คำอธิบายรายงานการถือหลักทรัพย์ วันที่บังคับใช้ (บจ. 81-3-01) คำอธิบายการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์
1) บุคคลที่มีหน้าที่ต้องรายงาน ถาม บุคคลผู้มีหน้าที่รายงานหมายถึงใครบ้าง ตอบ บุคคลที่มีหน้าที่รายงานการถือหลักทรัพย์ตามข้อบังคับนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน
2. ผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียน
การรายงานให้รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวด้วย ถาม คำว่า "ผู้บริหาร" หมายถึงผู้บริหารระดับใดบ้าง ตอบ - ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนที่มีหน้าที่ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ ได้แก่ กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้ จัดการ และพนักงานระดับบริหารที่รับผิดชอบสูงสุดของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งอาจมีชื่อเรียกตามตำแหน่งเป็นผู้จัดการ ฝ่าย ผู้อำนวยการฝ่าย หรือชื่ออย่างอื่นที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และรวมถึงบุคคลซึ่งบริษัทจดทะเบียนทำสัญญาให้มี อำนาจทั้งหมดหรือ บางส่วนในการจัดการด้วย
- ตัวอย่างระดับผู้บริหารที่มีหน้าที่ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ คณะกรรมการ
คณะกรรมการบริหาร
กรรมการผู้จัดการ
รองกรรมการผู้จัดการ
ผู้อำนวยกรฝ่ายอาวุโส ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส
ผู้จัดการ ฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่าย การตลาด ผู้จัดการ ฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่าย วางแผน ผู้จัดการ ฝ่ายบัญชี ผู้จัดการฝ่าย วิจัย
ผู้บริหารระดับต่ำกว่านี้ไม่ต้องรายงาน
-2-
ถาม ผู้สอบบัญชีที่ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ หมายถึงผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานเป็นผู้รายงาน ตอบ ผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นและลงลายมือชื่อให้ความเห็นต่องบการ เงินของบริษัทจดทะเบียน เป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้สอบบัญชีเอง รวมทั้งการถือ หลักทรัพย์ของคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
2) หลักทรัพย์ที่ต้องรายงาน ถาม ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีจะต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ใดบ้าง ตอบ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีต้องรายงานการถือหลักทรัพย์เฉพาะในบริษัทจดทะเบียนที่ตนเป็นผู้บริหารหรือผู้สอบ บัญชีอยู่เท่านั้น
ถาม หลักทรัพย์ที่ต้องรายงานให้หมายถึงหลักทรัพย์ประเภทใดบ้าง ตอบ หลักทรัพย์ที่ต้องรายงาน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้แปลง สภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ก็ตาม
ถาม การรายงานจำนวนหลักทรัพย์ให้ถือจำนวนตามที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นใช่หรือไม่ ตอบ ไม่ใช่จำนวนหลักทรัพย์ที่ผู้บริหารหรือผู้สอบบัญชีต้องรายงาน ให้นับรวมหลักทรัพย์ที่ได้มาไม่ว่าจะปิดโอนเข้า ชื่อของตนหรือไม่ก็ตาม
3) การจัดส่งรายงาน ถาม รายงานการถือหลักทรัพย์ต้องส่งไปที่ใดบ้าง ตอบ ให้ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีนำส่งรายงานการถือหลักทรัพย์
1. ให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ โดยนำส่งโดยตรงไปยังฝ่ายบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. สำหรับผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนให้นำส่งสำเนารายงานการถือหลักทรัพย์ตาม 1. ให้แก่บริษัทจด ทะเบียนที่ตนเป็นผู้บริหารอยู่ พร้อมกันกับที่ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ด้วย
ถาม การนำส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ ผู้บริหารแต่ละคนต้องส่งเองหรือมอบให้บริษัทจดทะเบียนรวบรวมส่งให้ ตอบ การนำส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหารอาจนำส่งให้แก่ตลาดหลักทรัพย์โดยตรง หรืออาจให้บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้รวบรวมนำส่งให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ก็ได้แต่ผู้บริหารเป็นผู้ที่รับผิดชอบ กรณีที่รายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือรายงานไม่ทันตามกำหนดเวลา
-3-
4) กำหนดการจัดทำรายงาน ถาม ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีจะต้องจัดทำรายงานเมื่อใดบ้าง ตอบ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีจะต้องจัดทำรายงานการถือหลักทรัพย์ดังนี้
1. รายงานการถือหลักทรัพย์ครั้งแรก
2. รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในระหว่างปี
3. รายงานการถือหลักทรัพย์ ณ วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี
ถาม การรายงานการถือหลักทรัพย์ครั้งแรก หมายถึง การรายงานการถือหลักทรัพย์ ณ วันใด ตอบ การรายงานการถือหลักทรัพย์ครั้งแรก มีอยู่ 3 กรณี คือ 1.กรณีที่เป็นบริษัทจดทะเบียนก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับให้ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีรายงานการ ถือหลักทรัพย์ครั้งแรกณ วันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ คือ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536
2. กรณีที่เป็นบริษัทจดทะเบียนใหม่ภายหลังวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ คือ หลังวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 ให้ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีรายงานการถือหลักทรัพย์ ณ วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนได้รับการ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
3. กรณีที่ผู้บริหารหรือผู้สอบบัญชีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียน ภายหลังวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับหรือภายหลังวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 ให้ผู้บริหารหรือผู้สอบ บัญชีรายงานการถือหลักทรัพย์ ณ วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหารหรือผู้สอบบัญชี
ถาม ในกรณีที่ผู้บริหารหรือผู้สอบบัญชีไม่ได้ถือหลักทรัพย์อยู่เลย ต้องรายงานครั้งแรกหรือทุกวันสิ้นปีปฏิทินหรือไม่ ตอบ ในกรณีที่ผู้บริหารหรือผู้สอบบัญชีไม่ได้ถือหลักทรัพย์ในบริษัทจดทะเบียนที่ตนเป็นผู้บริหารอยู่เลย ให้รายงาน การถือหลักทรัพย์มาด้วย โดยระบุว่า "ไม่มี"
ถาม การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ที่ต้องรายงานมีหลักเกณฑ์อย่างไรและต้องรายงานเมื่อใด ตอบ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ที่ต้องรายงานมี 2 กรณี คือ
1. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 10 ล้านบาท หรือ
2. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกินกวาร้อยละ 0.5 ของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน
ทั้งนี้ ให้รายงานตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการถัดจากวันที่เกิดกรณีดังกล่าว
-4-
ถาม การคำนวณกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงมีมูลค่าเกินกว่า 10 ล้านบาท ใช้หลักเกณฑ์อย่างไร ตอบ มูลค่าที่ใช้ในการคำนวณ ให้ถือตามราคาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยไม่หักค่านายหน้าหรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ
ถาม การคำนวณกรณีเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 0.5 ของทุนชำระแล้ว ใช้หลักเกณฑ์อย่างไร ตอบ การเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 0.5 ของทุนชำระแล้ว ใช้หลักเกณฑ์การนับตามจำนวนหุ้นแล้ว มีจำนวนเกิน กว่าร้อยละ 0.5 ของจำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้วทั้งหมด หรือจะใช้ตามมูลค่าโดยใช้ตามมูลค่าที่ตราไว้ก็ได้ เช่น บริษัทจดทะเบียนมีทุนชำระแล้วจำนวน 20 ล้านหุ้น เป็นมูลค่าคิดตามมูลค่าที่ตราไว้รวม 200 ล้านบาท (มูล ค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) จำนวนร้อยละ 0.5 ของทุนชำระแล้วจะเท่ากับ 100,000 หุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าตาม มูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ 1 ล้านบาท
ถาม โปรดยกตัวอย่างการนับการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ที่ต้องรายงาน ตอบ การนับรวมมูลค่าในกรณีการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์นั้น ให้ใช้ยอดสุทธิจากการซื้อและขาย ตัวอย่างที่ 1 วันที่ 1 ซื้อ 8 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 8 ล้านบาท
วันที่ 2 ขาย 3 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงคงเหลือ 5 ล้านบาท ฎ(8-3)
วันที่ 3 ซื้อ 6 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงเพิ่มเป็น 11 ล้านบาท ฎ(5+6)
ในกรณีนี้ ในวันที่ 3 ถึงจะถือว่าเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์มีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 10 ล้านบาท ซึ่ง จะต้องจัดทำรายงานการถือหลักทรัพย์
ตัวอย่างที่ 2 วันที่ 1 ขาย 7 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงเท่ากับ -7 ล้านบาท
วันที่ 2 ซื้อ 4 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงคงเหลือ -3 ล้านบาท ฎ(-7+4)
วันที่ 3 ขาย 5 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงเพิ่มเป็น -8 ล้านบาท ฎ(-3-5)
วันที่ 4 ขาย 3 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงเพิ่มเป็น -11 ล้านบาท ฎ (-8-3)
ในกรณีนี้ ในวันที่ 4 ถึงจะถือว่าเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ มีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 10 ล้านบาท ซึ่ง จะต้องจัดทำรายงานการถือหลักทรัพย์
ถาม กรณีที่มีการซื้อขายวันละหลายครั้งมีวิธีการนับอย่างไร ตอบ ในกรณีในวันเดียวกันมีการทำการซื้อขายหลักทรัพย์หลายครั้งให้ใช้ยอดสุทธิจากการซื้อและขายในวันนั้น ๆ
ตัวอย่าง วันที่ 1 ซื้อ 11 ล้านบาท
ขาย 4 ล้านบาท
ยอดสุทธิเท่ากับซื้อ 7 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงเท่ากับ 7 ล้านบาท
วันที่ 2 ซื้อ 4 ล้านบาท ยอดเปลี่ยนแปลงเพิ่มเป็น 11 ล้านบาท ฎ (7+4)
สำหรับกรณีนี้ในวันที่ 1 จะถือว่ามีการซื้อเท่ากับ 7 ล้านบาท และในวันที่ 2 ถึงจะถือว่ามีการเปลี่ยน แปลงการถือหลักทรัพย์มีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งจะต้องจัดทำรายงานการถือหลักทรัพย์ -5-
5) การรายงานให้คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนทราบ
ถาม การรายงานการถือหลักทรัพย์ต่อที่ประชุมกรรมการบริษัทจดทะเบียน ต้องดำเนินการอย่างไร ตอบ 1. บริษัทจดทะเบียนต้องจัดให้มีบุคคลที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่รายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหาร โดย รวมคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้คณะกรรมการของบริษัทได้รับทราบ ซึ่งบุคคลที่ได้รับมอบ หมายให้รายงานการถือหลักทรัพย์ จะเป็นบุคคลใดก็ได้ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยบริษัทจดทะเบียน
2. บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจะรายงานให้คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนรับทราบในกรณีที่ได้รับสำเนา รายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหารกรณีที่ไม่ได้รับรายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหารก็ไม่ต้องราย งานต่อคณะกรรมการ
ถาม การรายงานให้คณะกรรมการรับทราบ ต้องรายงานเมื่อใด ตอบ เมื่อบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายได้รับรายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหาร ให้เสนอให้คณะ
กรรมการรับทราบในการประชุมของคณะกรรมการครั้งถัดไป
ประชุมครั้งที่ 1 ได้รับรายงาน ประชุมครั้งที่ 2
เสนอที่ประชุม
ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2536 ฝ่ายบริษัทจดทะเบียน
ตัวอย่างกรณีการรายงานครั้งแรก ณ วันที่ข้อบังคับมีผลใช้บังคับ
รายงานการถือหลักทรัพย์ของบริษัท (ใส่ชื่อบริษัทที่ตนเป็นผู้บริหาร) ชื่อผู้รายงาน เอนก หลักทรัพย์ ตำแหน่ง กรรมการ รายงาน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536
ผู้ถือหลักทรัพย์ ประเภท วันที่มีการ จำนวนหลักทรัพย์ วิธีการได้มา ได้มา (จำหน่าย) จำนวนหลักทรัพย์ ได้มา/จำหน่าย
หลักทรัพย์ ได้มา/จำหน่าย ที่ถือก่อนการ /จำหน่าย จำนวนหลักทรัพย์ ราคา ที่ถือหลังการ ผ่าน บล.
ได้มา/จำหน่าย
ได้มา/จำหน่าย ..................
เอนก หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ
30,000
ชนิดา หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ
10,000
(ภรรยา)
อนันค์ หลักทรัพย์ ใบสำคัญ
10,000
(บุตร) แสดงสิทธิ
ซื้อหุ้นสามัญ
- ในกรณีที่เป็นการได้มา/จำนวนหลายครั้ง ให้ใช้ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็นเกณฑ์ - ในกรณีจำหน่ายให้ใส่จำนวนและราคาของหลักทรัพย์ไว้ในวงเล็บ
ข้าพเจ้าขขอรับรองว่ารายงานข้างต้นนี้ครบถ้วนและเป็นความจริงทุกประการ
ลงชื่อผู้รายงาน...........................................
(เอนก หลักทรัพย์)
ตำแหน่ง กรรมการ
ตัวอย่างกรณีการรายงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
รายงานการถือหลักทรัพย์ของบริษัท (ใส่ชื่อบริษัทที่ตนเป็นผู้บริหาร) ชื่อผู้รายงาน เอนก หลักทรัพย์ ตำแหน่ง กรรมการ รายงาน ณ วันที่ 24 มีนาคม 2536
ผู้ถือหลักทรัพย์ ประเภท วันที่มีการ จำนวนหลักทรัพย์ วิธีการได้มา ได้มา (จำหน่าย) จำนวนหลักทรัพย์ ได้มา/จำหน่าย
หลักทรัพย์ ได้มา/จำหน่าย ที่ถือก่อนการ /จำหน่าย จำนวนหลักทรัพย์ ราคา ที่ถือหลังการ ผ่าน บล.
ได้มา/จำหน่าย
ได้มา/จำหน่าย ..................
เอนก หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ 8 มี.ค. 36 30,000 ซื้อใน ตลท. 40,000 200 70,000 บล.เอก
หลักทรัพย์ จก.
15 มี.ค. 36 70,000 ขายใน ตลท. (10,000) 300 60,000 บล.เอก
หลักทรัพย์ จก.
24 มี.ค. 36 60,000 จองซื้อหุ้น 60,000 100 120,000 บล.เอก
เพิ่มทุน
หลักทรัพย์ จก.
- ในกรณีที่เป็นการได้มา/จำนวนหลายครั้ง ให้ใช้ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็นเกณฑ์ - ในกรณีจำหน่ายให้ใส่จำนวนและราคาของหลักทรัพย์ไว้ในวงเล็บ
ข้าพเจ้าขขอรับรองว่ารายงานข้างต้นนี้ครบถ้วนและเป็นความจริงทุกประการ
ลงชื่อผู้รายงาน.........................................
(เอนก หลักทรัพย์)
ตำแหน่ง กรรมการ
ตัวอย่างกรณีการรายงาน ณ วันสิ้นปีปฏิทิน
รายงานการถือหลักทรัพย์ของบริษัท (ใส่ชื่อบริษัทที่ตนเป็นผู้บริหาร) ชื่อผู้รายงาน เอนก หลักทรัพย์ ตำแหน่ง กรรมการ รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2536
ผู้ถือหลักทรัพย์ ประเภท วันที่มีการ จำนวนหลักทรัพย์ วิธีการได้มา ได้มา (จำหน่าย) จำนวนหลักทรัพย์ ได้มา/จำหน่าย
หลักทรัพย์ ได้มา/จำหน่าย ที่ถือก่อนการ /จำหน่าย จำนวนหลักทรัพย์ ราคา ที่ถือหลังการ ผ่าน บล.
ได้มา/จำหน่าย
ได้มา/จำหน่าย ..................
เอนก หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ
85,000
- ในกรณีที่เป็นการได้มา/จำนวนหลายครั้ง ให้ใช้ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็นเกณฑ์ - ในกรณีจำหน่ายให้ใส่จำนวนและราคาของหลักทรัพย์ไว้ในวงเล็บ
ข้าพเจ้าขขอรับรองว่ารายงานข้างต้นนี้ครบถ้วนและเป็นความจริงทุกประการ
ลงชื่อผู้รายงาน.........................................
(เอนก หลักทรัพย์)
ตำแหน่ง กรรมการ