนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) ในการเสนอขายครั้งแรก หากตราสารดังกล่าวไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ตราสารนั้นต้องมีบริษัทจัดการไม่ต่ำกว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนภายใต้การจัดการ
ข้อ 16 ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 12 เป็นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีการจ่ายผลตอบแทน ผลตอบแทนนั้นต้องอยู่ในรูปอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่านั้น
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ