การประเมินค่าทรัพย์สิน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday March 26, 1996 08:31 —ข้อบังคับและประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ

การประเมินค่าทรัพย์สิน                                                                                                                      วันที่บังคับใช้ 15 มกราคม 2539      (บจ. 23-1-01) ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง  หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 170 วรรคสอง (17) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในข้อบังคับนี้ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรับและเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่บริษัทจดทะเบียนถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือ ทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนชำระแล้วของบริษัทนั้น “ผู้ยื่นคำขอ” หมายความว่า ผู้ที่ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ให้รับหลักทรัพย์ของตน เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน “รายงานการประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า รายละเอียดของทรัพย์สินที่ถูก ประเมินค่า
ข้อ 2การจัดทำรายงานการประเมินค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เปิดเผยในงบการเงินหรือราย งานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของผู้ยื่นคำขอหรือของบริษัทจดทะเบียน หรือรายงาน อื่นใดที่ผู้ยื่นคำขอหรือบริษัทจดทะเบียนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เปิดเผยแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนทั่วไป ต้องกระทำ โดยบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีทรัพย์สินที่ประเมินค่าเป็นที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร หรือสิทธิในบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวที่มีสัญญาช่าระยะยาว ต้องประเมินค่าโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน (2) ในกรณีทรัพย์สินที่ประเมินค่าเป็นหลักทรัพย์ ต้องประเมินค่าโดยที่ปรึกษา ทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน (3) ในกรณีทรัพย์สินที่ประเมินค่าเป็นสัมปทานสำหรับทรัพยากรธรรมชาติที่มี การหมดเปลือง เป็นเครื่องจักรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือเป็นทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) และ (2) ต้องประเมินค่าโดยผู้ชำนาญการในด้านนั้น
ข้อ 3ผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ตามข้อ 2 (1) ต้องเป็นอิสระและปฏิบัติหน้าที่ตาม หลักเกณฑ์และมาตรฐานในการประเมินค่าทรัพย์สินตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ประมินราคาทรัพย์สิน โดยอนุโลม ที่ปรึกษาทางการเงินตามข้อ 2 (2) และผู้ชำนาญการตามข้อ 2 (3) ต้องเป็นอิสระและ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความระมัดระวังใน การปฏิบัติเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทำ
ข้อ 4รายงานการประเมินค่าทรัพย์สินที่ผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ที่ปรึกษาทางการ เงิน และผู้ชำนาญการที่เป็นอิสระ จัดทำเพื่อเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์ให้มีผลใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับ จากวันที่บุคคลนั้นได้ลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินค่าทรัพย์สินนั้น ในกรณีจำเป็นตลาดหลักทรัพย์อาจขยายระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้
ข้อ 5ในกรณีที่สำนักงานสั่งพักการให้ความห็นชอบผู้ประเมินราคาทรัพย์สินหรือที่ ปรึกษาทางการเงินรายใด บุคตลที่ถูกสั่งพักการให้ความเห็นชอบนั้นจะดำเนินการประเมินค่าทรัพย์สิน ต่อไปได้เมื่อพ้นระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบตามที่สำนักงานกำหนด
ข้อ 6รายงานการประเมินค่าทรัพย์สินที่จัดทำขี้นก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นรายงานการประเมินค่าทรัพย์สินที่จัดทำตามข้อบังคับนี้ แต่ทั้งนี้ รายงานการประเมินค่า ทรัพย์สินดังกล่าวให้มีผลใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่บุคคลที่ประเมินค่าทรัพย์สินได้ลงลายมือชื่อ ในรายงานการประเมินค่าทรัพย์สินนั้น
ข้อบังคับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2539 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2538
(ลงนาม) โกวิทย์ โปษยานนท์
(นายโกวิทย์ โปษยานนท์) ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ