(ต่อ2) การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday September 13, 2006 15:10 —ประกาศ ก.ล.ต.

                    (ข)  ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า  ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคำนวณและแจ้งมูลค่า
ยุติธรรมของตราสารดังกล่าวไปยังสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยทันที
(ค) ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามเปลี่ยนมือ นอกจากข้อตกลงตาม (ก) และ (ข) แล้ว บริษัทจัดการต้อง
จัดให้มีข้อตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้กองทุนไถ่ถอนตราสารดังกล่าวก่อนครบอายุตราสารเมื่อบริษัทจัดการ
ร้องขอได้
(2) เปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ตราสารดังกล่าวให้สิทธิแก่ผู้ออกในการที่จะชำระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร (callable)
ในกรณีที่บริษัทจัดการมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้การให้ความเห็นชอบเป็นอันสิ้นสุดลงทันทีในเวลาที่ลงทุนโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว
ข้อ 42 การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 40 วรรคหนึ่ง (1) และ (3)
(1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15 โดยอนุโลม
(2) ตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารดังกล่าวจัดทำขึ้นในรูปแบบตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 13 หรือข้อ 14(1)(2) (3) หรือ (4)
(ข) ตราสารดังกล่าวต้องอ้างอิงกับราคาหุ้น ราคาเฉลี่ยของกลุ่มหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ
ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตราสารแห่งหนี้ตามข้อ 11(1) หรือ (2) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มสินค้า
โภคภัณฑ์ หรืออัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ในกรณีของดัชนี ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ 35(2)(3) และ (4) ด้วย
(ค) ตราสารดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ผู้ออกชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวนให้แก่กองทุนเมื่อครบอายุตราสาร เว้นแต่เป็นตรา
สารที่ไม่ชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวนเมื่อครบอายุตราสารซึ่งสำนักงานให้ความเห็นชอบแล้ว และบริษัทได้จัดให้มีข้อ
ตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อ 41(1) และ
(ง) ในกรณีที่เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกตราสารในการที่จะชำระหนี้ตามตราสาร
ก่อนครบอายุตราสาร (callable) บริษัทจัดการได้เปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือ
คณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ก่อนทำการลงทุน
หมวด 4
การเปิดเผยข้อมูลการลงทุน
ข้อ 43 ในกรณีที่ตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนจะลงทุนเป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ออก
ตราสารในการที่จะชำระหนี้ตามตราสารก่อนครบอายุตราสาร (callable) ให้บริษัทจัดการเปิดเผย
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุน แล้วแต่กรณี ก่อนทำการลงทุน
ข้อ 44 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ในประเทศตาม
ข้อ 12 ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17 ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 18 หรือเงินฝากตาม
ข้อ 21(1) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดทำข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) รายงานสรุปจำนวนเงินลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้
กึ่งทุน และสัดส่วนเงินลงทุนดังกล่าวต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยแบ่งข้อมูลตามกลุ่ม
ดังต่อไปนี้
(ก) กลุ่มตราสารภาครัฐไทยและตราสารภาครัฐต่างประเทศ
(ข) กลุ่มตราสารที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน
(ค) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
(ง) กลุ่มตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับต่ำกว่าอันดับที่สามารถ
ลงทุนได้ (investment grade) หรือตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(2) รายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้เป็นรายตัว
(3) ในกรณีของกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการเปิดเผย
สัดส่วนเงินลงทุนขั้นสูงต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่บริษัทจัดการตั้งไว้ในแผนการลงทุนสำหรับกลุ่มตราสารตาม (1)(ง) ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สัดส่วนเงินลงทุนขั้นสูง
ดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย
ข้อ 45 ให้บริษัทจัดการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่จัดทำขึ้นตามข้อ 44 ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของกองทุนรวม ให้เปิดเผยเป็นรายเดือนทางเว็บไซต์ (web site) ของบริษัทภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือน พร้อมทั้งจัดพิมพ์ข้อมูลจากเว็บไซต์ดังกล่าว
ให้สำนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปิดเผยดังกล่าว
(2) ในกรณีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรายเดือนและรายงานรายปี
การเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 44(2) อาจใช้วิธีเปิดเผยรายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวเป็นรายกลุ่มตาม (1)(ก) ถึง (ง) แทนการเปิดเผยเป็นรายตัวก็ได้
ข้อ 46 ในกรณีที่กองทุนประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ
ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ให้บริษัทจัดการเปิดเผยนโยบายการลงทุนพร้อมทั้ง
อธิบายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือสัญญารับ
จัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นหรือได้ทำสัญญา
รับจัดการกองทุนส่วนบุคคลไว้ก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือ
สัญญาดังกล่าวก่อนการเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในกรณีที่กองทุนรวมจะเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้า
หรือตัวแปรตามข้อ 34(4) ให้บริษัทส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติต่อสำนักงานเพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบก่อนที่บริษัทจะส่งหนังสือดังกล่าวไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ หากสำนักงานมิได้แจ้ง
ผลการพิจารณาให้บริษัททราบภายใน 15 วัน ให้ถือว่าสำนักงานให้ความเห็นชอบหนังสือนั้นแล้ว
หนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติตามวรรคสองต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้วย
ข้อ 47 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ
ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดทำ
ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ใช้ในการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาหรือตราสารดังกล่าว
ตลอดจนผลกำไรหรือผลขาดทุนที่บริษัทคาดว่าจะได้รับ
(2) การวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา ในกรณีของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(3) แผนรองรับในการชำระหนี้ตามสัญญาหรือตราสารดังกล่าว
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่ง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ลงทุน
ตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป
ข้อ 48 ให้บริษัทจัดการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่จัดทำขึ้นตามข้อ 47 ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวม จัดส่งข้อมูลให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในห้าวันทำการ
นับแต่วันที่มีการลงทุนหรือได้มาซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดเก็บสำเนาข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ด้วย
(2) ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดส่งข้อมูลให้ลูกค้า หรือต่อคณะกรรมการ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี
หมวด 5
การดำเนินการเมื่อมีเหตุที่ทำให้ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ
ที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้
ข้อ 49 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ในหมวด 2 และหมวด 3 ของภาคนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนไว้แล้ว หากต่อมาทรัพย์สินดังกล่าว
มีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป จนเป็นเหตุให้บริษัทจัดการไม่สามารถมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้
ให้บริษัทจัดการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ
เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน
ภาค 2
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนของกองทุน
ข้อ 50 ข้อกำหนดในภาคนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะกับ
(1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund)
(2) กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย และ
(3) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อ 51 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไปในหมวด 1
(2) จัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับกองทุนเฉพาะประเภทตามที่กำหนดไว้ในหมวด 2 ถึงหมวด 12 และ
(3) ให้ดำเนินการเมื่อมีเหตุที่ทำให้การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินไม่เป็นไปตามอัตราส่วนตามที่กำหนดในหมวด 13
หมวด 1
หลักเกณฑ์อัตราส่วนการลงทุนทั่วไป
ข้อ 52 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่จำกัดอัตราส่วน
(1) ตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1)
(2) เงินฝากระยะสั้นหรือตราสารระยะสั้นที่เทียบเท่าเงินสด (near-cash) ในต่างประเทศ
ตามข้อ 21(2)
ข้อ 53 บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารภาครัฐต่างประเทศตามข้อ 14(2)
หรือข้อ 17(1) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในสองอันดับแรก หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็น
ตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่จำกัดอัตราส่วน
ในกรณีของกองทุนรวมเปิด มูลค่าของตราสารภาครัฐต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง
เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตราสารนั้นในแต่ละรุ่น เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มี
การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption)
ข้อ 54 ในกรณีที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจ
ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่นายจ้างหรือบริษัทในเครือของนายจ้างเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง
ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่า
ทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ มิให้นับรวมตราสารภาครัฐไทยตามข้อ 14(1) ซึ่ง
นายจ้างเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญาในอัตราส่วนดังกล่าว
ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง มิให้หมายความรวมถึง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมนั้น
การคำนวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) นับทรัพย์สินทุกประเภทที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย
(2) นับรวมการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนทั้งหมดไปลงทุนในทรัพย์สินของนายจ้าง หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สำนักงานกำหนด
ข้อ 55 มิให้นำความในข้อ 54 มาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับอัตราส่วนไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามข้อ 59(1)
(2) การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนายจ้างมากกว่าหนึ่งราย (pooled fund)
และมีจำนวนนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันน้อยกว่าสองในสามของจำนวนนายจ้างทั้งหมด
ส่วนที่ 1
อัตราส่วนที่คำนวณตามผู้ออกทรัพย์สิน
หรือคู่สัญญา (company limit)
ข้อ 56 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารภาครัฐต่างประเทศที่นอกเหนือจาก
ข้อ 53 หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้
โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคำนวณเฉพาะผู้ออกหรือผู้เป็นคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 54 ให้ใช้อัตราส่วนตามข้อ 54 แทน
ในกรณีของกองทุนรวมเปิด มูลค่าของตราสารภาครัฐต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตราสารนั้นในแต่ละรุ่น เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเปิดที่มีการขายและ
รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption)
การคำนวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับตราสารตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สิน
ทุกประเภทที่ผู้ออกหรือผู้เป็นคู่สัญญารายดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง
ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเหล่านั้น รวมในอัตราส่วน
การลงทุนดังกล่าวด้วย
ข้อ 57 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังต่อไปนี้ ที่ธนาคารที่มีกฎหมาย
เฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนรายใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง
ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคำนวณเฉพาะ
ผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละยี่สิบของ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เว้นแต่เข้าลักษณะตามข้อ 54 ให้ใช้อัตราส่วนตามข้อ 54 แทน
(1) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 12
(2) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 3
(3) เงินฝากตามข้อ 21(1)
(4) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 9 หรือ
(5) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 10
การคำนวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับตราสารตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สินตามข้อ 58(1)(2) หรือ (4) และข้อ 59(1) ที่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง
ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าว
โดยในกรณีของธนาคารพาณิชย์ หากธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ให้นับทรัพย์สินที่ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน
หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด มิให้คำนวณเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดำเนินงานของกองทุนเข้าในอัตราส่วนดังกล่าว
ข้อ 58 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ที่บุคคลใดเป็นผู้ออก
ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้
โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคำนวณเฉพาะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน
หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
(1) ตราสารแห่งทุนในประเทศตามข้อ 9 ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตราสารแห่งทุนของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป
(2) หุ้นที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ออกหุ้นดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อย
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน
(3) ตราสารแห่งหนี้ในประเทศตามข้อ 12 หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 18(1) หรือ (2) ทั้งนี้ เฉพาะที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
(4) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 6 ที่อันดับความน่าเชื่อถือ
ของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
(5) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศตามข้อ 10 ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17
หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศตามข้อ 20
(6) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 9 ที่คู่สัญญามีอันดับความน่าเชื่อถือ
อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) หรือ
(7) ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามภาค 1 หมวด 3 ส่วนที่ 10
ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
ตราสารแห่งทุนตาม (1) และตราสารแห่งหนี้ตาม (3) มิให้หมายความรวมถึง
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ถูกจัดให้เป็นตราสารแห่งทุนตามข้อ 9(2) หรือตราสารแห่งหนี้
ตามข้อ 14(6)
การคำนวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้นับทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและทรัพย์สิน
ตามข้อ 59(1) ที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา ซึ่งกองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้รวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย
ข้อ 59 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากกรณีที่
กำหนดไว้ในข้อ 56 ข้อ 57 และข้อ 58 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง
ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเมื่อคำนวณเฉพาะผู้ออก
ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญารายนั้น ไม่เกินร้อยละห้าของ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
(2) การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตาม (1) เมื่อคำนวณรวมทุกบุคคลที่เป็นผู้ออก
ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญาแล้ว ต้องมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ข้อ 60 ในกรณีของกองทุนรวมที่ประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้น นอกจากอัตราส่วน
ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นที่บริษัทใดเป็นผู้ออก
เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม เมื่อรวมกันทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ต้องไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่เป็นการได้มา
เนื่องจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น
ส่วนที่ 2
อัตราส่วนที่คำนวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit)
ข้อ 61 ในกรณีของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่ง
เงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสถาบันการเงิน
ที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา เป็นจำนวนที่มีมูลค่ารวมโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี
ไม่เกินร้อยละสี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
อัตราส่วนตามวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการกำหนดอายุโครงการตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้ เฉพาะในระยะเวลาหกเดือนก่อนวันครบกำหนดอายุของโครงการจัดการกองทุนรวม
ข้อ 62 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
อันเนื่องมาจากปัญหาความผันผวน (fluctuation) ของตลาดเงินและตลาดทุนในวงกว้างในรอบปีบัญชีใด บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจขอผ่อนผันต่อสำนักงานเพื่อไม่ต้องนำการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก
บัตรเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ในช่วงเวลาที่เกิดความผันผวนดังกล่าวมารวมคำนวณ
อัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 61 ได้สำหรับรอบปีบัญชีนั้น
ข้อ 63 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ข้อ 64 ในกรณีของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่ง
หน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้
ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
ของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่า
ทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
(2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของ
ทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
หน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายถึง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตาม
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ข้อ 65 ในกรณีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย
ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ
หน่วยลงทุน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนดังกล่าวได้ โดยไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมนั้น ได้ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย เว้นแต่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุน
น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) ให้ลงทุนหรือมีไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย
(2) ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมมีประกันดังนี้
(ก) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเงินลงทุนและผลตอบแทน ลงทุนได้
โดยไม่จำกัดอัตราส่วน
(ข) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนทั้งจำนวน ลงทุนได้
ไม่เกินร้อยละหกสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล
รายย่อย
(ค) กองทุนรวมมีประกันประเภทรับประกันเฉพาะเงินลงทุนเพียงบางส่วน
ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล
รายย่อย
ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลประสงค์จะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุน
และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีลักษณะตาม (1) และ (2) ร่วมกัน
บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนตาม (1) หรือ (2) ที่สูงกว่า ได้
หน่วยลงทุนในข้อนี้ หมายถึง หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตาม
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนของ
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ข้อ 66 บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ โดยไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงทั้งหมด
ที่กองทุนมีอยู่
ข้อ 67 บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกองทุนรวมเปิดที่มีการขายคืนหน่วยลงทุน
ตามคำสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาแน่นอน (auto redemption) กองทุนรวมเปิดแบบมีกำหนดระยะเวลา (interval fund) ซึ่งกำหนดช่วงห่างของวันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนครั้งก่อนและครั้งใหม่ยาวกว่า
อายุของตราสารดังกล่าว หรือกองทุนรวมปิด
ข้อ 68 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย
มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ข้อ 69 บริษัทจัดการอาจทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ของกองทุนได้ โดยมีมูลค่า
ธุรกรรมรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ การคำนวณ
มูลค่าธุรกรรมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการคำนวณโดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม รวมผลประโยชน์ที่
พึงได้รับจนถึงวันที่คำนวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว
ส่วนที่ 3
ข้อกำหนดในการคำนวณอัตราส่วน
ข้อ 70 ให้บริษัทจัดการคำนวณอัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น
เพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตรเอเชีย หรือ
ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้นับมูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิดังกล่าว รวมในอัตราส่วนสำหรับหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวที่กำหนดในประกาศนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่ากองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นโดยตรง
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ