การฝาก การถอน การโอน การรับโอน หรือการยกเลิกการโอนหลักทรัพย์ และการหักบัญชีโอนหลักทรัพย์ พ.ศ. 2543

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday May 31, 2005 14:30 —ข้อบังคับและประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ

                        วิธีปฏิบัติบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 
เรื่อง การฝาก การถอน การโอน การรับโอน หรือการยกเลิกการโอน
หลักทรัพย์ และการหักบัญชีโอนหลักทรัพย์ พ.ศ. 2543
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 แห่งระเบียบบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ประเทศไทย) จำกัด เรื่อง การประกอบการเป็นศูนย์รับฝาก พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2543
บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ออกวิธีปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 วิธีปฏิบัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
หมวด 1
บททั่วไป
*ข้อ 2 ผู้ฝากดำเนินการฝาก ถอน โอน รับโอน หรือยกเลิกการโอนหลักทรัพย์
ด้วยการยื่นคำขอต่อศูนย์รับฝากได้ทุกวันทำการตั้งแต่เวลา 8.00 น. ถึง 16.00 น.
ผู้ฝากดำเนินการโอน รับโอน หรือยกเลิกการโอนหลักทรัพย์โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับระบบงานรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากได้ในเวลาดังต่อไปนี้
(1) การโอนหลักทรัพย์ กระทำได้ทุกวันทำการตั้งแต่เวลา 7.00 น. ถึง 13.00 น.
และเวลา 14.15 น.ถึง 18.30 น.
(2) การรับโอนหรือการยกเลิกการโอนหลักทรัพย์นั้น กระทำได้ทุกวันทำการ
ตั้งแต่เวลา 7.00 น. ถึง 13.30 น. และเวลา 14.15 น.ถึง 19.00 น.
ทั้งนี้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเวลาทำการดังกล่าว ศูนย์รับฝากจะแจ้งให้ผู้ฝากทราบ
อนึ่ง ความในวรรคสองมิให้นำมาบังคับกับหลักทรัพย์ประเภทพันธบัตร
(*ความในข้อ 2 เดิมถูกยกเลิกและให้ใช้ความใหม่นี้แทน โดยวิธีปฏิบัติบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เรื่อง การฝาก การถอน การโอน การรับโอนหรือการยกเลิกการโอน
หลักทรัพย์ และการหักบัญชีโอนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2548 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2548)
ข้อ 3 ให้ผู้ฝากแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งหรือหลายคน และมอบอำนาจให้ตัวแทนนั้นเป็น
ผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ฝากในการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการถอน การรับใบหลักทรัพย์ การโอน
หลักทรัพย์ การยกเลิกการโอนหลักทรัพย์ และการจัดส่งบัญชีรายชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์
รับฝากกำหนด
การแต่งตั้ง เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกตัวแทนของผู้ฝาก ให้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์
รับฝากกำหนด
หมวด 2
การฝากหลักทรัพย์ทั่วไป
ข้อ 4 การฝากหลักทรัพย์ ผู้ฝากต้องยื่นเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อศูนย์รับฝาก
(1) ใบฝากหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนด
(2) ใบหลักทรัพย์ที่เจ้าของหลักทรัพย์หรือผู้รับโอนคนสุดท้ายลงลายมือชื่อ
สลักหลังการโอนแล้ว
(3) แบบคำขอรับโอนหลักทรัพย์ที่มีชื่อศูนย์รับฝากเป็นผู้รับโอน
(4) หลักฐานประกอบการโอนหลักทรัพย์ตามที่นายทะเบียนของบริษัทผู้ออก
หลักทรัพย์กำหนด
กรณีกฎหมายกำหนดให้การโอนใบหลักทรัพย์ใดต้องปิดอากรแสตมป์ ผู้ฝากต้องปิด
อากรแสตมป์ครบถ้วนก่อนนำมาฝากไว้กับศูนย์รับฝากตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 5 ถ้าเอกสารและหลักฐานตามข้อ 4 ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ศูนย์รับฝากจะบันทึก
รายการฝากหลักทรัพย์นั้นไว้ในบัญชีฝากหลักทรัพย์และจะออกใบแสดงการรับฝากหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ฝาก
ข้อ 6 เมื่อรับฝากหลักทรัพย์แล้ว ศูนย์รับฝากจะดำเนินการรับโอนหลักทรัพย์ที่รับฝาก
ไว้ในชื่อของศูนย์รับฝากในฐานะที่ถือแทนผู้ฝากหรือลูกค้าของผู้ฝากซึ่งเป็นเจ้าของหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อว่า
"บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก" สำหรับบัญชีฝากหลักทรัพย์ไทย หรือ
"THAILAND SECURITIES DEPOSITORY COMPANY LIMITED FOR DEPOSITORS" สำหรับบัญชีฝากหลักทรัพย์ต่างด้าว
*ข้อ 7 การฝากหลักทรัพย์ยกเว้นหลักทรัพย์ประเภทพันธบัตรจะมีผลสมบูรณ์ภายใน
วันทำการที่ฝากต่อเมื่อผู้ฝากดำเนินการฝากก่อนเวลา 16.00 น. แต่ถ้าผู้ฝากประสงค์จะให้หลักทรัพย์ที่ฝากไว้
ในบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการส่งมอบและรับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อขายมีผลสมบูรณ์ภายในเวลา 13.30 น. ของ
วันทำการที่ฝากผู้ฝากต้องฝากก่อนเวลา 10.30 น.
ทั้งนี้ การฝากหลักทรัพย์ประเภทพันธบัตรจะมีผลสมบูรณ์ภายในวันทำการที่ฝากต่อเมื่อผู้ฝาก
ดำเนินการฝากก่อนเวลา 10.00 น.
(*ความในข้อ 7 เดิมถูกยกเลิกและให้ใช้ความใหม่นี้แทนโดยวิธีปฏิบัติบริษัทศูนย์รับฝาก
หลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เรื่อง การฝาก การถอน การโอน การรับโอนหรือการยกเลิกการโอน
หลักทรัพย์ และการหักบัญชีโอนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2548 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2548)
ข้อ 8 ในกรณีที่ผู้ฝากดำเนินการฝากหลักทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์ บกพร่อง หรือถูกรอนสิทธิใด
หรือลายมือชื่อที่สลักหลังใบหลักทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์ หรือเป็นลายมือชื่อปลอมอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น ผู้ฝากต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการนั้น
ข้อ 9 ในกรณีที่ศูนย์รับฝากยกเลิกรายการฝากหลักทรัพย์อันมีผลให้หลักทรัพย์ในบัญชี
ฝากหลักทรัพย์ขาดบัญชี ผู้ฝากจะต้องดำเนินการฝากหรือโอนหลักทรัพย์ตามจำนวนที่ขาดบัญชีไว้ในบัญชีฝาก
หลักทรัพย์ดังกล่าวภายในวันทำการถัดจากวันที่ศูนย์รับฝากยกเลิกรายการฝากหลักทรัพย์นั้น หากผู้ฝากไม่
ดำเนินการดังกล่าวศูนย์รับฝากอาจพิจารณาปรับผู้ฝากนั้นตามอัตราที่ศูนย์รับฝากกำหนด
ข้อ 10 เจ้าของหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะฝากหลักทรัพย์ไว้กับศูนย์รับฝากอาจมอบหมาย
ให้ศูนย์รับฝากดำเนินการฝากแทนก็ได้ โดยศูนย์รับฝากจะแจ้งผลการฝากนั้นให้ผู้ฝากทราบเป็นหนังสือ
ข้อ 11 ศูนย์รับฝากจะแจ้งรายชื่อของหลักทรัพย์ที่รับฝากให้ผู้ฝากทราบก่อนการให้
บริการรับฝากหลักทรัพย์นั้น
หมวด 3
การฝากใบแสดงสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
ข้อ 12 การฝากใบแสดงสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการดังต่อไปนี้
(1) ผู้ฝากต้องเป็นบริษัทผู้ออกใบแสดงสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
(2) ฝากต้องยื่นคำขอเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการเก็บรักษาเฉพาะ
ใบแสดงสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ตามแบบที่กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
(3) ผู้ฝากต้องยื่นเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อศูนย์รับฝาก
(ก) ใบฝากหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนด
(ข) ใบหลักทรัพย์ของผู้ถือหลักทรัพย์
(4) ถ้าเอกสารและหลักฐานตาม (3) ถูกต้องครบถ้วน ศูนย์รับฝากจะ
บันทึกรายการฝากหลักทรัพย์นั้นไว้ในบัญชีฝากหลักทรัพย์และจะออกใบแสดงการรับฝากหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ฝาก
ข้อ 13 เมื่อครบกำหนดการใช้สิทธิตามใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
ครั้งสุดท้าย ศูนย์รับฝากจะยกเลิกการรับฝากหลักทรัพย์และมีสิทธิปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ของผู้ฝาก
*หมวด 3/1
การฝากหุ้นอ้างอิงเพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
*ข้อ 13/1 ในหมวดนี้
"หุ้นอ้างอิง" (underlying shares) หมายความว่า หุ้นอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญ
แสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่
*ข้อ 13/2 การฝากหุ้นอ้างอิงเพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดง
สิทธิอนุพันธ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จะเป็นผู้ฝากหุ้นอ้างอิงเพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ต้องเป็นบริษัทผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหุ้นอ้างอิงดังกล่าว
(2) ผู้ฝากต้องยื่นคำขอเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามแบบที่กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
(3) การฝากหุ้นอ้างอิงเพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการฝากหลักทรัพย์ทั่วไป
(4) ศูนย์รับฝากจะระงับการถอนหรือการโอนหุ้นอ้างอิงทั้งหมดที่ฝากไว้ใน
บัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ยกเว้นกรณี
ดังต่อไปนี้
ก. กรณีที่มีการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้ฝากมอบหมายให้สำนักหักบัญชีดำเนินการโอนหุ้นอ้างอิงที่มีการใช้
สิทธิเข้าบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการส่งมอบและรับมอบหลักทรัพย์ตามรายงานการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
ที่สำนักหักบัญชีจัดทำขึ้น
ข. กรณีที่เป็นการฝากหุ้นอ้างอิงทั้งจำนวนไว้กับศูนย์รับฝากเพื่อเป็นหลัก
ประกันการส่งมอบหุ้นอ้างอิงที่มีการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ผู้ฝากอาจขอโอน
หุ้นอ้างอิงที่มีจำนวนเกินกว่าจำนวนที่บริษัทผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีหน้าที่ต้องส่งมอบแก่ผู้ถือใบสำคัญแสดง
สิทธิอนุพันธ์ที่มีหรือจะมีการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตลอดอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ รวมกับจำนวนที่มี
การซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามรายงานการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในส่วนที่ค้างการส่งมอบหุ้นอ้างอิง
ในระบบของสำนักหักบัญชีก่อนการขอโอน
ค. กรณีที่เป็นการฝากหุ้นอ้างอิงบางส่วนไว้กับศูนย์รับฝากเพื่อเป็น
หลักประกันการส่งมอบหุ้นอ้างอิงที่มีการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ผู้ฝากอาจขอโอนหุ้น
อ้างอิงที่มีจำนวนเกินกว่าจำนวนที่มีการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิในระบบการซื้อขาย ณ วันที่ขอโอนรวมกับจำนวนที่มี
การซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามรายงานการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในส่วนที่ค้างการส่งมอบหุ้นอ้างอิง
ในระบบของสำนักหักบัญชีก่อนการขอโอน
ทั้งนี้ ผู้โอนและผู้รับโอนหุ้นอ้างอิงตาม ข. และ ค. ต้องเป็นผู้ฝาก
รายเดียวกัน
*ข้อ 13/3 เมื่อครบกำหนดการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายตามใบสำคัญแสดงสิทธิ
อนุพันธ์ ถ้าผู้ฝากมีหุ้นอ้างอิงเพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เหลืออยู่ในบัญชี
ฝากหลักทรัพย์เพื่อรองรับการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ผู้ฝากตกลงให้ศูนย์รับฝาก
ดำเนินการโอนหุ้นอ้างอิงดังกล่าวแทนผู้ฝากไปยังบัญชีฝากหลักทรัพย์อื่นที่เป็นของผู้ฝากที่ขอโอน
(* เพิ่มเติมความในหมวด 3/1 ข้อ 13/1 ข้อ 13/2และข้อ 13/3 โดยวิธีปฏิบัติบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เรื่อง การฝาก การถอน การโอน การรับโอน หรือ
การยกเลิกการโอนหลักทรัพย์ และการหักบัญชีโอนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2546 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไป)
หมวด 4
การฝากหลักทรัพย์ที่มีการจดแจ้งการจำนำ
ข้อ 14 การฝากหลักทรัพย์ที่มีการจดแจ้งการจำนำ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ผู้ฝากต้องเป็นผู้รับจำนำเท่านั้น
(2) ผู้ฝากต้องยื่นคำขอเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการจำนำตามแบบที่
กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
(3) ผู้ฝากต้องยื่นเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อศูนย์รับฝาก
(ก) ใบฝากหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนด
(ข) ใบนำส่งการจำนำ
(ค) ใบหลักทรัพย์ที่ผู้จำนำลงลายมือชื่อสลักหลังการโอนแล้ว
(ง) แบบคำขอรับโอนหลักทรัพย์ที่มีชื่อศูนย์รับฝากเป็นผู้รับโอน
(จ) หนังสือแจ้งการฝากหลักทรัพย์ที่มีการจดแจ้งการจำนำตาม
แบบที่กำหนด
(ฉ) หลักฐานอื่นตามที่นายทะเบียนกำหนด
(4) ถ้าเอกสารและหลักฐานตาม (3) ถูกต้องครบถ้วน ศูนย์รับฝากจะบันทึกรายการฝากใบหลักทรัพย์นั้นไว้ในบัญชีฝากหลักทรัพย์และจะออกใบแสดงการรับฝากหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ฝาก
(5) ศูนย์รับฝากจะระงับการถอนหรือการโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวในระหว่างที่
จำนำหลักทรัพย์นั้น
ข้อ 15 การฝากหลักทรัพย์ที่มีการจดแจ้งการจำนำและได้ขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อบังคับชำระหนี้เงินกู้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ฝากต้องยื่นคำขอเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการเก็บรักษาตามแบบที่
กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
(2) ผู้ฝากต้องยื่นเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อศูนย์รับฝาก
(ก) ใบฝากหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนด
(ข) ใบนำส่งการบังคับจำนำหลักทรัพย์
(ค) ใบหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ที่ขาย
(ง) แบบคำขอรับโอนหลักทรัพย์ที่มีชื่อศูนย์รับฝากเป็นผู้รับโอน
(จ) หนังสือบอกกล่าวการบังคับจำนำ
(ฉ) หนังสือรับรองการขายหลักทรัพย์จำนำในตลาดหลักทรัพย์เพื่อบังคับชำระหนี้เงินกู้ที่รับรองโดยสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ที่ขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด
(ช) เอกสารเกี่ยวกับการถอนหลักทรัพย์ส่วนที่ขายไม่ได้ตามข้อ
23 เฉพาะกรณีขายได้ไม่ครบตามจำนวนที่ปรากฏในใบหลักทรัพย์ทั้งจำนวน
(ซ) หลักฐานอื่นตามที่นายทะเบียนกำหนด
ทั้งนี้ ผู้ฝากจะยื่นเอกสารและหลักฐานดังกล่าวในระหว่างวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์ของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้นไม่ได้
(3) ถ้าเอกสารและหลักฐานตาม (2) ถูกต้องครบถ้วน ศูนย์รับฝากจะ
บันทึกรายการฝากใบหลักทรัพย์นั้นไว้ในบัญชีฝากหลักทรัพย์และจะออกใบแสดงการรับฝากหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ฝากพร้อมกับจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการขายหลักทรัพย์จำนำในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่นายทะเบียนเพื่อดำเนินการต่อไป
หมวด 5
การฝากหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขาย
ภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ข้อ 16 บุคคลที่จะเป็นผู้ฝากใบหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขายภายในเวลาที่ตลาด
หลักทรัพย์กำหนดต้องเป็นบริษัทที่อยู่ในระหว่างยื่นขอให้ตลาดหลักทรัพย์รับหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน และตลาดหลักทรัพย์ได้สั่งห้ามผู้บริหาร ผู้ถือหลักทรัพย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทนั้น
ขายหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ 17 ผู้ฝากต้องยื่นคำขอเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการฝาก การถอนหรือการโอน
หลักทรัพย์ประเภทบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการห้ามขายตามแบบที่กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
ข้อ 18 มิให้นำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการฝากหลักทรัพย์ทั่วไปมาใช้บังคับกับการฝาก
ใบหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขายภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดตามข้อ 19
ข้อ 19 การฝากใบหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขายภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ผู้ฝากต้องยื่นเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อศูนย์รับฝาก
(ก) ใบฝากหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนด
(ข) ใบหลักทรัพย์ที่ปรากฏชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์ห้ามขาย
หลักทรัพย์เป็นผู้ถือหลักทรัพย์
(2) ถ้าเอกสารและหลักฐานตาม (1) ถูกต้องครบถ้วน ศูนย์รับฝากจะเก็บรักษาใบหลักทรัพย์ดังกล่าวในระหว่างระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามขายหลักทรัพย์ และจะออกใบแสดงการ
รับฝากใบหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้ฝาก
ข้อ 20 ผู้ฝากต้องฝากใบหลักทรัพย์ตามจำนวนที่ปรากฏในใบหลักทรัพย์ทั้งจำนวน
ข้อ 21 ใบหลักทรัพย์ที่นำมาฝากนั้นต้องสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง หรือไม่ถูกรอนสิทธิใด หรือไม่เป็นใบหลักทรัพย์ปลอม
เมื่อศูนย์รับฝากได้ลงบันทึกรายการฝากใบหลักทรัพย์แล้ว ถ้าภายหลังปรากฏว่า
ใบหลักทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์ บกพร่อง หรือถูกรอนสิทธิใด หรือเป็นใบหลักทรัพย์ปลอม ศูนย์รับฝากจะยกเลิกรายการฝากใบหลักทรัพย์ดังกล่าว
ถ้าปรากฏความเสียหายใดจากการฝากใบหลักทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์ บกพร่อง หรือถูก
รอนสิทธิหรือเป็นใบหลักทรัพย์ปลอม ผู้ฝากซึ่งนำใบหลักทรัพย์นั้นมาฝากต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อ 22 การฝากหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขายภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์
กำหนดและศูนย์รับฝากรับโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าไว้ในชื่อของศูนย์รับฝากในฐานะที่ถือแทนผู้ฝากหรือลูกค้าของ
ผู้ฝากซึ่งเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ วิธีการเดียวกับการฝากหลักทรัพย์ทั่วไป
ศูนย์รับฝากจะระงับการถอนหรือการโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวในระหว่างระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามขายหลักทรัพย์นั้น
หมวด 6
การถอนหลักทรัพย์ทั่วไป
ข้อ 23 การถอนหลักทรัพย์ ผู้ฝากต้องยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อศูนย์รับฝาก
(1) คำขอถอนหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนด
(2) คำขอให้ออกใบหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนด
(3) หลักฐานประกอบการถอนหลักทรัพย์ตามที่นายทะเบียนของผู้ออก
หลักทรัพย์กำหนด
ข้อ 24 ผู้ฝากต้องขอถอนใบหลักทรัพย์ในชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ที่มีสัญชาติไทย สำหรับการถอนจากบัญชีฝากหลักทรัพย์ไทย และต้องขอถอนใบหลักทรัพย์ในชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ที่มิได้มี
สัญชาติไทย สำหรับการถอนจากบัญชีฝากหลักทรัพย์ต่างด้าว
ถ้าปรากฏความเสียหายใด ๆ จากการออกใบหลักทรัพย์ตามข้อมูลที่ผู้ฝากยื่นขอถอนไว้ผู้ฝากดังกล่าวต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อ 25 ถ้าคำขอและเอกสารหลักฐานตามข้อ 23 ถูกต้องครบถ้วนและผู้ฝากมี
หลักทรัพย์เพียงพอกับการถอนหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากจะหักบัญชีฝากหลักทรัพย์ของผู้ฝากภายในวันที่ผู้ฝากยื่นเอกสารหลักฐานนั้นตามจำนวนที่ขอถอนและจะออกใบรับให้แก่ผู้ฝาก
ในการขอรับใบหลักทรัพย์ที่ขอถอน ผู้ฝากต้องยื่นใบรับต่อศูนย์รับฝาก โดยจะขอรับ
ใบหลักทรัพย์ได้ภายในเวลา 7 วันนับแต่วันที่กำหนดในใบรับ ถ้าผู้ฝากไม่มารับภายในเวลาดังกล่าว ศูนย์รับฝาก
อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บรักษาใบหลักทรัพย์ตามอัตราที่ศูนย์รับฝากกำหนด
ข้อ 26 เมื่อศูนย์รับฝากยื่นขอออกใบหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียนแล้ว ผู้ฝากจะ
ขอยกเลิกรายการถอนหลักทรัพย์ที่ได้ยื่นไว้แล้วไม่ได้ แต่ถ้าคำขอหรือเอกสารหลักฐานที่ผู้ฝากยื่นไว้นั้นไม่ครบถ้วน
หรือไม่ถูกต้อง ศูนย์รับฝากอาจยกเลิกรายการถอนหลักทรัพย์นั้นได้
หมวด 7
การถอนใบหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขาย
ภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ข้อ 27 ผู้ฝากยื่นขอถอนใบหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขายภายในเวลาที่ตลาด
หลักทรัพย์กำหนดได้ต่อเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามขายหลักทรัพย์ หรือบุคคลที่ถูกห้ามขายหลักทรัพย์นำใบหลักทรัพย์นั้นไปจำนำหรือวางเป็นหลักประกันการกู้ยืมกับสถาบันการเงิน
ข้อ 28 ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาห้ามขายหลักทรัพย์ หากผู้ฝากมิได้ดำเนินการ
ขอถอนใบหลักทรัพย์ทั้งหมดต่อศูนย์รับฝาก ศูนย์รับฝากอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บรักษาหลักทรัพย์ตาม
อัตราที่ศูนย์รับฝากกำหนด
ข้อ 29 ผู้ฝากต้องยื่นคำขอถอนหลักทรัพย์ตามแบบที่กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
ถ้าคำขอถอนหลักทรัพย์ดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ศูนย์รับฝากจะหักบัญชีฝากหลักทรัพย์ของผู้ฝากตามจำนวนที่ขอถอน
ข้อ 30 ในการขอรับใบหลักทรัพย์ที่ขอถอน ผู้ฝากต้องยื่นใบรับต่อศูนย์รับฝาก
โดยจะขอรับใบหลักทรัพย์ได้ภายในวันทำการถัดจากวันที่ยื่นถอน
ข้อ 31 มิให้นำหลักการเกี่ยวกับการถอนหลักทรัพย์ทั่วไปมาใช้บังคับกับการถอน
ใบหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขายภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ข้อ 32 การถอนหลักทรัพย์ของบุคคลที่ถูกห้ามขายภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดและศูนย์รับฝากรับโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าไว้ในชื่อของศูนย์รับฝากในฐานะที่ถือแทนผู้ฝากหรือลูกค้าของ
ผู้ฝากซึ่งเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการถอนหลักทรัพย์ทั่วไป
หมวด 8
การโอน การรับโอน การยกเลิกการโอนหลักทรัพย์
และการหักบัญชีโอนหลักทรัพย์
ข้อ 33 การโอน การรับโอน การยกเลิกการโอนหลักทรัพย์ ให้กระทำด้วยวิธี
ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ฝากที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเชื่อมกับระบบงานรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝาก ให้กระทำด้วยการยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
ศูนย์รับฝากจะดำเนินการโอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ในวันทำการถัดจากวันที่ได้รับคำขอและให้การโอนหรือรับโอนหลักทรัพย์มีผลสมบูรณ์ในวันที่ศูนย์รับฝากดำเนินการดังกล่าว
(2) ผู้ฝากที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเชื่อมกับระบบงานรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ให้กระทำด้วยการขอโอนหลักทรัพย์โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อ 34 การโอน การรับโอน หรือการยกเลิกการโอนหลักทรัพย์ของผู้ฝากที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเชื่อมกับระบบงานรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝาก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการโอนหลักทรัพย์ ผู้รับโอนต้องตอบรับการโอนหลักทรัพย์ใน
วันเดียวกับที่มีการโอนหลักทรัพย์ ถ้ามิได้ตอบรับภายในวันดังกล่าวถือว่าการโอนหลักทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่
การโอนหลักทรัพย์จากบัญชีฝากหลักทรัพย์ไทยไปยังบัญชีฝากหลักทรัพย์ต่างด้าวอาจไม่ตอบรับในวันเดียวกับที่มี
การโอนหลักทรัพย์ได้
(2) เมื่อผู้รับโอนได้ตอบรับการโอนหลักทรัพย์ใดถือว่าผู้รับโอนนั้นได้ตกลงรับโอนหลักทรัพย์และจะชำระราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้โอน
(3) ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ฝากที่ต่อเชื่อมกับระบบงานรับฝาก หลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากเกิดขัดข้องทำให้ผู้ฝากไม่สามารถดำเนินการโอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เอง ผู้ฝากอาจยื่นหนังสือมอบอำนาจให้ศูนย์รับฝากดำเนินการโอน รับโอนหรือยกเลิกการโอนแทน หรืออาจยื่นโดยทางโทรสารในแต่ละคราวได้ภายในเวลาที่ศูนย์รับฝากกำหนด โดยผู้ฝากต้องจัดทำและส่งหนังสือ
มอบอำนาจดังกล่าวให้แก่ศูนย์รับฝากภายในวันทำการถัดจากวันทำการที่ได้แจ้งให้ศูนย์รับฝากดำเนินการดังกล่าว
มิฉะนั้น ศูนย์รับฝากอาจยกเลิกรายการโอนหลักทรัพย์นั้นได้
เมื่อศูนย์รับฝากได้รับโทรสารดังกล่าวแล้ว ศูนย์รับฝากจะดำเนินการโอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ หรือยกเลิกการโอนหลักทรัพย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตามที่ได้รับมอบอำนาจในวันเดียวกับที่ได้รับโทรสารนั้น
ข้อ 35 การโอนหลักทรัพย์จากบัญชีฝากหลักทรัพย์ไทยไปยังบัญชีฝากหลักทรัพย์ต่างด้าว ผู้รับโอนต้องยื่นคำขอทำรายการโอนหลักทรัพย์และหลักฐานประกอบตามแบบที่กำหนดต่อศูนย์รับฝาก
ภายในวันทำการที่โอนหลักทรัพย์นั้น มิฉะนั้น ศูนย์รับฝากอาจยกเลิกรายการโอนหลักทรัพย์ดังกล่าว
การโอนหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ผู้โอนและผู้รับโอนต้องเป็นผู้ฝากรายเดียวกัน และการโอนหลักทรัพย์นั้นจะสมบูรณ์เมื่อนายทะเบียนแจ้งการลงทะเบียนการรับโอนหลักทรัพย์ต่อศูนย์รับฝากแล้ว
ข้อ 36 การหักบัญชีโอนหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์ที่จะนำมาส่งมอบให้แก่ผู้ฝากที่มีสิทธิรับมอบต้องเป็น
หลักทรัพย์ที่สามารถส่งมอบได้ตามรายงานการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่สำนักหักบัญชีจัดทำขึ้น
(2) ผู้ฝากต้องดำรงหลักทรัพย์ไว้ในบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการส่งมอบและ รับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อขายให้เพียงพอกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามรายงานการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
ที่สำนักหักบัญชีจัดทำขึ้น
หมวด 9
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ