หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับ และเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน (มีต่อ)

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday February 28, 1996 17:38 —ข้อบังคับและประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ

ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับ
และเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 170 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. 2535 คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในข้อบังคับนี้
"ตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
"หลักทรัพย์จดทะเบียน" หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
"บริษัทจดทะเบียน" หมายความว่า บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียน
"บริษัทใหญ่" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทาง
อ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน
"บริษัทย่อย" หมายความว่า บริษัทที่บริษัทจดทะเบียนถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนชำระแล้วของบริษัทนั้น
"บริษัทในเครือ"หมายความว่าบริษัทใหญ่บริษัทย่อยและบริษัทในเครือของบริษัทย่อยโดย
อนุโลม
"บริษัทร่วม" หมายความว่า บริษัทที่บริษัทจดทะเบียนถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เกินกว่าร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของทุนชำระแล้วของบริษัทนั้น
"ผู้ยื่นคำขอ" หมายความว่า บริษัทมหาชนจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดย
เฉพาะ
ที่ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ให้รับหลักทรัพย์ของตนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
"ผู้บริหาร" หมายความว่า กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่าย
ขึ้นไป หรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจดทะเบียน และรวม
ถึงบุคคลซึ่งบริษัทจดทะเบียนทำสัญญาให้มีอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทจดทะเบียน
"ผู้ที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนตาม มาตรา 258(1) ถึง (7) แห่งพระราช
บัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
"ผู้ถือหุ้นรายใหญ่" หมายความว่า ผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทจด
ทะเบียนรวมกันเกินกว่าร้อยละสิบของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียนการถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมถึงหุ้นที่
ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
"เขตภูมิภาค" หมายความว่า พื้นที่นอกเขต 1 ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
"สำนักงานใหญ่" หมายความว่า ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของผู้ยื่นคำขอ ซึ่งปรากฏในหนังสือรับ
รองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
ข้อ 2 การยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ที่มิใช่ประเภทหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ผู้ที่
ยื่นคำขอต้องดำเนินการให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณารับหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญของผู้ยื่นคำขอเป็นหลัก
ทรัพย์จดทะเบียนก่อน
ข้อ 3 การยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ผู้ยื่นคำขอต้องขอจดทะเบียน
หลักทรัพย์ที่ออกทั้งหมดในแต่ละประเภทที่ขอจดทะเบียน
ในกรณีของหุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้น
บุริมสิทธิหรือหุ้นกู้ และหุ้นบุริมสิทธิที่มิใช่บุริมสิทธิชนิดเดียวกัน ผู้ยื่นคำขอไม่ต้องขอจดทะเบียนหลักทรัพย์
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนทุกครั้งที่มีการออกหลักทรัพย์ดังกล่าว
ในกรณีที่มีการเพิ่มทุน บริษัทจดทะเบียนต้องขอจดทะเบียนหลักทรัพย์ในส่วนเพิ่มทุนทั้ง
หมดเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนด้วย
หมวด 1
คุณสมบัติของหลักทรัพย์จดทะเบียน
ข้อ 4 หลักทรัพย์ที่อาจยื่นคำขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณาเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ได้
แก่ หุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิหรือหุ้นกู้หุ้นกู้ หรือหุ้นกู้แปลง
สภาพต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นหลักทรัพย์ชนิดระบุชื่อผู้ถือ
(2) ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหลักทรัพย์เว้นแต่ข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้
ต้องระบุข้อจำกัดนั้นไว้ในข้อบังคับบริษัท
ในกรณีที่หลักทรัพย์ของผู้ยื่นคำขอเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว ข้อจำกัดการโอนหลัก
ทรัพย์ต้องจดทะเบียนไว้กับตลาดหลักทรัพย์ด้วย
หลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
4.1 หุ้นสามัญ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะคือ มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละสิบบาทและชำระเต็มมูลค่า
แล้วทั้งหมด
4.2 หุ้นบุริมสิทธิ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละสิบบาท และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
(ข) เป็นหุ้นบุริมสิทธิที่มีบุริมสิทธิในเงินปันผล และ/หรือในส่วนแบ่งคืนทุน เมื่อบริษัท
จดทะเบียนเลิกกิจการและ/หรือบุริมสิทธิในเรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(ค) มีผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ณ วันยื่นคำขอไม่ต่ำกว่าห้าสิบราย
4.3 หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) เป็นหุ้นกู้ที่ผู้ยื่นคำขอซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดยื่นขออนุญาตจากสำนักงานคณะ
กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตแล้ว
(ข) มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยบาทหรือต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
สำหรับหุ้นกู้บางประเภทหรือหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
(ค) การออกหุ้นกู้จะต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
(ง) มีผู้ถือหุ้นกู้ ณ วันยื่นคำขอไม่ต่ำกว่าห้าสิบราย
(จ) ผู้ถือหุ้นกู้ตาม (ง) แต่ละรายต้องถือหุ้นกู้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหน่วยการซื้อขาย โดยหน่วย
การซื้อขายให้เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
(ฉ) เป็นหุ้นกู้ที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนหรือแปลงสภาพไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่ออก
หุ้นกู้นั้น แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการห้ามมิให้ไถ่ถอนหรือแปลงสภาพบางส่วนที่กระทำก่อนครบกำหนดสามปีตามเงื่อน
ไขที่ระบุไว้ในการออกหุ้นกู้
(ช) ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพต้องออกโดยบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหุ้นสามัญจด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ซ) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็น
ชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่มีการจัดตั้งสถาบันจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือขึ้นแล้ว
4.4 ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิหรือหุ้นกู้ ที่มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
4.4.1 ใบสำคัญแสดงสิทธิที่มีกำหนดเวลาไม่เกินสองเดือน นับแต่วันที่ออกใบ
สำคัญแสดงสิทธิและผู้ยื่นคำขอได้แจ้งสิทธิในการจองซื้อให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบแล้ว ต้องมี
คุณสมบัติดังต่อไปนี้
(ก) เป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่ผู้ยื่นคำขอได้รับอนุญาตจากสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้เสนอขายต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ แล้ว
เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการเช่นนั้นตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ซึ่งใช้บังคับกับกรณีดังกล่าว
(ข) มีอัตราส่วนการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิหนึ่งหน่วยต่อหุ้นสามัญ
หรือหุ้นบุริมสิทธิหรือหุ้นกู้ หนึ่งหุ้น ณ วันที่ออกหรืออัตราส่วนตามที่คณะกรรมการกำหนด
(ค) เป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกเพื่อเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน
(ง) ต้องมีระยะเวลาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าสิบวันทำการ
4.4.2 ใบสำคัญแสดงสิทธิที่มีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญ
แสดงสิทธิ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ต้องมีคุณสมบัติตาม 4.4.1 (ก) และ (ข)
(ข) เป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหุ้นสามัญ
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ค) มีผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ ณ วันยื่นคำขอไม่ต่ำกว่าสองร้อยห้าสิบราย
(ง) มีจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่รองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญ
แสดงสิทธิไม่เกินกว่าร้อยละสามสิบของทุนชำระแล้วทั้งหมดในขณะใดขณะหนึ่ง
(จ) ต้องมีกำหนดวันชำระค่าหุ้นที่แน่นอนโดยสามารถกำหนดการใช้สิทธิ
ตามใบสำคัญแสดงสิทธิได้มากกว่าหนึ่งครั้ง และมีระยะเวลาให้แสดงความจำนงในการใช้สิทธิตามใบ
สำคัญแสดงสิทธิครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิ
(ฉ) ไม่มีข้อห้ามในการที่ผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิจะรับซื้อคืนก่อนครบ
กำหนดเวลา แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
(ความเดิมในข้อ 4.4 ของข้อ 4 ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทนโดยข้อบังคับตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับและเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538)
หมวด 2
คุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียน
ข้อ 5 ผู้ยื่นคำขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณารับหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะธุรกิจ
มีการประกอบธุรกิจหลักที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
(2) ทุนชำระแล้ว
2.1 ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญต้องไม่ต่ำกว่าหกสิบล้านบาท
2.2 มีมูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาดทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท
2.3 มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาดตาม 2.2 ให้กำหนดดังนี้
(ก) ในกรณีที่หลักทรัพย์ของผู้ยื่นคำขอมีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
ให้ใช้ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักสามสิบวันย้อนหลังนับแต่วันยื่นคำขอต่อ
ตลาดหลักทรัพย์
(ข) ในกรณีที่หลักทรัพย์ของผู้ยื่นคำขอไม่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
ถ้าผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายในหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อ
ประชาชนให้ใช้ราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป แต่ถ้าผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายหลังหนึ่งปี
นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ให้ใช้ราคาที่เป็นธรรมที่ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัด
จำหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้กำหนด
2.4 ทุนชำระแล้วไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิจะต้องชำระมูลค่าเป็นตัว
เงินอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของทุนชำระแล้ว
(3) การกระจายการถือหุ้นรายย่อย
3.1 มีผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยไม่ต่ำกว่าหกร้อยราย
3.2 ผู้ถือหุ้นรายย่อยตาม 3.1 แต่ละรายจะต้องถือหุ้นไม่เกินกว่าห้าในหนึ่งพันของ
ทุนชำระแล้วแต่ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหน่วยการซื้อขายโดยหน่วยการซื้อขายให้เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
และผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องถือหุ้นรวมกันภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท ให้ผู้ถือหุ้นดัง
กล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละสามสิบของทุนชำระแล้ว
(ข) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า
หนึ่งพันล้านบาทให้ผู้ถือหุ้นดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนชำระแล้ว หรือไม่ต่ำกว่าสิบห้า
ล้านหุ้นแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
(ค) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า
สองพันล้านบาทให้ผู้ถือหุ้นดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละยี่สิบของทุนชำระแล้ว หรือไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้า
ล้านหุ้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
(ง)ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่สองพันล้านบาทขึ้นไป ให้ผู้ถือหุ้น
ดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบห้าของทุนชำระแล้วหรือไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านหุ้น แล้วแต่จำนวนใดจะ
สูงกว่า
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบ
ประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ให้หักส่วนการถือหุ้นขององค์กรดังกล่าวออกจากทุน
ชำระแล้วในการคำนวณอัตราส่วนผู้ถือหุ้นตาม (ก) (ข) (ค) และ (ง)
3.3 ผู้ยื่นคำขอที่มีกองทุนรวมหรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายถือหุ้น
อยู่ด้วย ให้ผ่อนผันการนับจำนวนผู้ถือหุ้นและอัตราส่วนการถือหุ้นตาม 3.1และ 3.2 เฉพาะส่วนที่กองทุนรวม
หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายถืออยู่ได้และในกรณีนี้ให้นับเป็นผู้ถือหุ้นสามัญสิบรายต่อทุก
อัตราร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นสามัญที่กองทุนรวมหรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตาม
กฎหมายได้ถืออยู่แต่ไม่นับจำนวนรวมกันเป็นจำนวนเกินกว่าหนึ่งร้อยราย
3.4 ผู้ยื่นคำขอต้องกระจายการถือหุ้นโดยเสนอขายหุ้นต่อประชาชนภายใต้เงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท จำนวนหุ้นที่
เสนอขายสะสมแล้วต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละยี่สิบของทุนชำระแล้ว
(ข) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป จำนวนหุ้น
ที่เสนอขายสะสมแล้วต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบของทุนชำระแล้ว หรือไม่ต่ำกว่าสิบล้านหุ้น แล้วแต่จำนวนใดจะ
สูงกว่า
(ค) การเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ต้องเป็นการเสนอขายโดยผ่านผู้จัดจำหน่าย
หลักทรัพย์ โดยจะเป็นวิธีรับประกันผลการจำหน่ายหรือไม่ก็ได้ และเป็นหุ้นที่ออกใหม่จำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ
สิบของจำนวนหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชน และมีมูลค่าเกินกว่ายี่สิบล้านบาท ทั้งนี้ การคำนวณมูลค่าของหุ้นที่
ออกใหม่ ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
(4) ผลการดำเนินงาน
4.1 ต้องสามารถแสดงได้ว่ามีผลการดำเนินงานดีตามสภาพและประเภทแห่ง
ธุรกิจ โดยมีการดำเนินงานภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกันมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าสาม
ปีก่อนยื่นคำขอโดยมีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติหลังภาษีติดต่อกันสามปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอรวม
กันไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาทโดยในสองปีแรกของสามปีก่อนยื่นคำขอต้องมีผลกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่าปีละห้าล้าน
บาท และในปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอต้องมีผลกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าล้านบาท หรือมีผลกำไรสุทธิสามปีสุด
ท้ายก่อนยื่นคำขอรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่าแปดสิบล้านบาท โดยมีผลกำไรสุทธิติดต่อกันสองปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอ
และผลกำไรสุทธิในปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอต้องมากกว่าปีก่อนนั้น
ในกรณีผู้ยื่นคำขอมีบริษัทย่อย กำไรสุทธิข้างต้นให้หมายถึง กำไรสุทธิของ
ผู้ยื่นคำขอและกำไรสุทธิรวมของผู้ยื่นคำขอและบริษัทย่อย
4.2 มีแนวโน้มการดำเนินงานที่ดี มีแผนงานต่อเนื่องในระยะยาว และมีโอกาส
ขยายการดำเนินงานในอนาคต
(5) ฐานะการเงินและสภาพคล่อง
5.1 ต้องสามารถแสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
5.2 มีสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่เหมาะสมเทียบได้กับสัดส่วนที่
เป็นอยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
5.3 ไม่มีผลขาดทุนสะสมในส่วนของผู้ถือหุ้น
(6) ผู้บริหาร
6.1 มีผู้บริหารที่เป็นที่มั่นใจของคณะกรรมการว่ามีจริยธรรมและความซี่อสัตย์
สุจริต มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในธุรกิจที่ผู้ยื่นคำขอทำอยู่รวมทั้งมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพมี
ความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นที่มั่นใจของคณะกรรมการว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจดังกล่าว
ไปได้ด้วยดี
6.2 มีกรรมการที่เป็นอิสระอย่างน้อยสองคนซึ่งมีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ใน
ธุรกิจที่ผู้ยื่นคำขอทำอยู่โดยบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
(7) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ต้องไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ยื่นคำขอกับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น
รายใหญ่ และบริษัทอื่นซึ่งมีผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มเดียวกัน
(8) งบการเงินและผู้สอบบัญชี
(ก) ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรม
การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์
(ข) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีบริษัทในเครือผู้สอบบัญชีของบริษัทในเครือ ต้องเป็น
ผู้สอบบัญชีคนเดียวกันหรือสำนักงานเดียวกันกับผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลัก
ทรัพย์
(ค) รายงานการสอบบัญชีต้องเป็นรายงานที่ไม่มีเงื่อนไข หรือในกรณีที่มีเงื่อน
ไขต้องไม่เป็นเงื่อนไขอย่างร้ายแรง ซึ่งต้องระบุเป็นจำนวนเงินได้ชัดเจนและไม่มีผลกระทบต่อฐานะการเงินอย่าง
ร้ายแรง
(ง) ต้องไม่มีการเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีในปีการเงินสุดท้ายก่อนยื่นคำขอ
และปีที่ยื่นคำขอ
ในกรณีผู้ยื่นคำขอมีบริษัทในเครือ รอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทในเครือต้อง
สอดคล้องกับรอบระยะเวลาบัญชีของผู้ยื่นคำขอ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์
(จ) งบการเงินในปีสุดท้ายก่อนปีที่ยื่นคำขอ และในปีที่ยื่นคำขอต้องผ่านการ
สอบทานและ/หรือตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีคนเดียวกันและงบการเงินล่าสุดต้องไม่นานเกินกว่าสี่เดือนก่อนยื่น
คำขอ
(ฉ) งบกำไรขาดทุนในปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอต้องแสดงผลการดำเนินงาน แยก
ออกเป็นรายไตรมาสและในปีที่ยื่นคำขอต้องแสดงผลการดำเนินงานเต็มปี โดยแยกผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น
จริงจนถึงไตรมาสสุดท้ายก่อนวันยื่นคำขอและที่ประมาณการสำหรับไตรมาสที่เหลือของปี โดยต้องผ่านการสอบ
ทานของผู้สอบบัญชี
(ช) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีบริษัทร่วม ผู้ยื่นคำขอต้องรับรู้ผลการดำเนินงานของ
บริษัทร่วมในปีที่ผลการดำเนินงานเกิดขึ้นเป็นรายได้ของผู้ยื่นคำขอในอัตราร้อยละของเงินลงทุนในบริษัทร่วม
นั้น
(9) การจ่ายเงินปันผล
มีนโยบายเกี่ยวกับการจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผลที่ชัดเจน ในกรณีที่มีนโยบายจ่าย
เงินปันผลต้องระบุอัตราเงินปันผลให้ชัดเจน
ข้อ 6 ในกรณีผู้ยื่นคำขอเป็นบริษัทในเครือของบริษัทจดทะเบียน ขนาดธุรกิจของผู้ยื่นคำขอ
ณ วันยื่นคำขอต้องมีจำนวนไม่เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของสินทรัพย์หรือกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว
และต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) มีการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะแตกต่างจากธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว
โดยมีกลุ่มลูกค้าและคู่แข่งแยกจากกัน
(2) เป็นบริษัทที่กำลังเติบโตและมีความต้องการเงินทุนสำหรับการขยายงาน
(3) มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน เป็นศูนย์กำไรแยกจากบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว
(4) ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ยื่นคำขอกับบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว
ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งได้รับสัมปทานจาก
หน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีอายุสัมปทานไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีนับจากปีที่ยื่นคำขอ หรือเป็น
อุตสาหกรรมพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ในกรณีที่เป็นโครงการซึ่งได้รับสัมปทาน ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ
ที่จำเป็นของหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการได้รับสัมปทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(2) มีต้นทุนโครงการไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท และสามารถก่อให้เกิดรายได้
จำนวนเพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราที่เหมาะสม
(3) มีความจำเป็นต้องระดมทุนเพื่อใช้กับโครงการก่อนที่โครงการจะสามารถก่อให้
เกิดรายได้จำนวนเพียงพอสำหรับดำเนินธุรกิจต่อไปและโครงการอยู่ในขั้นที่จำเป็นต้องระดมทุนเพื่อเริ่มดำเนิน
โครงการ
(4) มีการลงทุนในโครงการโดยผู้เริ่มโครงการไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนชำระ
แล้วสำหรับโครงการทั้งหมด และต้องมีแหล่งสนับสนุนทางการเงินโดยมีหนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน
(5) มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยบุคคลที่สามซึ่งเชื่อถือได้
(6) มีผู้บริหารที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จะดำเนินโครงการ รวมทั้งมี
ประสบการณ์ด้านการเงิน การผลิตและการตลาดที่จำเป็นหรือสามารถจัดหาผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่สามารถดำเนิน
โครงการให้สำเร็จได้
ให้นำความในข้อ 5 (2) (3) (5) (6) (7) (8) และ (9) มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคุณสมบัติ
ของผู้ยื่นคำขอตามข้อนี้ด้วย
ข้อ 8 ในกรณีผู้ยื่นคำขอมีการประกอบธุรกิจหลักอยู่ในเขตภูมิภาคโดยมีสถานที่ประกอบ
ธุรกิจหลักและการใช้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในเขตภูมิภาค ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตภูมิภาค
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตภูมิภาค ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการ
ย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ในเขตภูมิภาคภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการสั่งรับหลักทรัพย์ของผู้ยื่นคำขอ
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(2) ทุนชำระแล้ว
2.1 ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญต้องไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท
2.2 มีมูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาดทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าสองร้อยล้านบาท
(3) การกระจายการถือหุ้นรายย่อย
3.1 มีผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยไม่ต่ำกว่าสามร้อยราย
3.2 ผู้ถือหุ้นรายย่อยตาม 3.1 แต่ละรายจะต้องถือหุ้นไม่เกินกว่าห้าในหนึ่งพันของ
ทุนชำระแล้วแต่ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหน่วยการซื้อขายโดยหน่วยการซื้อขายให้เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
และผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องถือหุ้นรวมกันภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท ให้ผู้ถือหุ้น
ดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละยี่สิบของทุนชำระแล้ว
(ข) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า
หนึ่งพันล้านบาทให้ผู้ถือหุ้นดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบห้าของทุนชำระแล้วหรือไม่ต่ำกว่าสิบล้าน
หุ้นแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
(ค) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป แต่ต่ำกว่า
สองพันล้านบาทให้ผู้ถือหุ้นดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบสองจุดห้าของทุนชำระแล้ว หรือไม่ต่ำ
กว่าสิบห้าล้านหุ้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
(ง) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่สองพันล้านบาทขึ้นไป ให้ผู้ถือ
หุ้นดังกล่าวถือหุ้นรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบของทุนชำระแล้วหรือไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าล้านหุ้น แล้วแต่จำนวนใด
จะสูงกว่า
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบ
ประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ให้หักส่วนการถือหุ้นขององค์กรดังกล่าวออกจาก
ทุนชำระแล้วในการคำนวณอัตราส่วนผู้ถือหุ้นตาม (ก) (ข) (ค) และ (ง)
3.3 ผู้ยื่นคำขอต้องกระจายการถือหุ้นโดยเสนอขายหุ้นต่อประชาชนภายใต้เงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท จำนวนหุ้นที่
เสนอขายสะสมแล้วต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบห้าของทุนชำระแล้ว
(ข) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป จำนวน
หุ้นที่เสนอขายสะสมแล้วต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบของทุนชำระแล้ว หรือไม่ต่ำกว่าเจ็ดล้านห้าแสนหุ้นแล้วแต่
จำนวนใดจะสูงกว่า
(4) ต้องสามารถแสดงได้ว่ามีผลการดำเนินงานดีตามสภาพและประเภทแห่งธุรกิจและ
มีการดำเนินงานภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกันอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าสามปีก่อนยื่นคำ
ขอโดยมีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติหลังภาษีในปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอหรือสองปีสุดท้ายรวมกันก่อนยื่น
คำขอไม่ต่ำกว่าสิบห้าล้านบาท
ในกรณีผู้ยื่นคำขอมีบริษัทย่อย กำไรสุทธิข้างต้นให้หมายถึงกำไรสุทธิของผู้ยื่นคำขอ
และกำไรสุทธิรวมของผู้ยื่นคำขอและบริษัทย่อย
(5) ในกรณีที่มีผลขาดทุนสะสมในส่วนของผู้ถือหุ้น ผลขาดทุนสะสม ณ วันยื่นคำขอ
รวมกันต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของทุนชำระแล้วและส่วนของผู้ถือหุ้นต้องไม่ต่ำกว่าทุนชำระแล้ว ทั้งนี้ผู้
ยื่นคำขอต้องสามารถทำกำไรหักล้างผลขาดทุนสะสมได้ภายในสามปีนับแต่วันที่หลักทรัพย์ของผู้ยื่นคำขอ
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ให้นำความในข้อ 5 (1) ข้อ 5 (2) 2.3, 2.4, ข้อ 5 (3) 3.3, 3.4 (ค) ข้อ 5 (4) 4.2 ข้อ 5 (5)
5.1, 5.2 ข้อ 5 (6) ข้อ 5 (7) ข้อ 5 (8) และข้อ 5 (9) มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอตามข้อนี้
ด้วย
ข้อ 9 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นบริษัทในเครือของบริษัทจดทะเบียนและมีคุณสมบัติตามข้อ 8
ให้นำความในข้อ 6 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอด้วย
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่และมีคุณสมบัติตามข้อ8ยกเว้น (4) ให้นำความ
ในข้อ7(1)(2) (3) (4) (5) และ (6) มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอด้วย
หมวด 3
วิธีการยื่นคำขอและการพิจารณารับหลักทรัพย์จดทะเบียน
ข้อ 10 ผู้ยื่นคำขอที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 หรือข้อ 9 หรือผู้ยื่นคำ
ขอที่เป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว และมีหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
ตามข้อ 4อาจยื่นคำขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณารับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยยื่นคำขอพร้อมคำ
ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์และมีผลใช้บังคับแล้ว และเอกสารอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมใน
การยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ตามอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ข้อ 11 ในการยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ผู้ยื่นคำขอต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งมีคุณสมบัติ
ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดเป็นผู้ร่วมจัดทำคำขอให้รับหลักทรัพย์
ข้อ 12 ในระหว่างพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ หากผู้ยื่นคำขอประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติม
ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นไว้ต่อตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 10 ให้ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยต้องแสดงข้อแตกต่างใน
การแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจน เว้นแต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ คณะกรรม
การอาจกำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลเป็นการยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ใหม่
ข้อ 13 ในการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์อาจเรียกให้ผู้ยื่นคำขอมาชี้แจง
ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดๆเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ 14 ในการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น
คณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติของหลักทรัพย์และผู้ยื่นคำขอและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
ให้คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน โดยใน
จำนวนนี้อย่างน้อยต้องประกอบด้วยบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
(1) ผู้แทนจากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำนวนสองคน
ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือกรรมการของบริษัท
(2) ผู้แทนของบริษัทจดทะเบียนจำนวนสองคน ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
หรือกรรมการของบริษัทจดทะเบียนและไม่ได้มาจากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
หรือกรรมการตลาดหลักทรัพย์ซึ่งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แต่งตั้ง
(3) กรรมการตลาดหลักทรัพย์ซึ่งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
แต่งตั้งจำนวนสองคน
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเงิน
การจัดการกองทุน วิชาการ กฎหมาย บัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ
งานนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และไม่ได้มาจากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาด
หลักทรัพย์
ข้อ 15 คณะอนุกรรมการตามข้อ 14 อาจเป็นผู้ที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการก็ได้ และ
ประธานของคณะอนุกรรมการต้องเป็นผู้ที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการด้วย
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการก็ได้
ข้อ 16 อนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้ง ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) ต้องมีความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจ การเงินหรืออุตสาหกรรมเป็นอย่างดี
(2) ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องในวงวิชาชีพหรืออาชีพนั้น
(3) ต้องมีเวลาพอที่จะสามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบของ
อนุกรรมการ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการแต่งตั้ง
ข้อ 17 ให้อนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้งตามข้อ 14 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละหนึ่ง
ปี อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้
นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะกรรมการมีมติให้ออก
(4) เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 16
ในกรณีที่อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็น
อนุกรรมการแทน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของอนุกรรมการซึ่งตนแทน
ข้อ 18 ในการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ของคณะอนุกรรมการต้องมีอนุกรรมการมา
ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ให้คณะอนุกรรมการลงคะแนนเสียงโดยเปิดเผย เว้น
แต่มีอนุกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนร้องขอและที่ประชุมคณะอนุกรรมการมีมติให้ลงคะแนนลับก็ให้ลงคะแนน
ลับ และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุกรรมการให้ถือเสียงข้างมากถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม
ออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในกรณีที่อนุกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียใด ๆ ในเรื่องที่พิจารณา ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณา
ในเรื่องนั้น
ข้อ 19 ในระหว่างพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ห้ามมิให้ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ของผู้ยื่นคำขอ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ให้ผู้ยื่นคำขอแจ้ง
ต่อตลาดหลักทรัพย์ในกรณีที่มีการซื้อหรือขายเกิดขึ้นหรือสงสัยว่าจะมีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบุคคลดัง
กล่าว
คณะกรรมการอาจปฏิเสธไม่พิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ของผู้ยื่นคำขอ หากมีการซื้อหรือ
ขายหลักทรัพย์ของบุคคลตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 20 ในการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ นอกจากคณะกรรมการจะพิจารณาคุณสมบัติ
ของหลักทรัพย์และผู้ยื่นคำขอตามที่กำหนดแล้ว คณะกรรมการอาจพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะของตลาดของผลิตภัณฑ์
(2) สภาพของอุตสาหกรรม โอกาสในการเติบโตและขยายตัว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง
ของเทคโนโลยี
(3) สภาพการแข่งขันของธุรกิจของผู้ยื่นคำขอในปัจจุบันและในอนาคตรวมทั้งการมี
สินค้าทดแทน
(4) ความสามารถของผู้ยื่นคำขอในการดำเนินการเกี่ยวกับปัจจัยพิเศษต่าง ๆ เช่น การ
ที่ผู้ยื่นคำขอต้องพึ่งพาผู้ขายโดยการซื้อวัตถุดิบหรือการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเพียงไม่กี่ราย
(5) ความสามารถในการดำรงสถานภาพของการประกอบธุรกิจของผู้ยื่นคำขอ ในกรณี
ที่โครงสร้างอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลง
(6) ปัจจัยอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ 21 คณะกรรมการจะพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่ตลาดหลักทรัพย์ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนจากผู้ยื่นคำขอแล้ว
ในการนับระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง มิให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นคำขอได้ขอแก้ไขเพิ่ม
เติมข้อมูลหรือเอกสารตามข้อ12 หรือวันที่ตลาดหลักทรัพย์ได้สั่งการตามข้อ 13 จนถึงวันที่ตลาดหลักทรัพย์ได้
รับข้อมูลหรือเอกสารโดยครบถ้วน
ข้อ 22 ก่อนที่คณะกรรมการจะสั่งรับหลักทรัพย์ของผู้ยื่นคำขอเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้
คณะกรรมการกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอสั่งห้ามผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นใน
บริษัทจดทะเบียนรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมีจำนวนหุ้นสามัญ
รวมกันตามที่คณะกรรมการกำหนดนำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกขายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ
กำหนด
ข้อ 23 ในการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ ให้คณะกรรมการลงคะแนนเสียงโดยเปิดเผย
เว้นแต่มีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนร้องขอ และที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้ลงคะแนนลับก็ให้ลงคะแนนลับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ