การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศจัดการกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday April 21, 2006 10:31 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                                11  เมษายน  2549
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม/กองทุนส่วนบุคคลทุกบริษัทผู้ดูแลผล
ประโยชน์ของกองทุนรวมทุกรายผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลทุกราย
นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ที่ กลต.น.(ว) 12/2549 เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศจัดการกองทุน
ตามที่สำนักงานได้ออกประกาศที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (“ประกาศที่ สข/น. 1/2549”) และสำนักงานได้จัดซักซ้อมความเข้าใจเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จำนวน 3 รอบ คือในวันที่ 23 27 และ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ปรากฏว่า ได้มีข้อซักถามเกี่ยวกับประกาศเป็นจำนวนมาก ประกอบกับข้อกำหนดในประกาศบางข้อมีผลกระทบในทางปฏิบัติ นั้น
เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้าใจที่ตรงกันและสามารถถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดได้อย่างถูกต้อง สำนักงานจึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นในประกาศและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม พร้อมทั้งเกณฑ์ผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศสำหรับกรณีที่มีผลกระทบในทางปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ประเด็นซักซ้อมความเข้าใจ
1.1 การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด (ส่วนที่ 2 ข้อ 13) แนวปฏิบัติ บริษัทจัดการต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีวันทำการสุดท้ายของเดือนเป็นวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องประกาศ NAV มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทำการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทำการถัดไป
(2) กรณีวันทำการสุดท้ายของเดือนมิใช่วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการประกาศเฉพาะมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน
(3) กรณีบริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนทุกวัน แต่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนเดือนละครั้ง (หรือในทางกลับกัน) ให้พิจารณาจากวันที่บริษัทจัดการดำเนินการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนที่มีความถี่ในการดำเนินการมากกว่าเป็นหลัก ดังนั้น กรณีนี้บริษัทจัดการต้องประกาศทุกวันทำการ
ทั้งนี้ การแก้ไขโครงการในเรื่องดังกล่าวข้างต้น บริษัทจัดการสามารถใช้วิธี fast track ตามข้อ 40 ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ได้
1.2 การดำเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (ส่วนที่ 3 ข้อ 17 - 23) แนวปฏิบัติ บริษัทจัดการต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีกองทุนปิด เฉพาะกรณีมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการดำเนินการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมูลค่าหน่วยลงทุน
(2) กรณีกองทุนเปิด เฉพาะกรณีราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการดำเนินการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับราคาหน่วยลงทุน
1.3 การชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน (pay in kind) (ส่วนที่ 4 ข้อ 31) แนวปฏิบัติ
(1) กรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะให้กองทุนสามารถ pay in kind ได้ ต้องระบุเงื่อนไขการชำระและขั้นตอนการดำเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการ อย่างไรก็ดี การกำหนดวิธี pay in kind ไว้เป็นการทั่วไปตามข้อ 31(1) ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 หมายความว่า บริษัทจัดการจะต้องจ่ายแบบ pay in kind ทุกกรณี ทั้งนี้ การแก้ไขโครงการเพื่อกำหนดเงื่อนไขการ pay in kind ตามข้อ 31(1) (2) และ (4) บริษัทจัดการต้องแก้ไขโครงการโดยต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วย บริษัทจัดการไม่สามารถใช้วิธี fast track ตามข้อ 40 ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ได้
(2) การแก้ไขโครงการเพื่อกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ pay in kind ในแต่ละกรณีที่กำหนดอยู่แล้วในครงการ เช่น การแก้ไขโครงการเพื่อกำหนดเงื่อนไขการ pay in kind สำหรับกรณีไม่สามารถชำระค่าขายคืนเป็นเงินตามข้อ 31 (3) บริษัทจัดการสามารถใช้วิธี fast track ตามข้อ 40 ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ได้
1.4 การจัดทำรายงานของกองทุนรวม (ส่วนที่ 5 )
(1) การจัดทำรายงานการลงทุนที่ไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด (ข้อ 33) แนวปฏิบัติ บริษัทจัดการต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ส่งรายงานรอบระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เฉพาะกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดได้ในรอบระยะเวลานั้นให้สำนักงานพร้อมเหตุผล สำหรับกรณีที่บริษัทจัดการสามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วน ให้จัดทำและเก็บรายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทเพื่อการตรวจสอบของสำนักงาน
(2) กรณีกองทุนรวมตราสารแห่งทุนหรือกองทุนรวมหน่วยลงทุนซึ่งกำหนดนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน หรือหน่วยลงทุนและใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนโดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV แล้วแต่กรณีนั้น ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดในรอบปีบัญชีโดยเกิดจากปัจจัยภายนอกที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ในทางกฎหมายสามารถพิจารณาได้ว่า บริษัทจัดการปฏิบัติผิดไปจากข้อกำหนดของโครงการ ถึงแม้ว่าจะส่งรายงานให้สำนักงานตาม (1) แล้วก็ตาม ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศที่ต้องการให้บริษัทจัดการมีความยืดหยุ่นในการจัดการลงทุนกรณีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภายนอก บริษัทจัดการจึงควรกำหนดข้อความในลักษณะดังต่อไปนี้ “บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า .................(ระบุอัตราซึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบห้า)................ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ และบริษัทจัดการได้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวให้สำนักงาน
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบ
(1) ................................................
(2) ................................................”
ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่จะระบุในโครงการข้างต้น ต้องเป็นเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และบริษัทจัดการต้องดำเนินการด้วยความรัดกุมและรอบคอบ เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยอย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วย เช่น การที่ราคาตลาดของหลักทรัพย์ลดลงอย่างรุนแรงในช่วงที่ใกล้กับวันสิ้นรอบปีบัญชี เป็นเหตุให้บริษัทจัดการไม่สามารถปรับ
การลงทุนได้ทันก่อนสิ้นปีบัญชี เป็นต้น
(2) การจัดทำรายงาน 6 เดือนและรายงานประจำปี (ข้อ 37) แนวปฏิบัติ การส่งรายงานประจำปีให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนและสำนักงาน หากบริษัทจัดการเลือกทำรายงาน 6 เดือนตามปีบัญชี ให้ส่งรายงานประจำปีภายใน 3 เดือน และไม่ต้องจัดทำรายงาน 6 เดือนหลัง แต่หากบริษัทจัดการเลือกทำรายงาน 6 เดือนตามปีปฏิทิน ให้ส่งรายงานประจำปีภายใน 4 เดือน
ทำรายงาน 6 เดือน
ตามปีบัญชี ตามปีปฏิทิน
รายงาน 6 เดือนแรก
รายงาน 6 เดือนหลัง
การส่งรายงานประจำปี ภายใน 3 เดือน ภายใน 4 เดือน
ทั้งนี้ หากรอบปีบัญชีเป็นช่วงเวลาเดียวกับปีปฏิทิน บริษัทจัดการไม่ต้องส่งรายงาน 6 เดือนหลัง
อนึ่ง เนื่องจากการจัดทำรายละเอียดเงินลงทุนในข้อ 37 (1) และงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุนในข้อ 37 (2) มีรายละเอียดบางส่วนที่เหมือนกัน บริษัทจัดการสามารถจัดทำรวมเป็นรายงานเดียวกันได้ โดยต้องมีรายละเอียดครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ 37 (1) และ 37 (2)
กรณีบริษัทจัดการเลือกจัดทำรายงาน 6 เดือนตามปีปฏิทินซึ่งกำหนดให้ต้องแสดงงบการเงินในรายงานดังกล่าวด้วย บริษัทจัดการสามารถใช้งบการเงิน 6 เดือนหรือ 1 ปีตามรอบปีบัญชีล่าสุดของกองทุน
ตัวอย่าง
รอบปีบัญชีของกองทุนคือ 1 เมษายน — 31 มีนาคมของทุกปี
การจัดทำรายงาน 6 เดือน เลือกตามปีปฏิทิน
- รายงาน 6 เดือนแรก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ใช้งบการเงินรอบประจำปี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549
- รายงาน 6 เดือนหลัง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ให้ใช้งบการเงินรอบ 6 เดือน ณ วันที่ 30 กันยายน 2549
ทั้งนี้ การแก้ไขโครงการในเรื่องดังกล่าวข้างต้น บริษัทจัดการสามารถใช้วิธี fast track ตามข้อ 40 ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ได้
1.5 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (ส่วนที่ 6 ข้อ 40)
แนวปฏิบัติ บริษัทจัดการที่จะยื่นแก้ไขโครงการโดยวิธี fast track ต้องมีคำรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์ว่า มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วย หรือเป็นการแก้ไขให้เป็นไปตามที่ฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี ในบางกรณีหากพิจารณาได้ว่า การแก้ไขโครงการกระทบสิทธิผู้ถือหน่วยแม้จะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่สามารถยื่นแก้ไขโครงการโดยวิธี fast track ได้ ซึ่งสำนักงานขอนำส่งตัวอย่างการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยวิธี fast track เพื่อเป็นแนวทางแก่บริษัทจัดการโดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ ทั้งนี้ กรณีที่สำนักงานออกประกาศใด ๆ ใหม่ สำนักงานจะแจ้งกรณีที่กระทบสิทธิให้ทราบพร้อมกับการเวียนประกาศนั้น ๆ
1.6 การดำเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ (ส่วนที่ 9 )
แนวปฏิบัติ กรณีที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ บริษัทจัดการจะดำเนินการ set aside หรือไม่ก็ได้ และการ set aside ดังกล่าว บริษัทจัดการจะ mark ตราสารดังกล่าวเป็นศูนย์หรือ mark down ก็ได้ อย่างไรก็ดี หากบริษัทจัดการทำการ set aside บริษัทจัดการไม่ต้องนำตราสารแห่งหนี้ หรือสิทธิเรียกร้องมารวมคำนวณ NAV ของกองทุน (ข้อ 63)
อนึ่ง กรณีที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์หรือกรณีที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากต่อมาบริษัทจัดการขายตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ ให้บริษัทจัดการนำความในข้อ 70 มาบังคับใช้โดย
อนุโลม กล่าวคือ บริษัทจัดการสามารถจ่ายเงินที่ได้จากการขายตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บันทึกมูลค่าตราสารหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือ ณ วันที่มีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชำระหนี้ได้
ทั้งนี้ การแก้ไขโครงการในเรื่องดังกล่าวข้างต้น บริษัทจัดการสามารถใช้วิธี fast track ตามข้อ 40 ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ได้
1.7 การจ่ายเงินปันผล (ส่วนที่ 11)
แนวปฏิบัติ บริษัทจัดการไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากทำให้ผลขาดทุนสะสมของงวดบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
กำไรสะสมต้นงวด 500 บาท
ขาดทุนในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล (200) บาท
สรุป สามารถจ่ายเงินปันผลเฉพาะในส่วนกำไรต้นงวด โดยจ่ายได้ไม่เกิน 300 บาท
ขาดทุนสะสมต้นงวด (200) บาท
กำไรในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล 500 บาท
สรุป สามารถจ่ายเงินปันผลได้เฉพาะส่วนกำไรในงวดบัญชี โดยจ่ายได้ไม่เกิน 500 บาท
กรณีโครงการระบุว่าจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง หากการจ่ายเงินปันผลดังกล่าว ทำให้เกิดผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในงวดบัญชีต่อไป เช่น กองทุนมีขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้น (unrealized loss > unrealized gain) ในกรณีนี้บริษัทจัดการจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้
ทั้งนี้ การแก้ไขโครงการในเรื่องดังกล่าวข้างต้น บริษัทจัดการสามารถใช้วิธี fast track ตามข้อ 40 ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ได้
1.8 ค่าธรรมเนียมเฉพาะในส่วนกองทุนรวม (ส่วนที่ 12)
(1) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ
แนวปฏิบัติ บริษัทจัดการต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ประกาศกำหนด ทั้งนี้ การเรียกเก็บโดยอิงผลการดำเนินงานบริษัทจัดการยังไม่สามารถเรียกเก็บได้ จนกว่าประกาศสำนักงานที่ อข/น. 5/2549 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจจัดการกองทุน ลงวันที่ 8 มีนาคม 2549 มีผลใช้บังคับวันที่ 16 เมษายน 2549
(2) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเกินกว่าร้อยละ 25แนวปฏิบัติ การพิจารณาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเกินกว่าร้อยละ 25 นั้น ให้พิจารณาจากอัตราค่าธรรมเนียมที่ระบุเป็นตัวเลขทางการไว้ในโครงการ ซึ่งอาจมิใช่ค่าธรรมเนียมที่บริษัทจัดการเรียกเก็บจริงในรอบปีบัญชีนั้น เช่น ในโครงการระบุว่า ไม่เกินร้อยละ 1 ของ NAV ในขณะที่บริษัทจัดการเรียกเก็บจริงที่ร้อยละ 0.50 การพิจารณาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าร้อยละ 25 ให้คิดจากฐานร้อยละ 1 มิใช่ ร้อยละ 0.50
(3) ตัวอย่างการเพิ่มหรือลดค่าธรรมเนียมการจัดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
โครงการกำหนด Fee ที่เรียกเก็บ เพิ่ม/ลด Fee การดำเนินการของบริษัทจัดการ
ค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เกินร้อยละ 1 ของNAV ร้อยละ 0.50 ลดเป็นร้อยละ 0.25 ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ
ค่าธรรมเนียมการจัดการเท่ากับร้อยละ 1 ของ NAV ร้อยละ 1 ลดเป็นร้อยละ 0.75(โครงการไม่ได้ระบุ) 1. ปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการและผู้สนับสนุน2. ปฏิบัติตามมาตรา 129 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ (สำนักงานเห็นชอบ)3. แจ้งสำนักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
ค่าธรรมเนียมการจัดการเท่ากับร้อยละ 1 ของ NAV และบริษัทจัดการอาจจะลดค่าธรรมเนียมต่ำกว่านี้ได้ ร้อยละ 1 ลดเป็นร้อยละ 0.75(โครงการระบุไว้) 1. ปิดประกาศการลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายไว้ที่สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาของบริษัทจัดการและผู้สนับสนุน2. แจ้งสำนักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
ค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เกินร้อยละ 1% ของ NAV ร้อยละ 0.50 เพิ่มเป็นร้อยละ 0.75 ไม่ต้องดำเนินการใดๆ
ค่าธรรมเนียมการจัดการเท่ากับร้อยละ 1 ของ NAV ร้อยละ 1 เพิ่มเป็น 1.10(โครงการไม่ได้ระบุ) 1. ปฏิบัติตามมาตรา 129 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ (ขอมติผู้ถือหน่วย)
ค่าธรรมเนียมการจัดการเท่ากับร้อยละ 1 ของ NAV และบริษัทจัดการอาจจะเพิ่มค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25% ร้อยละ 1 เพิ่มเป็น 1.10(โครงการระบุไว้) 1. แจ้งให้ผู้ถือหน่วยทราบล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 60 วัน โดยวิธี (1) ประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน และ (2) ติดประกาศไว้ที่สำนักงานใหญ่ สำนักงานสาขาของบริษัทจัดการและผู้สนับสนุน2. แจ้งสำนักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
- 7 -
1.9 จำนวนผู้ถือหน่วย 35 ราย
การปฏิบัติของบริษัทจัดการ การนับจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องไม่นับ
ผู้ถือหน่วยซ้ำซ้อนในกองทุนเดียวกัน เช่น ผู้ถือหน่วยประกอบด้วย (1) นาย ก. (2) นาย ข. (3) นาย ค. และ
(4) นาย ก. และนาย ข. ถือว่ากองทุนดังกล่าวประกอบด้วยผู้ถือหน่วย 3 ราย อย่างไรก็ดี หากเป็นชื่อผู้ถือหน่วย
เพื่อบุคคลอื่น สามารถนับเป็น 1 รายได้ เช่น ผู้ถือหน่วยประกอบด้วย (1) นาย ก. (2) นาย ข. (3) นาย ค. และ
(4) นาย ก. เพื่อเด็กหญิง A ถือว่ากองทุนดังกล่าวมีจำนวนผู้ถือหน่วย 4 ราย เป็นต้น
1.10 การแก้ไขโครงการตามประกาศ
กรณีกองทุนรวมที่มีการจัดตั้งก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2549 ซึ่งมีรายละเอียดโครงการ
เป็นไปตามประกาศเดิม และกองทุนนั้นจะครบอายุโครงการภายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 บริษัทจัดการไม่ต้องแก้ไขโครงการตามประกาศที่ สข/น. 1/2549
2. ประเด็นผ่อนผัน
2.1 การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิด (ส่วนที่ 2
ข้อ 12)
โครงการกำหนด — ให้บริษัทจัดการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วย
ลงทุนของวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ภายในวันทำการถัดจากวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์
ประกาศกำหนด - ให้กองทุนรวมปิดที่ไม่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประกาศ NAV และมูลค่าหน่วยลงทุน ของวันทำการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทำการ
ถัดไป
ผ่อนผัน อาศัยอำนาจตามข้อ 85 (2) ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ผ่อนผันให้
กองทุนรวมปิดที่ไม่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน บริษัทจัดการสามารถปฏิบัติตามโครงการคือ ประกาศ NAV และมูลค่าหน่วยลงทุน ที่คำนวณทุกสิ้นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยไม่ต้องประกาศ NAV
และมูลค่าหน่วยลงทุนของวันทำการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทำการถัดไป จนกว่าจะมีการแก้ไขโครงการให้เป็นไปตามประกาศ ซึ่งมีระยะเวลาภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศที่ สข/น. 1/2549 มีผลใช้บังคับ
2.2 การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด
(ส่วนที่ 12 ข้อ 13)
โครงการกำหนด ในกรณีที่บริษัทจัดการกำหนดวันทำการซื้อขายแต่ละครั้งห่างกัน
เกิน 1 สัปดาห์ ให้บริษัทจัดการประกาศ NAV และมูลค่าหน่วยลงทุนที่คำนวณทุกสิ้นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ภายในวันทำการถัดจากวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามประกาศเดิม (กน. 46/2541)
ประกาศกำหนด กรณีกองทุนรวมเปิด interval fund ที่กำหนดวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ให้บริษัทจัดการประกาศ NAV มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของวันทำการสุดท้ายของเดือน ภายในวันทำการถัดไป
- 8 -
ผ่อนผัน อาศัยอำนาจตามข้อ 85(2) ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ผ่อนผันเหมือน
ข้อ 2.1
อนึ่ง สำหรับบริษัทจัดการที่ยื่นขอผ่อนผันการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและ
มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิดในวันทำการสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2549
(วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549) มายังสำนักงานแล้ว (รายชื่อตามแนบ) สำนักงานได้อาศัยอำนาจตามข้อ 85(2) ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ผ่อนผันให้ตามที่ขอไป
2.3 รายงาน 6 เดือน/ รายงานประจำปี (ส่วนที่ 5 ข้อ 35 — 37)
รายงาน 6 เดือน ประกาศกำหนดให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลซึ่งเพิ่มเติมจาก
ประกาศที่ กน. 46/2541 อยู่ 2 รายการ คือ
(1) งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน โดยไม่ต้องผ่าน
การตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี
(2) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของ
กองทุนรวมในรอบปีบัญชีนั้น ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบปีบัญชีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับรอบปีบัญชีก่อนหน้า
รายงานประจำปี ประกาศกำหนดให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลเพิ่มเติมจากประกาศ
ที่ กน. 46/2541 คือ
(1) ความเห็นของบริษัทจัดการเช่นเดียวกับ 2.3(2)
(2) ข้อมูลการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในนามกองทุนรวม
ของรอบปีปฏิทินล่าสุด
ผ่อนผัน อาศัยอำนาจตามข้อ 85 (4) ของประกาศที่ สข/น. 1/2549 ผ่อนผันให้
การจัดทำรายงาน 6 เดือนและรายงานประจำปีที่มีรอบบัญชีก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 และอยู่ระหว่างจัดทำรายงาน ไม่ต้องแสดงข้อมูลตามที่ประกาศกำหนด โดยสามารถแสดงข้อมูลเป็นไปตามประกาศที่ กน. 46/2541 กำหนดได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
- 9 -
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายชื่อบริษัทจัดการที่ได้รับผ่อนผันการประกาศ NAV และมูลค่าหน่วยลงทุนในวันที่
28 กุมภาพันธ์ 2549
2. ตัวอย่างการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการแบบ fast track
ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
โทร. 0-2263-6032
รายชื่อบริษัทจัดการที่ได้รับผ่อนผันการประกาศ NAV และมูลค่าหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549
1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันดังนี้
(1) กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ (MGE)
(2) กองทุนเปิดโกลบอล พรีเมียม ฟันด์ (G-PREMIUM)
2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทิสโก้ จำกัด ประกอบด้วยกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันดังนี้
(1) กองทุนเปิดทิสโก้พันธบัตรระยะสั้น 1
(2) กองทุนเปิดทิสโก้พันธบัตรระยะสั้น 2
(3) กองทุนเปิดทิสโก้พันธบัตรเพิ่มค่า 1
(4) กองทุนเปิดทิสโก้พันธบัตรเพิ่มค่า 2
(5) กองทุนเปิดทิสโก้พันธบัตรเพิ่มค่า 3
(6) กองทุนเปิดทิสโก้มิลเลียนแนร์ ฟันด์ 1
(7) กองทุนเปิดทิสโก้มิลเลียนแนร์ ฟันด์ 2
(8) กองทุนเปิดทิสโก้มิลเลียนแนร์ ฟันด์ 3
(9) กองทุนเปิดทิสโก้บิลเลียนแนร์ ฟันด์ 1
(10) กองทุนรวมทิสโก้เพิ่มผล 3
(11) กองทุนรวมทิสโก้เพิ่มผล 5
(12) กองทุนเปิดทิสโก้เพิ่มทรัพย์ 5 เอฟ
(13) กองทุนเปิดทิสโก้เพิ่มทรัพย์ 9 เอฟ
3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบีที จำกัด ประกอบด้วยกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันดังนี้
(1) กองทุนรวมไทยธรรมตราสารหนี้ 1
(2) กองทุนรวมไทยธรรมคุ้มครองเงินต้น 1
(3) กองทุนรวมไทยธรรมคุ้มครองเงินต้น 2
(4) กองทุนรวมไทยธรรมคุ้มครองเงินต้น 3
(5) กองทุนรวมไทยธรรมคุ้มครองเงินต้น 4
(6) กองทุนรวมไทยทาร์เก็ต
(7) กองทุนเปิดไทยทวิตราสารหนี้
(8) กองทุนเปิดไทยแคร์ตราสารหนี้
(9) กองทุนเปิดไทยฟิกซ์เทอมคุ้มครองเงินต้น 1
(10) กองทุนเปิดไทยฟิกซ์เทอมคุ้มครองเงินต้น 2
(11) กองทุนเปิดไทยฟิกซ์เทอมคุ้มครองเงินต้น 3
(12) กองทุนเปิดไทยมาร์เก็ตเทรนด์คุ้มครองเงินต้น 1
- 2 -
4. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันดังนี้
(1) กองทุนเปิดกรุงไทยมั่นคง
(2) กองทุนเปิดกรุงไทยมั่นคง2
(3) กองทุนเปิดกรุงไทยมั่นคง3
(4) กองทุนเปิดกรุงไทยมั่นคง4
(5) กองทุนรวมกรุงไทยบริหารเงิน
(6) กองทุนรวมกรุงไทยบริหารเงิน2
(7) กองทุนรวมกรุงไทยบริหารเงิน3
(8) กองทุนรวมกรุงไทยบริหารเงิน4
(9) กองทุนรวมกรุงไทยบริหารเงิน5
(10) กองทุนรวมกรุงไทยบริหารเงิน6
(11) กองทุนรวมกรุงไทยบริหารเงิน7
(12) กองทุนรวมกรุงไทยตั๋วเงินคลัง
(13) กองทุนรวมกรุงไทยตั๋วเงินคลัง2
(14) กองทุนรวมกรุงไทยตั๋วเงินคลัง3
(15) กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น
(16) กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น2
(17) กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น3
(18) กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น4
(19) กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น5
(20) กองทุนรวมกรุงไทยดอยซ์แบงก์ เอฟเอ็กซ์ คุ้มครองเงินต้น
5. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด ประกอบด้วยกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันดังนี้
(1) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์ ชอร์ทเทอม อินคัม 1A
(2) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์ ชอร์ทเทอม อินคัม 2A
(3) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์ ชอร์ทเทอม อินคัม 3A
(4) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์คุ้มครองเงินต้น 1
(5) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์คุ้มครองเงินต้น 2
(6) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์คุ้มครองเงินต้น 3
(7) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์คุ้มครองเงินต้น 4
(8) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์คุ้มครองเงินต้น 5
(9) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์คุ้มครองเงินต้น 6
-3 -
(10) กองทุนปิดพรีมาเวสท์ อินเตอร์เนชั่นแนล บอนด์ คุ้มครองเงินต้น
(11) กองทุนปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์ฟิกซ์อินคัม 2
(12) กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์อินคัม
(13) กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์อินคัม 2
(14) กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์พันธบัตรรัฐบาลคุ้มครองเงินต้น
(15) กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์พันธบัตรรัฐบาลคุ้มครองเงินต้น 2
(16) กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์ ควิก โบนัส คุ้มครองเงินต้น
6. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด ประกอบด้วยกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันดังนี้
(1) กองทุน interval fund ทุกกองทุน
7. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนนครหลวงไทย จำกัด ประกอบด้วยกองทุนที่ได้รับการผ่อนผันดังนี้
(1) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 1
(2) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร คุ้มครองเงินต้น
(3) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2 คุ้มครองเงินต้น
(4) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 3 คุ้มครองเงินต้น
(5) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 4 คุ้มครองเงินต้น
(6) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 5 คุ้มครองเงินต้น
(7) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 6 คุ้มครองเงินต้น
(8) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 7 คุ้มครองเงินต้น
(9) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2/2 คุ้มครองเงินต้น
(10) กองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2549/1 คุ้มครองเงินต้น
ตัวอย่างการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการแบบ fast track
แก้ไขตามประกาศ แก้ไขเรื่องอื่น ๆ
1. เพิ่มความเพียงพอของเงินกองทุน 1. ลดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วย
2. เพิ่มการทำธุรกรรมการขายโดยมีสัญญา ซื้อคืน (repo) 2. ขยายช่วงเวลาระหว่างวันในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
3. เปลี่ยนคำว่า ตัวแทน เป็นผู้สนับสนุนฯ 3. เพิ่มช่องทางการขาย และรับซื้อคืน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ