คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงานในการจัดทำคำขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday February 28, 1996 17:39 —ข้อบังคับและประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ

คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงานในการจัดทำคำขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน                                   วันที่บังคับใช้ 6 กันยายน 2537      (บจ. 20-2-02) ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง  คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน ในการจัดทำคำขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 11 และข้อ 35 แห่งข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลัก เกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการรับและเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน ลงวันที่ 12 มีนาคม 2536 คณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดำเนินงาน ลงวันที่ 1 เมษายน 2536
ข้อ 2 ในประกาศนี้และในแบบรายงานแนบท้ายประกาศนี้ "สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ "ที่ปรึกษาทางการเงิน" หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทำคำขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลัก ทรัพย์จดทะเบียน
ข้อ 3 ที่ปรึกษาทางการเงินต้องเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน จึงจะร่วมจัดทำคำขอให้รับหลัก ทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้
ข้อ 4 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีที่ปรึกษาทางการเงินหลายราย ให้ผู้ยื่นคำขอกำหนดที่ปรึกษาทางการ เงินหลักที่จะต้องรับผิดชอบตามประกาศนี้
ข้อ 5 การเปลี่ยนแปลงที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งกระทำในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปีนับจากวันที่หลักทรัพย์ ของผู้ยื่นคำขอเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นเท่านั้น และผู้ยื่นคำขอจะ ต้องจัดทำและส่งคำชี้แจงแสดงเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว พร้อมทั้งแจ้งรายชื่อของที่ปรึกษาทางการเงินรายใหม่ต่อ ตลาดหลักทรัพย์ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายใหม่ตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินการตามประกาศนี้ภายในระยะเวลาที่ ยังเหลืออยู่ของที่ปรึกษาทางการเงินที่ตนถูกตั้งขึ้นมาแทน
ข้อ 6 ให้ที่ปรึกษาทางการเงินดำเนินการดังนี้
(1) จัดเตรียมและยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ รวมทั้งเอกสารอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ต่อ ตลาดหลักทรัพย์
(2) ติดต่อประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์
(3) กระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้บริหารของผู้ยื่นคำขอได้เข้าใจถึงหน้าที่ความรับผิดชอบตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ มติคณะกรรมการ ข้อตกลงการจดทะเบียน หลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ หนังสือเวียนใด ๆ ตลอดจนวิธีการปฏิบัติในการเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(4) ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ผู้ยื่นคำขอได้เปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญของผู้ยื่นคำขอโดย ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว
(5) ให้ความเห็นต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมที่จะเข้าเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(6) ให้คำแนะนำต่อผู้ยื่นคำขอในการปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ มติคณะกรรมการ ข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ หนังสือเวียนใด ๆ ตลอดจนวิธีการปฏิบัติในการเป็นบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อเนื่องไปอีกหนึ่งปี นับจากวันที่หลักทรัพย์เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
(7) ติดตามผลการดำเนินงานและร่วมชี้แจงกับผู้ยื่นคำขอต่อเนื่องไปอีกหนึ่งปีนับจากวันที่หลัก ทรัพย์เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น
7.1 ข้อมูลผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการแล้วมียอดขายหรือ รายได้รวมแตกต่างจากประมาณการเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าหรือกำไรสุทธิของผู้ยื่นคำขอแตกต่างจากประมาณการเกินกว่า ร้อยละยี่สิบห้า
7.2 มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรวมกันแล้วถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ ยี่สิบห้าของทุนชำระแล้วของผู้ยื่นคำขอ อันมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือนโยบายการบริหารงานอย่างมีนัยสำคัญ
7.3 การใช้เงินทุนที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์แตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ขณะดำเนินการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเกินกว่าร้อยละยี่สิบของเงินทุนที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์
7.4 กรณีใด ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบกระเทือนหรือมีการเปลี่ยนแปลงต่อคุณสมบัติในการเป็น บริษัทจดทะเบียนตามที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นสมควร การให้คำรับรองและความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบราย งานแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 7 ในการปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาทางการเงินต้องใช้ความรู้ ความสามารถและ ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อ 8 เว้นแต่ตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทำคำขอให้ รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนให้กับผู้ยื่นคำขอ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ที่ปรึกษาทางการเงินถือหุ้นในผู้ยื่นคำขอไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นการได้มา เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินประกอบการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์และจำนวนหุ้นที่ถือนั้นไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่มี สิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ยื่นคำขอในกรณีหลักทรัพย์ที่ยื่นคำขอเป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลง สภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้น หรือไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ยื่นคำขอในกรณีหลักทรัพย์ที่ยื่น คำขอเป็นหลักทรัพย์ประเภทอื่น
(2) ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ยื่นคำขอถือหุ้นในที่ปรึกษาทางการเงินไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของที่ปรึกษาทางการเงิน
(3) ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ยื่นคำขอมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทาง ตรงหรือทางอ้อมกับที่ปรึกษาทางการเงิน ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ที่ปรึกษาทางการเงินนั้นขาดความเป็นอิสระในการ ดำเนินงานตามข้อ 6
ข้อ 9 ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดดำเนินการตามข้อ 6 บกพร่องหรือไม่เหมาะสม หรือดำเนิน การโดยไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถและความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ หรือฝ่าฝืน ข้อ 8 ให้ตลาดหลักทรัพย์มีอำนาจในการดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งตักเตือนและสั่งให้ที่ปรึกษาทางการเงินปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใ
(2) สั่งให้การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของบุคคลดังกล่าวสิ้นผลเป็นระยะเวลาตามที่ตลาด หลักทรัพย์กำหนด ให้ตลาดหลักทรัพย์แจ้งการสิ้นผลตามวรรคหนึ่งให้ที่ปรึกษาทางการเงินนั้น เป็นหนังสือและเมื่อพ้นระยะเวลาการสิ้นผลแล้ว ให้บุคคลนั้นดำเนินการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไปได้
ข้อ 10 ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดที่สำนักงานแจ้งการสิ้นผลการให้ความเห็นชอบในการเป็นที่ปรึกษา ทางการเงิน บุคคลนั้นจะดำเนินการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไปได้เมื่อพ้นระยะเวลาการสิ้นผลตามที่สำนักงานกำหนด
ข้อ 11 ในกรณีที่สำนักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินรายใด ห้ามมิให้ บุคคลนั้นดำเนินการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการร่วมจัดทำคำขอให้หลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อไปอีก
ข้อ 12 ให้ที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ยื่นคำขอที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์และคณะกรรมการ ยังไม่ได้สั่งรับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับมีหน้าที่ดำเนินการตามประกาศนี้ด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2537 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน 2537
(ลงนาม) สังเวียน อินทรวิชัย
(สังเวียน อินทรวิชัย) ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ