(ต่อ1) นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday February 16, 2006 11:01 —ประกาศ ก.ล.ต.

          ส่วนที่ 2 การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของลูกค้า (ข้อ 117 — ข้อ 119)(ประกาศ สน. 1/2548)
- เป็นไปตามประกาศเดิม
- การดำเนินการของบริษัทจัดการกรณีลูกค้าได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- การดำเนินการของบริษัทจัดการกรณีลูกค้าไม่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ส่วนที่ 3 การจัดทำและส่งรายงานต่อสำนักงาน (ข้อ 120 — ข้อ 124) (ประกาศ สน. 13/2547 และข้อ 2(2) ของประกาศที่ สข. 36/2547)
- เป็นไปตามประกาศเดิม
- การจัดทำรายงานข้อมูลการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในรูปแบบแฟ้มข้อความเป็นรายเดือนและรายไตรมาส
- การส่งสำเนางบดุลและรายงานการสอบบัญชีให้สำนักงานภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- การประเมินผลการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุน และรายงานผลการประเมินให้สำนักงานทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
หมวด 2 ข้อกำหนดสำหรับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ข้อ 125 — ข้อ 145)
ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป (ข้อ 125 — ข้อ 128)
- เป็นไปตามประกาศเดิม
- การส่งรายงานจำนวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย และมูลค่าของเงินสะสมและสมทบพร้อมผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกแต่ละรายอย่างน้อยทุกงวด 6 เดือนของปีปฏิทิน
- การจัดทำงบดุลและรายงานการสอบบัญชี
- เงื่อนไขการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เพิ่มเติมจากประกาศเดิม
- ให้สมาชิกมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนได้ (employee’s choice)
เหตุผล เพื่อให้สมาชิกมีทางเลือกในการลงทุนได้ตามคุณลักษณะของตนเองตามเงื่อนไขอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- กรณีสมาชิกขอทราบรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือน ให้บริษัทส่งรายงานให้สมาชิกทราบในเวลาอันควร
เหตุผล เพิ่มสิทธิสมาชิกในการร้องขอข้อมูลที่มีความละเอียดมากขึ้น โดยเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทจัดการและลูกค้า
ส่วนที่ 2 การคำนวณมูลค่าต่อหน่วยและจำนวนหน่วยและการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ข้อ 129 — ข้อ 138)
- เป็นไปตามประกาศเดิม
- การคำนวณมูลค่าต่อหน่วย การกำหนดวันคำนวณจำนวนหน่วย (trade date) การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยให้สมาชิก การเลื่อนวันคำนวณจำนวนหน่วย การแก้ไขในกรณีที่มูลค่าหน่วยไม่ถูกต้อง และการเปิดเผยข้อมูล (ประกาศที่ สข. 41/2548)
- การรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ประกาศที่ สข. 40/2548)
ส่วนที่ 3 การดำเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ (ข้อ 139 — ข้อ 143) (ประกาศที่ กน. 40/2544)
- เป็นไปตามประกาศเดิม
- กรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้
- การกำหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับมาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น
ส่วนที่ 4 การจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ข้อ 144- ข้อ 145)(ประกาศที่ กน. 39/2545)
- เป็นไปตามประกาศเดิม
- การดำเนินการของบริษัทจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน
2. การมีผลใช้บังคับ
ประกาศฉบับดังกล่าวจะต้องมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
3. ผลกระทบจากการแก้ไขประกาศและแนวปฏิบัติ
3.1 ประเด็นผลกระทบ
(1) การจ่ายเงินปันผล
การจ่ายเงินปันผลต้องไม่ทำให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมขึ้นในงวดบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น ซึ่งเป็นการกำหนดเพิ่มเติมจากประกาศเดิม
แนวทางแก้ไข ให้ยื่นแก้ไขโครงการภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ร่างประกาศมีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ดี แม้จะยังไม่แก้ไขโครงการ บริษัทจัดการต้องปฏิบัติเรื่องการจ่ายเงินปันผลเป็นไปตามประกาศใหม่ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
(2) การดำรงจำนวนผู้ถือหน่วย
กรณีจำนวนผู้ถือหน่วยลดลงน้อยกว่า 35 รายในวันทำการใด (retail fund) เป็นเหตุในการเลิกกองทุนรวม จากเดิมที่ประกาศกำหนดจำนวนผู้ถือหน่วยลดลงน้อยกว่า 10 รายในวันทำการใด เป็นเหตุในการเลิกกองทุนรวม
แนวทางแก้ไข กองทุนรวมเดิมที่ไม่มีจำนวนผู้ถือหน่วยเป็นไปตามประกาศใหม่ ให้บริษัทจัดการแจ้งรายชื่อกองทุนรวมและจำนวนผู้ถือหน่วยต่อสำนักงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับและดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศใหม่ภายใน 1 ปี สำหรับในกรณีกองทุนปิดให้แจ้งสำนักงานภายใน 15 วันนับแต่วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วย กล่าวคือ
1. ในกรณีที่ประสงค์จะเป็น retail fund ต้องทำการเสนอขายหรือดำเนินการให้ได้จำนวนผู้ถือหน่วยตามเกณฑ์หรือทำการควบรวมกับกองทุนภายใต้การจัดการ
2. ในกรณีที่ประสงค์จะเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน (non-retail fund) บริษัทจัดการต้องจัดให้มีผู้ถือหน่วยทุกรายเป็นนักลงทุนสถาบันตามประกาศที่ สน. 23/2547
ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดำเนินการตาม 1. และ 2. ได้ สำนักงานอาจสั่งเลิกโครงการ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของบทเฉพาะกาลตามข้อ 112
อนึ่ง ผู้ดูแลผลประโยชน์มีหน้าที่ต้องดูแลการดำรงจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนให้เป็นไปตามโครงการและประกาศกำหนด และในกรณีที่จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดในโครงการหรือประกาศ และบริษัทจัดการไม่ดำเนินการตามประกาศ และโครงการ ผู้ดูแลผลประโยชน์มีหน้าที่ต้องรายงานให้สำนักงานทราบด้วย
4. การซักซ้อมความเข้าใจ
เนื่องจากร่างประกาศมีจำนวนมากถึง 145 ข้อ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน สำนักงานจะจัดซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศจัดการกองทุน โดยจะจัดเป็น 3 รอบ รอบละประมาณ 60 คน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
(1) วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 9.30 — 12.00 น. ซ้อมความเข้าใจแก่ธุรกิจกองทุนรวม และผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
(2) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 13.30 — 17.00 น. ซักซ้อมความเข้าใจแก่ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล และธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จึงขอให้บริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ส่งรายชื่อของผู้เข้าร่วมสัมมนาบริษัทละไม่เกิน 2 ท่านในแต่ละธุรกิจ และวันที่จะเข้าร่วมสัมมนา ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 ได้ที่ คุณอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผ่านทาง e-mail address : archinee@sec.or.th หรือ โทรสาร : 0-2263-6292 และหากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2263-6032
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวดวงมน ธีระวิคาวี)
ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
เลขาธิการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศสำนักงานที่ สน/ข. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน
ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549
2. ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2549 เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการ
ควบรวมกองทุนและการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้
ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2549
3. การจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดการกองทุนรวม
ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
โทร. 0-2263-6032

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ