หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday July 28, 2009 08:57 —ประกาศ ก.ล.ต.

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ที่ สข/น. 23/2552

เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน

____________________

อาศัยอำนาจตามความดังต่อไปนี้

(1) มาตรา 141(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทำหน้าที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคหนึ่ง มาตรา 118(1) มาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

(2) ข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทำหน้าที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

(3) ข้อ 3 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 14 ข้อ 18 ข้อ 19(1) (2) (3) (4) และ (6) และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สำนักงานออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

(1) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล

(2) “วันทำการ” หมายความว่า วันเปิดทำการตามปกติของบริษัทจัดการ

(3) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(4) “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน” หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งนโยบาย โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียวหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลายนายจ้างก็ได้

(5) “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนายจ้างเดียว” หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว

(6) “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลายนายจ้าง” หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างหลายราย

ภาค 1

ข้อกำหนดที่ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวม

และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล

____________________

หมวด 1

ผู้จัดการกองทุน

____________________

ข้อ 3 ในหมวดนี้

“พนักงานที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พนักงานของบริษัทจัดการที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน

ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการประกาศรายชื่อผู้จัดการกองทุนไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทำการทุกแห่งของบริษัทจัดการ

ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการจัดทำและจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนตามที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน

ข้อ 6 บริษัทจัดการต้องให้ความรู้หรือจัดอบรมแก่ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังต่อไปนี้ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

(1) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว

(2) มาตรฐานการปฏิบัติงานที่สำนักงานกำหนดหรือที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

(3) จรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกำหนด

(4) นโยบายและกฎระเบียบภายในของบริษัทจัดการ

ในกรณีที่มีการออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลดังกล่าวด้วยทุกครั้ง

หมวด 2

การดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล

____________________

ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง

หมวด 3

การมอบหมายการจัดการ

____________________

ข้อ 8 ในการมอบหมายการจัดการในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้บุคคลอื่นกระทำแทน หากบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสำนักงานแล้ว

ภาค 2

การจัดการกองทุนรวม

____________________

ข้อ 9 ในภาคนี้

(1) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม

(2) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม

(3) “มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทำการที่คำนวณนั้น

(4) “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมอบหมายให้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม

(5) “วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนดไว้ในโครงการ

หมวด 1

หลักเกณฑ์ทั่วไป

____________________

ส่วนที่ 1

ผู้ดูแลผลประโยชน์

____________________

ข้อ 10 การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสำนักงานก่อน

ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมในภายหลัง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุดังกล่าว และแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สำนักงานทราบภายในสามวันทำการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น

ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน

ส่วนที่ 2

การถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสาม

____________________

ข้อ 11 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมดังต่อไปนี้

(1) กองทุนรวมวายุภักษ์

(2) กองทุนรวมตราสารแห่งทุนซึ่งมิใช่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ

(3) กองทุนรวมตลาดเงินที่โครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกำหนดการดำรงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนไว้ (portfolio duration) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินหกเดือน ซึ่งมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละห้าสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

ข้อ 12 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดำเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว ไม่ว่าจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมตรวจสอบหรือดำเนินการให้มีการตรวจสอบหรือได้รับการแจ้งจากบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 13 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) รายงานต่อสำนักงานภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล

(2) ในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจำนวนเสียงในการขอมติ

(3) ดำเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นให้มีจำนวนไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้นภายในสองเดือนนับแต่วันที่ปรากฏกรณีดังกล่าว หรือดำเนินการเลิกกองทุนรวมนั้นทันที เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) และข้อ 29 วรรคหนึ่ง (1) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล

ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุกรณีตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ไว้อย่างชัดเจนในโครงการ

ข้อ 13 ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนในบัญชีบริษัทหลักทรัพย์แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าวปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบหรือดำเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

(2) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

(3) ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมใด รวมในจำนวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว

ข้อ 14 ในกรณีของกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 หากในวันดังกล่าวกองทุนรวมมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น บริษัทจัดการ กองทุนรวมไม่ต้องดำเนินการตามข้อ 12 และข้อ 13 สำหรับการถือหน่วยลงทุนที่เกินอัตราส่วนในกรณีนั้น แต่ให้ดำเนินการตามข้อ 15 แทน

ข้อ 15 ในกรณีที่กองทุนรวมใดที่จดทะเบียนกองทุนรวมอยู่แล้วก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 หากในวันดังกล่าวกองทุนรวมมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการสำหรับการถือหน่วยลงทุนที่เกินอัตราส่วนในกรณีดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) รายงานให้สำนักงานทราบเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยให้ระบุชื่อกองทุนรวม รายชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว และจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นถือไว้ และ

(2) ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549

(ก) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม หรือควบกองทุนรวมหรือรวมกองทุนรวมดังกล่าว เพื่อให้อัตราการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น

(ข) เลิกกองทุนรวมนั้น

(ค) ดำเนินการอื่นใดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) ภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือดำเนินการแล้วแต่ไม่สามารถลดอัตราการถือหน่วยลงทุนให้ต่ำกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดได้ สำนักงานอาจสั่งให้บริษัทเลิกกองทุนรวม

ข้อ 16 การดำเนินการตามข้อ 15 มิให้นำมาใช้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) การดำเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) มิให้นำมาใช้ หากการถือหน่วยลงทุนเกินอัตราตามกรณีที่กำหนดในข้อ 15 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ก) หรือ (ข) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล

(2) การดำเนินการตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (2) มิให้นำมาใช้ หากการถือหน่วยลงทุนเกินอัตราตามกรณีที่กำหนดในข้อ 15 เป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ค) หรือ (ง) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และโครงการของกองทุนรวมมีข้อกำหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนับคะแนนเสียงในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด รวมในจำนวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในเรื่องใด ๆ

(3) การดำเนินการตามข้อ 15 ทั้งกรณีตาม (1) และ (2) มิให้นำมาใช้กับกองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

(ก) เป็นกองทุนรวมปิดที่กำหนดวันสิ้นอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนโดยไม่มีการแก้ไขอายุโครงการหรือมีการแปลงสภาพเป็นกองทุนรวมเปิด

(ข) เป็นกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก

(ค) เป็นกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ

ข้อ 17 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามประกาศนี้ ให้ถือว่าบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน

(1) บิดา มารดาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(2) คู่สมรส

(3) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด แล้วแต่กรณี

(4) นิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่นนั้นเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมดของนิติบุคคลอื่นนั้น แล้วแต่กรณี

(5) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

ส่วนที่ 3

การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน

____________________

ข้อ 18 ในการจัดการกองทุนรวมปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 21

(1) คำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทำการ

(2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ภายในวันทำการถัดไป เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมปิดที่ไม่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทำการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทำการถัดไป

(3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล ภายในวันทำการถัดไป

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนที่ประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้ตัวเลขทศนิยมตามที่กำหนดไว้ในข้อ 20 และต้องได้รับการรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย

ในกรณีที่การประกาศตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ได้กระทำผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุนที่จัดขึ้นโดยสมาคม (NAV Center) หรือช่องทางอื่นที่สำนักงานยอมรับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนภายในสองวันทำการถัดไปก็ได้

การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทำการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม รวมทั้งจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวแทนการประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ได้

ข้อ 19 ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 21

(1) คำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทำการ และคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในการคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน

(2) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ดังต่อไปนี้

(ก) กรณีกองทุนรวมเปิดแบบมีกำหนดระยะเวลาที่กำหนดวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันตั้งแต่หนึ่งเดือนขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทำการสุดท้ายของเดือนภายในวันทำการถัดไป

(ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนล่าสุด ภายในวันทำการถัดไป

(3) ประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของวันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล ภายในวันทำการถัดไป

ให้นำความในข้อ 18 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดโดยอนุโลม

ข้อ 20 การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจำนวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) กรณีกองทุนรวมปิด

(ก) คำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตำแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล

(ข) คำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตำแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง โดยตัดทศนิยมตำแหน่งที่ห้าทิ้ง

(2) กรณีกองทุนรวมเปิด

(ก) คำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตำแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล

(ข) คำนวณมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตำแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล สำหรับมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนให้ปัดเศษทศนิยมตำแหน่งที่สี่ขึ้น ส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการคำนวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้ตัดทศนิยมตำแหน่งที่ห้าทิ้ง

(ค) ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุนตามที่คำนวณได้ใน (2) (ข) เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง โดยตัดทศนิยมตำแหน่งที่ห้าทิ้ง และประกาศราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่คำนวณได้ใน (2) (ข)

(ง) คำนวณจำนวนหน่วยลงทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมห้าตำแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล แต่ให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมเพียงสี่ตำแหน่ง โดยตัดทศนิยมตำแหน่งที่ห้าทิ้ง

ในกรณีที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการคำนวณตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมนำผลประโยชน์นั้นรวมเข้าเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม

ข้อ 21 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 18 และข้อ 19

(1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 33 หรือข้อ 34 ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

(2) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กำหนดไว้ในข้อ 92 และข้อ 93 ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นตามระยะเวลาดังต่อไปนี้

(ก) การคำนวณมูลค่าและราคาตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว

(ข) การประกาศมูลค่าและราคาตามข้อ 18 วรรคสี่ และข้อ 19 วรรคสอง ให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่ปรากฏเหตุตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว

ส่วนที่ 4

การดำเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุน

หรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง

——————————————————

ข้อ 22 ในส่วนนี้

“การชดเชยราคา” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนที่มีราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง แทนการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยลงทุน

“ราคาหน่วยลงทุน” หมายความว่า ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน

ข้อ 23 ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่าหนึ่งสตางค์ หรือคิดเป็นอัตราไม่ถึงร้อยละศูนย์จุดห้าของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) จัดทำและส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบถึงความไม่ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง โดยรายงานดังกล่าวต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

(ก) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง

(ข) มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง

(ค) สาเหตุที่ทำให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง

(ง) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องมิได้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้

(2) ในกรณีที่สาเหตุที่ทำให้มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีผลต่อเนื่องถึงการคำนวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนครั้งต่อไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องตั้งแต่วันที่พบว่ามูลค่าหรือราคาไม่ถูกต้อง

ข้อ 24 ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดไม่ถูกต้องและได้มีการประกาศมูลค่าดังกล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละศูนย์จุดห้า ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) คำนวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจนถึงวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนถูกต้อง

(2) ดำเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว

(ก) จัดทำรายงานการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังให้เสร็จสิ้นภายในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่ามูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทำการถัดจากวันที่คำนวณมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังเสร็จสิ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าวภายในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์

รายงานตามวรรคหนึ่งให้มีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในข้อ 23(1) โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีของรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังของกองทุนรวมเปิด ให้ระบุการดำเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องไว้แทนข้อมูลตามข้อ 23(1) (ง)

(ข) แก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องภายในวันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตาม (ก)

(ค) ดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถรับทราบชื่อกองทุนรวมที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน และวัน เดือน ปีที่มีการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุน ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานตาม (ก)

ความในวรรคหนึ่ง (2) (ค) มิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมปิดที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และได้ประกาศการแก้ไขมูลค่าหน่วยลงทุนตามระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แล้ว

ข้อ 25 นอกจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 24 แล้ว ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้อง หากการไม่ถูกต้องดังกล่าวมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละศูนย์จุดห้าของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่มูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องนั้นมีมูลค่าและคิดเป็นอัตราดังกล่าว

(1) จัดทำรายงานการชดเชยราคาไว้ในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ด้วย โดยให้อยู่ในส่วนของการดำเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง

(2) ชดเชยราคาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 26 ให้แล้วเสร็จ และดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องทราบถึงการแก้ไขราคาตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ข) และการชดเชยราคา ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา

(3) จัดทำมาตรการป้องกันเพื่อมิให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งสำเนารายงานการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ให้สำนักงานภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมิได้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสำเนาเอกสารที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้มาพร้อมสำเนารายงานดังกล่าวแทน

ข้อ 26 ในการชดเชยราคาตามข้อ 25(2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่ำกว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้

(ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง

หากปรากฏว่าผู้ซื้อหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจำนวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง เป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจำนวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว

(ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจำนวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน แต่หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน

(2) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องสูงกว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังนี้

(ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเพิ่มจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุน

(ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลดจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจำนวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง

หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจำนวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจำนวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนรวมเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว

ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชดเชยราคาเป็นเงินให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนรายใดมีมูลค่าไม่ถึงหนึ่งร้อยบาท บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจนำเงินชดเชยราคาไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่มีการจ่ายเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีสถานะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชดเชยราคาให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา

การจ่ายเงินของกองทุนรวมเปิดเพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือผู้ซื้อหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจ่ายเงินของบริษัทจัดการกองทุนรวมเองแทนกองทุนรวมเปิดก็ได้

ข้อ 27 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีสำเนารายงานตามข้อ 23(1) และข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ไว้ ณ ที่ทำการของบริษัทจัดการกองทุนรวม เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้

ข้อ 28 ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจากกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้

ส่วนที่ 5

การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด

____________________

ข้อ 29 ในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) รับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามจำนวนทั้งหมดที่มีคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน เว้นแต่กรณีตามข้อ 33 หรือข้อ 34 หรือกรณีอื่นใดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิในการขายหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ

(2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจำนวนทั้งหมดที่มีคำสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนในวันทำการถัดจากวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว เว้นแต่ปรากฏเหตุตามข้อ 34

(3) ชำระเงินให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทำการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับการผ่อนผันระยะเวลาการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน จากสำนักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชำระเงินให้ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายในห้าวันทำการนับแต่วันคำนวณมูลค่าและราคาดังกล่าวตามที่ได้รับการผ่อนผัน

(ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมเลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 30

บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีคำเตือนที่แสดงว่าผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ ในใบคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน

ข้อ 30 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจเลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้มีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ามีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล

(2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนก่อนหรือในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 24 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา

ข้อ 31 ในการเลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 30 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) เลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ไม่เกินสิบวันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ 30(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันระยะเวลาจากสำนักงานได้

(2) ดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการเลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน

(3) แจ้งการเลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน และจัดทำรายงานในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและหลักฐานการได้รับความเห็นชอบตามข้อ 30(1) หรือการรับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคาตามข้อ 30(2) จากผู้ดูแลผลประโยชน์ให้สำนักงานทราบโดยพลัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดำเนินการดังกล่าวแทนก็ได้

(4) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในระหว่างการเลื่อนกำหนดการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น โดยต้องชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่สั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันนั้น ๆ ต่อไป

ข้อ 32 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดการขายหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามข้อ 24 และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเกี่ยวกับการหยุดการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน

ข้อ 33 ในกรณีที่วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดตรงกับวันที่สำนักงานได้ประกาศกำหนดให้เป็นวันหยุดทำการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นกรณีพิเศษ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสำหรับวันดังกล่าว และต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการหยุดรับคำสั่งในกรณีดังกล่าวไม่น้อยกว่าห้าวันทำการก่อนถึงวันหยุดทำการกรณีพิเศษนั้น โดยการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทำการทุกแห่งของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีประกาศดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี)

ข้อ 34 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ เมื่อปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในโครงการแล้ว

(1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทำการซื้อขายได้ตามปกติ

(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่า

(ก) มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล หรือ

(ข) ไม่สามารถคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หรือ

(ค) มีเหตุจำเป็นอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน

ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับมาแล้ว หรือจะหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินหนึ่งวันทำการ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน

(3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน หากมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนรวมดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ

(ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทำการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือ

(ข) มีเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรี และทำให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ หรือ

(ค) ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศนั้นหยุดรับคำสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน หรือไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่รับไว้แล้ว

ข้อ 35 เมื่อปรากฏเหตุตามข้อ 34 และบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน

(2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดำเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สำนักงานทราบโดยพลัน

(3) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 34 เกินหนึ่งวันทำการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(ก) รายงานการเปิดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทำการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สำนักงานทราบภายในวันทำการก่อนวันเปิดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน

(ข) ดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการเปิดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน

ข้อ 36 เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่สำนักงานประกาศซึ่งไม่เกินยี่สิบวันทำการติดต่อกัน

ข้อ 37 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้กำหนดกรณีที่เป็นเงื่อนไขการชำระและขั้นตอนการดำเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ โดยขั้นตอนที่กำหนดดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดนั้นทุกราย ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงื่อนไขมีได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้

(1) กองทุนรวมเปิดกำหนดวิธีการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้สามารถชำระเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินไว้เป็นการทั่วไป

(2) การชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนนำหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นนั้นไปชำระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ

(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นเงิน

(4) ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงรับชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ให้ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้

ส่วนที่ 6

การจัดทำรายงานของกองทุนรวม

____________________

ข้อ 38 ในส่วนนี้

“บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ข้อ 39 ในการจัดการกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนการลงทุนที่กำหนดไว้ในโครงการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำรายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน หรือหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี เฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือน หกเดือน เก้าเดือน และสิบสองเดือนของรอบระยะเวลาบัญชี พร้อมทั้งแสดงเหตุผล และส่งให้สำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาดังกล่าว เพื่อให้สำนักงานเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุนทั่วไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

(1) กองทุนรวมที่มีเหตุต้องเลิกกองทุนรวมตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ หรือหมวดอื่น แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกำหนดจัดทำหรือจัดส่งรายงาน

(2) กองทุนรวมที่มีการกำหนดอายุโครงการ ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการ

ข้อ 40 ในการจัดการกองทุนรวมผสมที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งทุนในขณะใดขณะหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หากปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในโครงการในวันทำการใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำรายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนทุกสิ้นวันทำการนั้น และรายงานให้สำนักงานทราบเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป

ให้นำความในข้อ 39 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 41 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมทุกรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งมีสาระตามที่กำหนดไว้ในข้อ 43 วรรคหนึ่ง และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสำนักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนรวมเปิด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกจัดทำและส่งรายงานตามข้อ 42 ตามปีปฏิทิน ให้ระยะเวลาการส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมของรอบระยะเวลาบัญชีขยายเป็นภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

การส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีให้แก่สำนักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวม (Mutual Fund Report and Prospectus (MRAP)) ด้วย

ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ต้องเลิกกองทุนรวมเนื่องจากมีเหตุตามที่กำหนดไว้ในข้อ 92 และข้อ 93 โดยเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนหรือในวันที่ครบกำหนดจัดทำหรือจัดส่งรายงานดังกล่าว

ข้อ 42 นอกจากการจัดทำรายงานทุกรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 41 แล้ว ในการจัดการกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมเปิดทุกรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทิน ซึ่งมีสาระตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 43 วรรคสองด้วย และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสำนักงานภายในสองเดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว

ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกจัดทำและส่งรายงานตามวรรคหนึ่งตามรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำและส่งรายงานดังกล่าวในรอบระยะเวลาหกเดือนหลังสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ให้นำความในข้อ 41 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 43 การจัดทำรายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 41 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้

(1) งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว

(2) รายละเอียดเงินลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวม ที่ต้องแสดงการจัดกลุ่มให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมตามคำอธิบายที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน

(3) ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกำหนด

(4) ค่านายหน้าทั้งหมดจากการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนรวม รายชื่อบริษัทนายหน้าที่ได้รับค่านายหน้าในจำนวนสูงสุดสิบอันดับแรก อัตราส่วนของจำนวนค่านายหน้าที่บริษัทนายหน้าแต่ละรายดังกล่าวได้รับต่อจำนวน ค่านายหน้าทั้งหมด และอัตราส่วนของจำนวนค่านายหน้าส่วนที่เหลือต่อจำนวนค่านายหน้าทั้งหมด

(5) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมซึ่งต้องมีรายละเอียดตามตารางที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน

(6) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้า

(7) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการกองทุนรวม

(8) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนเฉลี่ยในรอบระยะเวลาที่กำหนด ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผล

(9) ข้อมูลการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

(10) ข้อมูลการบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นศูนย์ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ (ถ้ามี)

(11) ข้อมูลการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น (ถ้ามี)

(12) ข้อมูลการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมของรอบปีปฏิทินล่าสุด

การจัดทำรายงานรอบระยะเวลาหกเดือนตามข้อ 42 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแสดงข้อมูลอย่างน้อยตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (8) โดยอนุโลม เว้นแต่งบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) ไม่จำต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี

ข้อ 44 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีรายงานตามข้อ 41 และข้อ 42 ของรอบระยะเวลาล่าสุดไว้ ณ ที่ทำการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสำเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ

ข้อ 45 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำและส่งข้อมูลการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้

(1) ข้อมูลตามรายการที่กำหนดไว้ในระบบรับส่งรายงานธุรกิจจัดการกองทุนรวม (Investment Management Reporting System)

(2) ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดการกองทุนรวมตามที่สำนักงานแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมล่วงหน้า

การจัดทำและส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่สำนักงานแจ้งต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมล่วงหน้า ทั้งนี้ ในกรณีของข้อมูลตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำในรูปแฟ้มข้อความที่สำนักงานจัดส่งให้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบเก็บรักษาข้อมูลสำรองของข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) ไว้อย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสำนักงาน

ส่วนที่ 7

การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ

____________________

ข้อ 46 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนหรือสำนักงานกำหนด บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอรับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการดังกล่าวจากสำนักงานได้ โดยการยื่นคำขอเป็นหนังสือ พร้อมทั้งรายละเอียดของโครงการที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วและคำรับรองของผู้ดูแลผลประโยชน์

เมื่อสำนักงานได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าสำนักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการได้

ข้อ 47 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่เกินร้อยละหกสิบของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติของผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อคำนวณเฉพาะจำนวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด มีจำนวนไม่เกินร้อยละหกสิบของจำนวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น

ข้อ 48 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อได้รับอนุญาตจากสำนักงานตามข้อ 10 แล้ว ให้ถือว่าสำนักงานให้ความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวได้

ข้อ 49 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 88 วรรคสอง

ส่วนที่ 8

กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน

____________________

ข้อ 50 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากชนิดหนึ่งเป็นหน่วยลงทุนอีกชนิดหนึ่งได้โดยต้องระบุวิธีการสับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ในโครงการให้ชัดเจน

ข้อ 51 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการใดๆ ต้องระบุให้ชัดเจนไว้ในโครงการโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด เช่น การเลิกกองทุนรวม เป็นต้น ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น

(2) ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดหนึ่งชนิดใด เช่น การคิดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นต้น ให้ได้รับมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดที่ได้รับผลกระทบเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น

(3) ในกรณีที่ข้อกำหนดอื่นในประกาศนี้กำหนดให้ต้องมีการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน หากการขอมติในเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติเฉพาะจากผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดนั้น

ข้อ 52 ในกรณีที่การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนในกรณีใดซึ่งต้องมีการคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในส่วนที่ 3 การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน ในหมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป ของภาค 2 การจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม

ข้อ 53 ในกรณีที่หน่วยลงทุนชนิดใดของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ไม่มีจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนเหลืออยู่แล้วสำหรับหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจคงชนิดของหน่วยลงทุนนั้นไว้ต่อไปก็ได้ และหากจะมีการขายหน่วยลงทุนชนิดนั้นเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี ตามความเหมาะสมของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ

ส่วนที่ 9

การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจาก

กองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด

____________________

ข้อ 54 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) เป็นการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือ

(2) ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดให้แก้ไขโครงการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด

ข้อ 55 ในการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) จัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดในการที่จะออกจากกองทุนรวมดังกล่าว และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(ก) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องชำระค่าหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว โดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันทำการก่อนวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ

(ข) การชำระค่าหน่วยลงทุนตาม (ก) ให้กระทำภายในห้าวันทำการนับแต่วันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิด โดยให้นับวันเริ่มต้นมีผลเป็นกองทุนรวมเปิดเป็นวันแรกของระยะเวลาดังกล่าว

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด ซึ่งมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิดโดยการเปลี่ยนสภาพ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามข้อ 65 แทน

(2) ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนดังต่อไปนี้ต่อสำนักงานตามแบบที่จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน พร้อมข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และสัญญาแต่งตั้งดูแลผลประโยชน์ที่มีการลงนามแล้วในกรณีที่มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวม รวมทั้งรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ในวันทำการที่สามล่วงหน้าก่อนวันเริ่มทำการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด

(ก) การแก้ไขรายการทางทะเบียนแสดงสภาพของกองทุนรวม

(ข) การจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือเงินทุนโครงการของกองทุนรวม (ถ้ามี)

(3) จัดทำหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิด และจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญให้สำนักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทำการก่อนการเริ่มจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีหนังสือชี้ชวนให้แก่ประชาชน โดยการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนต้องแนบข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย

(ก) ประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมนั้น

(ข) งบการเงินประจำรอบระยะเวลาบัญชีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว

(ค) รายงานฐานะการลงทุน ณ วันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุดซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จำนวน ราคาที่ได้มา มูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น และอัตราส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมโดยแยกเป็นแต่ละรายการ และตามประเภทธุรกิจหลักที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

ข้อ 56 ให้ถือว่าวันที่สำนักงานรับจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนตามข้อ 55(2) (ก) เป็นวันเริ่มต้นมีผลเป็นโครงการจัดการกองทุนรวมเปิด

ส่วนที่ 10

การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม

____________________

ข้อ 57 ในส่วนนี้

(1) “ควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิและหน้าที่ของกองทุนรวมเดิม และเลิกกองทุนรวมเดิม

(2) “รวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอน

(3) “ควบรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม แล้วแต่กรณี

(4) “กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม

(5) “กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทำการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน

ข้อ 58 การควบรวมกองทุนรวมต้องเป็นการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกัน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมด้วยความเป็นธรรม และการควบรวมกองทุนรวมแต่ละครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานด้วย

ข้อ 59 กองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปจะดำเนินการเพื่อควบรวมกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว

(2) ในกรณีที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมออกเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการแต่ไม่ได้มติโดยเสียงข้างมากด้านใดด้านหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด หากบริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะควบรวมกองทุนรวมต่อไป ให้ดำเนินการขอมติครั้งใหม่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุมครั้งแรกหรือวันที่กำหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในการขอมติครั้งแรก และได้รับมติในครั้งหลังนี้เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งออกเสียงลงมติของแต่ละกองทุนรวมที่จะควบรวม กองทุนรวม

ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งผลการนับมติครั้งแรกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย

การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนดรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน (ถ้ามี) พร้อมทั้งขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนไป ในคราวเดียวกันด้วย

ในการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดด้วย และหากได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง (1) ให้ถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนในการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมตามข้อ 54(2) แล้ว

ข้อ 60 การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 59 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันประชุม หรือส่งหนังสือขอมติล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่กำหนดให้เป็นวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน โดยเปิดเผยข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรทราบเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ให้ชัดเจนไว้ในหนังสือนัดประชุม หรือหนังสือขอมติดังกล่าว

(1) สถานะการลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนที่เป็นปัจจุบันก่อนการขอมติควบรวมกองทุนรวม ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดเป็นรายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น โดยระบุประเภท ชื่อ จำนวน อัตราผลตอบแทน (ถ้ามี) มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ล่าสุด และผลการดำเนินงานล่าสุดของกองทุนรวม

(2) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสำคัญและความแตกต่างของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และลักษณะที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการควบรวมกองทุนรวมแล้ว โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและวัตถุประสงค์ของโครงการ นโยบายการลงทุน และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุนและจากกองทุนรวม เป็นอย่างน้อย

(3) ขั้นตอน สาระสำคัญของการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน และกำหนดเวลาในการควบรวมกองทุนรวม

(4) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม

(5) รายงานแสดงฐานะการเงินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ประมาณการฐานะการเงินของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน

(6) การดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) ก่อนการควบรวมกองทุนรวม และนโยบายการจ่ายเงินปันผลภายหลังการควบรวมกองทุนรวม (ถ้ามี)

(7) ค่าใช้จ่ายในการควบรวมกองทุนรวมที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุนรวม (ถ้ามี) เช่น ค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชี เป็นต้น

(8) ข้อดีและข้อเสียหลังจากมีการควบรวมกองทุนรวม เช่น ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง หรือสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะที่เกินความจริง

เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งสำเนาหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติพร้อมด้วยเอกสารดังกล่าวไปยังสำนักงานภายในสามวันทำการนับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติ

ข้อ 61 ในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติเพื่อควบรวมกองทุนรวมถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจไม่ขายหน่วยลงทุนตามคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวมที่ได้รับไว้แล้ว หรืออาจหยุดรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้ โดยการปิดประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ ที่ทำการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวม และจัดให้มีการประกาศเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน

ในช่วงระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำรายงานแสดงสถานะการลงทุนของวันทำการสุดท้ายของแต่ละสัปดาห์ของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม และจัดให้มีรายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทำการของบริษัทจัดการกองทุนรวมและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ และจัดสำเนาให้เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนร้องขอ

ข้อ 62 เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้มีการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 59 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคำขอรับความเห็นชอบต่อสำนักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคำขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้

(1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม

(2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่กับบริษัทจัดการกองทุนรวม ร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมใหม่ และร่างหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน รวมทั้งร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่รับโอน ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อผูกพันและสัญญาดังกล่าว

(3) หนังสือรับรองการได้มติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม

(4) รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน สถานการณ์ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนรวม ณ วันทำการสุดท้ายก่อนวันยื่นขอความเห็นชอบจากสำนักงาน

สำนักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคำขอตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สำนักงานได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน

ข้อ 63 เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานให้ทำการควบรวมกองทุนรวมแล้ว ให้ถือว่าสำนักงานอนุมัติโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ควบรวมกองทุนดังกล่าว และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมควบรวมกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนดวันเลิกกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นวันเดียวกันกับวันที่ควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว

ข้อ 64 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมบอกกล่าวการควบรวมกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (ถ้ามี) ตลอดจนสิทธิและกำหนดเวลาในการใช้สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอน ตามวิธีการดังต่อไปนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

(1) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายของกองทุนรวมที่จะควบรวมกองทุนทราบเป็นหนังสือพร้อมสรุปสาระสำคัญของโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน วันที่จะควบรวมกองทุน วันเริ่มทำการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยระบุวัน เดือน ปี อย่างชัดแจ้ง และสถานที่ติดต่อเพื่อสอบถามหรือรับข้อมูลเพิ่มเติม

(2) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองฉบับเป็นเวลาสองวันติดต่อกัน

ในกรณีที่เป็นการรวมกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมปิดกับกองทุนรวมเปิด หากมีผลให้กองทุนรวมที่รับโอนเป็นกองทุนรวมเปิด นอกจากการแจ้งและประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งและประกาศการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 59 วรรคสี่ด้วย

ข้อ 65 เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้มีหนังสือแจ้งและประกาศการควบรวมกองทุนรวมตามข้อ 64 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามโครงการจัดการกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนในการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน แล้วแต่กรณี

สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนที่คัดค้านหรือที่ไม่ได้ออกเสียงในการควบรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ โดยวิธีการนั้นต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในเวลาก่อนหน้าการควบรวมกองทุนรวม ตลอดจนโอกาสในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมกองทุนรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย

ข้อ 66 ในกรณีของการควบกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่ และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กำหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่มาเป็นของกองทุนรวมใหม่ ส่วนในกรณีของการรวมกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่รับโอน และซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนตามที่กำหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอน มาเป็นของกองทุนรวมที่รับโอน ทั้งนี้ สำหรับการซื้อหรือรับโอนสิทธิเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างการฟ้องคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการนั้น

ในกรณีที่กองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวมที่โอนเป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกัน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเพื่อให้หลักประกันนั้นตกเป็นหลักประกันแก่กองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนด้วย

ข้อ 67 ในการขายหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลานับแต่วันส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการควบรวมกองทุนรวม ถึงวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 60 เกี่ยวกับการดำเนินการควบรวมกองทุนต่อ ผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือผู้ลงทุนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวมหากมีการควบรวมกองทุนรวมดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดำเนินการให้ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวด้วย

ข้อ 68 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญและส่วนข้อมูลโครงการที่เป็นปัจจุบันของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยระบุวันที่มีการควบรวมกองทุนรวม รวมทั้งประวัติความเป็นมาโดยสรุปของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนไว้ด้วย และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้สำนักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทำการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญให้ประชาชน

ข้อ 69 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมส่งหนังสือแจ้งสถานะการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน ไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ควบรวมกองทุนรวมแล้วเสร็จ

ส่วนที่ 11

การดำเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้

หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้

____________________

ข้อ 70 ในส่วนนี้

(1) “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน

(2) “เงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้” หมายความว่า เงินได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น รายได้ที่เกิดจากการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน ตลอดจนดอกผลที่ได้จากทรัพย์สินดังกล่าว และเงินสำรอง (ถ้ามี) หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการได้มา การมีไว้ หรือการจำหน่ายทรัพย์สินนั้น

(3) “เงินสำรอง” หมายความว่า จำนวนเงินที่ตั้งสำรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น

ข้อ 71 ในการจัดการกองทุนรวม หากมีการผิดนัดชำระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สำนักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น

ข้อ 72 กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดำเนินการตามข้อ 73 ก่อนแล้ว

ข้อ 73 ในกรณีที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดำเนินการให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้ก็ได้ ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนำตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้นมารวมคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

ข้อ 74 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 72 หรือข้อ 73 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งประเภท จำนวน ชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องและเงินสำรอง (ถ้ามี) รวมทั้งวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี ไปยังสำนักงานภายในสามวันทำการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อ 72 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีรายละเอียดตามวรรคแรกไว้ที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ภายในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งสำนักงานเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวันด้วย

ข้อ 75 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมิได้ดำเนินการตามข้อ 72 หรือข้อ 73 แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในโครงการ และ

(2) ก่อนการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการนั้น หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่าในขณะนั้นการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น

ข้อ 76 ในการขอความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์ตาม

ข้อ 75 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจำเป็นในการรับชำระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทำเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้

(1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น หรือ

(2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำ ซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้

ข้อ 77 เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) แจ้งประเภท จำนวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสำคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังสำนักงานภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา

(2) จัดให้มีรายละเอียดตาม (1) ไว้ที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลอดจนสถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แจ้งสำนักงานตาม (1) เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน

กรณีเป็นกองทุนรวมปิด นอกจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุไว้ในการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนในครั้งถัดจากวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาว่า กองทุนรวมได้รับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นซึ่งผู้ลงทุนสามารถขอดูรายละเอียดได้ที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้ระบุไว้ในการประกาศดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามครั้งติดต่อกัน

ข้อ 78 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้รับมาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

ข้อ 79 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังต่อไปนี้

(1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดำเนินการตามข้อ 72 หรือข้อ 73 บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ต้องนำทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้ มารวมคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

(2) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องนำทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มารวมคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

ข้อ 80 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ดังต่อไปนี้

(1) กรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดำเนินการตามข้อ 72 หรือข้อ 73 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสำคัญ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้ตกลงรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวแทนเงิน ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในโครงการและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

ในระหว่างที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้

(2) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังนี้

(ก) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมก็ได้

(ข) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสำคัญ และในระหว่างที่บริษัทยังไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้

ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่กรณีกองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายจากเงินสำรอง รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการบริหารทรัพย์สินนั้น

ข้อ 81 เมื่อมีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้ในแต่ละครั้ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเฉลี่ยเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามข้อ 72 หรือข้อ 73 แล้วแต่กรณี ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ และให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเฉลี่ยเงินคืนไปยังสำนักงานภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้เฉลี่ยเงินคืน เว้นแต่สำนักงานจะผ่อนผันระยะเวลาการเฉลี่ยเงินคืนเป็นอย่างอื่น

ในการเฉลี่ยเงินคืนในแต่ละครั้งตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทจัดการกองทุนรวมมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้ไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจนำเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จาก การรับชำระหนี้ดังกล่าวไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่การเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะคุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายก็ได้ ทั้งนี้ หากได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นจนครบถ้วนแล้ว และปรากฏว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้นั้นไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืน บริษัทอาจนำเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินอื่นที่ได้จากการรับชำระหนี้ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมก็ได้

บริษัทจัดการกองทุนรวมจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคสองได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดหลักเกณฑ์ตามวรรคสองไว้ในโครงการแล้ว

ข้อ 82 กองทุนรวมเปิดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หากต่อมาปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับชำระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นเงิน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามความในข้อ 81 โดยอนุโลม

ส่วนที่ 12

การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุม

ผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวม

____________________

ข้อ 83 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม

(2) เปิดเผยแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ

ส่วนที่ 13

การจ่ายเงินปันผล

____________________

ข้อ 84 การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้จ่ายได้จากกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกำไรสะสมหรือมีกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มี การจ่ายเงินปันผลนั้น

ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใด ให้บริษัทประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวแทนการประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ได้

(2) ดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล

(3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ

ในกรณีกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่ต่างกันสำหรับหน่วยลงทุนที่ขายในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันได้ ต่อเมื่อได้กำหนดกรณีดังกล่าวไว้ในโครงการ และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานก่อนดำเนินการจ่ายเงินปันผลในแต่ละครั้งแล้ว

ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจำนวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนำเงินปันผลจำนวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น

ข้อ 85 ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยออกเป็นหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน

ส่วนที่ 14

ค่าธรรมเนียม

____________________

ข้อ 86 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร จากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม ได้ต่อเมื่อมีการกำหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใดหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในโครงการหรือหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายขั้นสูงที่จะเรียกเก็บจากกองทุนรวม

(2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เลือกปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(ก) เรียกเก็บเป็นจำนวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

(ข) เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด

(3) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดในแต่ละครั้งจากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปีจากกองทุนรวม

ข้อ 87 ในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าน้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกำหนดวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเท่านั้น

ในกรณีที่มูลค่าของกองทุนรวมในขณะจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท หากต่อมากองทุนรวมดังกล่าวมีมูลค่าลดลงน้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมไว้อยู่แล้ว ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นอัตราร้อยละที่ไม่สูงกว่าอัตราร้อยละของค่าธรรมเนียมเดิมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บในช่วงเวลาที่กองทุนรวมมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาทโดยคำนวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน

(2) ในกรณีอื่นนอกเหนือจากกรณีตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในอัตราที่แสดงได้ว่าเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

มูลค่าของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คำนวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน

ข้อ 88 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้ในโครงการอย่างชัดเจนแล้วว่าจะมีการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุน การขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน

การลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายให้แตกต่างไปจากโครงการ ให้ถือว่าสำนักงานให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน

ข้อ 89 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ระบุไว้ในโครงการอย่างชัดเจนแล้วว่าจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่ม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันตามวิธีการดังต่อไปนี้ ก่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มดังกล่าว

(1) ประกาศกรณีดังกล่าวในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน และ

(2) ติดประกาศกรณีดังกล่าวไว้ที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ใช้เป็นสถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุน

ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบข้อมูลการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มแทนการประกาศตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ก็ได้

ข้อ 90 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามข้อ 88 และข้อ 89 ให้สำนักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย

ข้อ 91 การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติมโดยมีจำนวนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาหนึ่งปีไม่อาจทำได้ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยมติเกินกึ่งหนึ่งของ จำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

ส่วนที่ 15

การเลิกกองทุนรวม

____________________

ข้อ 92 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเลิกกองทุนรวมปิด เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ภายในวันทำการถัดจากวันที่ทราบเหตุดังกล่าว

(1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย

(2) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจำหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม

ความในวรรคหนึ่ง (1) มิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมปิดที่จะครบกำหนดอายุโครงการก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ข้อ 93 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 94 เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้

(1) จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเป็นจำนวนดังต่อไปนี้ ในวันทำการใด

(ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย

(ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุน ลดลงเหลือน้อยกว่าสิบราย เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีการจำหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคม

(2) มีการขายคืนหน่วยลงทุนโดยบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลตามข้อยกเว้นตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (2) (ข) (ค) และ (ง) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีการขายคืนหน่วยลงทุนรวมกันเป็นจำนวนเกินกว่าสองในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนใด

ความในวรรคหนึ่ง (1) (ก) มิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่ไม่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก ซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสำนักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547

ข้อ 94 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 93 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ยุติการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทำการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 93

(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในสามวันทำการนับแต่วันทำการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 93

(3) จำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเปิดดังกล่าวภายในห้าวันทำการนับแต่วันทำการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 93 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทำได้เพื่อชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ

(4) ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจำนวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทำการนับแต่วันทำการที่ปรากฏกรณีตามข้อ 93 และเมื่อได้ดำเนินการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมเปิดนั้น

เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) แล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชำระบัญชีของกองทุนรวม

ข้อ 95 เมื่อจะมีการเลิกกองทุนรวมใดเพราะเหตุครบกำหนดอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบกำหนดการเลิกกองทุนรวมล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนรวมนั้น ดังต่อไปนี้

(1) กรณีกองทุนรวมปิด

(ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสำนักงานทราบ และแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ และ

(ข) ดำเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น

(2) กรณีกองทุนรวมเปิด

(ก) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ และ

(ข) ดำเนินการตาม (1) (ก) และดำเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ เช่น ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่น เป็นต้น

(3) จำหน่ายทรัพย์สินของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม

ส่วนที่ 16

การผ่อนผัน

____________________

ข้อ 96 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ต่อสำนักงานได้

(1) การเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 10 วรรคสาม

(2) การคำนวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ 18 และข้อ 19

(3) ระยะเวลาการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 34(2)

(4) การจัดทำและส่งรายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 41 และรายงานรอบระยะเวลาหกเดือนตามข้อ 42 และข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานดังกล่าวตามข้อ 43

(5) การประกาศการจ่ายเงินปันผลตามข้อ 84 วรรคสอง (1)

(6) การดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 94 วรรคหนึ่ง (4) หรือข้อ 95

หมวด 2

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมมีประกัน

____________________

ข้อ 97 ในหมวดนี้

“ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทำสัญญาประกันกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการให้ประกันว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชำระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่รับประกันไว้

“มติของผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า มติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจำนวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ

ข้อ 98 เมื่อเกิดหรือรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทำให้ต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและมีข้อกำหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ไม่ต่ำกว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทำสัญญาเดิมหรือตามที่กำหนดไว้ในโครงการ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนให้จัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เป็นอย่างอื่น หรือ

(2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมมีประกัน หรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไปโดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน โดยถือว่าได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว

ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผยรายละเอียดซึ่งเป็นสาระสำคัญที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกันรายเดิมกับรายใหม่ และเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย

ในกรณีที่การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการกองทุนรวมเอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวผู้ประกันหรือที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่อาจจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ให้แก่กองทุนรวมมีประกันหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี

ข้อ 99 ในกรณีที่ปรากฏว่าการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่จะมีผลทำให้ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันสำหรับงวดการประกันล่าสุด บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ดังกล่าวได้ ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวโดยต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้สงวนสิทธิไว้ในโครงการตามข้อ 98 วรรคหนึ่ง (2)

ข้อ 100 ในกรณีที่ปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 101

(1) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 98 วรรคหนึ่ง (1) หรือข้อ 99 หรือ

(2) ค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่สูงกว่าผลประโยชน์ที่กองทุนรวมมีประกันจะได้รับ หรือ

(3) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด

ข้อ 101 เมื่อปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 100 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) เลิกกองทุนรวมมีประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือ

(2) ยกเลิกการประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนและจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไป โดยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเลิกใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน และห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมโฆษณาหรือเปิดเผยว่าเป็นกองทุนรวมมีประกันอีกต่อไป

การดำเนินการตามวรรคหนึ่งไม่เป็นผลให้บริษัทจัดการกองทุนรวมหลุดพ้นจากความรับผิดตามข้อ 98 วรรคสาม และบริษัทจัดการกองทุนรวมยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุนรวมมีประกันและผู้ถือหน่วยลงทุนจนถึงวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) ด้วย

หมวด 3

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ

____________________

ข้อ 102 มิให้นำความในข้อ 29 วรรคหนึ่ง (2) มาใช้บังคับ และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจำนวนทั้งหมดที่มีคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน และเพิ่มจำนวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจำนวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืนภายในวันทำการถัดจากวันที่มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศดังกล่าว เว้นแต่ปรากฏเหตุตามข้อ 34

ข้อ 103 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสำนักงานเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือจำนวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 20 เป็นประการอื่นได้

หมวด 4

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมวายุภักษ์

____________________

ข้อ 104 ในการจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบายการลงทุนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการการลงทุน และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุนไว้ในโครงการด้วย

ข้อ 105 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะในข้อ 18 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 20 และให้นำความตามข้อ 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย

มูลค่าหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด หมายถึง มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด

ข้อ 106 มิให้นำความในข้อ 84 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ได้จากกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิ เมื่อกองทุนรวมมีกำไรสะสมจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลหรือมีกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น หรือจ่ายได้จากสำรองการจ่ายเงินปันผล

ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ

(2) ดำเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล

(3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ

ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจำนวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนำเงินปันผลจำนวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมวายุภักษ์

หมวด 5

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

____________________

ข้อ 107 ในการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน

ข้อ 108 มิให้นำความในข้อ 84 มาใช้บังคับ และห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน

ข้อ 109 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

หมวด 6

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของ

กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ

____________________

ข้อ 110 มิให้นำความในข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 84 วรรคสอง และข้อ 95 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ

มิให้นำความในข้อ 92 วรรคหนึ่ง (2) และข้อ 93 วรรคหนึ่ง (1) (ข) มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสำนักงานก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และกองทุนรวมดังกล่าวมีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น

หมวด 7

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว

____________________

ข้อ 111 ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีระบบดังต่อไปนี้

(1) ระบบในการขายคืนหน่วยลงทุนตามที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

(2) ระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน

ข้อ 112 ในการโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องโอนเงินลงทุนในหน่วยลงทุนพร้อมด้วยผลประโยชน์ทั้งหมดภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับคำสั่งจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือภายในห้าวันทำการเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามข้อ 114 และผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงเจตนาไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือในใบคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน

ข้อ 113 มิให้นำความในข้อ 84 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะจ่ายได้เมื่อกองทุนรวมมีกำไรสะสมและจะต้องไม่ทำให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น

การจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละครั้ง ให้เลือกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม

(2) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของกำไรสะสมดังกล่าว หรือกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า

ข้อ 114 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามข้อ 115 เมื่อปรากฏว่ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้ารายในวันทำการใด ๆ และมิให้นำความในข้อ 93 และข้อ 94 มาใช้บังคับ

ข้อ 115 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 114 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ยุติการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114

(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะดำเนินการการโอนย้ายการลงทุนตามข้อ 112 และดำเนินการตามข้อ 115 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนรวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานทราบ ทั้งนี้ ภายในสามวันทำการนับแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114

(3) จำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในห้าวันทำการนับแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114 เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทำได้และชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นโดยอัตโนมัติ

(4) ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิได้แสดงเจตนาโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่นตามสัดส่วนจำนวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทำการนับแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุตามข้อ 114 และเมื่อได้ดำเนินการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น

เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชำระบัญชีของกองทุนรวม

หมวด 8

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ

____________________

ข้อ 116 ในหมวดนี้

“ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทำหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง (organized market) สะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหรือกลุ่มหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นใด ที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง

“ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสำนักงานเป็นรายกรณี

ข้อ 117 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ทำการขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้กำหนดกรณีดังกล่าวและขั้นตอนการดำเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ

ข้อ 118 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นผู้ลงทุนทั่วไปได้เมื่อปรากฏเหตุแห่งเงื่อนไขในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่กำหนดไว้ในโครงการ

ข้อ 119 ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund 2) ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives' Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกำหนดปริมาณหรือมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะรับซื้อคืนจากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

ข้อ 120 มิให้นำความในข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 15 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ เฉพาะก่อนและในวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง ตามมติของที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives’ Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) มิให้นำมาใช้บังคับไม่ว่าในช่วงเวลาใด

ข้อ 121 ในกรณีที่มูลค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่กำหนดไว้ตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) จะทำให้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ใช้ชำระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันการใช้มูลค่าในการคำนวณราคาขายและราคารับซื้อคืนให้แตกต่างจากมูลค่าที่กำหนดไว้ในข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) ต่อสำนักงานได้

ข้อ 122 มิให้นำความในข้อ 93 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 94 มาใช้บังคับกับกรณีที่เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟ

ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามข้อ 123 เมื่อปรากฏว่าจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนมีไม่ถึงสามสิบห้ารายภายหลังจากวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง

ข้อ 123 เมื่อปรากฏกรณีตามข้อ 122 วรรคสอง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ยุติการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง

(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายในวันถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง

(3) จำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายในวันถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทำได้ และชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ

(4) ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจำนวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในสิบวันทำการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบเหตุตามข้อ 122 วรรคสอง และเมื่อได้ดำเนินการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น

เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินคงเหลืออยู่จากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชำระบัญชีของกองทุนรวม

หมวด 9

บทเฉพาะกาลสำหรับการจัดการกองทุนรวม

____________________

ข้อ 124 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมใดได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ให้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมตามข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 75 ข้อ 76 ข้อ 77 ข้อ 78 ข้อ 79 ข้อ 80 ข้อ 81 และข้อ 82 และให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ แทน

(1) กรณีกองทุนรวมปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันเลิกโครงการจัดการกองทุนรวมปิด เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้

(2) กรณีกองทุนรวมเปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้

(3) กรณีที่กองทุนรวมได้รับทรัพย์สินจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นมาในขณะที่เป็นกองทุนรวมปิด แต่ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด โดยมิได้จำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวก่อนการเปลี่ยนสภาพ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในวันครบกำหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมปิดเดิม เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการเปลี่ยนประเภทโครงการดังกล่าวก่อนครบกำหนดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมปิดเดิม ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในสองวันก่อนวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนต่อสำนักงานเป็นโครงการจัดการกองทุนรวมเปิด เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้

ภาค 3

การจัดการกองทุนส่วนบุคคล

____________________

หมวด 1

บททั่วไป

____________________

ส่วนที่ 1

หลักเกณฑ์ทั่วไป

____________________

ข้อ 125 เมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ลูกค้ารับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ลูกค้าที่มิใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพปฏิเสธการรับทราบข้อมูล

(1) การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล

(ก) วิธีการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนส่วนบุคคลนั้น โดยอาจเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ที่สามารถอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ให้ระบุสมมติฐานและข้อจำกัดในการประเมินผลการดำเนินงานดังกล่าวด้วย

(ข) ช่วงเวลาสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานซึ่งต้องกำหนดให้มีการประเมินผลทุกเดือน

(2) ชื่อผู้รับฝากทรัพย์สิน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับฝากทรัพย์สิน

(3) การลงทุนและผลการดำเนินงานของกองทุนส่วนบุคคล

(4) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ

(5) ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของลูกค้า การทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน และการทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์

(6) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคลอื่นใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าตามที่สำนักงานกำหนด

การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (3) (4) และ (6) ให้แก่ลูกค้าที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

มิให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับ

(1) การจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(2) การจัดการกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม

ข้อ 126 เมื่อสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลสิ้นสุดลง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้าหรือผู้รับฝากทรัพย์สินแล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและลูกค้าได้ตกลงกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินโดยเร็วที่สุด

ข้อ 127 ให้นำความในข้อ 86(2) มาใช้บังคับกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยอนุโลม

ส่วนที่ 2

การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของลูกค้า

____________________

ข้อ 128 ในส่วนนี้

“รายงานรายปี” หมายความว่า รายงานรายปีตามประกาศสมาคมบริษัทจัดการลงทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกค้า

ข้อ 129 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล หากลูกค้าได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติตามข้อ 83 โดยอนุโลม และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายงานการได้ใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบเมื่อได้ดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงแล้วด้วย

(2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติตามข้อ 83 โดยอนุโลม และให้แจ้งให้ลูกค้าทราบไว้ในรายงานรายปีว่า ลูกค้าสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงได้โดยวิธีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ เปิดเผยข้อมูลไว้

ข้อ 130 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล และลูกค้าไม่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบก็ได้

(2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทราบ หรือขอรับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อไปใช้สิทธิออกเสียงแทน

ส่วนที่ 3

การจัดทำและส่งรายงานต่อสำนักงาน

——————————————————

ข้อ 131 ในส่วนนี้

(1) “แฟ้มข้อความ” หมายความว่า การจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลนั้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

(2) “ระบบรับส่งการรายงานธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานกำหนดให้ใช้สำหรับส่งแฟ้มข้อความผ่านเครือข่ายระหว่างสำนักงานกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ระบบ Private Fund and Provident Fund Reporting System)

(3) “งานทะเบียนสมาชิกกองทุน” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนข้อมูลสมาชิกกองทุน และจัดทำและจัดส่งรายงานแสดงยอดเงินสะสมของลูกจ้าง เงินสมทบนายจ้างพร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้างแต่ละราย

ข้อ 132 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทำรายงานข้อมูลการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทุกกองทุนในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สำนักงานจัดส่งให้ โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สำนักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ในการจัดทำและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดำเนินการให้เป็นตามระเบียบวิธีปฏิบัติสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 133 ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทำรายงานข้อมูลดังต่อไปนี้ในรูปแบบแฟ้มข้อความที่สำนักงานจัดส่งให้ โดยให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสำนักงานผ่านระบบรับส่งการรายงานธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในการจัดทำและส่งแฟ้มข้อความดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

(1) ข้อมูลการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกกองทุน

(2) ข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเปลี่ยนแปลงส่วนของสมาชิกและนายจ้าง

(3) ข้อมูลรายละเอียดการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การจัดทำแฟ้มข้อความตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้จัดทำเป็นรายเดือน โดยใช้ข้อมูลของวันที่หนึ่งของเดือนถึงวันสุดท้ายของเดือน และจัดส่งให้สำนักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไปสำหรับแฟ้มข้อความตามวรรคหนึ่ง (3) ให้จัดทำเป็นรายไตรมาสโดยใช้ข้อมูล ณ วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาสและจัดส่งให้สำนักงานภายในวันที่ยี่สิบของเดือนแรกถัดจากเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส

ข้อ 134 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทำและส่งข้อมูลการลงทุนหรือการจำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเงินของกองทุนส่วนบุคคลออกจากประเทศหรือเข้ามาจากต่างประเทศ โดยให้จัดทำและส่งข้อมูลดังกล่าวตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน หรือตามรูปแบบอื่นใดที่สำนักงานจะแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทราบล่วงหน้า

ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าได้ยื่นคำขอเพื่อนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง และกองทุนส่วนบุคคลที่มีลูกค้าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติต่างด้าวเท่านั้น

ข้อ 135 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งสำเนางบดุลและรายงานการสอบบัญชีที่จัดทำขึ้นตามข้อ 139 ให้สำนักงานภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และแสดงไว้ที่ทำการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตรวจดูได้ด้วย

ข้อ 136 ในการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลประเมินผลการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน และรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อสำนักงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ การรายงานผลครั้งแรก ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งระบบงานทะเบียนสมาชิกกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไปพร้อมกับรายงานดังกล่าวด้วย

หมวด 2

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

____________________

ส่วนที่ 1

หลักเกณฑ์ทั่วไป

____________________

ข้อ 137 ในกรณีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อให้เผยแพร่ต่อสมาชิกสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับสมาชิก ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการกองทุนแจ้งว่าจะเสนอนโยบายการลงทุนต่อสมาชิก

บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดำเนินการให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้สมาชิกมีสิทธิเปลี่ยนนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่สมาชิกมีมติกำหนดเวลาในการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนไว้เป็นอย่างอื่น

ข้อ 138 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งรายงานจำนวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และมูลค่าของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบให้สมาชิกแต่ละรายทราบอย่างน้อยทุกงวดหกเดือนของปีปฏิทินโดยให้ส่งรายงานดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดหกเดือน และหากสมาชิกขอทราบรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลส่งรายงานดังกล่าวให้สมาชิกทราบในเวลาอันควรด้วย

ข้อ 139 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทำงบดุลโดยมีผู้สอบบัญชีตามข้อ 140 เป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบดุลนั้น และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเสนองบดุลพร้อมรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อทำการรับรองงบดุลดังกล่าว

ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเก็บรักษางบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รายงานการสอบบัญชี และเอกสารแสดงจำนวนสมาชิกและมูลค่าเงินกองทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันแต่งตั้งผู้สอบบัญชีไว้ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย

ข้อ 140 ผู้สอบบัญชีที่จะเป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบดุลตามข้อ 139 ได้จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกสภาวิชาชีพบัญชีสั่งพักใบอนุญาตการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือไม่อยู่ระหว่างถูกสำนักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้สอบบัญชี และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้สอบบัญชีนั้นอาจเป็นเพียงผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีได้

(1) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ไม่เกินหนึ่งร้อยราย

(2) เป็นการตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งที่ประชุมสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ความเห็นชอบโดยคณะกรรมการกองทุนได้แจ้งให้ที่ประชุมสมาชิกทราบแล้วว่า ผู้สอบบัญชีดังกล่าวไม่ใช่ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี

ส่วนที่ 2

การคำนวณมูลค่าต่อหน่วยและจำนวนหน่วย

และการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

____________________

ข้อ 141 ในส่วนนี้

(1) “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งคำนวณโดยนำมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจำนวนหน่วยทั้งหมด ณ วันที่คำนวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น

(2) “จำนวนหน่วย” หมายความว่า จำนวนหน่วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

(3) “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

(4) “การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิกที่ยังคงมีสมาชิกภาพอยู่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วย

(5) “วันคำนวณจำนวนหน่วย” หมายความว่า วันคำนวณจำนวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลและคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล

(6) “ผู้รับรองมูลค่า” หมายความว่า บุคคลที่ทำการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ข้อ 142 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคำนวณมูลค่าต่อหน่วยโดยสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยเงินที่มิได้เกิดจากผลการดำเนินงานให้นำมาคำนวณเป็นจำนวนหน่วย

ข้อ 143 มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ต้องมีมูลค่าสิบบาท

เมื่อมีการจดทะเบียนกองทุนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลคำนวณจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิกครั้งแรกในวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับเงินสะสมและเงินสมทบครั้งแรกเข้ากองทุนพร้อมทั้งข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ตามที่กำหนดในวรรคหนึ่งเป็นมูลค่าในการคำนวณ

ในกรณีที่ปรากฏว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดหรือนโยบายการลงทุนใดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ไม่มีสมาชิกเหลืออยู่จนเป็นเหตุให้ไม่มีมูลค่าต่อหน่วยที่สามารถนำมาคำนวณจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิกใหม่ที่สมัครเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือนโยบายการลงทุนได้ ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับการคำนวณจำนวนหน่วยให้กับสมาชิก

ข้อ 144 ในการคำนวณจำนวนหน่วยหรือมูลค่าต่อหน่วย การปรับปรุงรายการ การแก้ไขมูลค่าต่อหน่วยและการชดเชยมูลค่า ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบรรดาสมาชิกกองทุนเป็นสำคัญ และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดำเนินการดังกล่าวต่อสมาชิกกองทุนแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่โดยผลของกฎหมายทำให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถปฏิบัติต่อสมาชิกแต่ละรายได้อย่างเท่าเทียมกัน หรือโดยเงื่อนไขและปัจจัยของสมาชิกแต่ละรายแตกต่างกัน อันเป็นเหตุให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้ หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ดำเนินการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนดไว้

ข้อ 145 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีวันคำนวณจำนวนหน่วยของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน และในการคำนวณเพื่อเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิก ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคำนวณจำนวนหน่วยที่จะถึงเร็วที่สุดที่ผ่านการรับรองจากผู้รับรองมูลค่าแล้ว โดยเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยให้แก่สมาชิกภายในสามวันทำการนับแต่วันคำนวณจำนวนหน่วย เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจขอผ่อนผันระยะเวลาการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยจากสำนักงานได้

ข้อ 146 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจเลื่อนวันคำนวณจำนวนหน่วยได้ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้

(1) ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถเปิดทำการซื้อขายได้ตามปกติ

(2) มีประกาศสำนักงานให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเลื่อนวันคำนวณจำนวนหน่วยออกไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ หรือเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน

(3) เมื่อมีเหตุจำเป็นทำให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน หรือไม่สามารถคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม โดยบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล

(4) ในกรณีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการลงทุนหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ

(ก) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถเปิดทำการซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละแห่งเกินกว่าร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ

(ข) มีเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างเสรีและทำให้ไม่สามารถโอนเงินออกจากประเทศหรือรับโอนเงินจากต่างประเทศได้ตามปกติ

ข้อ 147 ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว และหากมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่ร้อยละศูนย์จุดห้าของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องและตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดส่งรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วยหรือการชดเชยมูลค่าเสร็จสิ้น โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

(1) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง

(2) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง

(3) สาเหตุที่ทำให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง

(4) การดำเนินการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเมื่อพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง

ในระหว่างที่แก้ไขมูลค่าต่อหน่วย บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดทำมาตรการป้องกันและอาจหยุดการคำนวณเพื่อเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยได้ไม่เกินเจ็ดวันทำการติดต่อกัน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน

ข้อ 148 ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในลักษณะดังต่อไปนี้

(1) เปิดเผยจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล

(2) เปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสองตำแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล

ข้อ 149 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดให้มีการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยผู้รับรองมูลค่าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) เป็นบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานให้เป็นผู้รับรองมูลค่า และ

(2) ไม่มีส่วนได้เสียอันมีนัยสำคัญกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจนทำให้ขาดความเป็นอิสระในการทำหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกองทุนทราบและได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุนแล้ว

ข้อ 150 ในกรณีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดให้มีการรับรองมูลค่าเมื่อมีการทำหรือต่อสัญญาแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินฉบับใหม่

ส่วนที่ 3

การดำเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้

หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้

____________________

ข้อ 151 ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากมีการผิดนัดชำระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ เว้นแต่สำนักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น

ข้อ 152 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อบังคับกองทุน หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน และก่อนการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน โดยคณะกรรมการกองทุนจะต้องตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่า ในขณะนั้นการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น

ในการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจำเป็นในการรับชำระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทำเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้

(1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น หรือ

(2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจัดทำซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้ได้

ข้อ 153 เมื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับประเภท จำนวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง วันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสำคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังคณะกรรมการกองทุนภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา

ข้อ 154 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกำหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับมาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

ข้อ 155 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้

(2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับทรัพย์สินนั้นมา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวได้

ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ส่วนที่ 4

การจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

____________________

ข้อ 156 ในการจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลกำหนดราคาทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้เพื่อใช้ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

ข้อ 157 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ได้

(2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาหรือภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ผู้อุทิศให้ระบุห้ามมิให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้

ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ส่วนที่ 5

หลักเกณฑ์เฉพาะสำหรับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ที่มีหลายนโยบายการลงทุน

____________________

ข้อ 158 ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการดังต่อไปนี้ แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนแทนการดำเนินการในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งกองทุน

(1) การคำนวณมูลค่าต่อหน่วยตามข้อ 142 และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

(2) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อ 148

(3) การรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อ 149

ข้อ 159 ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการดังต่อไปนี้แยกตามแต่ละนโยบายการลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรับจัดการเพิ่มเติมด้วย

(1) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการลงนามในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้วตามข้อ 125

(2) การจัดทำและส่งรายงานต่อสำนักงานตามข้อ 133 วรรคหนึ่ง (3)

(3) การส่งรายงานตามข้อ 138

(4) การจัดทำงบดุลและการเก็บรักษาตามข้อ 139

(5) การดำเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นตามข้อ 155

(6) การดำเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อ 157

ภาค 3

บทเฉพาะกาล

____________________

ข้อ 160 ให้บรรดาคำสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคำสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ

ข้อ 161 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้

ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)

เลขาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไป

ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสำนักงาน

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จึงจำเป็นต้องออกประกาศนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ