29 มิถุนายน 2550
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ
กองทุนรวม/กองทุนส่วนบุคคลทุกบริษัท
ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทุกราย
ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลทุกราย
นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ที่ น.(ว) 9/2550 เรื่อง นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ
ด้วยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ออกประกาศจำนวน 3 ฉบับดังนี้
1. ประกาศสำนักงานที่ สน. 8/ 2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (“ประกาศที่ สน. 8/2550”)
2. ประกาศสำนักงานที่ สน. 9/2550 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (“ประกาศที่ สน. 9/2550”)
3. ประกาศสำนักงานที่ สน. 10/2550 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (“ประกาศที่ สน. 10/2550”)
เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้าใจที่ตรงกันและถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดได้อย่างถูกต้อง สำนักงานจึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นในประกาศและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยมีรายละเอียดดังนี้'
1. แก้ไขประกาศที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (ประกาศที่ สน. 23/2547)
1.1 นโยบายการคุ้มครองเงินต้น
ปัจจุบัน ต้องมีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกไม่ต่ำกว่า 80%
แก้ไขเป็น ต้องมีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกทั้งจำนวน
เหตุผล เพื่อให้กองทุนมีนโยบายคุ้มครองเงินต้นได้ทั้งจำนวนตามความเข้าใจของผู้ลงทุนทั่วไป
1.2 ประเภทตราสารที่ลงทุนในส่วนคุ้มครอง
ปัจจุบัน ตราสารภาครัฐไทย และตราสารหนี้ที่มี rating 2 อันดับแรก มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
แก้ไขเป็น (1) ตราสารภาครัฐไทย
(2) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ ที่มี rating 2 อันดับแรก ของ S & P หรือ Moody’s หรือ Fitch
หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศที่สำนักงานกำหนดเพิ่มเติม
(3) P/N หรือบัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจาก
ประชาชน (ไม่รวม structured note)
(4) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก
(5) ทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือมีความเสี่ยงเทียบเคียงได้กับความเสี่ยงของตราสารภาครัฐไทย ทั้งนี้
โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
เหตุผล เพื่อให้กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นสามารถคุ้มครองเงินต้นได้จริง การลงทุนในส่วนที่จะก่อให้เกิดการคุ้มครองเงินต้นจึงต้องเป็นการลงทุนในตราสารการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งในส่วนของตราสารการเงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสามารถลงทุนได้ในส่วนนี้จึงต้องเป็นตราสารการเงินที่ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (“FIDF”) เท่านั้น
1.3 กลไกการคุ้มครอง
ปัจจุบัน ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินต้นอย่างชัดเจนไว้ในโครงการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จำนวนเงินต้นที่คุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง
แก้ไขเป็น (1) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินต้นอย่างชัดเจนไว้ในโครงการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยว
กับเงื่อนไขการคุ้มครอง จำนวนเงินต้นที่คุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง และกลไกการคุ้มครอง
(2) ต้องกำหนดอัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ำในส่วนคุ้มครองเงินต้นและแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนดนั้น
สามารถคุ้มครองเงินต้นทั้งจำนวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
เหตุผล เนื่องจากเงื่อนไขระยะเวลาการคุ้มครองและขนาดของกองทุนมีความแตกต่างกัน จึงให้เป็นดุลยพินิจของบริษัทจัดการที่จะกำหนดสัดส่วนให้สอดคล้องกับขนาดและระยะเวลาเพื่อให้สามารถคุ้มครองเงินต้นได้ตามที่กำหนด
1.4 การนำนโยบายและหลักเกณฑ์ของกองทุนรวมมาใช้สำหรับกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ปัจจุบัน ให้นำนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
แก้ไขเป็น ให้นำนโยบายการลงทุนและหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งของกองทุนรวมนั้น ๆ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เหตุผล เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อยและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนอกจากต้องนำนโยบายของกองทุนรวมมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว ยังต้องนำหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมาใช้บังคับด้วย เช่น กำหนดอัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ำในส่วนคุ้มครองเงินต้นและแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนดนั้นสามารถคุ้มครองเงินต้นทั้งจำนวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ เป็นต้น
2. แก้ไขประกาศที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 (“ประกาศที่ สน. 28/2549”)
2.1 กองทุนคุ้มครองเงินต้นที่มีการลงทุนในต่างประเทศ
เพิ่มเติม กรณีลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดที่มีอยู่
เหตุผล เพื่อไม่ให้กองทุนคุ้มครองเงินต้นมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมที่อาจส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองเงินต้นได้
2.2 อัตราส่วนการลงทุนสำหรับประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนเพื่อมุ่งจะให้เกิดการคุ้มครองเงินต้นทั้งจำนวน
ประเภทหลักทรัพย์ company limit เดิม company limit ใหม่
ตั๋วสัญญาใช้เงิน/ บัตรเงินฝากของ บง. <=20% ของ NAV
ตั๋วสัญญาใช้เงิน/บัตรเงินฝากของ บค. Investment grade <= 15% ของ <= 30% ของ NAV
NAVJunk <= 5% ของ NAV
เงินฝาก/บัตรเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ <= 20% ของ NAV
หมายเหตุ ในการคำนวณอัตราส่วน ให้นับตราสารทุกประเภทที่บุคคลข้างต้นเป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกัน และคู่สัญญา
เหตุผล เพิ่มอัตราส่วนการลงทุนของสถาบันการเงินให้สูงขึ้นเพื่อให้สามารถ structure กลไกการคุ้มครองเงินต้นได้
2.3 กรณีที่กองทุนคุ้มครองเงินต้นที่ได้ขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ก่อนที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังนี้
เพิ่มเติม
(1) ไม่ต้องแก้ไขโครงการตามข้อ 107 และ 108 ของประกาศที่ สน. 28/2549 หากบริษัทจัดการไม่มีการลงทุนเพิ่ม
เติมในกองทุนดังกล่าวอีก
(2) ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุน เป็นไปตามประกาศฉบับเดิม แต่ไม่เป็นไปตามประเภท
หรือเกินอัตราส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของ
กองทุนต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้น เป็นตราสารที่มีกำหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินนั้น
ไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจำนวนที่เหลือ
(3) ในกรณีของกองทุนจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมในวันที่หรือภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัท
จัดการกองทุนรวมอาจเลือกที่จะลงทุนสำหรับการลงทุนครั้งแรกให้เป็นไปตามประเภทที่กำหนดไว้ในในโครงการ
จัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานได้ ทั้งนี้ การลงทุนครั้งต่อไปของกองทุนรวมดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้
บังคับ (4)
(4) บริษัทจัดการต้องแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม หรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลก่อนที่จะมีการลงทุน
ให้เป็นไปตามแนวทางของประกาศใหม่ ก่อนการลงทุนใหม่ในครั้งต่อไป เว้นแต่เป็นกรณีตาม (6)
(5) อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตาม (2) หรือ (3) ให้เป็นไปตามอัตราส่วนตามแนวทางของประกาศฉบับเดิม
(6) ในกรณีที่ทรัพย์สินตาม (2) หรือ (3) ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลง
ทุนตาม (5) ให้บริษัทจัดการดำเนินการแก้ไขอัตราส่วนให้เป็นไปตาม (5) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินดัง
กล่าวถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
เหตุผล เพื่อมิให้กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่มีอยู่ก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ได้รับผลกระทบจากการออกประกาศฉบับนี้
3. แก้ไขประกาศที่ สน. 17/2548 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548
หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นที่เสนอขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป หรือกองทุนคุ้มครองเงินต้นที่มีสิ้นปีบัญชีสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป จะต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
3.1 เกี่ยวกับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น
เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงลักษณะของกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น จึงกำหนดรายการดังต่อไปนี้
3.1.1 รายการลักษณะที่สำคัญสำหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติม โดยแสดงเป็นคำถามและคำตอบดังต่อไปนี้
เพิ่มเติม (1) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นแตกต่างจากกองทุนรวมมีประกันอย่างไร
(2) ผู้ลงทุนในกองทุนรวมนี้มีโอกาสที่จะไม่ได้รับคืนเงินต้นหรือไม่อย่างไร
(3) กองทุนรวมนี้มีเงื่อนไขการคุ้มครองเงินต้น และมีกลไกการคุ้มครองเงินต้นอย่างไร
3.1.2 รายการคำเตือนเพิ่มเติมสำหรับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น
เพิ่มเติม ให้มีข้อความที่เตือนเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่ากองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นเป็นเพียงชื่อเรียกประเภทของกองทุนรวมที่จัดนโยบายการลงทุนเพื่อให้เงินต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนมีความเสี่ยงต่ำ โดยกองทุนรวมดังกล่าวมิได้รับประกันเงินลงทุนหรือผลตอบแทนจากการลงทุนแต่อย่างใด โดยให้พิมพ์คำเตือนดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวนนั้น
3.2 เรื่องอื่น ๆ
3.2.1 คำแนะนำสำหรับผู้ลงทุน
เพิ่มเติม คำแนะนำสำหรับผู้ลงทุนในการตรวจดูแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงและการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงของกองทุนรวม ในกรณีที่กองทุนรวมได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใด โดยผู้ลงทุนสามารถตรวจดูกรณีดังกล่าวตามวิธีการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดเผย
เหตุผล เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงวิธีการตรวจดูแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทจัดการ
4. วันมีผลใช้บังคับ
ประกาศทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวข้างต้น มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์)
ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
เลขาธิการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศสำนักงานที่ สน. 8/ 2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่
7) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550
2. ประกาศสำนักงานที่ สน. 9/2550 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22
มิถุนายน พ.ศ. 2550
3. ประกาศสำนักงานที่ สน. 10/2550 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22
มิถุนายน พ.ศ. 2550
ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
โทรศัพท์ 0-2263-6032
โทรสาร 0-2263-6292