การผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday July 13, 2007 10:43 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                                            13  กรกฎาคม  2550
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ
กองทุนรวม/กองทุนส่วนบุคคลทุกบริษัท
ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทุกราย
ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลทุกราย
นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ที่ กลต.น.(ว) 31/2550 เรื่อง การผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ
ด้วยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 5/2550 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนและการมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศของกองทุน
สำนักงานจึงขอแจ้งมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกำหนดแนวทางดำเนินการ ดังนี้
I. มติคณะกรรมการ ก.ล.ต.
1. ประเภททรัพย์สินในต่างประเทศที่กองทุนสามารถลงทุนได้
1.1 บริษัทจัดการอาจลงทุนในทรัพย์สินในต่างประเทศเพื่อกองทุนได้เทียบเท่ากับประเภททรัพย์สินในประเทศ โดยกรอบประเทศที่ลงทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (รายละเอียดประเภททรัพย์สินที่ลงทุนได้ตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้)
(1) มีการเสนอขายในประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นสมาชิกสามัญของ IOSCO หรือประเทศที่มีตลาดหลักทรัพย์เป็น
สมาชิกของ WFE
(2) การลงทุนนั้นต้องไม่ทำให้การจัดการกองทุนเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์ หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนและไม่ทำ
ให้กองทุนขาดทุนเป็นมูลค่าสูงกว่ามูลค่าลงทุน
(3) บริษัทจัดการต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ได้
(4) มีข้อมูลทางด้านราคาที่สะท้อนมูลค่ายุติธรรม โดยเป็นราคาที่น่าเชื่อถือ อ้างอิงได้ และสอดคล้องตามหลักวิชาการอัน
เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
(5) มีการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุน (investor protection) ที่ถือได้ว่าเทียบเท่ากับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือ
ทรัพย์สินที่มีลักษณะคล้ายกันในประเทศไทย
(6) มีลักษณะอื่นใดที่สำนักงานอาจกำหนดเพิ่มเติม
1.2 การลงทุนในหน่วยลงทุน
(1) บริษัทจัดการสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (money market fund) ในต่างประเทศ เพื่อ
วัตถุประสงค์ในการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุนได้
(2) บริษัทจัดการสามารถขออนุญาตในการจัดตั้งกองทุนที่ประสงค์จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศนอก
เหนือจากหลักเกณฑ์ในประกาศที่ สน.28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่
17 กรกฎาคม 2550 (“ประกาศที่ สน. 28/2549”) ต่อสำนักงานได้ โดยสำนักงานจะพิจารณาเป็นรายกรณี ทั้งนี้
อยู่ภายใต้หลักการของการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสำคัญ
1.3 ปรับปรุงการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured product) ในกรณีที่มีการลงทุนในต่างประเทศ ดังนี้
(1) คู่สัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
นอกจากคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กระทำในศูนย์สัญญาซื้อขายล่วงหน้าบริษัทจัดการอาจเข้าเป็นคู่สัญญาที่กระทำนอก
ศูนย์สัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ (OTC) หากคู่สัญญาเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
ก. สถาบันการเงินหรือผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากสำนักงาน
ข. นิติบุคคลต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กระทำนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วง
หน้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญ
ของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยงานที่เป็น
สมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) และต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือในระยะยาวอยู่ใน
อันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) เท่านั้น
ค. สถาบันการเงินต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระยะยาวอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment
grade)
ง. นิติบุคคลอื่นที่สำนักงานอาจกำหนดเพิ่มเติม
(2) สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิง
กรณีบริษัทจัดการจะเข้าเป็นคู่สัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือStructured product ซึ่งมีสินค้าหรือตัว
แปรนอกจากหลักเกณฑ์ตามประกาศที่ สน. 28/2549 กำหนดไว้ บริษัทจัดการอาจขออนุญาตสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิง
ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสำนักงานเพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีไป
ทั้งนี้ ในกรณีที่สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงของ structured product เป็นอัตราแลกเปลี่ยน การลงทุนในตราสาร
ดังกล่าวอาจไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดความเสี่ยงได้
2. อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินในต่างประเทศ
เป็นไปตามอัตราส่วนและข้อกำหนดในการคำนวณตามประกาศที่ สน. 28/2549 ทั้งนี้ ในการคำนวณ company limit ให้นำข้อ 59 มาบังคับใช้ กรณีลงทุนในทรัพย์สินที่คู่สัญญา หรือผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน นอกเหนือจากเกณฑ์การลงทุนต่างประเทศที่กำหนดตามประกาศที่ สน. 28/2549 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
II. แนวดำเนินการสำหรับกองทุนรวมเดิม กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้ง และกองทุนที่อนุมัติจัดตั้งแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียน
1. กองทุนเดิม
กองทุนเดิมที่ประสงค์จะลงทุนตามแนวทางข้างต้น ต้องดำเนินการแก้ไขโครงการก่อนจึงจะลงทุนได้ และเนื่องจากการแก้ไขโครงการอาจกระทบกับสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุนที่จะได้รับด้วยเหตุจากความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนหรือจากการทำธุรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น บริษัทจัดการสามารถยื่นขอแก้ไขโครงการได้ใน 2 ลักษณะ ดังนี้
(1) ขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน
(2) ขอสำนักงานให้มีผลไปข้างหน้า และอาจกำหนดให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับผลกระทบสามารถออกจากกองทุนโดย exit without fee ได้ทั้งนี้ ในกรณีกองทุนปิด หรือกองทุนประเภทรับซื้อคืนอัตโนมัติ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถออกจากกองทุนได้เอง หากบริษัทจัดการประสงค์จะลงทุนตามแนวทางข้างต้น การแก้ไขโครงการให้กระทำได้เฉพาะตาม (1) เท่านั้น
2. กองทุนที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวม
- กรณียังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุน สามารถยื่นขอแก้โครงการได้ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุน
- กรณีเสนอขายหน่วยลงทุนแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวม ให้ถือปฏิบัติตามข้อ 1
3. กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งกองทุนใหม่สามารถยื่นขออนุมัติโครงการตามแนวทางที่กำหนดข้างต้นได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประเวช องอาจสิทธิกุล)
ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
เลขาธิการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ตารางเปรียบเทียบประเภทหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนได้
ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
โทรศัพท์ 0-2695-9537
โทรสาร 0-2695-974

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ